สวัสดีค่ะเพื่อนๆ ห้องเพลงและเพื่อนสมาชิกทุกท่าน
จวนจะถึงวันเข้าพรรษาแล้ว วันนี้เลยขอนำข้อมูลดีๆ ที่เป็นภูมิปัญญาล้ำค่าของไทยอย่างหนึ่งเรื่องการทำเทียนพรรษา มาเผยแพร่เพื่อช่วยกันอนุรักษ์ส่งเสริม และให้เราได้ภูมิใจกับมรดกวัฒนธรรมและฝีมือของคนไทย ขอขอบคุณผู้อนุเคราะห์ข้อมูลค่ะ เนื้อหายาว ขอเข้าเรื่องเลยค่ะ
ประวัติการทำเทียนพรรษา
การแห่เทียนพรรษา เป็นประเพณีที่ชาวพุทธกระทำกันในวันเข้าพรรษา ต่อเนื่องกันมาตั้งแต่พุทธกาล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา และสังฆบูชา
แรกเริ่มเดิมทีชาวเมืองอุบลจะฟั่นเทียนยาวรอบศีรษะไปถวายพระเพื่อจุดบูชาจำพรรษา พร้อมกับหาน้ำมัน เครื่องไทยทานและผ้าอาบน้ำฝนไปถวายพระ ต่อมาในสมัยกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์เป็นผู้สำเร็จราชการเมือง ได้มีการแห่บั้งไฟที่วัดกลาง แล้วมีการตีกันในขบวนแห่จนถึงแก่ความตาย เสด็จในกรมจึงให้เลิกการแห่บั้งไฟ และเปลี่ยนมาเป็นการแห่เทียนแทน
การแห่เทียนในยุคแรกไม่ได้ใหญ่โตเช่นปัจจุบัน ชาวบ้านเพียงแต่ร่วมกันบริจาคแล้วนำเทียนมาติดกับลำไม้ไผ่ ติดกระดาษเงินกระดาษทองเป็นลายฟันปลาติดปิดรอยต่อ เสร็จแล้วนำตันเทียนไปมัดติดกับปี๊บน้ำมันก๊าด ต่อมาจังหวัดได้ส่งเสริมให้งานเข้าพรรษาเป็นงานประเพณีประจำปี ในขณะที่การทำต้นเทียนก็มีการพัฒนาการเป็นเทียนหลายประเภท ได้แก่ เทียนมัดรวมติดลาย เทียนติดพิมพ์ และเทียนแกะสลัก ตามลำดับ
เครื่องมือขูด เซาะ เจาะ ขีด มีรายการตามภาพดังนี้
แกะเทียน...สลักลาย
:: การต้มเทียน ทุบหรือสับขี้ผึ้งให้มีขนาดเล็กนำไปต้มผสมกับขี้ผึ้งเทียมในปี๊บหรือถุงน้ำมัน การต้มเทียนใช้อัตราส่วน ขี้ผึ้งแท้ 3 ส่วน : ขี้ผึ้งเทียม 10 ส่วน ส่วนการทำฐานหรือองค์ประกอบใช้อัตราส่วน ขี้ผึ้งแท้ 1 ส่วน : ขี้ผึ้งเทียม 3 ส่วน
:: การหล่อเทียน เป็นการเทขี้ผึ้งที่ต้มแล้วลงในแบบพิมพ์ หรือเบ้าหลอม หรือโฮง ที่มีมาจากสังกะสีแผ่นเรียบโค้งงอ ให้ได้ขนาดและรูปร่างของต้นเทียนตามที่ต้องการ
:: การกลึงต้นเทียน เป็นการทำให้ลำต้นเทียนที่หล่อแล้วมีรูปร่างตามที่ต้องการ กลมและเกลี้ยงขึ้น โดยใช้เพลาช่วยหมุนต้นเทียนและใช้เหล็กกลึง กลึงต้นเทียนให้ได้รูปร่าง
