ปีนี้ 2018 เป็นปีที่ครบรอบ 100 ปี การสังหารหมู่ราชวงศ์โรมานอฟแห่งรัสเซีย ณ วันที่ 17 กรกฎาคม 1918
ส่วนตัวเราสนใจในประวัติศาสตร์รัสเซียจึงไปขวนขวายหาอ่านและได้พบกับเรื่องเศร้านี้
จึงอยากจะขออนุญาตใช้พื้นที่ตรงนี้ เพื่อเป็นการกล่าวถึง รำลึก เล่าเรื่องเหตุการณ์ ณ คืนวันนั้น
เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาและทำความเข้าใจกับประวัติศาสตร์โบกไม่ลืมเรื่องนี้
ข้อความทั้งหมด เราเรียบเรียงด้วยตัวเอง โดยมี reference จากหนังสือ และในเว็บไซต์
หากถูกผิดประการใด น้อมรับคำติชมนะคะ
================================================================
ณ บ้านอิพาเทียฟ เมืองเยคาเตรินเบิร์ก ประเทศรัสเซีย (Ipatiev House, Ekaterinberg, Russia)
กลางดึกคืนวันที่ 16 กรกฎาคม 1918 เวลาประมาณเกือบเที่ยงคืน กำลังจะเข้าสู่เช้าวันใหม่
นายแพทย์ยูจีน บอทกิ้น (Eugene Botkin) ได้เปิดประตูเพราะเสียงเคาะอันดังก้องในขณะที่เขากำลังอ่านหนังสือ
คนที่เผชิญอยู่เบื้องหน้าเขาคือนายทหารจากกลุ่มบอลเชวิค (Bolshevik) ที่มาแจ้งข่าวให้เขาไปปลุกคนอื่นๆ
ให้เตรียมตัวแต่งตัวเพื่อที่จะออกเดินทางไปไกล เพื่อที่จะหนีให้ห่างจากกลุ่มต่อต้านบอลเชวิคที่กำลังมาถึงอีกไม่ช้า
คุณหมอบอทกิ้นเป็นแพทย์ประจำราชสำนักแห่งซาร์ เขาคือ 1 ใน 11 คนที่โดนจับมาคุมขังอยู่บ้านแห่งนี้พร้อมกับราชวงศ์และข้าราชบริพารอีก 3 คน
นายแพทย์รีบไปแจ้งกับครอบครัวโรมานอฟ อันประกอบไปด้วย
- อดีตพระเจ้าซาร์องค์สุดท้ายของรัสเซีย นิโคลัสที่ 2
- พระมเหสีอเล็กซานดร้า เฟโดรโรนอฟนา
- แกรนด์ดัชเชสทั้ง 4 พระองค์ คือ โอลก้า ทาเทียน่า มาเรีย และอนาสตาเซีย
- พระราชโอรสองค์สุดท้อง ซาเรวิช อเล็กเซย์ ผู้ซึ่งประชวรด้วยโรคฮีโมฟีเลีย หรือโรคเลือดไหลไม่หยุดมาตั้งแต่เกิด
- รวมถึงข้าราชบริพารคือ แอนนา เดมิโดวา (นางสนองพระโอษฐ์ของอเล็กซานดร้า)
- อเล็กเซย์ ทรูฟฟ์ คนรับใช้ของนิโคลัส
- อิวาน คาริโตนอฟ พ่อครัวของราชสำนัก
- นายแพทย์ยูจีน บอทกิ้น
ในขณะที่ทั้งหมดทราบข่าว จึงรีบแต่งตัวเพื่อเตรียมเดินทางไกล โดยอเล็กซานดร้าได้ให้บรรดาแกรนด์ดัชเชสนำเอาเครื่องเพชรพลอยเย็บติดไปในเสื้อผ้าที่สวมใส่ด้วย ซึ่งบางพระองค์ บรรจุเครื่องเพชรหนักถึง 1 กิโลกรัมกว่าๆ จากนั้นทั้งหมดก็ลงไปยังห้องใต้ดินของบ้านอิพาเทียฟ
เมื่อลงไปด้านล่าง นิโคลัสได้ร้องขอเก้าอี้ 2 ตัวเพื่อให้อเล็กซานดร้าผู้ซึ่งร่างกายไม่แข็งแรงได้นั่ง
และให้อเล็กเซย์ พระราชโอรสที่มีอาการเจ็บป่วยด้วยโรคฮีโมฟีเลียได้นั่ง
พวกทหารได้ให้ทั้งหมดยืนเรียงกันที่ห้องใต้ดินเพื่อที่จะทำการถ่ายรูปหมู่ก่อนการเดินทาง
(ภาพจำลอง จากเหตุการณ์คืนนั้น)
แต่เมื่อ ยาคอฟ ยูรอฟสกี้ หัวหน้ากลุ่มบอลเชวิค ณ ที่นั่นได้อ่านถ้อยคำแถลงว่า ทุกคนได้รับคำสั่งให้ประหารชีวิต
นิโคลัสถึงกับหันกลับมาแล้วตะโกนว่า
"อะไรนะ ! อะไรนะ !"
