การมาของ "รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน" (เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้น) จะไม่ได้ทำ(แค่)ให้เศรษฐกิจของประเทศไทยขยายตัวเพียงอย่างเดียว แต่ยังจะสามารถพัฒนาอะไรได้อีกมากมาย ขนาดของเมืองหลวงของประเทศไทยจะขยายออกไปอีก 3 เท่าหรืออาจจะมากกว่านั้น จะไม่มีความเจริญกระจุกตัวแค่เพียงกรุงเทพมหานครอีกต่อไป แต่ยังจะเกิดการขยายตัวออกไปยังฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ที่เป็น 3 จังหวัดหลักในการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ พิเศษภาคตะวันออก (EEC)
"จากชลบุรี เข้ากรุงเทพใช้เวลาแค่ 45 นาที"
... แต่คนกรุงเทพบางคนต้องใช้เวลาเดินทางจากบ้าน เข้าไปทำงานในเมืองต้องใช้เวลามากกว่า 2 ชั่วโมง ...
แล้วคนไทยมีความพร้อมที่จะรับมือการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ไว้แล้วหรือยัง?
กรุงเทพ...อภิมหานคร !!
วันนี้แวะมานั่งรถไฟ Airport Link เลยทำให้จินตนาการวิ่ง...ว่า ถ้ารถไฟความเร็วสูงเชื่อมไปยังประเทศต่างๆได้จริง อะไรจะเกิดขึ้นบ้าง?
ในหลายประเทศทั่วโลก เมืองหลักๆของประเทศนั้นๆจะทำหน้าที่เป็นเครื่องจักรเศรษฐกิจที่ทำรายได้ให้ประเทศ เช่น เซี้ยงไฮ้ โตเกียว นิวยอร์ค etc.
หากประเทศไหน..โชคดีหน่อยเมืองเศรษฐกิจก็จะมีหลายเมือง เกิดใหม่เรื่อยๆ ทำให้หลายๆ ประเทศ พยายามอยากจะสร้างเมืองใหม่ๆ กัน เช่น จีน พยายามสร้างเมืองเกิดใหม่เป็นว่าเล่น
มาดูบ้านเราบ้าง ... ผมว่าเราโชคดีกว่าหลายประเทศนะ เช่น ถ้าสิงค์โปร์อยากมีเมืองใหม่ๆ คงทำได้ยาก เพราะพื้นที่จำกัด ..แต่ประเทศไทยบ้านเรา ถ้าอยากมีเมืองเศรษฐกิจเพิ่ม เรา ... ยังขยายความเจริญออกไปได้อีกหลายเมือง
ที่ผ่านมาประเทศไทยนั้นอาศัยการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากจังหวัดหลักไม่กี่จังหวัด โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร ซึ่งในทางทฤษฎี เราเรียกว่า เอกนคร (Primate City) หรือเมืองโตเดี่ยว ซึ่งหมายถึง เมืองที่มีลักษณะเมืองที่สะท้อนถึงการกระจุกตัวของความเจริญ
กรุงเทพนั้นไม่ใช่เอกนครธรรมดา แต่เข้าข่ายที่เรียกว่า “มหานคร”
มหานคร (Metropolis) หมายถึง เมืองที่มีจำนวนประชากรมากกว่าสิบล้านคน โดยในปี ค.ศ.1995 โลกมีมหานครอยู่ 14 แห่ง และในปี ค.ศ. 2015 โลกจะมีมหานครเพิ่มขึ้นเป็น 21 แห่ง และปี 2018 มีมหานครถึง 25 เมืองด้วยกัน
ในขณะนี้มหานครที่ใหญ่ที่สุดในโลก 5 อันดับแรก คือ โตเกียว (ญี่ปุ่น) แมกซิโกซิตี้ (เม็กซิโก) เซาเปาลู (บราซิล) นิวยอร์ก (สหรัฐอเมริกา) และมุมไบ (อินเดีย)
ถ้าประเทศไทยมีรถไฟความเร็วสูงเชื่อมไปถึงระยอง จะเปรียบเสมือนความเจริญขยายออกไปอีก 3 เท่า ... ความเจริญของเมืองหลักจะโตขึ้นแบบ exponential ซึ่งเหมือนเครื่องจักรเศรษฐกิจที่มีแรงม้ามากขึ้น และอันดับความเป็นมหานครเราจะขึ้นมาอยู่ในระดับต้นๆ มากขึ้น
แล้วมหานครมันดียังไง หากมีความสะดวกสบาย ระบบคมนาคมดี การเดินทางง่าย การสื่อสารสะดวก การลงทุนจากต่างประเทศก็จะไหลเข้ามา เศรษฐกิจก็จะดี การจ้างงาน ค้าขายก็จะดีขึ้น
หากมองในมุมวิถีชีวิต...แทนที่จะซื้อบ้านแออัดกันในกรุงเทพ ถ้าไปซื้อบ้านที่ชลบุรีก็นั่งรถไฟความเร็วสูงแค่ 40 นาทีเข้ากรุงเทพ เร็วกว่ารถติดในเมืองด้วยซ้ำ
หรืออยากจะไปเที่ยวทะเลแถวพัทยาก็ประมาณไม่เกิน 45 นาที ทั้งการท่องเที่ยว ธุรกิจต่างชาติที่จะเข้ามา ก็จะได้ Scale ที่ใหญ่ขึ้น
ดังนั้นหากรวมจังหวัดที่เชื่อมด้วยรถไฟเข้าไป อาจเรียกได้ว่า จากมหานคร กลายเป็นอภิมหานคร กันเลยทีเดียว ทีนี้ถ้าเมืองไทยอยากจะเป็นฮับของอะไร ก็คงไม่ไกลเกินเอื้อม.....