:: การทำผึ้งแผ่น เป็นการทำขี้ผึ้งให้เป็นแผ่นๆ เพื่อใช้ตกแต่ง ซ่อมแซม หรือปิดส่วนต่างๆ ของต้นเทียนและองค์ประกอบ เช่น ฐาน ลำต้น ยอด หรือองค์ประกอบ การทำผึ้งแผ่นจะเทขี้ผึ้งที่หลอมละลายแล้วลงในแบบพิมพ์สี่เหลี่ยม วัดขนาดความหนาของแผ่นผึ้งตามความต้องการ และปรับผิวหน้าให้อยู่ในระนาบเดียวกันทั้งแผ่น จากนั้นปล่อยให้ขี้ผึ้งเย็นและแข็งตัว จึงลอกแผ่นผึ้งออกจากแบบพิมพ์โดยใช้มีดช่วยในการงัดแงะ จากนั้นจึงนำผึ้งแผ่นไปใช้งานต่อไป
:: การปั้นหุ่นองค์ประกอบ วัสดุอุปกรณ์ในการปั้นหุ่นประกอบด้วย ใยมะพร้าว เหล็ก ปูนปลาสเตอร์ น้ำ ถัง และไม้อัด เริ่มต้นทำเขียนแบบใส่ไม้อัด ใส่โครงเหล็ก แล้วมัดด้วยใยมะพร้าวบนโครงเหล็ก จากนั้นการผสมปูนปลาสเตอร์ ในสัดส่วน น้ำ 1 ส่วน ต่อ ปูนปลาสเตอร์ 2 ส่วน เมื่อผสมปูนปลาสเตอร์เสร็จแล้ว ก็จะนำไปหุ้มบนโครงเหล็ก เมื่อปูนปลาสเตอร์แห้งก็จะนำขี้ผึ้งแผ่นเข้าติดบนตัวหุ่นและแกะสลักต่อไป
:: การออกแบบ เป็นการร่างแบบหรือลวดลายลงบนกระดาษ หรือต้นเทียนก่อนทำการแกะสลัก เพื่อให้ได้ลวดลายที่ถูกต้อง สวยงามและสอดคล้องกลมกลืนกัน
:: การแกะสลัก เป็นการใช้เครื่องมือต่างๆ แกะสลักลงบนต้นเทียนหรือส่วนประกอบ โดยใช้วิธีเซาะ เจาะ ขีด ขุด และขูด ให้เป็นรูปสามมิติ ที่มีความกว้าง ความยาว และความลึก ให้มีรูปร่างตามจินตนาการ หรือเหมือนของจริง
:: การตกแต่ง เป็นการเก็บรายละเอียด ตรวจสอบหาความบกพร่องต่างๆ ของต้นเทียนและองค์ประกอบ เช่น ความละเอียด ความคมชัดของลาย ตลอดจนการทำความสะอาดต้นเทียน หากพบความบกพร่องจะต้องดำเนินการแก้ไขให้ต้นเทียนเรียบร้อยและมีความสมบูรณ์มากที่สุด
เครื่องมือพิมพ์ ตัด ติด แต่ง
ติดดอก...พิมพ์ลาย
:: การออกแบบ โดยการร่างแบบที่จะจัดทำลงบนกระดาษ แล้วนำดอกผึ้งไปติดตามโครงสร้างของต้นเทียน ช่างเทียนจะเป็นผู้กำหนดว่าดอกผึ้งลายใดจะใช้กับส่วนใดของต้นเทียน
:: การต้มเทียน นำขี้ผึ้งแท้มาสับเป็นก้อนเล็กๆ ต้มในชามขนาดใหญ่ ใส่น้ำลงไปเล็กน้อยเพื่อป้องกันการไหม้และทำให้ขี้ผึ้งสะอาดขึ้น ระหว่างต้มหมั่นคนเพื่อให้เทียนละลายเร็ว เมื่อละลายดีแล้วยกลง ใช้กระบวยกรองขี้ผึ้งลงในชามขนาดเล็กโดยใส่นำเล็กน้อย ตะกอนที่ปะปนจะตกตะกอนลงในน้ำ ทิ้งให้ขี้ผึ้งแข็งตัวพอหมาดๆ จึงนำไปใช้
:: การหล่อเทียน การหล่อลำต้นและยอดของต้นเทียนจะใช้สังกะสีแผ่นเรียบทำเป็นแม่พิมพ์ขึ้นรูปทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางกว้างและความยาวตามต้องการ นำเหล็กมาทำแกนกลาง จากนั้นเทแบบด้วยขี้ผึ้งที่ต้มละลายแล้วลงในแบบพิมพ์จนเต็มปล่อยทิ้งไว้จนเย็น จะต้องใช้เวลาประมาณ 5-8 วัน แล้วแต่สภาพอากาศ จึงจะแกะแบบพิมพ์ออก
