ทำไมพระไตรปิฎกไม่มีการเรียบเรียงภาษาใหม่เสียทีครับ

เวลาอ่านพระไตรปิฏกสังเกตว่าภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยที่ค่อนข้างเก่า ทั้งยังมีการเรียบเรียงคำเหมือนพวกวรรณคดีโบราณ มีลักษณะที่สะท้อนว่าถูกแปลความโดยเชื้อพระวงศ์หรือขุนนางชั้นสูง

แน่นอนว่าปัจจุบันก็มีหนังสือพระไตรปิฎกฉบับประชาชน ฉบับอ่านง่าย ฉบับที่แปลความให้คนอ่านเข้าถึงได้ง่ายขึ้น แต่ตัวพระไตรปิฏกเอง ก็ไม่ได้ปรับไปให้เข้ากับยุคสมัยแม้แต่นิดเดียว ไม่ได้หมายถึงในแง่เนื้อหา แต่หมายถึงการเรียงความ การอธิบายความต่างๆ ยังดูเป็นภาษาโบราณมาก และค่อนข้างเข้าใจยาก

ถ้ามองว่า การเรียบเรียงภาษาใหม่ จะเป็นการบิดเบือนเนื้อความของพระไตรปิฎก ก็มีส่วนถูก แต่เราจะแน่ใจได้อย่างไรครับว่า เนื้อความที่เราอ่านกันอยู่ทุกวันนี้ ถูกต้องตามใจความเดิมของต้นฉบับภาษาอินเดียทั้งหมด

มีส่วนหนึ่งที่ผมไม่แน่ใจ ว่ากันตามประวัติศาสตร์เราได้รับการเผยแพร่พระพุทธศาสนา มาจากศรีลังกาใช่ไหมครับ แต่ต้นตอเนื้อหาที่เป็นหลักธรรมไตรปิฎกนั้นก็เหลือแต่สายพระศรีลังกาเท่านั้นแล้วหรือเปล่า เพราะได้ยินมาว่า ที่อินเดียไม่ค่อยยอมรับพุทธและทำลายเอกสารที่อ้างอิงทางพุทธไปหมดแล้ว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่