สัตตภัณฑ์
..........ในบริบททางวัฒนธรรมล้านนา หมายถึง เชิงเทียนที่ใช้ในการบูชาพระประธานในวิหาร
ซึ่งอาจจำแนกออกตามรูปลักษณ์เป็น 2 แบบ คือ
แบบที่มีลักษณะคล้ายขั้นบันไดซึ่งมีที่สำหรับปักเทียนลดหลั่นกันลงมาได้ 7-9 ที่
และแบบที่เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วซึ่งจะมีที่สำหรับปักเทียนไล่จากยอดถึงฐานทั้งสองด้านรวม 7 ที่
ทั้งนี้สัตตภัณฑ์แบบสามเหลี่ยมนั้นมักพบทั่วไปในแถบจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และเชียงราย
ส่วนสัตตภัณฑ์แบบขั้นบันไดนั้นมักจะพบในท้องที่ของจังหวัดแพร่ และจังหวัดน่าน
หรืออาจสรุปได้อย่างกว้าง ๆ ว่า
สัตตภัณฑ์แบบสามเหลี่ยมนั้นมักพบทั่วไปในเขตของคนเผ่าไทยวน
และสัตตภัณฑ์แบบขั้นบันไดมักพบในละแวกของกลุ่มชนเผ่าไทลื้อเป็นอาทิ
..........คำว่า "สัตตภัณฑ์" นี้ มีผู้ให้ความหมายเป็น 2 แนว
ซึ่งแนวแรกพบจากที่ ดร.วอลเดมาร์ ซี.ไซเลอร์
สัมภาษณ์จากพระผู้ใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่จำนวนหนึ่ง กล่าวว่า
สัตตภัณฑ์ หมายถึง พุทธปรัชญาหรือหลักปฏิบัติในพุทธศาสนาอันหมายถึงโพชฌงค์ 7 สัทธัมมะ 7 หรือสัปปุริสธัมมะ 7
และแนวที่สองมีความเห็นว่าหมายถึงทิวเขาทั้ง 7 ที่เรียงรายลดหลั่นล้อมรอบเขาพระสุเมรุ
..........สำหรับแนวความคิดเรื่องทิวเขาซึ่งอยู่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุนี้
ในขั้นแรกเห็นว่าสัมพันธ์กับคติความเชื่อด้านจักรวาลวิทยาพุทธศาสนาซึ่งปรากฏชัดเจน
อย่างน้อยที่สุดก็พบใน "จักกวาลทีปนี"
ซึ่งเป็นผลงานนิพนธ์ชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่งของพระสิริมังคลาจารย์ซึ่งเป็นปราชญ์แห่งเชียงใหม่ ในยุคประมาณ พ.ศ.2100
และเท่าที่พบในรูปศิลปวัตถุซึ่งตกทอดมานั้น ยังปรากฏเป็นทิวเขาสัตตภัณฑ์จำลองหล่อด้วยโลหะ
ซึ่งใช้เป็นเครื่องบูชาแก่มหาเจดีย์แห่งนครหริภุญชัย และโดยเฉพาะพระพุทธบาทจำลองทำด้วยไม้ทาชาดประดับมุก
ซึ่งลายพระบาทเป็นแผนผังจักรวาล โดยมีอักษรล้านนากำกับจุดสำคัญต่าง ๆ รวมทั้งทิวเขาสัตตภัณฑ์ไว้อย่างชัดเจน
จากรอยพระพุทธบาทจำลองนี้สะท้อนให้เห็นว่าจักรวาลอันยิ่งใหญ่นี้ยังเล็กกว่าฝ่าพระบาทของพระพุทธองค์
กล่าวคือ พระพุทธองค์สามารถย่างเหยียบไปบนแต่ละจักรวาลในหมื่นแสนสหัสโลกธาตุได้อย่างง่ายดาย
ดังนั้นการที่จะใช้ทิวเขาแต่ละทิวรอบเขาพระสุเมรุอันเป็นศูนย์กลางจักรวาลเพื่อเทิดไว้ซึ่งพุทธบูชานั้น
ย่อมจะงดงามด้วยประการทั้งปวงในแง่ของอามิสบูชา