:: การกลึงต้นเทียน การกลึงต้นเทียนให้ได้ดีเป็นหน้าที่ของช่างกลึงเหล็กหรือไม้ เป็นขั้นตอนที่จะทำให้ต้นเทียนกลมเกลี้ยง เมื่อกลึงเสร็จแล้วขนาดของต้นเทียนติดพิมพ์จะต้องเล็กกว่าที่ต้องการเล็กน้อย ทั้งนี้เพราะต้องมีการติดพิมพ์ดอกผึ้งเพิ่มเข้าไปอีก
:: การพิมพ์ดอกผึ้ง นำแม่พิมพ์แช่น้ำให้อิ่มตัว ใช้ช้อนขูดขูดผิวหน้าขี้ผึ้งให้ได้ขนาดเท่าไข่ไก่ นวดให้เป็นเนื้อเดียวกัน วักน้ำละลายผงซักฟอกหยอดลงในแบบพิมพ์และลูบขวดแก้วด้วยน้ำ นำขี้ผึ้งที่นวดแล้ววางและกดลงในลายดอกของแบบพิมพ์ ใช้ขวดกดและคลึงขี้ผึ้ง ให้แทรกเข้าไปทุกเส้นลายของแบบพิมพ์ แล้วคลึงจนผิวหน้าของขี้ผึ้งแบนราบ จึงแงะขี้ผึ้งออกมาวางรวมกันในถาด
:: การตัดลายดอกผึ้ง นำดอกผึ้งที่พิมพ์ลายไว้แล้วไปวางบนกระจกใส ใช้มีดตัดลายตามแบบ ควรจุ่มปลายมีดตัดด้วยน้ำมันพืชเล็กน้อย จะทำให้ตัดง่ายขึ้น เศษของขี้ผึ้งที่ตัดออกจะเก็บไว้เพื่อนำไปหลอมละลายใหม่เพื่อใช้ทำดอกผึ้งสำหรับงานซ่อมแซมต่อไป แยกดอกผึ้งลายต่าง ๆ ไว้คนละถาด เพื่อให้ง่ายและสะดวกในการหยิบไปใช้
:: การติดดอกผึ้ง ดอกผึ้งที่ตัดเรียบร้อยแล้วจะใช้ติดตามฐาน ลำต้น ยอดของต้นเทียนและส่วนประกอบอื่นๆ ของต้นเทียน ส่วนการติดดอกผึ้งที่มีลวดลายใดลงที่ส่วนใดนั้น ช่างผู้ทำเทียนจะเป็นผู้ออกแบบ
ลายแกะ...ลายพิมพ์...ลายเทียน
:: ต้นเทียนพรรษาประเภทแกะสลัก ::
ลวดลายที่ใช้ประกอบในการทำเทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี ประเภทแกะสลักนั้นใช้ลวดลายไทยเป็นหลัก ที่นิยมคือ ลานกระจัง ลายประจำยาม ลายกนก ลายผักกรูด ลายกระจังตาอ้อย และมีลวดลายที่ได้แนวคิดจากสิ่งที่พบเห็นตามธรรมชาติ เช่น รวงข้าว เปลวไฟ กาบใบ ใบไม้ ฟันปลา ดอกไม้ และเครือเถาของพืชบางชนิด ลวดลายที่ได้จากลายไทย ช่างทำเทียนจะนำมาดัดแปลงเพื่อนำมาทำเป็นแม่พิมพ์ ลายพิมพ์หรือแกะลงบนลำต้น หรือฐานของต้นเทียน ลวดลายที่พบเห็นได้นั้นแบ่งออกเป็น 4 ลวดลาย ได้แก่
:: ต้นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ ::
ลายที่นำมาติดที่ต้นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์จะมีลักษณะที่แตกต่างกันในขบวนต้นเทียนหนึ่งขบวนจะมีลายหลายแบบและมีขนาดที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นที่และรูปแบบของต้นเทียน ถ้าเป็นต้นเหลี่ยมก็จะแกะสลักลายให้มีขนาดเท่ากับเหลี่ยมของต้นเทียน แต่ถ้าเป็นต้นกลมก็จะแกะสลักให้ลงตัว เมื่อติดโดยรอบแล้วจะลงตัวพอดี
