หอศิลป์สุทฺธจิตโต เดิมเรียกกันว่า หอเงิน และศาลาโลหะ 3 ครูบา
ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น "หอศิลป์สุทฺธจิตฺโต" หอศิลป์ที่ประดิษฐานหุ่นขี้ผึ้งรูปเหมือน 3 ครูบา
พระสงฆ์ผู้มีคุณูปการเป็นที่เคารพรักและศรัทธา ของชาวบ้านวัวลาย นับแต่อดีตจนปัจจุบัน
ได้แก่ ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา,
ครูบาอินตาอินทปัญโญ (ครูบาอินต๊ะ)
และพระครูโอภาสคณาภิบาล (ครูบาบุญปั๋น ปุณญาคโม) อดีตเจ้าอาวาสวัดหมื่นสาร
..........ด้านการออกแบบก่อสร้างหอศิลป์สุทธฺจิตฺโต เป็นหอศิลป์ที่สร้างแบบล้านนาประยุกต์
มีบันไดทางขึ้นที่มุขด้านหน้า 2 ด้าน ซ้าย-ขวา โครงสร้างหอศิลป์มีขนาดกว้าง 6.50 เมตร ยาว 121 เมตร
..........หอศิลป์สุทฺธจิตฺโต เป็นหอที่สร้างขึ้นแบบล้านนาประยุกต์ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือภายในวัดหมื่นสาร
บริเวณประตูทางเข้าวัดด้านซ้ายมือ ด้านหน้าหอมีต้นมะขามเก่าแก่อายุหลายร้อยปี
ตัวหอก่ออิฐถือปูน ฉาบและประดับด้วยโลหะดุนลายทั้งหลัง
ยกเว้นส่วนหลังคามุงด้วยกระเบื้องสีอิฐ เพื่อให้กลมกลืนกับสีหลังคาของอาคารสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ ภายในวัด
ตัวอาคารหอภายนอกและภายในประดับด้วยงานดุนลายโลหะลายต่าง ๆ ที่ประยุกต์จากลายพื้นเมืองเอกลักษณ์ลายเครื่องเงินบ้านวัวลายดั้งเดิมซึ่งเป็นลายหลัก ได้แก่ ลายเวสสันดรชาดก ลายรามเกียรติ์ ลายเทวดา ลายเทพพนม ลายสิบสองราศี ลายแส้ ลายดอกกระถิน ลายเครือเถา และลายที่สื่อถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชาวบ้านวัวลายตั้งแต่การอพยพจากเมืองปั่น ลุ่มน้ำคง (สาละวิน) รัฐไทใหญ่ฝั่งประเทศพม่าปัจจุบัน ตลอดจนภาพวิถีชีวิตของชาวบ้านวัวลายในอดีต
..........นอกจากนี้ยังมีการต้องแผ่นโลหะเป็นลวดลายที่แสดงถึงประวัติศาสตร์การสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ ซึ่งเป็นหนึ่งในผลงานการก่อสร้างและทำนุบำรุงถาวรวัตถุในบวรพระพุทธศาสนาอย่างมากมายของครูบาเจ้าศรีวิชัย จนได้รับการยกย่องเป็น "นักบุญแห่งล้านนา" รวมทั้งภาพประวัติศาสตร์การบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ วัดพระธาตุดอยสุเทพผสมผสานกับภาพเทพเจ้าต่าง ๆ ที่เป็นเทพแห่งศิลปะและความสำเร็จที่บรรดาช่างเงินบ้านวัวลายให้ความนับถือ เช่น พระศิวะ พระพิฆเณศวร์ ฯลฯ โดยลวดลายที่ประดับทั่วทั้งศาลาได้นำเอาลายเส้นและลายดอกแบบต่าง ๆ ที่ปรากฏในเครื่องเงินบ้านวัวลายดั้งเดิมมาตกแต่งเป็นลายประกอบ รวมทั้งลายที่ได้รับแนวคิดมาจากศาสนสถานต่าง ๆ ในล้านนา