..........ในแง่โลกสัณฐานนั้น
จักรวาลแต่ละจักรวาลมีลักษณะเหมือนถาดเหล็กแบนที่ขังน้ำไว้ในสภาพเป็นทะเลน้ำเค็ม
กึ่งกลางถาดน้ำเค็มนั้นมีเขาพระสุเมรุทรงสัณฐานเหมือนตะโพนสูง 84,000 โยชน์ ตั้งอยู่บนภูเขาสามเส้า
รอบเขาพระสุเมรุซึ่งล้านนาเรียกว่า "สิเนรุ" หรือ "สิเนโร" นั้น มีทิวเขา 7 ทิว
ล้อมรอบเป็นวงกลมลดหลั่นกันลงมาจากทิวเขาด้านในสุดถึงทิวนอกสุดชื่อ "ยุคันธร อิสินธร กรวิก สุทัสน์ เนมินธร วินันตกะ และอัสสกัณณ์"
..........ทั้งนี้ทิวเขาแต่ละทิวจะมีความสูงเป็นครึ่งหนึ่งของเขาซึ่งอยู่ด้านในของตน
กล่าวคือทิวเขายุคันธรจะสูงเพียงครึ่งหนึ่งของเขาพระสุเมรุ
และทิวเขาอัสสกัณณ์จะสูงเพียงครึ่งหนึ่งของทิวเขาวินันตกะ เป็นต้น
ในโลณสาครหรือทะเลน้ำเค็มนั้น จะมีทวีปหรือเกาะใหญ่ อยุ่ 4 เกาะ
คือ อุตตรกุรุทวีป ปุพพวิเทหทวีป ชมพูทวีป และอมรโคยานทวีป ในทิศเหนือ ตะวันออก ใต้ และตะวันตกของทิวเขาสัตตภัณฑ์
และยังมีทวีปน้อยซึ่งเป็นบริวารของทวีปทั้ง 4 อีกทวีปละ 500
ทั้งหมดนี้เป็นลักษณะของจักรวาลอย่างคร่าว ๆ และทั้งหมดนั้นถือว่าเขาพระสุเมรุและเขาสัตตภัณฑ์เป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาล
เชียงใหม่-สัตตภัณฑ์-เชิงเทียนที่ใช้ในการบูชาพระประธานในวิหาร
..........ในบริบททางวัฒนธรรมล้านนา หมายถึง เชิงเทียนที่ใช้ในการบูชาพระประธานในวิหาร
ซึ่งอาจจำแนกออกตามรูปลักษณ์เป็น 2 แบบ คือ
แบบที่มีลักษณะคล้ายขั้นบันไดซึ่งมีที่สำหรับปักเทียนลดหลั่นกันลงมาได้ 7-9 ที่
และแบบที่เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วซึ่งจะมีที่สำหรับปักเทียนไล่จากยอดถึงฐานทั้งสองด้านรวม 7 ที่
ทั้งนี้สัตตภัณฑ์แบบสามเหลี่ยมนั้นมักพบทั่วไปในแถบจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และเชียงราย
ส่วนสัตตภัณฑ์แบบขั้นบันไดนั้นมักจะพบในท้องที่ของจังหวัดแพร่ และจังหวัดน่าน
หรืออาจสรุปได้อย่างกว้าง ๆ ว่า
สัตตภัณฑ์แบบสามเหลี่ยมนั้นมักพบทั่วไปในเขตของคนเผ่าไทยวน
และสัตตภัณฑ์แบบขั้นบันไดมักพบในละแวกของกลุ่มชนเผ่าไทลื้อเป็นอาทิ
..........คำว่า "สัตตภัณฑ์" นี้ มีผู้ให้ความหมายเป็น 2 แนว
ซึ่งแนวแรกพบจากที่ ดร.วอลเดมาร์ ซี.ไซเลอร์
สัมภาษณ์จากพระผู้ใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่จำนวนหนึ่ง กล่าวว่า
สัตตภัณฑ์ หมายถึง พุทธปรัชญาหรือหลักปฏิบัติในพุทธศาสนาอันหมายถึงโพชฌงค์ 7 สัทธัมมะ 7 หรือสัปปุริสธัมมะ 7