ลายต้นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์จะมี 3 ลักษณะ คือ
1.ลายเอก หมายถึง ลายเด่นของต้นเทียนที่เป็นหลักส่วนมากจะเป็นลายก้านขดลักษณะต่างๆ เช่น ก้านขดหางไหล ก้านขดกนกหางโต ก้านขดหน้าสิงห์ ก้านขดเทพนม เป็นต้น
2.ลายโท(ลายประกอบ) หมายถึง ลายที่สร้างขึ้นขึ้นเพื่อรองรับกับลายเอกมีลักษณะเด่นรองลงมาจากลายเอก หรือเมื่อนำไปติดบางส่วนของขบวนต้นเทียนก็จะกลายเป็นลายเอกได้ เช่น ลายกนกเกลียว ใบเทศเกลียว พุ่มหางกนก ลายกระจัง ลายปีกผีเสื้อ ลายประจำยามก้ามปู ลายกระจังหลักร้อย ลายประจำยาม ลายพวงมาลัยย้อย เป็นต้น
3.ลายเก็บงาน เป็นลายที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เก็บงานหรือส่งลายเอกให้เด่นขึ้น เช่น ลายกระจังฟันปลา ลายตาอ้อยซ้อน(ลายกระดูกงู) ลายตาตุ่ม ลายมะลิซ้อน ลายประกอบเก็บงานจะเป็นลายเส้นยาวใช้ในการเก็บรายละเอียดของลายให้วิจิตรสวยงามยิ่งขึ้น
ความสวย...ที่แตกต่าง
เทียนพรรษาทั้งประเภทแกะสลักและติดพิมพ์ของจังหวัดอุบลราชธานีในยามที่ปรากฏต่อสายตาประชาชนนั้นมีความสวยสดงดงาม ยิ่งนัก แต่กว่าความงดงามของต้นเทียนจะปรากฏฉายออกมาได้นั้น ต้องอาศัยความรู้ความสามารถทางด้านศิลปะ ประกอบกับจินตนาการอันบรรเจิดของช่างเทียน การทำเทียนพรรษาทั้งสองแบบนั้นกรรมวิธีและขั้นตอนมีความแตกต่างกัน ดังนี้
อ้างอิง
1. คณะกรรมการจัดทำหนังสือวิวัฒนาการประวัติประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี. เลิศล้ำเลอค่า เทียนพรรษาเมืองอุบล. อุบลราชธานี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2550.
2. ประดับ ก้อนแก้ว. เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี: ประวัติ การจัดทำและการประกวด. อุบลราชธานี : โรงเรียนอุบลวิทยาคม, 2531
3. พระครูสมุห์สำลี ทิฏฺฐธมฺโม. การพัฒนาหลักสูตรอบรมภูมิปัญญาท้องถิ่น การทำต้นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ จังหวัดอุบลราชธานี. เอกสารประกอบการอบรมการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีการแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานีเพื่อสืบสานตำนาน ประเพณีดั้งเดิม ระหว่างวันที่ 29-30 มิถุนายน 2552 ณ ณ ห้องข้อมูลท้องถิ่น ชั้น 3 อาคารข้อมูลท้องถิ่น สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. อุบลราชธานี : สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2552.
.....
