อุทาหรณ์การรักษาผู้มีบุตรยากในญี่ปุ่น

การตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซม( PGD,  PGS) เท่าที่หาข้อมูลมา  แล้วแต่ทางสถานพยาบาล หรือคลีนิกจะทำการตรวจ หรือว่าไม่ตรวจให้ก็ได้

การเข้ารับการรักษาผู้มีบุตรยาก ก่อนที่ทุกท่านจะเข้าไปทำการรักษากับสถานพยาบาล รพ. หรือ คลีนิกใดก็แล้วแต่ควรศึกษาวิธีการการรักษาของคลีนิกหรือสถานพยาบาลนั้นๆ ก่อนตัดสินใจเข้าการรักษานะคะ

ขอเล่าสั้นๆ แล้วกัน เราทำรักษาผู้มีบุตรยากกับคลีนิกแห่งนึงที่ #มีชื่อเสียงในจังหวัด(สถานพยาบาล 1) ใส่ตัวอ่อน ivf 3 รอบ แท้ง รอบที่ 3 ใส่ตัวอ่อนวันที่  22 มิถุนาปีที่แล้ว 24 มิถุนาต้องเข้าแอดมิทที่รพ. ใหญ่ในจังหวัด(สถานพยาบาล 2) เนื่องจากเชิงกรานติดเชื้อ ทางหมอรพ. ใหญ่ไม่บอกสาเหตุที่แท้จริง บอกแค่ว่า เกิดได้หลายสาเหตุ เช่น เครื่องมือในการใส่ตัวอ่อนไม่สะอาด หรือ ติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ กรณีผู้ชายเป็นโรคหนองในเทียมหรือแท้ และอื่นๆ เป็นต้น เสียค่าใช้จ่ายในการแอดมิท 182,xxx เยน โชคดีที่เพิ่งซื้อประกันก่อนหน้านี้ได้ ครึ่งปีเลยเบิกได้

ต่อมาใส่ตัวอ่อนรอบ 4 ดีใจมากได้ลูกสมใจ แต่พออายุครรภ์ได้ 20 สัปดาห์ หมอที่ฝากครรภ์(สถานพยาบาล 3) ได้แจ้งว่า เราน้ำหนักเกิน แล้วก่อนท้อง เรามีปัญหาเรื่องคอเลสตอรัลสูงอยู่แล้ว เลยกังวลและได้เข้าไปตรวจเลือดที่รพ. ใหญ่(สถานพยาบาล 2) หมอได้ตรวจเลือดและแจ้งว่า เราเป็นโรคไฮโปไทรอยด์ หรือ โรคขาดไอโอดีน หรือ ไทรอยด์ต่ำกว่าปกติ ภาษาชาวบ้าน เกือบจะเป็นโรคคอหอยพอก แต่อาการยังไม่รุนแรงขนาดเป็นคอหอยพอก ซึ่งโรคนี้ทำให้มีบุตรยาก หรือ กรณีที่มีบุตร บุตรมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเอ๋อ หรือ สมองไม่ปกติ เราได้รับยาเพิ่มฮอร์โมนไทรอยด์ เพื่อรักษาโรคและเด็กในครรภ์ หากไม่รักษาเด็กมีความเสี่ยงที่จะตายในครรภ์ได้

****คลีนิกรักษาผู้มีบุตรยาก ตรวจไม่เจอ หรือตรวจไม่ละเอียดไม่ทราบได้ แต่ที่แน่ๆ ไม่ได้ทำการรักษาโรคไฮโปไทรอยด์ ก่อนทำ ivf ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุให้ลูกเรา เป็นโรคอื่นๆ ตามมาได้