แต่ยังไม่ทันได้เอ่ยอันใดออกมาอีก เพราะเสียงกระสุนจากกระบอกปืนของทหารที่ยืนเรียงแถวได้พุ่งทะลุร่างกายของบรรดาผู้เคราะห์ร้ายทั้งหใมดทันที
จากการกระหน่ำกระสุนทำให้เกิดควันในห้องใต้ดินนั้น จนต้องเปิดประตูระบายออก แต่ห้ามทำโจ่งแจ้งเพราะเพื่อนบ้านจะแตกตื่น
กระสุนนัดแรกๆได้คร่าชีวิตของนิโคลัสที่ 2 และพระมเหสีอเล็กซานดร้าไปอย่างรวดเร็ว
แต่บรรดาแกรนด์ดังเชสทั้ง 4 ที่มีการใส่เพชรไว้ในเสื้อ ทำให้กระสุนไม่อาจแทงทะลุได้หมดนั้น พวกทหารใจโฉดได้ใช้ดาบปลายปืน (ปืนที่มีปลายเป็นดาบไว้แทงศัตรู) แทงไปยังร่างกายของพระราชธิดาทั้งหมด และเมื่อเห็นว่าแทงไม่เข้าก็จบลงด้วยการลั่นไกที่บริเวณศีรษะ
แกรนด์ดัชเชสโอลก้า แกรนด์ดัชเชสอนาสตาเซีย สิ้นพระชนม์ทันที ส่วนเจ้าชายอเล็กเซย์ก็ถูกยิงที่ขมับบริเวณกกหูจนสิ้นพระชนม์ต่อมา
แกรนด์ดัชเชสมาเรียก็ถูกแทงด้วยดาบปลายปืนจนล้มลงและโดนยิงที่ศีรษะ และแกรนด์ดัชเชสทาเทียน่าก็เช่นกัน พระองค์ถูกยิงบริเวณหลังศีรษะ
ส่วนบรรดาข้าราชบริพารก็มีชะตากรรมไม่ต่างกัน แต่นางเดมิโดวาที่กอดหมอนที่บรรจุเครื่องเพชรนั้นกระสุนก็ยิงไม่เข้า
นางจึงโดนดาบปลายปืนแทงซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนเสียชีวิต โดยในครั้งนั้น มีสุนัขทรงเลี้ยงที่โดนยิงด้วยเช่นกัน
เมื่อได้ทำงานของตนเสร็จไปขั้นตอนนึงแล้ว พวกบอลเชวิคได้นำร่างทั้งหมดบรรจุใส่รถบรรทุกไปเตรียมทิ้งที่ป่า Koptyaki
โดยได้ขุดหลุมลึกเตรียมไว้ แต่ก่อนจะโยนร่างลงไป ได้ทำการถอดเสื้อผ้าออกเพื่อจะเผาทำลายก่อน
พวกทหารโฉดได้กระทำการรุนแรงต่อร่างของผู้เสียชีวิตอย่างทารุณ ก่อนจะเผาศพเหล่านั้นและขโมยเอาเครื่องเพชรออกไป
เหยื่อทั้งหมด ยกเว้นซาเรวิชอเล็กเซย์ และแกรนด์ดัชเชสพระองค์หนึ่ง (คาดเดาว่าเป็น มาเรีย) ได้รับการฝังในหลุมลึกด้านหนึ่ง