และแนวที่สองมีความเห็นว่าหมายถึงทิวเขาทั้ง 7 ที่เรียงรายลดหลั่นล้อมรอบเขาพระสุเมรุ
..........สำหรับแนวความคิดเรื่องทิวเขาซึ่งอยู่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุนี้
ในขั้นแรกเห็นว่าสัมพันธ์กับคติความเชื่อด้านจักรวาลวิทยาพุทธศาสนาซึ่งปรากฏชัดเจน
อย่างน้อยที่สุดก็พบใน "จักกวาลทีปนี"
ซึ่งเป็นผลงานนิพนธ์ชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่งของพระสิริมังคลาจารย์ซึ่งเป็นปราชญ์แห่งเชียงใหม่ ในยุคประมาณ พ.ศ.2100
และเท่าที่พบในรูปศิลปวัตถุซึ่งตกทอดมานั้น ยังปรากฏเป็นทิวเขาสัตตภัณฑ์จำลองหล่อด้วยโลหะ
ซึ่งใช้เป็นเครื่องบูชาแก่มหาเจดีย์แห่งนครหริภุญชัย และโดยเฉพาะพระพุทธบาทจำลองทำด้วยไม้ทาชาดประดับมุก
ซึ่งลายพระบาทเป็นแผนผังจักรวาล โดยมีอักษรล้านนากำกับจุดสำคัญต่าง ๆ รวมทั้งทิวเขาสัตตภัณฑ์ไว้อย่างชัดเจน
จากรอยพระพุทธบาทจำลองนี้สะท้อนให้เห็นว่าจักรวาลอันยิ่งใหญ่นี้ยังเล็กกว่าฝ่าพระบาทของพระพุทธองค์
กล่าวคือ พระพุทธองค์สามารถย่างเหยียบไปบนแต่ละจักรวาลในหมื่นแสนสหัสโลกธาตุได้อย่างง่ายดาย
ดังนั้นการที่จะใช้ทิวเขาแต่ละทิวรอบเขาพระสุเมรุอันเป็นศูนย์กลางจักรวาลเพื่อเทิดไว้ซึ่งพุทธบูชานั้น
ย่อมจะงดงามด้วยประการทั้งปวงในแง่ของอามิสบูชา
..........ในแง่โลกสัณฐานนั้น
จักรวาลแต่ละจักรวาลมีลักษณะเหมือนถาดเหล็กแบนที่ขังน้ำไว้ในสภาพเป็นทะเลน้ำเค็ม
กึ่งกลางถาดน้ำเค็มนั้นมีเขาพระสุเมรุทรงสัณฐานเหมือนตะโพนสูง 84,000 โยชน์ ตั้งอยู่บนภูเขาสามเส้า
รอบเขาพระสุเมรุซึ่งล้านนาเรียกว่า "สิเนรุ" หรือ "สิเนโร" นั้น มีทิวเขา 7 ทิว
ล้อมรอบเป็นวงกลมลดหลั่นกันลงมาจากทิวเขาด้านในสุดถึงทิวนอกสุดชื่อ "ยุคันธร อิสินธร กรวิก สุทัสน์ เนมินธร วินันตกะ และอัสสกัณณ์"
..........ทั้งนี้ทิวเขาแต่ละทิวจะมีความสูงเป็นครึ่งหนึ่งของเขาซึ่งอยู่ด้านในของตน
กล่าวคือทิวเขายุคันธรจะสูงเพียงครึ่งหนึ่งของเขาพระสุเมรุ
และทิวเขาอัสสกัณณ์จะสูงเพียงครึ่งหนึ่งของทิวเขาวินันตกะ เป็นต้น
ในโลณสาครหรือทะเลน้ำเค็มนั้น จะมีทวีปหรือเกาะใหญ่ อยุ่ 4 เกาะ
คือ อุตตรกุรุทวีป ปุพพวิเทหทวีป ชมพูทวีป และอมรโคยานทวีป ในทิศเหนือ ตะวันออก ใต้ และตะวันตกของทิวเขาสัตตภัณฑ์
และยังมีทวีปน้อยซึ่งเป็นบริวารของทวีปทั้ง 4 อีกทวีปละ 500
ทั้งหมดนี้เป็นลักษณะของจักรวาลอย่างคร่าว ๆ และทั้งหมดนั้นถือว่าเขาพระสุเมรุและเขาสัตตภัณฑ์เป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาล