https://gmlive.com/lessons-from-SNH48-TPE48-how-can-BNK48-adapt
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาใน 48 Group เกิดกรณีใหญ่ 2 เรื่อง นอกจากจะมีการเปิดตัวซิงเกิ้ลที่ 53 Sensation Train ที่มาจากการเลือกตั้ง แต่กลับไม่มีเซนเตอร์ที่ชนะการเลือกตั้งอย่าง “มัตสึอิ จูรินะ” ที่ประกาศพักงานอันเนื่องมาจากปัญหาสุขภาพ ทำให้เธอไม่ได้ร่วมโชว์ในครั้งนี้ และยังจะงดในคอนเสิร์ตเปิดตัวเซมบัตสึเลือกตั้ง แถมยังถอนตัวจากรายการ Produce48 แล้ว
อีกประเด็นก็คือข่าวที่น่าตกใจ ที่ GM Live เคยนำเสนอไปเมื่อเดือนที่ผ่านมาเกี่ยวกับ TPE48 ก็คือปัญหาทางการเงินที่ค่อนข้างง่อนแง่น ทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมได้ ทั้งที่ออดิชั่นได้เมมเบอร์มาแล้ว ทำให้ไม่แน่ใจถึงอนาคตของวง และล่าสุดถูกประกาศแคนเซิลอีเวนท์ที่จะร่วมกับทางฝั่งญี่ปุ่น
ด้านตัวเว็บไซต์ของ TPE48 ก็ไม่สามารถเข้าไปที่หน้าเว็บเพจได้ ทำให้เกิดกระแสข่าวลือว่า "หรือ TPE48 อาจจะล้มก่อนที่จะเกิดขึ้น" ทั้งที่เพิ่งส่งเมมเบอร์ 5 คนเข้าร่วมงานเลือกตั้ง AKB Sekai Senbatsu Sousenkyo เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ย้อนหลังไป โปรเจ็กต์ TPE48 นั้นเคยเกือบจะเกิดขึ้นมาแล้วครั้งหนึ่งตั้งแต่มีการประกาศออดิชั่นในปี 2015 แต่จู่ๆข่าวคราวก็เงียบไป
ก่อนจะกลับมาประกาศความเคลื่อนไหวอีกครั้งในการประกาศตั้งวงน้องสาวต่างประเทศพร้อมกันกับ BNK48 ของไทยและ MNL48 ของฟิลิปปินส์ โดยถือว่าเป็นวงต่างประเทศที่ AKS ผลักดันมากที่สุด และยังมีความใกล้ชิดเช่นการส่งเมมเบอร์บางส่วนไปร่วมเก็บตัวที่ญี่ปุ่นช่วงหนึ่งด้วย เนื่องจากไต้หวันเองเป็นฐานแฟนที่ใหญ่ของ AKB48 นอกประเทศ และมีอีเวนท์ที่เมมเบอร์ของญี่ปุ่นบินไปร่วมงานอย่างต่อเนื่อง และหาซื้อซีดีของ AKB48 ได้ง่ายกว่า
แต่ด้วยความใกล้ชิดกลับเป็นดาบสองคมเช่นกัน เพราะในเมื่อแฟนไต้หวันสามารถติดตามเมมเบอร์วงพี่ได้สะดวก แล้วเหตุใดถึงต้องเชียร์วงใหม่ที่ยังไม่เกิดด้วย? TPE48 ประกาศตัวเมมเบอร์ไปเมื่อกุมภาพันธ์ 2018 แต่ยังไม่มีผลงานให้ออกมาติดตาม มีแค่ Showroom ของเมมเบอร์ที่ได้ให้แฟนๆ ทำความรู้จักเท่านั้น