ส่วนอีกสองพระองค์ถูกนำมาฝังแยกไว้อีกด้านหนึ่งไม่ห่างจากหลุมใหญ่หลุมแรก เพื่อไม่ให้พบเจอศพทั้งหมดพร้อมกัน
แต่กว่าภารกิจทำลายหลักฐานของพวกบอลเชวิคจะสำเร็จลุล่วง ก็ปาเข้าไปถึงวันที่ 19 กรกฎาคม แล้ว
ปิดฉากตำนานราชวงศ์โรมานอฟ 300 ปีที่เป็นเจ้าชีวิตแห่งมวลชนรัสเซีย
เวลาผ่านไปเนิ่นนาน ในยุคสมัยหลังจากการประหารชีวิต พรรคบอลเชวิคที่นำโดย วลาดิเมียร์ เลนนิน (Vladimir Lenin) ก็เรืองอำนาจมาก
จากรัสเซียกลายไปเป็นสหภาพโซเวียต (Union of Soviet Socialist Republics – USSR) และปกครองรัสเซียมายาวนานจนถึงปี 1991
ในส่วนของร่างที่ถูกฝังนั้น ต้องผ่านไปนานราวหลายสิบปีถึงจะมีการค้นพบ ซึ่งมีการค้นพบในหลายครั้ง
แต่เนื่องด้วยเกรงว่าทางการที่ในขณะนั้นเป็นสหภาพโซเวียตจะบุกยึดหรือทำลายหักฐาน ทำให้ผู้ค้นพบยังเก็บเป็นความลับ
แต่หลังจากสหภาพโซเวียตล้มสลาย ก็ได้มีการขุดจนพบซากโครงกระดูกที่ถูกฝังลึกลงไปถึง 3 เมตร
ได้พบโครงกระดูกในหลุมนั้น 9 โครง และนำมาพิสูจน์อัตลักษณ์จนพบว่าตรงกับบุคคลที่เสียชีวิต
จะขาดก็แต่เพียงอีก 2 โครงกระดูกของอเล็กเซย์และอีก 1 แกรนด์ดัชเชสที่ยังหาไม่เจอ
โดยทั้ง 9 โครงกระดูกได้รับการฝังในปี 1998 ณ Peter and Paul Fortress
ต่อมาในปี 2007 นักวิจัยและนักโบราณคดีได้ขุดเจอหลุมเล็กที่ห่างจากหลุมใหญ่ไม่มาก
โดยได้พบกับโครงกระดูกของทายาทโรมานอฟ 2 พระองค์ที่สูญหาย เมื่อพิสูจน์ทาง DNA ก็พบว่าตรงกับข้อสันนิษฐาน
และในที่สุด ทั้ง 7 พระองค์ก็ถูกฝังอย่างสมพระเกียรติ ณ St. Catherine Chapel, Peter and Paul Cathedral ในกรุง St. Petersburg
ครอบครัวได้กลับมาอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันอีกครั้ง เป็นครั้งสุดท้าย...
