ทำไมต้องยุยงปลุกปั่น ให้แตกความสามัคคีธรรม! โดนยึดประเทศ!

ทำไมต้องยุยงปลุกปั่น ให้แตกความสามัคคีธรรม! โดนยึดประเทศ!

ฉบับที่ ๒๕ วันเสาร์ที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑

เรื่อง โดนยึดประเทศ !!! เกิดภัยพิบัติถ้าผู้มีอำนาจไม่ประพฤติธรรม ศึกษากรณีเมืองเวสาลี

              “ดูก่อนอานนท์ การเห็นเมืองเวสาลีของตถาคตครั้งนี้ เป็นปัจฉิมทัศนะ คือเป็นการเห็นครั้งสุดท้าย”
                เรื่องราวประวัติศาสตร์ เป็นเรื่องราวที่น่าศึกษาค้นคว้า นำมาพิจารณา เพราะเป็นบทเรียนอันมีค่า เป็นเหตุเป็นผลสอดรับกัน แต่ประวัติศาสตร์ก็อยู่ที่คนเขียน ผู้ชนะย่อมเขียนประวัติศาสตร์ ผู้แพ้เป็นกบฏไป ดังนั้น บทความนี้ เราจะพูดจากประวัติศาสตร์ที่เห็นจากรัฐประหารครั้งที่ 12, 13 และที่ล้ำค่ายิ่งคือ คำสอนของพระพุทธองค์

               การยึดประเทศ 2 ครั้ง ล่าสุด ก็เกิดจากการแตกความสามัคคีถึงขั้นรุนแรงตามที่ได้เห็นศัพท์มากมาย ในการสรรหามาใช้ เกิดจากอะไรนั้น คงเป็นที่ทราบกันดีจากบทความ 2-3 วันที่ผ่าน “อนูปวาโท” การว่าร้าย การยุยงปลุกปั่น ทำให้เกิดการบาดหมาง ไม่เคารพซึ่งกันและกัน อันนำมาซึ่งการถูกยึดประเทศในที่สุด
                เรื่องนี้ก็บังเกิดขึ้นมาแล้วสมัยพุทธกาล แม้มีกำลังน้อยกว่า แต่ถ้าสามัคคีกันตามหลักอปริหานิยธรรมที่พระพุทธองค์ให้ไว้ ก็สามารถต้านทานทัพผู้มีกำลังมากกว่ามากได้ จากเรื่อง ลิจฉวี ผู้ปกครองรัฐแคว้นวัชชีต้านการบุกของแคว้นมคธได้
               เหตุที่ลิจฉวีมิได้ตั้งมั่นอยู่ใน “ลิจฉวีอปริหานิยธรรม” อันเป็นธรรมที่พระบรมศาสดาประทานสำหรับใช้ปกครองร่วมกันแบบสามัคคีธรรม ซึ่งสามารถต้านทานกองทัพอันเกรียงไกรของพระเจ้าอชาตศัตรูไว้ได้ถึง 2 ครั้ง แต่ในครั้งที่ 3 พระเจ้าอชาตศัตรูได้ส่ง วัสสการพราหมณ์ เข้ามายุยงปลุกปั่นให้บรรดาผู้มีมวลชน มีอำนาจปกครอง นักรบทั้งหลายแตกร้าวในความสามัคคี ไม่ตั้งมั่นอยู่ในหลักอปริหานิยธรรมเมืองเวสาลีก็ถึงกาลอันล่มสลาย
              หลักอปริหานิยธรรม คือ ข้อปฏิบัติหรือธรรมอันเป็นเหตุไม่ให้เกิดความเสื่อมมี 7 ข้อ
        1. หมั่นประชุมกันเนือง ๆ
        2. ประชุมหรือเลิกประชุม และทำกิจของส่วนรวมอย่างพร้อมเพรียงกัน
        3. ไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติ ไม่ถอนสิ่งที่ได้บัญญัติไว้แล้วยึดถือปฏิบัติตามหลักธรรมที่บัญญัติไว้
        4. เคารพนับถือเชื่อฟังและให้เกียรติแก่ผู้เป็นประธาน ผู้บริหารหมู่คณะ และปฏิบัติตามหลักธรรมที่บัญญัติไว้
        5. ให้เกียรติ ให้ความปลอดภัยแก่สตรีเพศ ไม่ข่มเหงฉุดคร่า
        6. เคารพนับถือบูชาพระเจดีย์ทั้งหลายทั้งภายในและภายนอกเมือง และไม่บั่นทอนผลประโยชน์ที่เคยอุปถัมภ์บำรุงพระเจดีย์เหล่านั้น
        7. จัดการอารักขาโดยธรรมแก่พระอริยะ ด้วยตั้งความปรารถนาว่า พระอริยะเหล่านี้ที่ยังไม่มาสู่บ้านนี้เมืองนี้ขอให้มา ส่วนที่มาแล้วขอให้ท่านอยู่ผาสุก
             ปัจจุบันนี้ การยุยงปลุกปั่น ได้รามจากชาติมาถึงพระพุทธศาสนา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ส่งผลให้ชาวพุทธบางส่วนที่ไม่ได้ตั้งมั่นในพระรัตนตรัย เริ่มไม่เคารพ ยำเกรงพระสงฆ์ พระธรรม และพระพุทธเจ้า ไปแสวงบุญทางด้านอื่น หากพิจารณาหลักธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสถึงความเสื่อมของพระสัทธรรม และความตั้งอยู่ได้นานของพระสัทธรรม มี 7 อย่าง ในกิมมิลสูตร คือ การเคารพ ยำเกรง ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ การศึกษา สมาธิ ความไม่ประมาท และการปฏิสันถาร  ที่สำคัญได้แบ่งฝักแบ่งฝ่าย รูปนั้นดี รูปนี้ไม่ดี สายนั้นดี สายนั้นไม่ดี จากการยุยง ปลุกปั่นต่าง ๆ นานา
                ความสามัคคีธรรมเป็นเรื่องสำคัญ ความหวังที่จะปรองดองจากชาติ ก็ยังไม่เห็น และยังมาปลุกปั่นสู่พระพุทธศาสนา อันเป็นความหวังว่าจะให้คนในชาติได้เย็น สงบตามพระสัทธรรม ก็ยัง “อนูปวาโท” ในข้อมูลที่ถูกยุยงปลุกปั่นเพียงฝ่ายเดียว เหมือนชาติที่ ปลุกปั่นกันไปมา ไม่เคารพซึ่งกันและกัน
                 ทางออกที่อยากนำเสนอ สร้างความเข้าใจทุกฝ่ายว่า ทุกคนก็รักประเทศชาติ รักคนในชาติ อันเป็นพื้นฐานที่ดี มีในตัวกันทุกท่านอยู่แล้ว ผู้มีอำนาจควรนำเรื่องสร้างสรรค์ ไม่สร้างเสีย นำคำเพชร คำพลอย ชื่นชมทุกภาคส่วน ไม่เลือกที่รัก มักที่ชัง เราก็จะปรองดอง สามัคคีธรรม ไม่ตกเป็นเครื่องมือของมิตรเทียมสืบไป


                 B.S.
          7 ก.ค. 2561


ตอน เรื่อง โดนยึดประเทศ เกิดภัยพิบัติถ้าผู้มีอำนาจไม่ประพฤติธรรม ศึกษากรณีเมืองเวสาลี เวลา 14.00-14.20 น. https://youtu.be/bcVvURwQ-6s
               คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  พระไตรปิฎก ศาสนาพุทธ พระสงฆ์ ประวัติศาสตร์
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่