..........ลายหลักที่ได้นำมาประดับหอศิลป์นี้ ถือเป็นลายชั้นสูงที่ช่างฝีมือจะต้องมีความชำนาญถือเป็นลายโบราณที่ทำได้ยากยิ่ง เป็นลายที่ถือเป็นยอดฝีมือขั้นสูงสุดและยากที่สุด โดยเฉพาะลายนูนสูงรูปคน เทวดา สัตว์หิมพานต์ หรือตัวละครที่ต้องใช้ความประณีต สัดส่วนที่มาตรฐาน ให้รายละเอียดอย่างมากมายและสมจริง เช่น รายละเอียดในส่วนของเสื้อผ้า หน้าตา โดยเฉพาะรูปเหมือน เช่น รูปพระสงฆ์ พระมหากษัตริย์ รูปคน รูปยักษ์ รวมทั้งอารมณ์ของตัวละครที่สะท้อนลงบนงานดุนลายให้ปรากฏเป็นเรื่องราวลงบนแผ่นภาพ
..........ในการออกแบบหอศิลป์ได้สื่อถึงดินแดนอันสุขสงบและศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่อยู่ของอริยสงฆ์ผู้ซึ่งปฏิบัติชอบ ลายรอบนอกประกอบด้วยเทวดาที่ปกปักรักษาหอศิลป์ ต้นไม้ ดอกไม้ และสัตว์ต่าง ๆ ในป่าหิมพานต์ ซึ่งสื่อถึงดินแดนอันสงบสุขและร่มเย็น
..........ส่วนยอดหลังคาประดับด้วยฉัตร 7 ชั้น ปลายยอดดุนลายดอกกระจัง ฐานฉัตรดุนลายกนกฝักขาม แนวสันหลังคา ลาดน้ำประกอบด้วยลายเมฆไหล เชิงชายหรือแป้นน้ำย้อยดุนลายดอกกระถิน ลายเหงาก้านขนผักกูดสลับลายเครือเถาใบเทศ ขนาบแนวบนล่างด้วยลายเมฆไหล และดอกกระจัง สื่อถึงก้อนเมฆหยดน้ำ และฝนโบกขรณีที่สร้างความสมบูรณ์แก่พืชพรรณธัญญาหาร ต้นไม้ ดอกไม้ เหล่าเทพยดา และสัตว์น้อยใหญ่ในป่าหิมพานต์ที่เรียงรายอยู่รอบศาลา
..........ส่วนป้านลมประกอบด้วย ป้านลมใหญ่ดุนลายดอกพุดตานสลับลายเครือเถาผักกูดก้านขด หัวป้านลมเป็นรูปพญานาครวม 16 ตัว ป้านลมเล็กดุนลายดอกพุดตานสลับลายเครือเถาผักกูดก้านขด แนวคิดจากป้านลมไม้แกะวิหารวัดต้นเกว๋น อำเภอหางดง เชียงใหม่ ส่วนหัวพญานาคจากหน้าบันไดวิหารวัดเจดีย์หลวง เชียงใหม่ หัวป้านลมเป็นรูปพญานาค 6 ตัว หน้าแหนบดุนลายพระธรรมจักร หน้าก้องดุนลายดอกพิกุลก้านขดหัวขอด ขื่อม้าต่างไหมประกอบด้วยลายดอกพุดตาน ลายเมฆ ขอบล่างหน้าแหนบดุนลายดอกประจำยาม และดอกพุดตาน ขื่อหลวงลายดอกประจำยาม ก้ามปู เสามุข 8 เสาส่วนหน้าดุนลายลายดอกพุดตานสลับเหงาก้านขดผักกูด หัวเสาลายกาบพรหมศร ตีนเสาลายตีนจก เสามุข 8 เสาเป็นลายปลิง 8 สิบสองราศี ซึ่งเป็นลายดั้งเดิมในสลุงเงินหาบของบ้านวัวลาย และเสากลางระหว่างมุขทั้งสอง ดุนลายแส้หางนกยูง ซึ่งลายเหล่านี้เป็นลายที่นำมาเป็นลายประกอบในสลุงเงินดั้งเดิม โก่งคิ้วดุนลายนาคสะดุ้ง ผสานลายดอกก้านขดผักกูด ส่วนนาคทันฑ์เป็นรูปพญานาค พระนารายณ์ คชปักษี ราชสีห์ และหนุมาน