ห้องเพลง**คนรากหญ้า** พักยกการเมือง มุมนี้ไม่มีสี ไม่มีกลุ่ม...มีแต่เสียง 26/7/2018 (เทียนพรรษา ภูมิปัญญาล้ำค่าของไทย)
สวัสดีค่ะเพื่อนๆ ห้องเพลงและเพื่อนสมาชิกทุกท่าน
จวนจะถึงวันเข้าพรรษาแล้ว วันนี้เลยขอนำข้อมูลดีๆ ที่เป็นภูมิปัญญาล้ำค่าของไทยอย่างหนึ่งเรื่องการทำเทียนพรรษา มาเผยแพร่เพื่อช่วยกันอนุรักษ์ส่งเสริม และให้เราได้ภูมิใจกับมรดกวัฒนธรรมและฝีมือของคนไทย ขอขอบคุณผู้อนุเคราะห์ข้อมูลค่ะ เนื้อหายาว ขอเข้าเรื่องเลยค่ะ
ประวัติการทำเทียนพรรษา
การแห่เทียนพรรษา เป็นประเพณีที่ชาวพุทธกระทำกันในวันเข้าพรรษา ต่อเนื่องกันมาตั้งแต่พุทธกาล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา และสังฆบูชา
แรกเริ่มเดิมทีชาวเมืองอุบลจะฟั่นเทียนยาวรอบศีรษะไปถวายพระเพื่อจุดบูชาจำพรรษา พร้อมกับหาน้ำมัน เครื่องไทยทานและผ้าอาบน้ำฝนไปถวายพระ ต่อมาในสมัยกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์เป็นผู้สำเร็จราชการเมือง ได้มีการแห่บั้งไฟที่วัดกลาง แล้วมีการตีกันในขบวนแห่จนถึงแก่ความตาย เสด็จในกรมจึงให้เลิกการแห่บั้งไฟ และเปลี่ยนมาเป็นการแห่เทียนแทน
การแห่เทียนในยุคแรกไม่ได้ใหญ่โตเช่นปัจจุบัน ชาวบ้านเพียงแต่ร่วมกันบริจาคแล้วนำเทียนมาติดกับลำไม้ไผ่ ติดกระดาษเงินกระดาษทองเป็นลายฟันปลาติดปิดรอยต่อ เสร็จแล้วนำตันเทียนไปมัดติดกับปี๊บน้ำมันก๊าด ต่อมาจังหวัดได้ส่งเสริมให้งานเข้าพรรษาเป็นงานประเพณีประจำปี ในขณะที่การทำต้นเทียนก็มีการพัฒนาการเป็นเทียนหลายประเภท ได้แก่ เทียนมัดรวมติดลาย เทียนติดพิมพ์ และเทียนแกะสลัก ตามลำดับ
เครื่องมือขูด เซาะ เจาะ ขีด มีรายการตามภาพดังนี้
แกะเทียน...สลักลาย
:: การต้มเทียน ทุบหรือสับขี้ผึ้งให้มีขนาดเล็กนำไปต้มผสมกับขี้ผึ้งเทียมในปี๊บหรือถุงน้ำมัน การต้มเทียนใช้อัตราส่วน ขี้ผึ้งแท้ 3 ส่วน : ขี้ผึ้งเทียม 10 ส่วน ส่วนการทำฐานหรือองค์ประกอบใช้อัตราส่วน ขี้ผึ้งแท้ 1 ส่วน : ขี้ผึ้งเทียม 3 ส่วน
:: การหล่อเทียน เป็นการเทขี้ผึ้งที่ต้มแล้วลงในแบบพิมพ์ หรือเบ้าหลอม หรือโฮง ที่มีมาจากสังกะสีแผ่นเรียบโค้งงอ ให้ได้ขนาดและรูปร่างของต้นเทียนตามที่ต้องการ
:: การกลึงต้นเทียน เป็นการทำให้ลำต้นเทียนที่หล่อแล้วมีรูปร่างตามที่ต้องการ กลมและเกลี้ยงขึ้น โดยใช้เพลาช่วยหมุนต้นเทียนและใช้เหล็กกลึง กลึงต้นเทียนให้ได้รูปร่าง
