มาพูดถึงสาเหตุของการตกรอบฟุตบอลโลกรอลนี้กันดีกว่า(ถึงจะหาสาเหตุกันจนเบื่อแล้วก็เถอะ555)
1.แทคติก
ส่วนตัวผมชื่นชมเซาท์เกตที่เป็นโค้ชคนแรกที่กล้าจะเปลี่ยนแปลงอะไรใหม่ๆ เปลี่ยนอังกฤษที่ออกปีกแล้วบอมบ์ มาเป็นอังกฤษที่เล่นบอลกับพื้น เซ็ตบอลจากแดนหลัง ไม่มีการบอมบ์เข้าไปมั่วๆ ดูแล้วเป็นอังกฤษที่ดูโฉบเฉี่ยวมากขึ้น ถึงแม้จะได้ประตูจากลูกตั้งเตะเยอะ แต่ก็ต้องยอมรับว่ามันเป็นสิ่งที่ตัวเขาถนัดเพราะในอดีตเคยเล่นเซ็นเตอร์มาก่อน แต่ด้วยการผสมสูตรการวิ่งการเปิดบอลเข้าไปทำให้การเล่นลูกเซ็ตพีทของอังกฤษ ไม่ได้สักแต่เปิดให้คนตัวสูงอย่างเดียว สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่าเซาท์เกตเป็นค่อนข้างละเอียดกับสิ่งที่ทำพอสมควร
2.คุณภาพของนักเตะ
ตรงนี้เป็นจุดที่ผิดพลาดอย่างหนึ่งของเซาร์เกต เพราะเขายึดแนวคิดว่านักเตะที่เขาเลือกมาต้องเข้าระบบเขาโดยไม่สนว่านักเตะคนนั้นจะเป็นบิ๊กเนมหรือโนเนม ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ดีและก็เป็นสิ่งที่ไม่ดีเหมือนกัน
ในแง่ดีเรามีโอกาสได้เห็นนักเตะที่โชฟอร์มได้ดีหลายคนและมีแนวโน้มว่าจะยึดตัวหลักในทีมได้ในอนาคตไม่ว่าจะเป็น จอแดน พิกฟอร์ด แฮรี่ แม็คไกวร์ คีแรน ทริปเปียร์ หรือที่แฟนบอลรู้จักกันดีอยู่แล้วอย่าง จอห์น สโตนส์
แต่ในด้านของแง่ร้ายนักเตะบางคน คุณภาพหรือฟอร์มการเล่นที่ผ่านมา ไม่สมควรที่จะติดทีมชาติ เช่น รูเบ็น ลอฟตัส-ชีค หรือ มาคัส แรชฟอร์ด ซึ่งเรียกติดทีมมาแล้วนอกจากจะสร้างประโยชน์ในแง่คุณภาพไม่ได้แล้วยังเล่นแบบติดแอ็คโชว์เหนืออีกต่างหาก(ติดแอ็คนี่หมายถึงคนหลัง)
3.ประสบการณ์ของนักเตะและผู้จัดการทีม
จริงอยู่ที่ว่าการเรียกนักเตะอายุน้อยมาติดทีมชาติทำให้เราสามารถเค้นพลังหนุ่มของนักเตะเหล่านี้ออกมาจากพวกเขาได้ในเกมส์การแข่งขัน แต่ปัญหา คือ นักเตะเหล่านี้จะรับมือกับสถานการณ์กดดันหรือเมื่อเจอนักเตะฝั่งตรงข้ามที่เก๋าเกมกว่าไม่ได้ ตัวอย่างเช่น เกมส์เจอโครเอเชีย พอขึ้นนำได้ใจของนักเตะอังกฤษขณะนั้นเหมือนลอยไปอยู่ที่มอสโกแล้วและเอาความคิดตรงนี้เข้ามากดดันตัวเอง จะเห็นได้ว่าหลังจากขึ้นนำแล้วนักเตะอังกฤษดูเล่นกันเกร็งๆ เริ่มไม่ได้เล่นในทิศทางที่ตัวเองเล่น ในขณะที่นักเตะโครเอเชียยังนิ่งไม่ได้ตื่นไปกับสถานการณ์ อาศัยบอมบ์เข้าไป นวดไปเรื่อยๆ จนอังกฤษเล่นผิดพลาดกันไปเอง