เชียงใหม่...หอศิลป์สุทฺธจิตโต..ถนนวัวลาย..งานดุนเงินวัดหมื่นสาร..ศิลปล้านนาสล่าเงินฝากไว้ในแผ่นดิน
ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น "หอศิลป์สุทฺธจิตฺโต" หอศิลป์ที่ประดิษฐานหุ่นขี้ผึ้งรูปเหมือน 3 ครูบา
พระสงฆ์ผู้มีคุณูปการเป็นที่เคารพรักและศรัทธา ของชาวบ้านวัวลาย นับแต่อดีตจนปัจจุบัน
ได้แก่ ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา,
ครูบาอินตาอินทปัญโญ (ครูบาอินต๊ะ)
และพระครูโอภาสคณาภิบาล (ครูบาบุญปั๋น ปุณญาคโม) อดีตเจ้าอาวาสวัดหมื่นสาร
..........ด้านการออกแบบก่อสร้างหอศิลป์สุทธฺจิตฺโต เป็นหอศิลป์ที่สร้างแบบล้านนาประยุกต์
มีบันไดทางขึ้นที่มุขด้านหน้า 2 ด้าน ซ้าย-ขวา โครงสร้างหอศิลป์มีขนาดกว้าง 6.50 เมตร ยาว 121 เมตร
..........หอศิลป์สุทฺธจิตฺโต เป็นหอที่สร้างขึ้นแบบล้านนาประยุกต์ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือภายในวัดหมื่นสาร
บริเวณประตูทางเข้าวัดด้านซ้ายมือ ด้านหน้าหอมีต้นมะขามเก่าแก่อายุหลายร้อยปี
ตัวหอก่ออิฐถือปูน ฉาบและประดับด้วยโลหะดุนลายทั้งหลัง
ยกเว้นส่วนหลังคามุงด้วยกระเบื้องสีอิฐ เพื่อให้กลมกลืนกับสีหลังคาของอาคารสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ ภายในวัด
ตัวอาคารหอภายนอกและภายในประดับด้วยงานดุนลายโลหะลายต่าง ๆ ที่ประยุกต์จากลายพื้นเมืองเอกลักษณ์ลายเครื่องเงินบ้านวัวลายดั้งเดิมซึ่งเป็นลายหลัก ได้แก่ ลายเวสสันดรชาดก ลายรามเกียรติ์ ลายเทวดา ลายเทพพนม ลายสิบสองราศี ลายแส้ ลายดอกกระถิน ลายเครือเถา และลายที่สื่อถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชาวบ้านวัวลายตั้งแต่การอพยพจากเมืองปั่น ลุ่มน้ำคง (สาละวิน) รัฐไทใหญ่ฝั่งประเทศพม่าปัจจุบัน ตลอดจนภาพวิถีชีวิตของชาวบ้านวัวลายในอดีต
..........นอกจากนี้ยังมีการต้องแผ่นโลหะเป็นลวดลายที่แสดงถึงประวัติศาสตร์การสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ ซึ่งเป็นหนึ่งในผลงานการก่อสร้างและทำนุบำรุงถาวรวัตถุในบวรพระพุทธศาสนาอย่างมากมายของครูบาเจ้าศรีวิชัย จนได้รับการยกย่องเป็น "นักบุญแห่งล้านนา" รวมทั้งภาพประวัติศาสตร์การบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ วัดพระธาตุดอยสุเทพผสมผสานกับภาพเทพเจ้าต่าง ๆ ที่เป็นเทพแห่งศิลปะและความสำเร็จที่บรรดาช่างเงินบ้านวัวลายให้ความนับถือ เช่น พระศิวะ พระพิฆเณศวร์ ฯลฯ โดยลวดลายที่ประดับทั่วทั้งศาลาได้นำเอาลายเส้นและลายดอกแบบต่าง ๆ ที่ปรากฏในเครื่องเงินบ้านวัวลายดั้งเดิมมาตกแต่งเป็นลายประกอบ รวมทั้งลายที่ได้รับแนวคิดมาจากศาสนสถานต่าง ๆ ในล้านนา
