เลห์ ลาดัค ฉบับเสริมความรู้
อ่านแล้วอาจไม่ได้ทำให้อยากไปเลห์มากขึ้น (กว่าเดิม) แต่จะทำให้ไปเลห์แล้วสนุกขึ้น!
สวัสดีค่า วันนี้ Jellyjourney ขอภูมิใจนำเสนอบลอค เลห์ ลาดัค
เอาจริงๆตอนแรกก็คิดว่าบลอคเลห์คือมีคนรีวิวเยอะมากๆ แล้วเราจะเขียนไปอีกทำไมนะ แต่ในระหว่างที่เที่ยวก็มีคำถามเข้ามาในหัวมากมาย ซึ่งส่วนมากจะเป็นคำถามเชิงประวัติศาสตร์ อาจเป็นเพราะเราศึกษามันมาไม่ดีพอด้วยแหละ ดูมาแค่ว่ามีที่ไหนที่จะไปเที่ยวบ้าง รู้แค่ว่าไปพระราชวัง วัด ทะเลสาบ ทะเลทราย รูปสวยโคตร พอละ แต่พอไปจริงๆคำถามในหัวกลับเป็นแบบ ราชวงศ์เลห์มีประวัติยังไงนะ เค้ามีระบบการปกครองยังไง นับถือศาสนาอะไรเป็นส่วนใหญ่ ทำอาชีพอะไรกันอะ...ความหายนะก็บังเกิดเพราะ internet ก็ slow down ซะเหลือเกิน ต้องจำใจเก็บคำถามกลับมาทำ research ที่บ้านหลังจากกลับ
ดังนั้น บลอค เลห์ลาดัค ของ Jellyjourney บลอคนี้อาจจะไม่เหมือนเวบท่องเที่ยวทั่วไปนะคะ จะไม่ได้รีวิวมาก เน้นเรื่องราวและรูปภาพละกันนะ (ถ้าใครไม่อยากอ่านเลื่อนลงไปดูรูปได้เลยจ้า)
เริ่มกันเลย
Q : เลห์ ลาดัค อยู่ไหน
เริ่มจากรูปข้างล่างนี้ก่อนนะ เพื่อให้เข้าใจง่าย
สรุปว่า Leh เป็นเมืองหลวงของ Leh District ซึ่งเป็นส่วนนึงของ Ladakh region นะจ๊ะ เวลาพูดกันว่า ชั้นไปเที่ยวเลห์ ลาดัค ก็คือเราไปเที่ยวตรงที่ไฮไลท์ที่เหลือง คือ เมือง Leh และเมืองอื่นๆรอบๆที่อยู่ใน Leh District ถ้ามองจากแผนที่อินเดียที่เราว่ามันมีรูปร่างเหมือนเพชร Ladakh ก็อยู่ตรงกลางแทบบนสุดแล้วหละค่ะ
Q: ทำไมเลห์มีพระราชวัง เค้ามีราชวงศ์ด้วยหรอ แล้วราชวงศ์ยัง active อยู่มั๊ย?
A: ลาดัคมีราชวงศ์ค่ะชื่อว่า Namgyal dynasty มีกษัตริย์ถึง 20 ท่านเลยนะคะ เริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1465 จนถึงประมาณ ค.ศ. 1842 ก็ถูกโค่นอำนาจลงโดยชาวซิกข์ กษัตริย์ที่มีชื่อเสียงและเกี่ยวข้องกับที่ที่เราไปเที่ยวได้แก่
- กษัตริย์ ลำดับที่ 6 Tsewang Namgyal ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มก่อสร้าง Leh Palace ในปี พ.ศ. 1553
- กษัตริย์ ลำดับที่ 9 Sengge Namgyal ซึ่งมีฉายาว่าเป็น The Lion King ในยุคนี้ท่านได้ทำการสร้าง Leh palace ต่อจนเสร็จ สร้าง Hemis Monastery และ Monastery อื่นๆที่มากมาย
- กษัตริย์ ลำดับที่ 12 Deldan Namgyal ผู้สร้าง Shey Palace ซึ่งถือเป็น Summer palace ของราชวงศ์ในสมัยนั้น
- กษัตริย์ ลำดับที่ 19 Tshespal Namgyal ซึ่งโดยโค่นอำนาจลงโดยชาวซิกข์และโดนไล่ให้อยู่ที่ Stok palace ดังนั้นปัจจุบัน Stok Palace ก็ยังเป็นที่อยู่อาศัยของลูกหลานราชวงศ์ในสมัยก่อนแต่ตอนนี้ไม่มีอำนาจแล้วค่ะ
ปัจจุบัน Ladakh district บริหารโดย Ladakh Autonomous Hill Development Council ซึ่งตัวแทนมาจากการเลือกตั้งของคนในพื้นที่มีหน้าที่ในการบริหารงบประมาณ การพัฒนาทางเศรษฐกิจการศึกษา การจัดการพื้นที่ ภาษี เป็นต้น
Q: ชาวเลห์นับถือศาสนาอะไร
A: 60 กว่าเปอร์เซนต์ของคนเลห์นับถือศาสนาพุทธแบบธิเบตค่ะ วัดที่เราไปเที่ยวทุกที่ก็จะมีพระพุทธรูปตามที่ Tibetan Buddhism นับถือ มีรูปองค์ดาไลลามะ มีกงล้อมนตราและธงมาตราเต็มไปหมดทุกที่เลยค่ะ
แต่ถ้าถามว่าลาดัคนับถืออะไร ต้องตอบว่าส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามนะคะ เพราะ Kagil district (ซึ่งมีประชากรมากกว่า) นับถือศาสนาอิสลาม ในขณะที่ Leh district นับถือศาสนาพุทธ... และไม่มีพลาด ในปีค.ศ. 1989 ก็เกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างผู้นับถือศาสนาอิสลามและศาสนาพุทธในแคว้นลาดัค
หากใครต้องการไปเที่ยวเลห์แล้วอยากเที่ยววัดให้อินและฟินมากขึ้นแนะนำให้ไปอ่านเรื่องราวของ Tibetan Buddhism ก่อนเลยค่ะรับรองไปเที่ยวแล้วเห็นภาพแน่นอน
เอาหละน่าจะเกริ่นมาพอสมควรให้รู้เรื่องราวประวัตศาสตร์ซักนิดแล้ว มาชมอัลบัมภาพกันเลยค่ะ
<ไปเที่ยวช่วงวันที่ 29 พ.ค.-7 มิ.ย.ดังนั้นเป็นช่วงก่อนเข้าหน้าร้อนค่ะ หิมะละลายหมดแล้ว อากาศดีไม่เย็นมาก ไม่ร้อนมาก>>
วัดและสถานที่ท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนา
เจดีย์ขนาดใหญ่สีขาวตั้งอยู่บนเนินเขา มีอีกชื่อนึงคือ peace pagoda เป็นเจดีย์ที่มีความหมายมากเพราะเป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นเพื่อโปรโมตสันติภาพให้เกิดขึ้นบนโลกใบนี้รู้หรือไม่ว่า peach pagoda นี้สร้างอยู่ทั่วโลกค่ะ ทั้งเอเชีย ออสเตรเลียยูโรป อเมริกา
แล้วใครเป็นคนสร้างหรอ?
เรื่องของเรื่องคือพระญี่ปุ่นรูปนึงชื่อว่า Nichidatsu Fujii ท่านได้รับแรงบัลดาลใจอย่างแรงจากท่านมหาตามะคานทีในการเรียกร้องสิทธิแบบไม่ใช้ความรุนแรง ท่านจึงอุทิศตนตั้งกลุ่ม Nipponzan-Myōhōji-Daisanga ขึ้นมาเพื่อโปรโมตสันติภาพบนโลกใบนี้ โดยการไปสร้าง peach pagoda นี้ในหลายๆที่ทั่วโลกเพื่อเป็นสัญลักษณ์! ทำให้ในปีค.ศ. 1991 ก็เกิด Shanti stupa นี้ขึ้นมาจ้า ดาไลลามะองค์ที่ 14 องค์ปัจจุบัน มาทำพิธีเปิดเจดีย์นี้ด้วยนะ
เปิดทุกวันตั้งแต่ 05.00-21.00 ค่ะ
ต่อไปจะพาไปเที่ยววัดกันบ้าง ลักษณะการเที่ยววัดที่นี่จะต้องจ่ายค่าเข้าไปส่วนด้านในค่ะ มีราคาตั้งแต่ 30-50 รูปีต่อคน ต้องถอดรองเท้าตลอด ดังนั้นอย่าลืมเอาถุงเท้าไปด้วย ที่สังเกตบางที่แต่ละห้องจะปิดอยู่ ถ้าเราอยากดูจริงๆก็ให้เดินตามหาพระมาเปิดให้เราเข้าชมได้เลยค่ะ ในส่วนของด้านในส่วนใหญ่จะถ่ายรูปได้ แต่บางที่ก็ห้ามถ่ายรูปค่ะ คนขับรถจะขับพาเราไปแต่ละเมืองและแต่ละเมืองก็จะมีวัดดังๆอยู่ ได้แก่
Alchi Monastery
วัดนี้คือเก่ามาก ขอบอกว่าด้านในสวยมาก อย่าลืมจ่ายเงินเข้าไปดูพระพุทธรูปทำจากไม้สูงเกือบเท่าตึกสามชั้น และที่สำคัญสร้างตั้งแต่ปีศตวรรษที่ 12 คือเก่าแก่มาก และแน่นอนที่นี่ห้ามถ่ายรูปค่ะ แถมยังมีพระมายืนคุมด้วย รู้เลยว่าของข้างในคือเก่าแก่มากจริงๆ
Basgo Monastery
มองลงมาด้านล่าง Basgo Monastery
Hemis Monastery – เป็นวัดที่มีหลายอาคารและหลายชั้นมากมีวัดสาขาและพระที่อยู่ในความดูแลมากมาย และยังมีพิพิธภัณฑ์ที่ใหญ่ทีเดียวอย่าลืมเข้าไปดูค่ะ หากใครฟิตหน่อยจะปืนไปด้านบนสุดเพื่อดูวิวก็ได้ค่ะ
Diskit Monastery – เป็นวัดที่อยู่ที่เมือง Diskit ซึ่งเป็นเมืองหลักของ Nubra valley ถ้าจำไม่ผิดด้านในจะมีประมาณสามห้องที่ให้เข้าชมได้ค่ะ ส่วนที่เห็นไกลลิบๆนั้นคือ พระศรีอารยเมตไตร (พระพุทธเจ้าองค์ถัดไปตามความเชื่อของศาสนานี้) สูง 32 เมตร หันหน้าไปทางประเทศปากีสถานซึ่งก็ตั้งใจให้เป็นสัญลักษ์สื่อถึงสันติภาพ จะเดินทางไปพระพุทธรูปต้องขับรถไปนะคะ
ตอนนั้นที่เราไปถึง Diskit Monastery ฝนตกจ้า เป็นวันเดียวในทั้งทริปที่เจอฝน แต่ตกอยู่ไม่นาน ฟ้าก็เปิด วิวที่เห็นคือสวยมากแทบหยุดหายใจ เป็นวิวภูเขาซ้อนๆกันและมีไอน้ำเยอะๆในอากาศสะท้อนแสง ถ่ายมาอาจไม่สวยเท่าไหร่ แต่ของจริงบอกเลยว่าธรรมชาติที่นี่มันดีงามมากจริงๆ
Thicksey Monastery
– ได้รับการขนานนามว่าเป็น Mini Potala เพราะมีหน้าตาคล้ายกับ Potala palace ที่ธิเบตมาก ด้านในประกอบด้วยพระศรีอารยเมตไตรสูงเท่าตึกสองชั้นและพระพุทธรูปของพระโพธิสัตว์อีกหลายๆองค์ ใช้เวลาซักพักในการเดินวัดนี้ค่ะ เพราะมีหลายห้องและหลายชั้น ก่อนออกอย่าลืมบอกคนขับให้หามุมถ่ายรูปวัดนี้จากระยะไกลด้วยนะคะ
Leh palace เป็นสถานที่ที่ Jellyjourney ชอบสุดแล้วในทริปนี้ Leh palace สร้างเสร็จในศตวรรษที่17 เป็นอาคารสูงเก้าชั้น ที่ชอบก็เพราะวิวที่เราถ่ายได้จากที่นี่จะสวยมาก มีหลายมุมให้ถ่าย มองเห็นเมืองเลห์ได้อย่างเต็มที่เลย แถมเราไปตอนพระอาทิตย์ใกล้จะตกด้วย แสงสวย ฟินมาก
สายธรรมชาติ
Pangong Lake – ทะเลสาบที่สูงที่สุดในโลก กินพื้นที่ประเทศอินเดีย และจีน ซึ่งจริงๆแล้ว 60 % ของพื้นที่ทะเลสาบเป็นพื้นที่ของประเทศจีนจ้า เราสามารถเลือกได้ว่าจะพักที่ทะเลสาบพันกอง หรือจะเป็น one day trip ซึ่งที่พักริมทะเลสาบมีหลายแบบแต่ส่วนมากก็เป็นเต้นท์ค่ะ แน่นอน ไฟปิดสามทุ่ม น้ำร้อนไม่มีเลย! ก็ซักแห้งกันไปค่ะยาวๆ
Nubra valley เป็นหมู่บ้านที่มีแม่น้ำ Shyok ไหลผ่านเรามองแล้วเป็นเหมือน Oasis กลางทะเลทรายเลยค่ะ สวยมาก สีฟ้าของน้ำตัดกับสีน้ำตาลเท่าของทรายและสีเขียวของต้นไม้ หมู่บ้านนี้สูงจากระดับน้ำทะเลต่ำว่าที่เมืองเลห์ ดังนั้นเราจะรู้สึกหายใจสบายขึ้นหน่อยค่ะ
Hunder white sand dune
ส่วนมากจะแวะที่นี่ก่อนเข้าไปที่พักที่ Nubra valley กิจกรรมที่นี่ก็มีขี่อูฐกับถ่ายรูปกับ sand dune มันชิลมาก เพราะที่นี่เป็นทะเลทรายที่อากาศเย็นสบาย มองใกล้ๆทรายละเอียดมากและสะท้อนแสงวิบๆวับๆเลย
Kradung la pass
จากเลห์ไป Nubra valley ต้องผ่านจุดนี้ซึ่งถือว่าเป็นจุดที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลสูงที่สุดในทริปค่ะ แนะนำว่าก่อนมาถึงจุดนี้ก็สูดออกซิเจนไว้เป็นระยะๆเลย เพราะอากาศเบาบางมากจริงๆ อาจจะมีอาการมึนๆ ผสมกับทางที่ขรุขระมากมาย อาจจะมีการคลื่นไส้และอ้วกได้
Sangam View Point
จุดบรรจบของแม่น้ำ Indus และแม่น้ำ Zanskar
ปิดท้ายด้วยรูประหว่างทางต่างๆที่มีจอดรถถ่ายบ้าง แต่ส่วนมากก็ถ่ายจากบนรถนี่แหละค่ะ
หวังว่าข้อมูลคงเป็นประโยชน์กับแฟนบลอคทุกคนนะคะ
ใครชอบฝากกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ
เลห์ ลาดัค (Leh, Ladakh) ฉบับเสริมความรู้ เตรียมพร้อมก่อนไปเที่ยวเลห์
อ่านแล้วอาจไม่ได้ทำให้อยากไปเลห์มากขึ้น (กว่าเดิม) แต่จะทำให้ไปเลห์แล้วสนุกขึ้น!