นอกจากนักเตะแล้วยังรวมถึงผู้เป็นโค้ชด้วยที่ขาดประสบการณ์ในเกมส์ใหญ่เช่นกัน จุดที่แฟนบอลส่วนใหญ่คงสังเกตุเห็นได้คือ การเปลี่ยนตัวที่มักจะดูแปลกๆ หรือการแก้ไขสถานการเฉพาะหน้าในช่วงเวลาบีบคั้น (ตรงจุดนี้เดียวจะนำไปพูดในหัวข้อต่อไปด้วย) ยกตัวอย่างเกมส์กับโครเอเชียอีกครั้ง พออังกฤษโดนตีเสมอแล้วนอกจากตัวนักเตะที่ต้องโดนบีบให้บุกโดยไม่รู้จะต้องใช้วิธีการบุกแบบไหนแล้ว ตัวโค้ชเองก็มีอาการช็อตไปอย่างเห็นได้ชัดไม่รู้ว่าจะต้องแก้ไขสถานการณ์บีบคั้นอย่างนี้แบบไหน ส่อให้เห็นถึงความอ่อนประสบการณ์ในเกมส์ใหญ่ของตัวเซาท์เกตอย่างเห็นได้ชัด
4.ไม่มีแผนสำรอง
อย่างที่ผมบอกไปในหัวข้อที่แล้วว่าเซาท์เกตุไม่สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ โดยเซาท์เกต จะใช้แผน A ต้อนต้นเกมส์ เมื่อทีมได้ประตูออกนำ เซาท์เกตจะเริ่มใช้แผน B โดยการปรับมาตั้งรับและส่งตัวรับลงไปแทนตัวรุกตั้งแต่นาทีที่ 70 เป็นต้นไป แต่ถ้าเกิดอังกฤษโดนตีเสมอท้ายเกมส์ขึ้นมา เซาท์เกตจะไม่มีแผน C ไว้แก้ไขสถานการณ์นี้ และจะออกอาการซ็อต อย่างเห็นได้ชัด เป็นทั้งเกมส์กับ โคลัมเบีย และโครเอเชีย ซึ่งส่วนตัวผมคิดว่าเซาท์เกตเป็นคนละเอียดระดับหนึ่งแล้วแต่ตรงจุดนี้คงต้องใช้ประสบการณ์มาเป็นตัวช่วยเสริมเข้าไป และคงได้ประสบการณ์จากฟุตบอลโลกครั้งนี้ไปเยอะอยู่เหมือนกัน
ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ผมหาสาเหตุไว้ว่าน่าจะเป็นเช่นนี้ ถ้าใครมีอะไรอยากเสริมลองคอมเมนต์บอกได้เลยครับ
มาคุยกันถึงเกมส์อังกฤษเบลเยี่ยมกันดีกว่า
1.แทคติก
ส่วนตัวผมชื่นชมเซาท์เกตที่เป็นโค้ชคนแรกที่กล้าจะเปลี่ยนแปลงอะไรใหม่ๆ เปลี่ยนอังกฤษที่ออกปีกแล้วบอมบ์ มาเป็นอังกฤษที่เล่นบอลกับพื้น เซ็ตบอลจากแดนหลัง ไม่มีการบอมบ์เข้าไปมั่วๆ ดูแล้วเป็นอังกฤษที่ดูโฉบเฉี่ยวมากขึ้น ถึงแม้จะได้ประตูจากลูกตั้งเตะเยอะ แต่ก็ต้องยอมรับว่ามันเป็นสิ่งที่ตัวเขาถนัดเพราะในอดีตเคยเล่นเซ็นเตอร์มาก่อน แต่ด้วยการผสมสูตรการวิ่งการเปิดบอลเข้าไปทำให้การเล่นลูกเซ็ตพีทของอังกฤษ ไม่ได้สักแต่เปิดให้คนตัวสูงอย่างเดียว สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่าเซาท์เกตเป็นค่อนข้างละเอียดกับสิ่งที่ทำพอสมควร
2.คุณภาพของนักเตะ
ตรงนี้เป็นจุดที่ผิดพลาดอย่างหนึ่งของเซาร์เกต เพราะเขายึดแนวคิดว่านักเตะที่เขาเลือกมาต้องเข้าระบบเขาโดยไม่สนว่านักเตะคนนั้นจะเป็นบิ๊กเนมหรือโนเนม ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ดีและก็เป็นสิ่งที่ไม่ดีเหมือนกัน
ในแง่ดีเรามีโอกาสได้เห็นนักเตะที่โชฟอร์มได้ดีหลายคนและมีแนวโน้มว่าจะยึดตัวหลักในทีมได้ในอนาคตไม่ว่าจะเป็น จอแดน พิกฟอร์ด แฮรี่ แม็คไกวร์ คีแรน ทริปเปียร์ หรือที่แฟนบอลรู้จักกันดีอยู่แล้วอย่าง จอห์น สโตนส์
