ฉบับที่ ๒๙ วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
เรื่อง วันพระ ทำไมพระต้องลงโบสถ์ โยมต้องเข้าวัด
วันสำคัญส่วนใหญ่จะมีปีละครั้ง เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้ระลึกนึกถึง ทั้งตัวบุคคล เหตุการณ์สำคัญ รณรงค์เรื่องต่างๆ เช่น วันพ่อ วันแม่ วันเด็ก วันอานันทมหิดล วันงดสูบบุหรี่โลก แต่มีวันอยู่อย่างหนึ่งที่มีทุกสัปดาห์ นั่นคือ “วันพระ” ซึ่งพบหลักฐานแรกเริ่มการเรียกวันพระในยุคสมัยสุโขทัย แล้วมีความสำคัญอย่างไร
ในสมัยพุทธกาล พระเจ้าพิมพิสารได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และกราบทูลว่า "นักบวชศาสนาอื่นเขามีวันประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสั่งสอนในศาสนาของเขา แต่ว่าในศาสนาพุทธยังไม่มี" พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์ประชุมสนทนาและแสดงพระธรรมเทศนาแก่ประชาชนในวัน 8 ค่ำ 14 หรือ 15 ค่ำ พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็น”วันธรรมสวนะ”เพื่อกำหนดให้มีการประชุมพร้อมเพรียงกันฟังธรรม คำว่า "สวนะ" แปลว่า การฟัง และคำว่า "ธรรมสวนะ" แปลว่า การฟังธรรม, วันฟังธรรม (ภาษาพูดเรียกว่า วันพระ) ในทางศาสนาก็ยังได้เรียกว่า วันอุโบสถ ซึ่งแปลว่า วันถือศีลของอุบาสกอุบาสิกาที่เข้มข้นขึ้นอีก คือถือศีลอุโบสถ (8ข้อ) 1 วัน หรือ 3 วัน
ส่วนพระภิกษุในสมัยพุทธกาลนั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้นัดหมายประชุมกัน และจะมีพระสงฆ์รูปหนึ่งเป็นผู้สวดพระปาฏิโมกข์ พระภิกษุทุกรูปก็จะนั่งฟังด้วยอาการอันสำรวม และตั้งใจจนกระทั่งจบ สวดปาฏิโมกข์คือสวดทบทวนสิกขาบท ที่ทรงบัญญัติไว้เป็นระเบียบปฏิบัติเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุกและเพื่อความบริสุทธิ์ในเพศสมณะที่ต้องบริบูรณ์ด้วย ศีล สมาธิ และปัญญาอันเป็นทางหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงตามเส้นทางของพระพุทธศาสนา โดยก่อนทบทวนศีล ภิกษุทุกรูปต้องบริสุทธิ์ด้วยการปลงอาบัติ หากอาบัติกหนักก็ต้องเข้าปริวาสกรรมและนั่งอยู่ท้ายแถว จะไม่ลงโบสถ์ไม่ได้ และเมื่อภิกษุผู้สวดทบทวน สวดถึงข้อใดแล้วมีภิกษุรูปใดรูปใดรูปหนึ่งประพฤติผิดข้อบังคับนั้น จะเปิดเผยท่ามกลางที่ประชุม หรือที่เรียกว่าแสดงอาบัติ ซึ่งถือปฏิบัติเช่นนี้สืบต่อๆ กันมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล ซึ่งการบัญญัติสิกขาบท พระพุทธองค์อาศัยอำนาจประโยชน์ 10 ประการ คือ
1. เพื่อการรับว่าดีแห่งสงฆ์
3. เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์
5. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก
7. เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก
9. เพื่อป้องกันอาสวะอันจักบังเกิดในปัจจุบัน
10. เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต
11. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส
12. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว
13. เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
14. เพื่อถือตามพระวินัย
การลงโบสถ์ทุกวันพระผู้เขียนพบความสำคัญได้อีก 3 ข้อ ดังนี้ คือ
1. เกิดความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคณะสงฆ์ ด้วยระเบียบปฏิบัติที่หมั่นทบทวนและเตือนตนด้วยการแสดงการยอมรับในสิ่งที่ตนละเมิด เพื่อแก้ไขต่อไป ในข้อนี้มีปรากฏการณ์เด่นชัดเมื่อครั้งพุทธกาล คือเมื่อครั้งพระภิกษุชาวเมืองโกสัมพีทะเลาะเบาะแว้งแตกความสามัคคีกันภายหลังเมื่อกลับมีความสามัคคีใหม่ พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ประชุมทำอุโบสถสวดพระปาฏิโมกข์เป็นกรณีพิเศษ ที่เรียกว่า วันสามัคคีอุโบสถ อีกทั้งความสามัคคีสามารถต้านทานการรุกรานของคนพาลที่จ้องยึดอาวาสแต่ละแห่งหรือศาสนาได้ เหมือนเรื่อง ลิจฉวีอปริหานิยธรรม
2. การหมั่นทบทวนอย่างสม่ำเสมอ ทำให้พระธรรมคำสอนไม่คลาดเคลื่อน เลือนหายและทำให้หมู่คณะจรรโลงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันนี้
3. การที่พระพุทธองค์บัญญัติสิกขาบท และแสดงธรรมโดยพิสดารเป็นเหตุให้พระศาสนาดำรงอยู่ได้นาน แต่หากไม่บัญญัติสิกขาบท และไม่แสดงธรรมโดยพิสดาร เมื่ออันตราธานแห่งพระผู้มีพระภาค อันตรธานแห่งสาวกผู้ตรัสรู้ตาม สาวกชั้นหลังที่ต่างชื่อกัน ต่างโคตรกัน ต่างชาติกัน ออกบวชจากตระกูลต่างกัน จึงยังพระศาสนานั้นให้อันตรธานโดยฉับพลัน เหมือนดอกไม้ต่างพรรณที่กองไว้ ยังไม่ได้ร้อยด้วยด้าย ลมย่อมกระจาย กำจัดดอกไม้เหล่านั้นได้ ข้อนี้ปรากฏจากการทูลถามของพระสารีบุตร
ทุกท่านคิดเห็นอย่างไร แลกเปลี่ยนความความรู้กันใน Comment Facebook, YouTube, Blog, Line, IG, Twitter ...กันนะครับ ขอบคุณครับ
B.S.
12 ก.ค. 2561
ตอน “วันพระ ทำไมพระต้องลงโบสถ์ โยมต้องเข้าวัด เวลา 14.00-14.20 น.
https://youtu.be/TWbSpGdq4OM
วันพระ ทำไมพระต้องลงโบสถ์ โยมต้องเข้าวัด
เรื่อง วันพระ ทำไมพระต้องลงโบสถ์ โยมต้องเข้าวัด
วันสำคัญส่วนใหญ่จะมีปีละครั้ง เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้ระลึกนึกถึง ทั้งตัวบุคคล เหตุการณ์สำคัญ รณรงค์เรื่องต่างๆ เช่น วันพ่อ วันแม่ วันเด็ก วันอานันทมหิดล วันงดสูบบุหรี่โลก แต่มีวันอยู่อย่างหนึ่งที่มีทุกสัปดาห์ นั่นคือ “วันพระ” ซึ่งพบหลักฐานแรกเริ่มการเรียกวันพระในยุคสมัยสุโขทัย แล้วมีความสำคัญอย่างไร
ในสมัยพุทธกาล พระเจ้าพิมพิสารได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และกราบทูลว่า "นักบวชศาสนาอื่นเขามีวันประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสั่งสอนในศาสนาของเขา แต่ว่าในศาสนาพุทธยังไม่มี" พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์ประชุมสนทนาและแสดงพระธรรมเทศนาแก่ประชาชนในวัน 8 ค่ำ 14 หรือ 15 ค่ำ พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็น”วันธรรมสวนะ”เพื่อกำหนดให้มีการประชุมพร้อมเพรียงกันฟังธรรม คำว่า "สวนะ" แปลว่า การฟัง และคำว่า "ธรรมสวนะ" แปลว่า การฟังธรรม, วันฟังธรรม (ภาษาพูดเรียกว่า วันพระ) ในทางศาสนาก็ยังได้เรียกว่า วันอุโบสถ ซึ่งแปลว่า วันถือศีลของอุบาสกอุบาสิกาที่เข้มข้นขึ้นอีก คือถือศีลอุโบสถ (8ข้อ) 1 วัน หรือ 3 วัน