ต่อมาพออายุครรภ์ครบ 26 สัปดาห์(วันพฤหัส) ทางคลีนิกฝากครรภ์ (สถานพยาบาล 3) บอกว่าเหมือนจะมีน้ำในสมองลูก แต่ไม่แน่ใจ ให้มาตรวจอีกที ตอน 28 สัปดาห์ เอ่อ....ใครจะรอคะ เรารีบโทร. หาสามี  ให้สามีเข้ามาคุยกับหมอฝากครรภ์วันจันทร์ถัดมา หมอแจ้งว่ามีน้ำในสมอง แต่เนื่องจากทางคลีนิกไม่เคยรักษามาก่อน จึงให้ใบส่งตัวไปที่รพ. 大学病院 ประจำจังหวัด (รพ. มหาลัยที่มีแต่หมอไปเรียน) ในวันอังคาร หมอที่รพ. มหาลัยได้ตรวจ MRI และ เอคโคสแกน และบอกข่าวร้ายว่า ลูกเรามีน้ำในสมอง(Hydrocepharus) 2 ข้าง ข้างนึง ซม. กว่า อีกข้าง 15 ซม. แถมเป็น Agenesis of Corpus Callosum อีก (อาการสมองฝ่อ) อึ้งค่ะ!!!! บอกไม่ถูกไปไม่เป็นเลยทีเดียว ลูกที่เราตั้งใจทำ เสียเงินไป 2 ปีครึ่ง เกือบๆ 3 ล้านเยน แท้ง 3 รอบ แต่ลูกเราจะพิการสมอง

ต่อมาได้มีการปรึกษาอ. หมอในเฟส และอ.หมอได้ปรึกษาอ. หมอที่รามาให้ ถามว่าทางหมอญี่ปุ่นไม่ได้ตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมก่อนใส่ตัวอ่อนเหรอ เนื่องจากความผิดปกตินี้สามารถเจอได้ก่อนใส่ตัวอ่อนนะความผิดปกติของโครโมโซม trisomy 18, 13 และ 8

คำตอบคือ ไม่ค่ะ ไม่มีการตรวจใดๆ

Agenesis of the corpus callosum (ACC) ภาวะไม่สร้าง corpus callosumโดยบางส่วนหรือโดยสิ้นเชิง ไม่สามารถรักษาระหว่างตั้งครรภ์ได้ และไม่สามารถทำแท้งได้ ถึงแม้จะรู้ก่อน 20 สัปดาห์ก็ตาม ไม่สามารถรักษาได้ ทำได้แค่รักษาตามอาการที่เกิด อาการหลักๆ คือ มีอาการชัก สมองพิการบางส่วน สติปัญญาไม่เท่าเด็กปกติ โตช้า มีปัญหาเกี่ยวกับการกลืนอาหาร หรืออาจจะมีการพิการทางด้านร่างกายได้ หากมีอาการทางสมองอื่นๆ แทรกซ้อน เช่น โรคน้ำในสมอง เป็นต้น
***ไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ ***

โรคน้ำในสมอง(Hydrocepharus) สามารถรักษาระหว่างตั้งครรภ์ได้ แต่ต้องแล้วแต่สถานพยาบาลนั้นๆ ว่าสามารถหรือมีวิธีรักษาระหว่างตั้งครรภ์หรือไม่ ไม่ใช่ว่าทุกที่จะรักษาได้ ต้องเป็นหมอที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเท่านั้น และต้องไม่มีอาการของ Agenesis of the corpus callosum (ACC) จึงจะทำการรักษาได้

ขอเตือนนะคะ อยากคิดว่าสถานพยาบาลและหมอในญี่ปุ่นจะเก่งทุกคน

หมอที่ไทยบอกว่า หมอที่ญี่ปุ่นน่าจะเก่งกว่า ความจริงคือ ทุกที่มีทั้งหมอดี และไม่ดี เก่งและไม่เก่งค่ะ

ข้อมูลข้างบน ทางหมอญี่ปุ่นไม่มีการอธิบายใดๆ นะคะ เราจำคำศัพท์ และไปหาจากอินเตอร์เนตเอาเอง

ขนาดสามีเราคนญี่ปุ่นแท้ๆ ยังไม่รู้และไม่เข้าใจเลย ว่าลูกเป็นอะไร มีอาการอย่างไร ทำได้แค่เชื่อฟังที่หมอบอก นั้นคือแค่บอก เป็นโรคนะ แต่ไม่มีการอธิบาย คือโรคที่เป็นคืออะไร มีผลกระทบอะไรกับเด็กในครรภ์บ้าง ไม่แม้กระทั่งบอกแนวทางการรักษา ถ้าเราไม่ถามหมอ  คนไข้(สามีเรา) ไม่เข้าใจ และไม่ตระหนักถึงความร้ายแรงที่จะเกิดกับลูก และเชื่อหมอญี่ปุ่นว่า จะรักษาลูกเราให้หายเป็นปกติได้

ปล. ถ้ามีการใช้คำศัพท์แพทย์ผิดไป ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่