อีกทั้งเมื่อ AKS ประกาศรุกประเทศจีนอีกครั้งกับ AKB48 Team เซี่ยงไฮ้ ย่อมมีผล เนื่องจากตลาดเพลงนั้นใช้ภาษาเดียวกัน แถมตลาดในจีนยังใหญ่กว่าไต้หวันที่มีประชากรเพียง 23 ล้านคน นั่นเท่ากับว่า TPE48 เจอทั้งคู่แข่งที่เป็นวงพี่จากญี่ปุ่น และตลาดเพลงภาษาจีนอีกด้วย และยังไม่สามารถออกเดบิวท์ซิงเกิ้ลได้ ส่วนเงินก็จมไปกับเงินเดือนของเมมเบอร์ ซึ่งมีการเปิดเผยว่าติดค้างเงินเดือนกันอีกด้วย และเมมเบอร์ของ AKB48 อย่างอาเบะ มาเรีย ที่ย้ายไปร่วมงานในไต้หวัน มีข่าวว่าได้ถอนชื่อออกไปแล้ว เรียกว่าอนาคตค่อนข้างจะสับสน ถือเป็นบทเรียนหนึ่งที่ควรเป็นกรณีศึกษาให้กับ BNK48
ย้อนไปตอนกรณี SNH48 ที่ถูกตั้งขึ้นปี 2012 ในครั้งนั้นถือว่าฮือฮาเพราะตลาดจีนถือเป็นตลาดขนาดใหญ่ มีการส่งเมมเบอร์ญี่ปุ่น อย่าง “มาริยันนุ” ซูสุกิ มาริยะ และ “ซาเอะจัง” มิยาซาว่า ซาเอะ ไปร่วมงานถึงจะติดปัญหาทางด้านวีซ่า แต่ถือว่ามีผลงานค่อนข้างน่าจับตา โดยมีเมมเบอร์เด่นอย่าง จูจิงอีว์ และจ้าวเจียหมิน เป็นตัวชูโรงในรุ่นที่ 1
ปัญหามันเกิดขึ้นในปี 2016 เมื่อทาง SNH48 นั้นเริ่มขยับขยายภายในทั้งเรื่องการผุดวงน้องสาวในประเทศจีนเองแบบที่ไม่ได้รับอนุญาติจากทาง AKS ของญี่ปุ่น เช่น BEJ48 ในปักกิ่ง และGNZ48 ในกวางโจ่ว รวมไปถึงเริ่มคิดที่จะแต่งเพลงเองซึ่งเรื่องนี้สร้างความไม่พอใจให้ผู้บริหารทางญี่ปุ่น กลายเป็นดราม่าร้อนแรง ต่างฝ่ายทั้งจีนและญี่ปุ่น ออกแถลงการณ์โจมตีซึ่งกันและกัน
พูดถึงเรื่องการทำเพลงเอง ผู้เขียนเพิ่งได้ทราบจากผู้เกี่ยวข้องโฆษณาแลคตาซอยว่า ที่ BNK48 เป็นพรีเซนเตอร์ เพลงประกอบโฆษณานั้นถูกร้องโดย "เพลง" ต้องตา จิตดี จากวง Plastic Plastic และ วอลนัท The Voice เนื่องจากสัญญาค่อนข้างเข้มงวดไม่ให้ BNK48 ร้องเพลงที่ไม่ได้รับอนุญาต ดังนั้นในโฆษณาเราจะเห็นน้องเต้นประกอบเพลงเท่านั้น
ท้ายที่สุดกลุ่ม 48 ในประเทศจีน ก็เลยรวมกลุ่มเป็น Star48 และประกาศความเป็นอิสระจากประเทศญี่ปุ่น ทำเพลงเอง ขยายวงเองได้ และยังใช้แพลตฟอร์มแบบ 48Group ทั้งการเลือกตั้ง การจัดกิจกรรมอีเวนท์ต่างๆ แต่ไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งภายใต้ AKS ของญี่ปุ่น แม้ต่อมาจะมีเรื่องฟ้องร้องตามมา
เรียกได้ว่ากระบวนการสำคัญๆ นั้นทางญี่ปุ่นค่อนข้างจะเข้มงวด ทางทีมบริหาร BNK48 ก็ควรหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการละเมิดเช่นกัน อีกทั้งยังต้องบริหารทั้งขนาดองค์กรที่ใหญ่ขึ้น และรายได้ให้มีความสมดุลกัน เพราะบทเรียนจากวงดังกล่าวข้างต้นมีไว้ให้เรียนรู้แล้ว
เด็กเด๋อออออออออออ