:: การทำผึ้งแผ่น เป็นการทำขี้ผึ้งให้เป็นแผ่นๆ เพื่อใช้ตกแต่ง ซ่อมแซม หรือปิดส่วนต่างๆ ของต้นเทียนและองค์ประกอบ เช่น ฐาน ลำต้น ยอด หรือองค์ประกอบ การทำผึ้งแผ่นจะเทขี้ผึ้งที่หลอมละลายแล้วลงในแบบพิมพ์สี่เหลี่ยม วัดขนาดความหนาของแผ่นผึ้งตามความต้องการ และปรับผิวหน้าให้อยู่ในระนาบเดียวกันทั้งแผ่น จากนั้นปล่อยให้ขี้ผึ้งเย็นและแข็งตัว จึงลอกแผ่นผึ้งออกจากแบบพิมพ์โดยใช้มีดช่วยในการงัดแงะ จากนั้นจึงนำผึ้งแผ่นไปใช้งานต่อไป
:: การปั้นหุ่นองค์ประกอบ วัสดุอุปกรณ์ในการปั้นหุ่นประกอบด้วย ใยมะพร้าว เหล็ก ปูนปลาสเตอร์ น้ำ ถัง และไม้อัด เริ่มต้นทำเขียนแบบใส่ไม้อัด ใส่โครงเหล็ก แล้วมัดด้วยใยมะพร้าวบนโครงเหล็ก จากนั้นการผสมปูนปลาสเตอร์ ในสัดส่วน น้ำ 1 ส่วน ต่อ ปูนปลาสเตอร์ 2 ส่วน เมื่อผสมปูนปลาสเตอร์เสร็จแล้ว ก็จะนำไปหุ้มบนโครงเหล็ก เมื่อปูนปลาสเตอร์แห้งก็จะนำขี้ผึ้งแผ่นเข้าติดบนตัวหุ่นและแกะสลักต่อไป
:: การออกแบบ เป็นการร่างแบบหรือลวดลายลงบนกระดาษ หรือต้นเทียนก่อนทำการแกะสลัก เพื่อให้ได้ลวดลายที่ถูกต้อง สวยงามและสอดคล้องกลมกลืนกัน
:: การแกะสลัก เป็นการใช้เครื่องมือต่างๆ แกะสลักลงบนต้นเทียนหรือส่วนประกอบ โดยใช้วิธีเซาะ เจาะ ขีด ขุด และขูด ให้เป็นรูปสามมิติ ที่มีความกว้าง ความยาว และความลึก ให้มีรูปร่างตามจินตนาการ หรือเหมือนของจริง
:: การตกแต่ง เป็นการเก็บรายละเอียด ตรวจสอบหาความบกพร่องต่างๆ ของต้นเทียนและองค์ประกอบ เช่น ความละเอียด ความคมชัดของลาย ตลอดจนการทำความสะอาดต้นเทียน หากพบความบกพร่องจะต้องดำเนินการแก้ไขให้ต้นเทียนเรียบร้อยและมีความสมบูรณ์มากที่สุด
เครื่องมือพิมพ์ ตัด ติด แต่ง
ติดดอก...พิมพ์ลาย
:: การออกแบบ โดยการร่างแบบที่จะจัดทำลงบนกระดาษ แล้วนำดอกผึ้งไปติดตามโครงสร้างของต้นเทียน ช่างเทียนจะเป็นผู้กำหนดว่าดอกผึ้งลายใดจะใช้กับส่วนใดของต้นเทียน
:: การต้มเทียน นำขี้ผึ้งแท้มาสับเป็นก้อนเล็กๆ ต้มในชามขนาดใหญ่ ใส่น้ำลงไปเล็กน้อยเพื่อป้องกันการไหม้และทำให้ขี้ผึ้งสะอาดขึ้น ระหว่างต้มหมั่นคนเพื่อให้เทียนละลายเร็ว เมื่อละลายดีแล้วยกลง ใช้กระบวยกรองขี้ผึ้งลงในชามขนาดเล็กโดยใส่นำเล็กน้อย ตะกอนที่ปะปนจะตกตะกอนลงในน้ำ ทิ้งให้ขี้ผึ้งแข็งตัวพอหมาดๆ จึงนำไปใช้
:: การหล่อเทียน การหล่อลำต้นและยอดของต้นเทียนจะใช้สังกะสีแผ่นเรียบทำเป็นแม่พิมพ์ขึ้นรูปทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางกว้างและความยาวตามต้องการ นำเหล็กมาทำแกนกลาง จากนั้นเทแบบด้วยขี้ผึ้งที่ต้มละลายแล้วลงในแบบพิมพ์จนเต็มปล่อยทิ้งไว้จนเย็น จะต้องใช้เวลาประมาณ 5-8 วัน แล้วแต่สภาพอากาศ จึงจะแกะแบบพิมพ์ออก