..........ลายหลักที่ได้นำมาประดับหอศิลป์นี้ ถือเป็นลายชั้นสูงที่ช่างฝีมือจะต้องมีความชำนาญถือเป็นลายโบราณที่ทำได้ยากยิ่ง เป็นลายที่ถือเป็นยอดฝีมือขั้นสูงสุดและยากที่สุด โดยเฉพาะลายนูนสูงรูปคน เทวดา สัตว์หิมพานต์ หรือตัวละครที่ต้องใช้ความประณีต สัดส่วนที่มาตรฐาน ให้รายละเอียดอย่างมากมายและสมจริง เช่น รายละเอียดในส่วนของเสื้อผ้า หน้าตา โดยเฉพาะรูปเหมือน เช่น รูปพระสงฆ์ พระมหากษัตริย์ รูปคน รูปยักษ์ รวมทั้งอารมณ์ของตัวละครที่สะท้อนลงบนงานดุนลายให้ปรากฏเป็นเรื่องราวลงบนแผ่นภาพ
..........ในการออกแบบหอศิลป์ได้สื่อถึงดินแดนอันสุขสงบและศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่อยู่ของอริยสงฆ์ผู้ซึ่งปฏิบัติชอบ ลายรอบนอกประกอบด้วยเทวดาที่ปกปักรักษาหอศิลป์ ต้นไม้ ดอกไม้ และสัตว์ต่าง ๆ ในป่าหิมพานต์ ซึ่งสื่อถึงดินแดนอันสงบสุขและร่มเย็น
..........ส่วนยอดหลังคาประดับด้วยฉัตร 7 ชั้น ปลายยอดดุนลายดอกกระจัง ฐานฉัตรดุนลายกนกฝักขาม แนวสันหลังคา ลาดน้ำประกอบด้วยลายเมฆไหล เชิงชายหรือแป้นน้ำย้อยดุนลายดอกกระถิน ลายเหงาก้านขนผักกูดสลับลายเครือเถาใบเทศ ขนาบแนวบนล่างด้วยลายเมฆไหล และดอกกระจัง สื่อถึงก้อนเมฆหยดน้ำ และฝนโบกขรณีที่สร้างความสมบูรณ์แก่พืชพรรณธัญญาหาร ต้นไม้ ดอกไม้ เหล่าเทพยดา และสัตว์น้อยใหญ่ในป่าหิมพานต์ที่เรียงรายอยู่รอบศาลา
..........ส่วนป้านลมประกอบด้วย ป้านลมใหญ่ดุนลายดอกพุดตานสลับลายเครือเถาผักกูดก้านขด หัวป้านลมเป็นรูปพญานาครวม 16 ตัว ป้านลมเล็กดุนลายดอกพุดตานสลับลายเครือเถาผักกูดก้านขด แนวคิดจากป้านลมไม้แกะวิหารวัดต้นเกว๋น อำเภอหางดง เชียงใหม่ ส่วนหัวพญานาคจากหน้าบันไดวิหารวัดเจดีย์หลวง เชียงใหม่ หัวป้านลมเป็นรูปพญานาค 6 ตัว หน้าแหนบดุนลายพระธรรมจักร หน้าก้องดุนลายดอกพิกุลก้านขดหัวขอด ขื่อม้าต่างไหมประกอบด้วยลายดอกพุดตาน ลายเมฆ ขอบล่างหน้าแหนบดุนลายดอกประจำยาม และดอกพุดตาน ขื่อหลวงลายดอกประจำยาม ก้ามปู เสามุข 8 เสาส่วนหน้าดุนลายลายดอกพุดตานสลับเหงาก้านขดผักกูด หัวเสาลายกาบพรหมศร ตีนเสาลายตีนจก เสามุข 8 เสาเป็นลายปลิง 8 สิบสองราศี ซึ่งเป็นลายดั้งเดิมในสลุงเงินหาบของบ้านวัวลาย และเสากลางระหว่างมุขทั้งสอง ดุนลายแส้หางนกยูง ซึ่งลายเหล่านี้เป็นลายที่นำมาเป็นลายประกอบในสลุงเงินดั้งเดิม โก่งคิ้วดุนลายนาคสะดุ้ง ผสานลายดอกก้านขดผักกูด ส่วนนาคทันฑ์เป็นรูปพญานาค พระนารายณ์ คชปักษี ราชสีห์ และหนุมาน