สวัสดีค่า วันนี้ Jellyjourney ขอภูมิใจนำเสนอบลอค เลห์ ลาดัค
เอาจริงๆตอนแรกก็คิดว่าบลอคเลห์คือมีคนรีวิวเยอะมากๆ แล้วเราจะเขียนไปอีกทำไมนะ แต่ในระหว่างที่เที่ยวก็มีคำถามเข้ามาในหัวมากมาย ซึ่งส่วนมากจะเป็นคำถามเชิงประวัติศาสตร์ อาจเป็นเพราะเราศึกษามันมาไม่ดีพอด้วยแหละ ดูมาแค่ว่ามีที่ไหนที่จะไปเที่ยวบ้าง รู้แค่ว่าไปพระราชวัง วัด ทะเลสาบ ทะเลทราย รูปสวยโคตร พอละ แต่พอไปจริงๆคำถามในหัวกลับเป็นแบบ ราชวงศ์เลห์มีประวัติยังไงนะ เค้ามีระบบการปกครองยังไง นับถือศาสนาอะไรเป็นส่วนใหญ่ ทำอาชีพอะไรกันอะ...ความหายนะก็บังเกิดเพราะ internet ก็ slow down ซะเหลือเกิน ต้องจำใจเก็บคำถามกลับมาทำ research ที่บ้านหลังจากกลับ
ดังนั้น บลอค เลห์ลาดัค ของ Jellyjourney บลอคนี้อาจจะไม่เหมือนเวบท่องเที่ยวทั่วไปนะคะ จะไม่ได้รีวิวมาก เน้นเรื่องราวและรูปภาพละกันนะ (ถ้าใครไม่อยากอ่านเลื่อนลงไปดูรูปได้เลยจ้า)
เริ่มกันเลย
Q : เลห์ ลาดัค อยู่ไหน
เริ่มจากรูปข้างล่างนี้ก่อนนะ เพื่อให้เข้าใจง่าย
สรุปว่า Leh เป็นเมืองหลวงของ Leh District ซึ่งเป็นส่วนนึงของ Ladakh region นะจ๊ะ เวลาพูดกันว่า ชั้นไปเที่ยวเลห์ ลาดัค ก็คือเราไปเที่ยวตรงที่ไฮไลท์ที่เหลือง คือ เมือง Leh และเมืองอื่นๆรอบๆที่อยู่ใน Leh District ถ้ามองจากแผนที่อินเดียที่เราว่ามันมีรูปร่างเหมือนเพชร Ladakh ก็อยู่ตรงกลางแทบบนสุดแล้วหละค่ะ
Q: ทำไมเลห์มีพระราชวัง เค้ามีราชวงศ์ด้วยหรอ แล้วราชวงศ์ยัง active อยู่มั๊ย?
