ถ้า F = ma เสมอแล้วทำไมคนที่กระโดจากที่สูงไม่เท่ากันแต่บาดเจ็บไม่เท่ากันครับ?

กระทู้คำถาม
ก่อนอื่น ผมไม่เชี่ยวฟิสิกส์นะครับ
ฝากคน ช่ำ อธิบายที
เคยเรียนนานแล้ว แล้วก็สงสัยนานจนลืมสงสัยไปแล้ว แล้วจำได้อีกครั้ง

ผมว่าผมน่าจะเข้าใจผิดนะแต่ไม่แน่ใจว่าผิดยังไง?

จำได้ว่า F = ma
F คือแรง
m คือ มวล
a คือ ความเร่ง

ทีนี้ถ้าคนกระโดดจากที่สูงไม่เท่ากัน 2 ครั้งแต่เป็นคนเดิม
สมมุติครั้งแรก
กระโดด 50 เซนติเมตร (0.5 m)
สมมุติครั้งที่สอง
กระโดด 5 กิโลเมตร (5,000 m)

แรงที่กระทำกับคนๆนี้ครั้งแรกคือ F1
แรงที่กระทำกับคนๆนี้ครั้งที่สองคือ F2
m คนเดิมเท่าเดิม สองครั้งเท่ากับ  m1 = m2 = 60 kg (สมมุติว่าหนัก  60 kg)
a ความเร่งจากแรงโน้มถ่วง 2 ครั้งเท่ากันที่ค่า g คือ a1 = a2 = 10 m/s2

สมการครั้งแรก
F1 = m1 * a1
สมการครั้งสอง
F2 = m2 * a2

จากความเข้าใจผม(น่าจะผิด) F1 ควรจะเท่ากับ F2
แต่ความจริงมันไม่ใช่ ทำไมครับ??
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
ในเรื่องของการ ตกจากที่สูง ที่ จขกท.สงสัยว่าทำไมตกจากที่สูงกว่า  จึงเจ็บมากกว่า

ขอเรียนว่า จขกท.นำสมการมาพิจารณาผิดตัวครับ  อาจทำให้สับสนได้
หลักการที่จะใช้ในการคิดการตกจากที่สูง  คือ เรื่องของแรงดล (Impact force) และ โมเมนตัม ครับ ....
สมการ F=ma  ที่ จขกท.ยกมานั้น  จะใช้ในกรณีอื่น ๆ เหมาะสมกว่า เช่น ...

- ตัวเราจะหนักบนโลก 80 กก.  จะบนดวงจันทร์หนักเท่าไหร่  เราก็แทนค่าลงไปใน F = ma
   ก็จะได้ว่า F = ma = 80 X 1.625 = 130 นิวตัน
- จรวดมีมวล 55 ตัน  และมีเครื่องยนต์ที่มีแรงขับดัน 230,000 นิวตัน  จรวดนั้นจะมีความเร่งเท่าไหร่ ?
  ก็แค่แทนค่าลงไปในสูตร F=ma  ได้ว่า a= F/m = 230,000/55,000 = 4.18 m/s2

แต่ในการพิจารณาการตกจากที่สูง  เราจะต้องใช้หลักการของ แรงดล มาพิจารณาครับ
แรงดล คือ แรงที่เกิดจากการเปลี่ยนโมเมนตัม ใน 1 ช่วงเวลา  สูตรของแรงดลก็คือ
F = (m X delta-V) / delta-T   โดย m คือมวล   delta-V คือ ค่าของการเปลี่ยนความเร็ว
detla-T คือ ช่วงเวลาที่เปลี่ยนความเร็ว

คนหนัก 75 กิโลกรัมที่โดดจากที่สูง 2 เมตร  จะมีความเร็ว ณ จุดเท้ากระทบพื้น  ตามสูตร V = Root(2 g h)
ก็ได้ว่า V = Root(2 X 9.81 X 2) = 6.26 m/s ..... ดังนั้น  แรงดลจะเท่ากับ F = (m X delta-V) / delta-T
ได้ว่า F = [75 X (6.26 - 0)] / 0.85 = 552.4 นิวตัน

แต่ ... คนที่โดดจากที่สูง 8 เมตร  จะมีความเร็ว ณ จุดเท้ากระทบพื้น  ตามสูตร V = Root(2 g h)
ก็ได้ว่า V = Root(2 X 9.81 X 8) = 12.53 m/s ..... ดังนั้น  แรงดลจะเท่ากับ F = (m X delta-V) / delta-T
ได้ว่า F = [75 X (12.53 - 0)] / 0.85 = 1,105.6 นิวตัน

(ตัวเลข 0.85 วินาที  คือสมมุติให้การถ่ายความเร็วในการกระแทกพื้น คือ นาน 0.85 วินาที)

จาก 2 กรณีข้างบน  จขกท.จะเห็นได้ชัดเจนว่า  คนที่โดดจากที่สูง 8 เมตร  
จะมีแรงกระทำต่อร่างกายมากกว่า  จึงบาดเจ็บได้มากกว่าครับ

ในการใช้สมการ F = ma  เราจะต้องพิจารณาตัวแปร a เพิ่มเติม  ดังนี้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่