-วิทยายุทธ-
EEC - จะเกิดอะไรขึ้น เมือเมืองหลวงของประเทศไทยขยายขึ้น 3 เท่า
การมาของ "รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน" (เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้น) จะไม่ได้ทำ(แค่)ให้เศรษฐกิจของประเทศไทยขยายตัวเพียงอย่างเดียว แต่ยังจะสามารถพัฒนาอะไรได้อีกมากมาย ขนาดของเมืองหลวงของประเทศไทยจะขยายออกไปอีก 3 เท่าหรืออาจจะมากกว่านั้น จะไม่มีความเจริญกระจุกตัวแค่เพียงกรุงเทพมหานครอีกต่อไป แต่ยังจะเกิดการขยายตัวออกไปยังฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ที่เป็น 3 จังหวัดหลักในการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ พิเศษภาคตะวันออก (EEC)
... แต่คนกรุงเทพบางคนต้องใช้เวลาเดินทางจากบ้าน เข้าไปทำงานในเมืองต้องใช้เวลามากกว่า 2 ชั่วโมง ...
แล้วคนไทยมีความพร้อมที่จะรับมือการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ไว้แล้วหรือยัง?
วันนี้แวะมานั่งรถไฟ Airport Link เลยทำให้จินตนาการวิ่ง...ว่า ถ้ารถไฟความเร็วสูงเชื่อมไปยังประเทศต่างๆได้จริง อะไรจะเกิดขึ้นบ้าง?
ในหลายประเทศทั่วโลก เมืองหลักๆของประเทศนั้นๆจะทำหน้าที่เป็นเครื่องจักรเศรษฐกิจที่ทำรายได้ให้ประเทศ เช่น เซี้ยงไฮ้ โตเกียว นิวยอร์ค etc.
หากประเทศไหน..โชคดีหน่อยเมืองเศรษฐกิจก็จะมีหลายเมือง เกิดใหม่เรื่อยๆ ทำให้หลายๆ ประเทศ พยายามอยากจะสร้างเมืองใหม่ๆ กัน เช่น จีน พยายามสร้างเมืองเกิดใหม่เป็นว่าเล่น
มาดูบ้านเราบ้าง ... ผมว่าเราโชคดีกว่าหลายประเทศนะ เช่น ถ้าสิงค์โปร์อยากมีเมืองใหม่ๆ คงทำได้ยาก เพราะพื้นที่จำกัด ..แต่ประเทศไทยบ้านเรา ถ้าอยากมีเมืองเศรษฐกิจเพิ่ม เรา ... ยังขยายความเจริญออกไปได้อีกหลายเมือง
ที่ผ่านมาประเทศไทยนั้นอาศัยการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากจังหวัดหลักไม่กี่จังหวัด โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร ซึ่งในทางทฤษฎี เราเรียกว่า เอกนคร (Primate City) หรือเมืองโตเดี่ยว ซึ่งหมายถึง เมืองที่มีลักษณะเมืองที่สะท้อนถึงการกระจุกตัวของความเจริญ
กรุงเทพนั้นไม่ใช่เอกนครธรรมดา แต่เข้าข่ายที่เรียกว่า “มหานคร”
มหานคร (Metropolis) หมายถึง เมืองที่มีจำนวนประชากรมากกว่าสิบล้านคน โดยในปี ค.ศ.1995 โลกมีมหานครอยู่ 14 แห่ง และในปี ค.ศ. 2015 โลกจะมีมหานครเพิ่มขึ้นเป็น 21 แห่ง และปี 2018 มีมหานครถึง 25 เมืองด้วยกัน
ในขณะนี้มหานครที่ใหญ่ที่สุดในโลก 5 อันดับแรก คือ โตเกียว (ญี่ปุ่น) แมกซิโกซิตี้ (เม็กซิโก) เซาเปาลู (บราซิล) นิวยอร์ก (สหรัฐอเมริกา) และมุมไบ (อินเดีย)
ถ้าประเทศไทยมีรถไฟความเร็วสูงเชื่อมไปถึงระยอง จะเปรียบเสมือนความเจริญขยายออกไปอีก 3 เท่า ... ความเจริญของเมืองหลักจะโตขึ้นแบบ exponential ซึ่งเหมือนเครื่องจักรเศรษฐกิจที่มีแรงม้ามากขึ้น และอันดับความเป็นมหานครเราจะขึ้นมาอยู่ในระดับต้นๆ มากขึ้น
แล้วมหานครมันดียังไง หากมีความสะดวกสบาย ระบบคมนาคมดี การเดินทางง่าย การสื่อสารสะดวก การลงทุนจากต่างประเทศก็จะไหลเข้ามา เศรษฐกิจก็จะดี การจ้างงาน ค้าขายก็จะดีขึ้น
หากมองในมุมวิถีชีวิต...แทนที่จะซื้อบ้านแออัดกันในกรุงเทพ ถ้าไปซื้อบ้านที่ชลบุรีก็นั่งรถไฟความเร็วสูงแค่ 40 นาทีเข้ากรุงเทพ เร็วกว่ารถติดในเมืองด้วยซ้ำ
หรืออยากจะไปเที่ยวทะเลแถวพัทยาก็ประมาณไม่เกิน 45 นาที ทั้งการท่องเที่ยว ธุรกิจต่างชาติที่จะเข้ามา ก็จะได้ Scale ที่ใหญ่ขึ้น
ดังนั้นหากรวมจังหวัดที่เชื่อมด้วยรถไฟเข้าไป อาจเรียกได้ว่า จากมหานคร กลายเป็นอภิมหานคร กันเลยทีเดียว ทีนี้ถ้าเมืองไทยอยากจะเป็นฮับของอะไร ก็คงไม่ไกลเกินเอื้อม.....
-วิทยายุทธ-