A: ลาดัคมีราชวงศ์ค่ะชื่อว่า Namgyal dynasty มีกษัตริย์ถึง 20 ท่านเลยนะคะ เริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1465 จนถึงประมาณ ค.ศ. 1842 ก็ถูกโค่นอำนาจลงโดยชาวซิกข์ กษัตริย์ที่มีชื่อเสียงและเกี่ยวข้องกับที่ที่เราไปเที่ยวได้แก่
- กษัตริย์ ลำดับที่ 6 Tsewang Namgyal ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มก่อสร้าง Leh Palace ในปี พ.ศ. 1553
- กษัตริย์ ลำดับที่ 9 Sengge Namgyal ซึ่งมีฉายาว่าเป็น The Lion King ในยุคนี้ท่านได้ทำการสร้าง Leh palace ต่อจนเสร็จ สร้าง Hemis Monastery และ Monastery อื่นๆที่มากมาย
- กษัตริย์ ลำดับที่ 12 Deldan Namgyal ผู้สร้าง Shey Palace ซึ่งถือเป็น Summer palace ของราชวงศ์ในสมัยนั้น
- กษัตริย์ ลำดับที่ 19 Tshespal Namgyal ซึ่งโดยโค่นอำนาจลงโดยชาวซิกข์และโดนไล่ให้อยู่ที่ Stok palace ดังนั้นปัจจุบัน Stok Palace ก็ยังเป็นที่อยู่อาศัยของลูกหลานราชวงศ์ในสมัยก่อนแต่ตอนนี้ไม่มีอำนาจแล้วค่ะ
ปัจจุบัน Ladakh district บริหารโดย Ladakh Autonomous Hill Development Council ซึ่งตัวแทนมาจากการเลือกตั้งของคนในพื้นที่มีหน้าที่ในการบริหารงบประมาณ การพัฒนาทางเศรษฐกิจการศึกษา การจัดการพื้นที่ ภาษี เป็นต้น
Q: ชาวเลห์นับถือศาสนาอะไร
A: 60 กว่าเปอร์เซนต์ของคนเลห์นับถือศาสนาพุทธแบบธิเบตค่ะ วัดที่เราไปเที่ยวทุกที่ก็จะมีพระพุทธรูปตามที่ Tibetan Buddhism นับถือ มีรูปองค์ดาไลลามะ มีกงล้อมนตราและธงมาตราเต็มไปหมดทุกที่เลยค่ะ
แต่ถ้าถามว่าลาดัคนับถืออะไร ต้องตอบว่าส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามนะคะ เพราะ Kagil district (ซึ่งมีประชากรมากกว่า) นับถือศาสนาอิสลาม ในขณะที่ Leh district นับถือศาสนาพุทธ... และไม่มีพลาด ในปีค.ศ. 1989 ก็เกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างผู้นับถือศาสนาอิสลามและศาสนาพุทธในแคว้นลาดัค
หากใครต้องการไปเที่ยวเลห์แล้วอยากเที่ยววัดให้อินและฟินมากขึ้นแนะนำให้ไปอ่านเรื่องราวของ Tibetan Buddhism ก่อนเลยค่ะรับรองไปเที่ยวแล้วเห็นภาพแน่นอน
เอาหละน่าจะเกริ่นมาพอสมควรให้รู้เรื่องราวประวัตศาสตร์ซักนิดแล้ว มาชมอัลบัมภาพกันเลยค่ะ
<ไปเที่ยวช่วงวันที่ 29 พ.ค.-7 มิ.ย.ดังนั้นเป็นช่วงก่อนเข้าหน้าร้อนค่ะ หิมะละลายหมดแล้ว อากาศดีไม่เย็นมาก ไม่ร้อนมาก>>
วัดและสถานที่ท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนา
เจดีย์ขนาดใหญ่สีขาวตั้งอยู่บนเนินเขา มีอีกชื่อนึงคือ peace pagoda เป็นเจดีย์ที่มีความหมายมากเพราะเป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นเพื่อโปรโมตสันติภาพให้เกิดขึ้นบนโลกใบนี้รู้หรือไม่ว่า peach pagoda นี้สร้างอยู่ทั่วโลกค่ะ ทั้งเอเชีย ออสเตรเลียยูโรป อเมริกา
แล้วใครเป็นคนสร้างหรอ?