=====================================================================
ข้อมูลเพิ่มเติม
บ้านอิพาเทียฟ (Ipatiev House) จริงๆแล้วเป็นบ้านของพ่อค้าในเมืองเยคาเตรินเบิรฺกแต่ถูกซื้อเพื่อมาใช้ใน
ภารกิจลับเฉพาะ ของพวกบอลเชวิก
ณ บริเวณแห่งนี้ได้ถูกรื้อถอนไป และได้มีการสร้างสถานที่แห่งใหม่ขึ้นมาแทนบ้านหลังนี้ นั่นคือ
Church of All Saints
ส่วนบริเวณที่พระศพของทุกพระองค์ถูกฝังในคืนโหดนั้น ปัจจุบันได้ทำเป็นสถานที่รำลึกประวัติศาสตร์ชื่อว่า
Ganina Yama
หลุมแห่งนี้มีความลึก 3 เมตร (9 ฟุต)
ย้อนรำลึก Romanov ครบรอบ 100 ปี (17 Jul 2018) และเรื่องเล่าจากครอบครัวซาร์นิโคลัสที่ 2
ส่วนตัวเราสนใจในประวัติศาสตร์รัสเซียจึงไปขวนขวายหาอ่านและได้พบกับเรื่องเศร้านี้
จึงอยากจะขออนุญาตใช้พื้นที่ตรงนี้ เพื่อเป็นการกล่าวถึง รำลึก เล่าเรื่องเหตุการณ์ ณ คืนวันนั้น
เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาและทำความเข้าใจกับประวัติศาสตร์โบกไม่ลืมเรื่องนี้
ข้อความทั้งหมด เราเรียบเรียงด้วยตัวเอง โดยมี reference จากหนังสือ และในเว็บไซต์
หากถูกผิดประการใด น้อมรับคำติชมนะคะ
================================================================
ณ บ้านอิพาเทียฟ เมืองเยคาเตรินเบิร์ก ประเทศรัสเซีย (Ipatiev House, Ekaterinberg, Russia)
กลางดึกคืนวันที่ 16 กรกฎาคม 1918 เวลาประมาณเกือบเที่ยงคืน กำลังจะเข้าสู่เช้าวันใหม่
นายแพทย์ยูจีน บอทกิ้น (Eugene Botkin) ได้เปิดประตูเพราะเสียงเคาะอันดังก้องในขณะที่เขากำลังอ่านหนังสือ
คนที่เผชิญอยู่เบื้องหน้าเขาคือนายทหารจากกลุ่มบอลเชวิค (Bolshevik) ที่มาแจ้งข่าวให้เขาไปปลุกคนอื่นๆ
ให้เตรียมตัวแต่งตัวเพื่อที่จะออกเดินทางไปไกล เพื่อที่จะหนีให้ห่างจากกลุ่มต่อต้านบอลเชวิคที่กำลังมาถึงอีกไม่ช้า
คุณหมอบอทกิ้นเป็นแพทย์ประจำราชสำนักแห่งซาร์ เขาคือ 1 ใน 11 คนที่โดนจับมาคุมขังอยู่บ้านแห่งนี้พร้อมกับราชวงศ์และข้าราชบริพารอีก 3 คน
นายแพทย์รีบไปแจ้งกับครอบครัวโรมานอฟ อันประกอบไปด้วย
- อดีตพระเจ้าซาร์องค์สุดท้ายของรัสเซีย นิโคลัสที่ 2
- พระมเหสีอเล็กซานดร้า เฟโดรโรนอฟนา
- แกรนด์ดัชเชสทั้ง 4 พระองค์ คือ โอลก้า ทาเทียน่า มาเรีย และอนาสตาเซีย
- พระราชโอรสองค์สุดท้อง ซาเรวิช อเล็กเซย์ ผู้ซึ่งประชวรด้วยโรคฮีโมฟีเลีย หรือโรคเลือดไหลไม่หยุดมาตั้งแต่เกิด
- รวมถึงข้าราชบริพารคือ แอนนา เดมิโดวา (นางสนองพระโอษฐ์ของอเล็กซานดร้า)
- อเล็กเซย์ ทรูฟฟ์ คนรับใช้ของนิโคลัส
- อิวาน คาริโตนอฟ พ่อครัวของราชสำนัก
- นายแพทย์ยูจีน บอทกิ้น
ในขณะที่ทั้งหมดทราบข่าว จึงรีบแต่งตัวเพื่อเตรียมเดินทางไกล โดยอเล็กซานดร้าได้ให้บรรดาแกรนด์ดัชเชสนำเอาเครื่องเพชรพลอยเย็บติดไปในเสื้อผ้าที่สวมใส่ด้วย ซึ่งบางพระองค์ บรรจุเครื่องเพชรหนักถึง 1 กิโลกรัมกว่าๆ จากนั้นทั้งหมดก็ลงไปยังห้องใต้ดินของบ้านอิพาเทียฟ
เมื่อลงไปด้านล่าง นิโคลัสได้ร้องขอเก้าอี้ 2 ตัวเพื่อให้อเล็กซานดร้าผู้ซึ่งร่างกายไม่แข็งแรงได้นั่ง
และให้อเล็กเซย์ พระราชโอรสที่มีอาการเจ็บป่วยด้วยโรคฮีโมฟีเลียได้นั่ง
พวกทหารได้ให้ทั้งหมดยืนเรียงกันที่ห้องใต้ดินเพื่อที่จะทำการถ่ายรูปหมู่ก่อนการเดินทาง
(ภาพจำลอง จากเหตุการณ์คืนนั้น)
แต่เมื่อ ยาคอฟ ยูรอฟสกี้ หัวหน้ากลุ่มบอลเชวิค ณ ที่นั่นได้อ่านถ้อยคำแถลงว่า ทุกคนได้รับคำสั่งให้ประหารชีวิต
นิโคลัสถึงกับหันกลับมาแล้วตะโกนว่า "อะไรนะ ! อะไรนะ !"