บทเรียนปัญหาธุรกิจ SNH48-TPE48 แล้ว BNK48 ควรทำอย่างไรไม่ให้พบจุดจบไวกว่าที่คิด
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาใน 48 Group เกิดกรณีใหญ่ 2 เรื่อง นอกจากจะมีการเปิดตัวซิงเกิ้ลที่ 53 Sensation Train ที่มาจากการเลือกตั้ง แต่กลับไม่มีเซนเตอร์ที่ชนะการเลือกตั้งอย่าง “มัตสึอิ จูรินะ” ที่ประกาศพักงานอันเนื่องมาจากปัญหาสุขภาพ ทำให้เธอไม่ได้ร่วมโชว์ในครั้งนี้ และยังจะงดในคอนเสิร์ตเปิดตัวเซมบัตสึเลือกตั้ง แถมยังถอนตัวจากรายการ Produce48 แล้ว
อีกประเด็นก็คือข่าวที่น่าตกใจ ที่ GM Live เคยนำเสนอไปเมื่อเดือนที่ผ่านมาเกี่ยวกับ TPE48 ก็คือปัญหาทางการเงินที่ค่อนข้างง่อนแง่น ทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมได้ ทั้งที่ออดิชั่นได้เมมเบอร์มาแล้ว ทำให้ไม่แน่ใจถึงอนาคตของวง และล่าสุดถูกประกาศแคนเซิลอีเวนท์ที่จะร่วมกับทางฝั่งญี่ปุ่น
ด้านตัวเว็บไซต์ของ TPE48 ก็ไม่สามารถเข้าไปที่หน้าเว็บเพจได้ ทำให้เกิดกระแสข่าวลือว่า "หรือ TPE48 อาจจะล้มก่อนที่จะเกิดขึ้น" ทั้งที่เพิ่งส่งเมมเบอร์ 5 คนเข้าร่วมงานเลือกตั้ง AKB Sekai Senbatsu Sousenkyo เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ย้อนหลังไป โปรเจ็กต์ TPE48 นั้นเคยเกือบจะเกิดขึ้นมาแล้วครั้งหนึ่งตั้งแต่มีการประกาศออดิชั่นในปี 2015 แต่จู่ๆข่าวคราวก็เงียบไป
ก่อนจะกลับมาประกาศความเคลื่อนไหวอีกครั้งในการประกาศตั้งวงน้องสาวต่างประเทศพร้อมกันกับ BNK48 ของไทยและ MNL48 ของฟิลิปปินส์ โดยถือว่าเป็นวงต่างประเทศที่ AKS ผลักดันมากที่สุด และยังมีความใกล้ชิดเช่นการส่งเมมเบอร์บางส่วนไปร่วมเก็บตัวที่ญี่ปุ่นช่วงหนึ่งด้วย เนื่องจากไต้หวันเองเป็นฐานแฟนที่ใหญ่ของ AKB48 นอกประเทศ และมีอีเวนท์ที่เมมเบอร์ของญี่ปุ่นบินไปร่วมงานอย่างต่อเนื่อง และหาซื้อซีดีของ AKB48 ได้ง่ายกว่า
แต่ด้วยความใกล้ชิดกลับเป็นดาบสองคมเช่นกัน เพราะในเมื่อแฟนไต้หวันสามารถติดตามเมมเบอร์วงพี่ได้สะดวก แล้วเหตุใดถึงต้องเชียร์วงใหม่ที่ยังไม่เกิดด้วย? TPE48 ประกาศตัวเมมเบอร์ไปเมื่อกุมภาพันธ์ 2018 แต่ยังไม่มีผลงานให้ออกมาติดตาม มีแค่ Showroom ของเมมเบอร์ที่ได้ให้แฟนๆ ทำความรู้จักเท่านั้น