เรื่องของเรื่องคือพระญี่ปุ่นรูปนึงชื่อว่า Nichidatsu Fujii ท่านได้รับแรงบัลดาลใจอย่างแรงจากท่านมหาตามะคานทีในการเรียกร้องสิทธิแบบไม่ใช้ความรุนแรง ท่านจึงอุทิศตนตั้งกลุ่ม Nipponzan-Myōhōji-Daisanga ขึ้นมาเพื่อโปรโมตสันติภาพบนโลกใบนี้ โดยการไปสร้าง peach pagoda นี้ในหลายๆที่ทั่วโลกเพื่อเป็นสัญลักษณ์! ทำให้ในปีค.ศ. 1991 ก็เกิด Shanti stupa นี้ขึ้นมาจ้า ดาไลลามะองค์ที่ 14 องค์ปัจจุบัน มาทำพิธีเปิดเจดีย์นี้ด้วยนะ
เปิดทุกวันตั้งแต่ 05.00-21.00 ค่ะ
ต่อไปจะพาไปเที่ยววัดกันบ้าง ลักษณะการเที่ยววัดที่นี่จะต้องจ่ายค่าเข้าไปส่วนด้านในค่ะ มีราคาตั้งแต่ 30-50 รูปีต่อคน ต้องถอดรองเท้าตลอด ดังนั้นอย่าลืมเอาถุงเท้าไปด้วย ที่สังเกตบางที่แต่ละห้องจะปิดอยู่ ถ้าเราอยากดูจริงๆก็ให้เดินตามหาพระมาเปิดให้เราเข้าชมได้เลยค่ะ ในส่วนของด้านในส่วนใหญ่จะถ่ายรูปได้ แต่บางที่ก็ห้ามถ่ายรูปค่ะ คนขับรถจะขับพาเราไปแต่ละเมืองและแต่ละเมืองก็จะมีวัดดังๆอยู่ ได้แก่
Alchi Monastery
วัดนี้คือเก่ามาก ขอบอกว่าด้านในสวยมาก อย่าลืมจ่ายเงินเข้าไปดูพระพุทธรูปทำจากไม้สูงเกือบเท่าตึกสามชั้น และที่สำคัญสร้างตั้งแต่ปีศตวรรษที่ 12 คือเก่าแก่มาก และแน่นอนที่นี่ห้ามถ่ายรูปค่ะ แถมยังมีพระมายืนคุมด้วย รู้เลยว่าของข้างในคือเก่าแก่มากจริงๆ
Basgo Monastery
มองลงมาด้านล่าง Basgo Monastery
Hemis Monastery – เป็นวัดที่มีหลายอาคารและหลายชั้นมากมีวัดสาขาและพระที่อยู่ในความดูแลมากมาย และยังมีพิพิธภัณฑ์ที่ใหญ่ทีเดียวอย่าลืมเข้าไปดูค่ะ หากใครฟิตหน่อยจะปืนไปด้านบนสุดเพื่อดูวิวก็ได้ค่ะ
Diskit Monastery – เป็นวัดที่อยู่ที่เมือง Diskit ซึ่งเป็นเมืองหลักของ Nubra valley ถ้าจำไม่ผิดด้านในจะมีประมาณสามห้องที่ให้เข้าชมได้ค่ะ ส่วนที่เห็นไกลลิบๆนั้นคือ พระศรีอารยเมตไตร (พระพุทธเจ้าองค์ถัดไปตามความเชื่อของศาสนานี้) สูง 32 เมตร หันหน้าไปทางประเทศปากีสถานซึ่งก็ตั้งใจให้เป็นสัญลักษ์สื่อถึงสันติภาพ จะเดินทางไปพระพุทธรูปต้องขับรถไปนะคะ
ตอนนั้นที่เราไปถึง Diskit Monastery ฝนตกจ้า เป็นวันเดียวในทั้งทริปที่เจอฝน แต่ตกอยู่ไม่นาน ฟ้าก็เปิด วิวที่เห็นคือสวยมากแทบหยุดหายใจ เป็นวิวภูเขาซ้อนๆกันและมีไอน้ำเยอะๆในอากาศสะท้อนแสง ถ่ายมาอาจไม่สวยเท่าไหร่ แต่ของจริงบอกเลยว่าธรรมชาติที่นี่มันดีงามมากจริงๆ
