ยานสำรวจอวกาศ ที่ส่งออกไปนอกระบบสุริยะ ตามความเป็นจริง มันเดินทางเป็นเส้นตรง หรือ โค้งครับ

เนื่องจากกาแล็คซี่ หมุนเป็นวงกลม  ระบบสุริยะของเรา ก้อหมุนโคจรเป็นวงกลม

ยานสำรวจมันจะเดินทางเป็นเส้นตรง หรือ เป็นเส้นโค้งครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
คือว่า  การที่ยานสำรวจอวกาศจะเดินทางเป็นเส้นตรง หรือ เส้นโค้ง
จะไม่ได้ขึ้นกับการหมุนของแกแลคซี่  หรือ  การหมุนของระบบสุริยะครับ
เพราะการหมุนดังกล่าวมัน "สัมพัทธ์" ไปกับการเครื่องที่ของยานแล้ว

แต่จะโค้ง หรือ ตรง  มันขึ้นกับ แรงโน้มถ่วง ที่กระทำต่อยาน   ยานทุกลำที่ส่งออกไปนอกระบบสุริยะ
เช่น  Voyager 1 - 2   Pioneer 10 - 11   New Horizon ..... ล้วนแล้วแต่มีความเร็ว
ที่มากกว่า Solar escape velocity ทั้งนั้นครับ

นั่นก็หมายความว่า  ยานทุกลำจะหลุดพ้นจากอิทธิพลของดวงอาทิตย์ไปได้
โดยมีเส้นทางการโคจรเป็นเส้นโค้ง  การที่โค้งก็เพราะว่าอิทธิพลแรงโน้มถ่วง
ของดวงอาทิตย์ยังกระทำอยู่ตลอดเวลา  ทำให้ความเร็วยานลดลง  แต่ก็ยังสามารถ
หลุดพ้นระบบสุริยะ  ออกไปสู่ Oort cloud .... และออกไปสู่ดาวฤกษ์ดวงถัดไปได้ครับ

รายละเอียดของ "เส้นโค้ง" ดังกล่าว  ผมยังไม่เคยเห็นนะครับ  แต่ทาง NASA ได้คำนวณไว้แล้วแน่นอน
ตัวอย่างก็เห็นได้จากการที่ NASA ได้ระบุว่ายาน Voyager 1  จะผ่านออกจาก Oort cloud ไป
ในอีกประมาณ 30,000 ปี  และจะ "เฉียด" ดาวฤกษ์ Gliese 445  ในอีก 40,000 ปี  โดยเฉียด
ในระยะประมาณ 1.6 ปีแสง

สรุปแล้ว  ไม่มีวัตถุอวกาศใด ๆ จะเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงได้เลยครับ  เพราะมันจะต้อง
ถูกอิทธิพลแรงโน้มถ่วงจากดาวฤกษ์บริเวณนั้น  มากบ้าง  น้อยบ้าง  จะเส้นทางเกิดความโค้ง
เปลี่ยนไปตามเวลา (อันยาวนาน)

ภาพตำแหน่งยานทั้ง 5 ลำ  ที่ถูกส่งออกไปนอกระบบสุริยะ
(ตัวเลขเป็น AU ไม่ update นะครับ  ล้าหลังไปประมาณเกือบ 2 ปีได้)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่