ส่วนพระภิกษุในสมัยพุทธกาลนั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้นัดหมายประชุมกัน และจะมีพระสงฆ์รูปหนึ่งเป็นผู้สวดพระปาฏิโมกข์ พระภิกษุทุกรูปก็จะนั่งฟังด้วยอาการอันสำรวม และตั้งใจจนกระทั่งจบ สวดปาฏิโมกข์คือสวดทบทวนสิกขาบท ที่ทรงบัญญัติไว้เป็นระเบียบปฏิบัติเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุกและเพื่อความบริสุทธิ์ในเพศสมณะที่ต้องบริบูรณ์ด้วย ศีล สมาธิ และปัญญาอันเป็นทางหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงตามเส้นทางของพระพุทธศาสนา โดยก่อนทบทวนศีล ภิกษุทุกรูปต้องบริสุทธิ์ด้วยการปลงอาบัติ หากอาบัติกหนักก็ต้องเข้าปริวาสกรรมและนั่งอยู่ท้ายแถว จะไม่ลงโบสถ์ไม่ได้ และเมื่อภิกษุผู้สวดทบทวน สวดถึงข้อใดแล้วมีภิกษุรูปใดรูปใดรูปหนึ่งประพฤติผิดข้อบังคับนั้น จะเปิดเผยท่ามกลางที่ประชุม หรือที่เรียกว่าแสดงอาบัติ ซึ่งถือปฏิบัติเช่นนี้สืบต่อๆ กันมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล ซึ่งการบัญญัติสิกขาบท พระพุทธองค์อาศัยอำนาจประโยชน์ 10 ประการ คือ
1. เพื่อการรับว่าดีแห่งสงฆ์
3. เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์
5. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก
7. เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก
9. เพื่อป้องกันอาสวะอันจักบังเกิดในปัจจุบัน
10. เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต
11. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส
12. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว
13. เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
14. เพื่อถือตามพระวินัย
การลงโบสถ์ทุกวันพระผู้เขียนพบความสำคัญได้อีก 3 ข้อ ดังนี้ คือ
1. เกิดความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคณะสงฆ์ ด้วยระเบียบปฏิบัติที่หมั่นทบทวนและเตือนตนด้วยการแสดงการยอมรับในสิ่งที่ตนละเมิด เพื่อแก้ไขต่อไป ในข้อนี้มีปรากฏการณ์เด่นชัดเมื่อครั้งพุทธกาล คือเมื่อครั้งพระภิกษุชาวเมืองโกสัมพีทะเลาะเบาะแว้งแตกความสามัคคีกันภายหลังเมื่อกลับมีความสามัคคีใหม่ พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ประชุมทำอุโบสถสวดพระปาฏิโมกข์เป็นกรณีพิเศษ ที่เรียกว่า วันสามัคคีอุโบสถ อีกทั้งความสามัคคีสามารถต้านทานการรุกรานของคนพาลที่จ้องยึดอาวาสแต่ละแห่งหรือศาสนาได้ เหมือนเรื่อง ลิจฉวีอปริหานิยธรรม
2. การหมั่นทบทวนอย่างสม่ำเสมอ ทำให้พระธรรมคำสอนไม่คลาดเคลื่อน เลือนหายและทำให้หมู่คณะจรรโลงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันนี้
3. การที่พระพุทธองค์บัญญัติสิกขาบท และแสดงธรรมโดยพิสดารเป็นเหตุให้พระศาสนาดำรงอยู่ได้นาน แต่หากไม่บัญญัติสิกขาบท และไม่แสดงธรรมโดยพิสดาร เมื่ออันตราธานแห่งพระผู้มีพระภาค อันตรธานแห่งสาวกผู้ตรัสรู้ตาม สาวกชั้นหลังที่ต่างชื่อกัน ต่างโคตรกัน ต่างชาติกัน ออกบวชจากตระกูลต่างกัน จึงยังพระศาสนานั้นให้อันตรธานโดยฉับพลัน เหมือนดอกไม้ต่างพรรณที่กองไว้ ยังไม่ได้ร้อยด้วยด้าย ลมย่อมกระจาย กำจัดดอกไม้เหล่านั้นได้ ข้อนี้ปรากฏจากการทูลถามของพระสารีบุตร
ทุกท่านคิดเห็นอย่างไร แลกเปลี่ยนความความรู้กันใน Comment Facebook, YouTube, Blog, Line, IG, Twitter ...กันนะครับ ขอบคุณครับ
B.S.
12 ก.ค. 2561
ตอน “วันพระ ทำไมพระต้องลงโบสถ์ โยมต้องเข้าวัด เวลา 14.00-14.20 น. https://youtu.be/TWbSpGdq4OM