Thicksey Monastery – ได้รับการขนานนามว่าเป็น Mini Potala เพราะมีหน้าตาคล้ายกับ Potala palace ที่ธิเบตมาก ด้านในประกอบด้วยพระศรีอารยเมตไตรสูงเท่าตึกสองชั้นและพระพุทธรูปของพระโพธิสัตว์อีกหลายๆองค์ ใช้เวลาซักพักในการเดินวัดนี้ค่ะ เพราะมีหลายห้องและหลายชั้น ก่อนออกอย่าลืมบอกคนขับให้หามุมถ่ายรูปวัดนี้จากระยะไกลด้วยนะคะ
Leh palace เป็นสถานที่ที่ Jellyjourney ชอบสุดแล้วในทริปนี้ Leh palace สร้างเสร็จในศตวรรษที่17 เป็นอาคารสูงเก้าชั้น ที่ชอบก็เพราะวิวที่เราถ่ายได้จากที่นี่จะสวยมาก มีหลายมุมให้ถ่าย มองเห็นเมืองเลห์ได้อย่างเต็มที่เลย แถมเราไปตอนพระอาทิตย์ใกล้จะตกด้วย แสงสวย ฟินมาก
สายธรรมชาติ
Pangong Lake – ทะเลสาบที่สูงที่สุดในโลก กินพื้นที่ประเทศอินเดีย และจีน ซึ่งจริงๆแล้ว 60 % ของพื้นที่ทะเลสาบเป็นพื้นที่ของประเทศจีนจ้า เราสามารถเลือกได้ว่าจะพักที่ทะเลสาบพันกอง หรือจะเป็น one day trip ซึ่งที่พักริมทะเลสาบมีหลายแบบแต่ส่วนมากก็เป็นเต้นท์ค่ะ แน่นอน ไฟปิดสามทุ่ม น้ำร้อนไม่มีเลย! ก็ซักแห้งกันไปค่ะยาวๆ
Nubra valley เป็นหมู่บ้านที่มีแม่น้ำ Shyok ไหลผ่านเรามองแล้วเป็นเหมือน Oasis กลางทะเลทรายเลยค่ะ สวยมาก สีฟ้าของน้ำตัดกับสีน้ำตาลเท่าของทรายและสีเขียวของต้นไม้ หมู่บ้านนี้สูงจากระดับน้ำทะเลต่ำว่าที่เมืองเลห์ ดังนั้นเราจะรู้สึกหายใจสบายขึ้นหน่อยค่ะ
Hunder white sand dune
ส่วนมากจะแวะที่นี่ก่อนเข้าไปที่พักที่ Nubra valley กิจกรรมที่นี่ก็มีขี่อูฐกับถ่ายรูปกับ sand dune มันชิลมาก เพราะที่นี่เป็นทะเลทรายที่อากาศเย็นสบาย มองใกล้ๆทรายละเอียดมากและสะท้อนแสงวิบๆวับๆเลย
Kradung la pass
จากเลห์ไป Nubra valley ต้องผ่านจุดนี้ซึ่งถือว่าเป็นจุดที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลสูงที่สุดในทริปค่ะ แนะนำว่าก่อนมาถึงจุดนี้ก็สูดออกซิเจนไว้เป็นระยะๆเลย เพราะอากาศเบาบางมากจริงๆ อาจจะมีอาการมึนๆ ผสมกับทางที่ขรุขระมากมาย อาจจะมีการคลื่นไส้และอ้วกได้
Sangam View Point
จุดบรรจบของแม่น้ำ Indus และแม่น้ำ Zanskar
ปิดท้ายด้วยรูประหว่างทางต่างๆที่มีจอดรถถ่ายบ้าง แต่ส่วนมากก็ถ่ายจากบนรถนี่แหละค่ะ
หวังว่าข้อมูลคงเป็นประโยชน์กับแฟนบลอคทุกคนนะคะ
ใครชอบฝากกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