แต่ยังไม่ทันได้เอ่ยอันใดออกมาอีก เพราะเสียงกระสุนจากกระบอกปืนของทหารที่ยืนเรียงแถวได้พุ่งทะลุร่างกายของบรรดาผู้เคราะห์ร้ายทั้งหใมดทันที
จากการกระหน่ำกระสุนทำให้เกิดควันในห้องใต้ดินนั้น จนต้องเปิดประตูระบายออก แต่ห้ามทำโจ่งแจ้งเพราะเพื่อนบ้านจะแตกตื่น
กระสุนนัดแรกๆได้คร่าชีวิตของนิโคลัสที่ 2 และพระมเหสีอเล็กซานดร้าไปอย่างรวดเร็ว
แต่บรรดาแกรนด์ดังเชสทั้ง 4 ที่มีการใส่เพชรไว้ในเสื้อ ทำให้กระสุนไม่อาจแทงทะลุได้หมดนั้น พวกทหารใจโฉดได้ใช้ดาบปลายปืน (ปืนที่มีปลายเป็นดาบไว้แทงศัตรู) แทงไปยังร่างกายของพระราชธิดาทั้งหมด และเมื่อเห็นว่าแทงไม่เข้าก็จบลงด้วยการลั่นไกที่บริเวณศีรษะ
แกรนด์ดัชเชสโอลก้า แกรนด์ดัชเชสอนาสตาเซีย สิ้นพระชนม์ทันที ส่วนเจ้าชายอเล็กเซย์ก็ถูกยิงที่ขมับบริเวณกกหูจนสิ้นพระชนม์ต่อมา
แกรนด์ดัชเชสมาเรียก็ถูกแทงด้วยดาบปลายปืนจนล้มลงและโดนยิงที่ศีรษะ และแกรนด์ดัชเชสทาเทียน่าก็เช่นกัน พระองค์ถูกยิงบริเวณหลังศีรษะ
ส่วนบรรดาข้าราชบริพารก็มีชะตากรรมไม่ต่างกัน แต่นางเดมิโดวาที่กอดหมอนที่บรรจุเครื่องเพชรนั้นกระสุนก็ยิงไม่เข้า
นางจึงโดนดาบปลายปืนแทงซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนเสียชีวิต โดยในครั้งนั้น มีสุนัขทรงเลี้ยงที่โดนยิงด้วยเช่นกัน
เมื่อได้ทำงานของตนเสร็จไปขั้นตอนนึงแล้ว พวกบอลเชวิคได้นำร่างทั้งหมดบรรจุใส่รถบรรทุกไปเตรียมทิ้งที่ป่า Koptyaki
โดยได้ขุดหลุมลึกเตรียมไว้ แต่ก่อนจะโยนร่างลงไป ได้ทำการถอดเสื้อผ้าออกเพื่อจะเผาทำลายก่อน
พวกทหารโฉดได้กระทำการรุนแรงต่อร่างของผู้เสียชีวิตอย่างทารุณ ก่อนจะเผาศพเหล่านั้นและขโมยเอาเครื่องเพชรออกไป
เหยื่อทั้งหมด ยกเว้นซาเรวิชอเล็กเซย์ และแกรนด์ดัชเชสพระองค์หนึ่ง (คาดเดาว่าเป็น มาเรีย) ได้รับการฝังในหลุมลึกด้านหนึ่ง
ส่วนอีกสองพระองค์ถูกนำมาฝังแยกไว้อีกด้านหนึ่งไม่ห่างจากหลุมใหญ่หลุมแรก เพื่อไม่ให้พบเจอศพทั้งหมดพร้อมกัน
แต่กว่าภารกิจทำลายหลักฐานของพวกบอลเชวิคจะสำเร็จลุล่วง ก็ปาเข้าไปถึงวันที่ 19 กรกฎาคม แล้ว
ปิดฉากตำนานราชวงศ์โรมานอฟ 300 ปีที่เป็นเจ้าชีวิตแห่งมวลชนรัสเซีย
เวลาผ่านไปเนิ่นนาน ในยุคสมัยหลังจากการประหารชีวิต พรรคบอลเชวิคที่นำโดย วลาดิเมียร์ เลนนิน (Vladimir Lenin) ก็เรืองอำนาจมาก
จากรัสเซียกลายไปเป็นสหภาพโซเวียต (Union of Soviet Socialist Republics – USSR) และปกครองรัสเซียมายาวนานจนถึงปี 1991
ในส่วนของร่างที่ถูกฝังนั้น ต้องผ่านไปนานราวหลายสิบปีถึงจะมีการค้นพบ ซึ่งมีการค้นพบในหลายครั้ง
แต่เนื่องด้วยเกรงว่าทางการที่ในขณะนั้นเป็นสหภาพโซเวียตจะบุกยึดหรือทำลายหักฐาน ทำให้ผู้ค้นพบยังเก็บเป็นความลับ
แต่หลังจากสหภาพโซเวียตล้มสลาย ก็ได้มีการขุดจนพบซากโครงกระดูกที่ถูกฝังลึกลงไปถึง 3 เมตร
ได้พบโครงกระดูกในหลุมนั้น 9 โครง และนำมาพิสูจน์อัตลักษณ์จนพบว่าตรงกับบุคคลที่เสียชีวิต
จะขาดก็แต่เพียงอีก 2 โครงกระดูกของอเล็กเซย์และอีก 1 แกรนด์ดัชเชสที่ยังหาไม่เจอ
โดยทั้ง 9 โครงกระดูกได้รับการฝังในปี 1998 ณ Peter and Paul Fortress
ต่อมาในปี 2007 นักวิจัยและนักโบราณคดีได้ขุดเจอหลุมเล็กที่ห่างจากหลุมใหญ่ไม่มาก
โดยได้พบกับโครงกระดูกของทายาทโรมานอฟ 2 พระองค์ที่สูญหาย เมื่อพิสูจน์ทาง DNA ก็พบว่าตรงกับข้อสันนิษฐาน
และในที่สุด ทั้ง 7 พระองค์ก็ถูกฝังอย่างสมพระเกียรติ ณ St. Catherine Chapel, Peter and Paul Cathedral ในกรุง St. Petersburg
ครอบครัวได้กลับมาอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันอีกครั้ง เป็นครั้งสุดท้าย...
=====================================================================
ข้อมูลเพิ่มเติม
บ้านอิพาเทียฟ (Ipatiev House) จริงๆแล้วเป็นบ้านของพ่อค้าในเมืองเยคาเตรินเบิรฺกแต่ถูกซื้อเพื่อมาใช้ใน ภารกิจลับเฉพาะ ของพวกบอลเชวิก
ณ บริเวณแห่งนี้ได้ถูกรื้อถอนไป และได้มีการสร้างสถานที่แห่งใหม่ขึ้นมาแทนบ้านหลังนี้ นั่นคือ Church of All Saints
ส่วนบริเวณที่พระศพของทุกพระองค์ถูกฝังในคืนโหดนั้น ปัจจุบันได้ทำเป็นสถานที่รำลึกประวัติศาสตร์ชื่อว่า Ganina Yama
หลุมแห่งนี้มีความลึก 3 เมตร (9 ฟุต)