อีกทั้งเมื่อ AKS ประกาศรุกประเทศจีนอีกครั้งกับ AKB48 Team เซี่ยงไฮ้ ย่อมมีผล เนื่องจากตลาดเพลงนั้นใช้ภาษาเดียวกัน แถมตลาดในจีนยังใหญ่กว่าไต้หวันที่มีประชากรเพียง 23 ล้านคน นั่นเท่ากับว่า TPE48 เจอทั้งคู่แข่งที่เป็นวงพี่จากญี่ปุ่น และตลาดเพลงภาษาจีนอีกด้วย และยังไม่สามารถออกเดบิวท์ซิงเกิ้ลได้ ส่วนเงินก็จมไปกับเงินเดือนของเมมเบอร์ ซึ่งมีการเปิดเผยว่าติดค้างเงินเดือนกันอีกด้วย และเมมเบอร์ของ AKB48 อย่างอาเบะ มาเรีย ที่ย้ายไปร่วมงานในไต้หวัน มีข่าวว่าได้ถอนชื่อออกไปแล้ว เรียกว่าอนาคตค่อนข้างจะสับสน ถือเป็นบทเรียนหนึ่งที่ควรเป็นกรณีศึกษาให้กับ BNK48
ย้อนไปตอนกรณี SNH48 ที่ถูกตั้งขึ้นปี 2012 ในครั้งนั้นถือว่าฮือฮาเพราะตลาดจีนถือเป็นตลาดขนาดใหญ่ มีการส่งเมมเบอร์ญี่ปุ่น อย่าง “มาริยันนุ” ซูสุกิ มาริยะ และ “ซาเอะจัง” มิยาซาว่า ซาเอะ ไปร่วมงานถึงจะติดปัญหาทางด้านวีซ่า แต่ถือว่ามีผลงานค่อนข้างน่าจับตา โดยมีเมมเบอร์เด่นอย่าง จูจิงอีว์ และจ้าวเจียหมิน เป็นตัวชูโรงในรุ่นที่ 1
ปัญหามันเกิดขึ้นในปี 2016 เมื่อทาง SNH48 นั้นเริ่มขยับขยายภายในทั้งเรื่องการผุดวงน้องสาวในประเทศจีนเองแบบที่ไม่ได้รับอนุญาติจากทาง AKS ของญี่ปุ่น เช่น BEJ48 ในปักกิ่ง และGNZ48 ในกวางโจ่ว รวมไปถึงเริ่มคิดที่จะแต่งเพลงเองซึ่งเรื่องนี้สร้างความไม่พอใจให้ผู้บริหารทางญี่ปุ่น กลายเป็นดราม่าร้อนแรง ต่างฝ่ายทั้งจีนและญี่ปุ่น ออกแถลงการณ์โจมตีซึ่งกันและกัน
พูดถึงเรื่องการทำเพลงเอง ผู้เขียนเพิ่งได้ทราบจากผู้เกี่ยวข้องโฆษณาแลคตาซอยว่า ที่ BNK48 เป็นพรีเซนเตอร์ เพลงประกอบโฆษณานั้นถูกร้องโดย "เพลง" ต้องตา จิตดี จากวง Plastic Plastic และ วอลนัท The Voice เนื่องจากสัญญาค่อนข้างเข้มงวดไม่ให้ BNK48 ร้องเพลงที่ไม่ได้รับอนุญาต ดังนั้นในโฆษณาเราจะเห็นน้องเต้นประกอบเพลงเท่านั้น
ท้ายที่สุดกลุ่ม 48 ในประเทศจีน ก็เลยรวมกลุ่มเป็น Star48 และประกาศความเป็นอิสระจากประเทศญี่ปุ่น ทำเพลงเอง ขยายวงเองได้ และยังใช้แพลตฟอร์มแบบ 48Group ทั้งการเลือกตั้ง การจัดกิจกรรมอีเวนท์ต่างๆ แต่ไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งภายใต้ AKS ของญี่ปุ่น แม้ต่อมาจะมีเรื่องฟ้องร้องตามมา
เรียกได้ว่ากระบวนการสำคัญๆ นั้นทางญี่ปุ่นค่อนข้างจะเข้มงวด ทางทีมบริหาร BNK48 ก็ควรหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการละเมิดเช่นกัน อีกทั้งยังต้องบริหารทั้งขนาดองค์กรที่ใหญ่ขึ้น และรายได้ให้มีความสมดุลกัน เพราะบทเรียนจากวงดังกล่าวข้างต้นมีไว้ให้เรียนรู้แล้ว
เด็กเด๋อออออออออออ