แต่ในด้านของแง่ร้ายนักเตะบางคน คุณภาพหรือฟอร์มการเล่นที่ผ่านมา ไม่สมควรที่จะติดทีมชาติ เช่น รูเบ็น ลอฟตัส-ชีค หรือ มาคัส แรชฟอร์ด ซึ่งเรียกติดทีมมาแล้วนอกจากจะสร้างประโยชน์ในแง่คุณภาพไม่ได้แล้วยังเล่นแบบติดแอ็คโชว์เหนืออีกต่างหาก(ติดแอ็คนี่หมายถึงคนหลัง)
3.ประสบการณ์ของนักเตะและผู้จัดการทีม
จริงอยู่ที่ว่าการเรียกนักเตะอายุน้อยมาติดทีมชาติทำให้เราสามารถเค้นพลังหนุ่มของนักเตะเหล่านี้ออกมาจากพวกเขาได้ในเกมส์การแข่งขัน แต่ปัญหา คือ นักเตะเหล่านี้จะรับมือกับสถานการณ์กดดันหรือเมื่อเจอนักเตะฝั่งตรงข้ามที่เก๋าเกมกว่าไม่ได้ ตัวอย่างเช่น เกมส์เจอโครเอเชีย พอขึ้นนำได้ใจของนักเตะอังกฤษขณะนั้นเหมือนลอยไปอยู่ที่มอสโกแล้วและเอาความคิดตรงนี้เข้ามากดดันตัวเอง จะเห็นได้ว่าหลังจากขึ้นนำแล้วนักเตะอังกฤษดูเล่นกันเกร็งๆ เริ่มไม่ได้เล่นในทิศทางที่ตัวเองเล่น ในขณะที่นักเตะโครเอเชียยังนิ่งไม่ได้ตื่นไปกับสถานการณ์ อาศัยบอมบ์เข้าไป นวดไปเรื่อยๆ จนอังกฤษเล่นผิดพลาดกันไปเอง
นอกจากนักเตะแล้วยังรวมถึงผู้เป็นโค้ชด้วยที่ขาดประสบการณ์ในเกมส์ใหญ่เช่นกัน จุดที่แฟนบอลส่วนใหญ่คงสังเกตุเห็นได้คือ การเปลี่ยนตัวที่มักจะดูแปลกๆ หรือการแก้ไขสถานการเฉพาะหน้าในช่วงเวลาบีบคั้น (ตรงจุดนี้เดียวจะนำไปพูดในหัวข้อต่อไปด้วย) ยกตัวอย่างเกมส์กับโครเอเชียอีกครั้ง พออังกฤษโดนตีเสมอแล้วนอกจากตัวนักเตะที่ต้องโดนบีบให้บุกโดยไม่รู้จะต้องใช้วิธีการบุกแบบไหนแล้ว ตัวโค้ชเองก็มีอาการช็อตไปอย่างเห็นได้ชัดไม่รู้ว่าจะต้องแก้ไขสถานการณ์บีบคั้นอย่างนี้แบบไหน ส่อให้เห็นถึงความอ่อนประสบการณ์ในเกมส์ใหญ่ของตัวเซาท์เกตอย่างเห็นได้ชัด
4.ไม่มีแผนสำรอง
อย่างที่ผมบอกไปในหัวข้อที่แล้วว่าเซาท์เกตุไม่สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ โดยเซาท์เกต จะใช้แผน A ต้อนต้นเกมส์ เมื่อทีมได้ประตูออกนำ เซาท์เกตจะเริ่มใช้แผน B โดยการปรับมาตั้งรับและส่งตัวรับลงไปแทนตัวรุกตั้งแต่นาทีที่ 70 เป็นต้นไป แต่ถ้าเกิดอังกฤษโดนตีเสมอท้ายเกมส์ขึ้นมา เซาท์เกตจะไม่มีแผน C ไว้แก้ไขสถานการณ์นี้ และจะออกอาการซ็อต อย่างเห็นได้ชัด เป็นทั้งเกมส์กับ โคลัมเบีย และโครเอเชีย ซึ่งส่วนตัวผมคิดว่าเซาท์เกตเป็นคนละเอียดระดับหนึ่งแล้วแต่ตรงจุดนี้คงต้องใช้ประสบการณ์มาเป็นตัวช่วยเสริมเข้าไป และคงได้ประสบการณ์จากฟุตบอลโลกครั้งนี้ไปเยอะอยู่เหมือนกัน
ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ผมหาสาเหตุไว้ว่าน่าจะเป็นเช่นนี้ ถ้าใครมีอะไรอยากเสริมลองคอมเมนต์บอกได้เลยครับ