:: การกลึงต้นเทียน การกลึงต้นเทียนให้ได้ดีเป็นหน้าที่ของช่างกลึงเหล็กหรือไม้ เป็นขั้นตอนที่จะทำให้ต้นเทียนกลมเกลี้ยง เมื่อกลึงเสร็จแล้วขนาดของต้นเทียนติดพิมพ์จะต้องเล็กกว่าที่ต้องการเล็กน้อย ทั้งนี้เพราะต้องมีการติดพิมพ์ดอกผึ้งเพิ่มเข้าไปอีก
:: การพิมพ์ดอกผึ้ง นำแม่พิมพ์แช่น้ำให้อิ่มตัว ใช้ช้อนขูดขูดผิวหน้าขี้ผึ้งให้ได้ขนาดเท่าไข่ไก่ นวดให้เป็นเนื้อเดียวกัน วักน้ำละลายผงซักฟอกหยอดลงในแบบพิมพ์และลูบขวดแก้วด้วยน้ำ นำขี้ผึ้งที่นวดแล้ววางและกดลงในลายดอกของแบบพิมพ์ ใช้ขวดกดและคลึงขี้ผึ้ง ให้แทรกเข้าไปทุกเส้นลายของแบบพิมพ์ แล้วคลึงจนผิวหน้าของขี้ผึ้งแบนราบ จึงแงะขี้ผึ้งออกมาวางรวมกันในถาด
:: การตัดลายดอกผึ้ง นำดอกผึ้งที่พิมพ์ลายไว้แล้วไปวางบนกระจกใส ใช้มีดตัดลายตามแบบ ควรจุ่มปลายมีดตัดด้วยน้ำมันพืชเล็กน้อย จะทำให้ตัดง่ายขึ้น เศษของขี้ผึ้งที่ตัดออกจะเก็บไว้เพื่อนำไปหลอมละลายใหม่เพื่อใช้ทำดอกผึ้งสำหรับงานซ่อมแซมต่อไป แยกดอกผึ้งลายต่าง ๆ ไว้คนละถาด เพื่อให้ง่ายและสะดวกในการหยิบไปใช้
:: การติดดอกผึ้ง ดอกผึ้งที่ตัดเรียบร้อยแล้วจะใช้ติดตามฐาน ลำต้น ยอดของต้นเทียนและส่วนประกอบอื่นๆ ของต้นเทียน ส่วนการติดดอกผึ้งที่มีลวดลายใดลงที่ส่วนใดนั้น ช่างผู้ทำเทียนจะเป็นผู้ออกแบบ
ลายแกะ...ลายพิมพ์...ลายเทียน
:: ต้นเทียนพรรษาประเภทแกะสลัก ::
ลวดลายที่ใช้ประกอบในการทำเทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี ประเภทแกะสลักนั้นใช้ลวดลายไทยเป็นหลัก ที่นิยมคือ ลานกระจัง ลายประจำยาม ลายกนก ลายผักกรูด ลายกระจังตาอ้อย และมีลวดลายที่ได้แนวคิดจากสิ่งที่พบเห็นตามธรรมชาติ เช่น รวงข้าว เปลวไฟ กาบใบ ใบไม้ ฟันปลา ดอกไม้ และเครือเถาของพืชบางชนิด ลวดลายที่ได้จากลายไทย ช่างทำเทียนจะนำมาดัดแปลงเพื่อนำมาทำเป็นแม่พิมพ์ ลายพิมพ์หรือแกะลงบนลำต้น หรือฐานของต้นเทียน ลวดลายที่พบเห็นได้นั้นแบ่งออกเป็น 4 ลวดลาย ได้แก่
:: ต้นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ ::
ลายที่นำมาติดที่ต้นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์จะมีลักษณะที่แตกต่างกันในขบวนต้นเทียนหนึ่งขบวนจะมีลายหลายแบบและมีขนาดที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นที่และรูปแบบของต้นเทียน ถ้าเป็นต้นเหลี่ยมก็จะแกะสลักลายให้มีขนาดเท่ากับเหลี่ยมของต้นเทียน แต่ถ้าเป็นต้นกลมก็จะแกะสลักให้ลงตัว เมื่อติดโดยรอบแล้วจะลงตัวพอดี
ลายต้นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์จะมี 3 ลักษณะ คือ
1.ลายเอก หมายถึง ลายเด่นของต้นเทียนที่เป็นหลักส่วนมากจะเป็นลายก้านขดลักษณะต่างๆ เช่น ก้านขดหางไหล ก้านขดกนกหางโต ก้านขดหน้าสิงห์ ก้านขดเทพนม เป็นต้น
2.ลายโท(ลายประกอบ) หมายถึง ลายที่สร้างขึ้นขึ้นเพื่อรองรับกับลายเอกมีลักษณะเด่นรองลงมาจากลายเอก หรือเมื่อนำไปติดบางส่วนของขบวนต้นเทียนก็จะกลายเป็นลายเอกได้ เช่น ลายกนกเกลียว ใบเทศเกลียว พุ่มหางกนก ลายกระจัง ลายปีกผีเสื้อ ลายประจำยามก้ามปู ลายกระจังหลักร้อย ลายประจำยาม ลายพวงมาลัยย้อย เป็นต้น
3.ลายเก็บงาน เป็นลายที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เก็บงานหรือส่งลายเอกให้เด่นขึ้น เช่น ลายกระจังฟันปลา ลายตาอ้อยซ้อน(ลายกระดูกงู) ลายตาตุ่ม ลายมะลิซ้อน ลายประกอบเก็บงานจะเป็นลายเส้นยาวใช้ในการเก็บรายละเอียดของลายให้วิจิตรสวยงามยิ่งขึ้น
ความสวย...ที่แตกต่าง
เทียนพรรษาทั้งประเภทแกะสลักและติดพิมพ์ของจังหวัดอุบลราชธานีในยามที่ปรากฏต่อสายตาประชาชนนั้นมีความสวยสดงดงาม ยิ่งนัก แต่กว่าความงดงามของต้นเทียนจะปรากฏฉายออกมาได้นั้น ต้องอาศัยความรู้ความสามารถทางด้านศิลปะ ประกอบกับจินตนาการอันบรรเจิดของช่างเทียน การทำเทียนพรรษาทั้งสองแบบนั้นกรรมวิธีและขั้นตอนมีความแตกต่างกัน ดังนี้
อ้างอิง
1. คณะกรรมการจัดทำหนังสือวิวัฒนาการประวัติประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี. เลิศล้ำเลอค่า เทียนพรรษาเมืองอุบล. อุบลราชธานี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2550.
2. ประดับ ก้อนแก้ว. เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี: ประวัติ การจัดทำและการประกวด. อุบลราชธานี : โรงเรียนอุบลวิทยาคม, 2531
3. พระครูสมุห์สำลี ทิฏฺฐธมฺโม. การพัฒนาหลักสูตรอบรมภูมิปัญญาท้องถิ่น การทำต้นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ จังหวัดอุบลราชธานี. เอกสารประกอบการอบรมการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีการแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานีเพื่อสืบสานตำนาน ประเพณีดั้งเดิม ระหว่างวันที่ 29-30 มิถุนายน 2552 ณ ณ ห้องข้อมูลท้องถิ่น ชั้น 3 อาคารข้อมูลท้องถิ่น สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. อุบลราชธานี : สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2552.
.....