กล้องมิเรอเลส หรือชื่อเต็มว่า Mirrorless Interchangeable-Lens Camera (ชื่อย่อทางการ MILC) นับวันการแข่งขันในตลาดโลกยิ่งรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงปีสองปีหลังมานี้พัฒนาการได้แบบก้าวกระโดด ล้อตามเทคโนโลยีด้านไมโครโพรเซสเซอร์และอุตสาหกรรมซอฟท์แวร์ของโลกยุคใหม่ที่ก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง
มันมีเหตุผลบางประการที่ส่วนตัวผมมองว่าปีหน้าจะมีการแข่งขันที่ดุเดือด
แต่ก่อนอื่นขอพูดย้อนคร่าวๆ ถึงยุคสมัยของ MILC ก่อนครับ เพราะดูเหมือนมันจะเป็นปัจจัยสำคัญพอสมควร
1 ยุคเริ่มต้น
ในยุคแรก กล้องมิเรอเลสแบบเปลี่ยนเลนส์ได้ จะมีจุดเด่นคือการใช้ EVF เป็นหลัก จึงมีชื่อเรียกในยุคแรกเริ่มว่า EVIL (Electronic Viewfinder Interchangeable Lens) ยุคแรกเริ่มนี้ก็จะออกแนวกล้องป๊อกแป๊กน่ารักๆ นำโดยตระกูล Pen ของโอลิมปัสเป็นหลัก ก็เป็นกล้องที่มุ่งเจาะตลาด Beginner และกลุ่มคนที่ต้องการกล้องเบาๆ สำหรับวันสบายๆ
สเปคกล้องในช่วงนั้นไม่มีอะไรหวือหวามาก ก็จะคล้ายๆกล้องคอมแพคที่มีเลนส์ให้เปลี่ยน ฟังดูไม่น่าซื้อ แต่ในความเป็นจริงคือยอดขายถล่มทลายมาก เริ่มทำให้ตลาด Entry Level DSLR ถูกแบ่งบางส่วนออกไปเป็นมาร์เกตแชร์ของโอลิมปัส ทำให้ในเวลาต่อมา Canon ต้องแก้เกมด้วยการออกโมเดล 100D ซึ่งเป็น DSLR ตัวจิ๋วออกมาเน้นกลุ่ม Beginner เป็นหลัก
2 ยุคทองของมิเรอเลส
ในเวลาไม่กี่ปีถัดมา Players มีมากขึ้น ตลาด DSLR ถูกเจ้าใหญ่สามเจ้า CNP กินตลาดเรียบ กลุ่มที่เหลือเลิกผลิต DSLR หันมาทำ MILC ที่มีอนาคตมากกว่า ในยุคนี้เราได้เห็นโมเดลต่างๆมากมาย เช่น Olympus PEN, Sony NEX, Samsung NX เป็นต้น และแม้ว่าสองค่ายใหญ่ของ DSLR อย่าง Canikon จะแบ่งทัพหัวเมืองลงมาไล่ตีค่ายอื่นในตลาด MILC แต่ทัพเหล่านั้นที่นำโดย Nikon 1 และ Canon EOS M1 กลับพ่ายไม่เป็นท่า
จะว่าด้วยทิฐิหรือหัวรั้นของ Canon ก็ไม่ทราบได้ หลังจากที่ออก EOS M2 แล้วยังขายได้แค่ในประเทศญี่ปุ่น ทางผู้บริหารก็มอบนโยบายใหม่ลงมา นั่นคือ “Canon MILC จะมุ่งสู่อันดับ 1 ในประเทศญี่ปุ่น” ซึ่งหลังจากประกาศนโยบายนี้ได้แค่สองปี ทาง Canon ก็ทุบตลาดญี่ปุ่นเละด้วยโมเดล EOS M10 และ EOS M3 ส่งผลให้ยอดขายมิเรอเลสในปี 2016 ที่ญี่ปุ่นนั้นค่ายแดงสามารถตบค่ายอื่นแซงขึ้นมาอยู่อันดับ 2 ได้สำเร็จ (1: Oly 2: Canon 3: Sony) และนับจากนั้นมายอดขายในประเทศของ Canon และ Sony ก็ไล่สูสีคู่คี่เบียดกันผลัดกันแซงไปมาตลอด ในยุคนี้ยอดขายของ DSLR เริ่มลดลงอย่างเห็นได้ชัด
ในยุคนี้ สเปคของ MILC เริ่มดีขึ้นมาตีคู่กับ DSLR แต่ยังมีจุดอ่อนในด้านระบบ AF ที่ยังใช้ระบบการหาโฟกัสแบบ CDAF (Contrast Detect AF) แบบเดียวกับกล้องในยุคแรก ทำให้การโฟกัสทำได้ช้า (ยกเว้นระบบ MFT ของ Olympus และ Panasonic ที่แม้จะใช้ CDAF แต่ด้วยจุดเด่นของขนาดเซนเซอร์ที่เล็กกว่าทำให้การโฟกัสรวดเร็วมากกว่า APSC) และไม่รองรับการนำเลนส์ของ DSLR ที่ใช้ระบบ PDAF (Phase Detect AF) มาใช้กับบอดี้กล้องของ MILC (ยกเว้นรุ่นที่รองรับการนำเลนส์ DSLR มาใช้โดยผ่านระบบอแดปเตอร์ของตัวเอง เช่นตระกูล Olympus OM-D E-M1 เป็น PDAF)
รวมถึงการบริหารพลังงานทำได้ไม่ดีมาก อีกทั้ง EVF ที่เกิด Lagging ก็ยังคงเป็นจุดอ่อน
*จุดอ่อนของ MILC ในยุคนี้ น่าจะเป็น Stereotype ที่คนส่วนมากจำฝังใจว่าระบบของ MILC มีจุดอ่อนแบบนี้
แต่ถึงกระนั้น ยุคสมัยเริ่มคัดกรองผู้แข็งแกร่ง ในยุคนี้กระแสในเวทีโลกฝั่งเอเชีย(นอกจากญี่ปุ่น) เริ่มพลิกกลับไปหากลุ่มที่ทำระบบ Ecosystem ของตัวเองได้ดีอย่าง Fujifilm ที่ทำเลนส์ในระบบได้เล็กกะทัดรัดแต่เปี่ยมด้วยคุณภาพ
ทางด้าน Sony ได้พลิกโฉมวงการ MILC ใหม่ด้วยการรีลีสโมเดล A7 กล้อง Fullsize MILC รุ่นแรกของโลก และเริ่มสร้างอาณาจักร Fullframe MILC ขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง
3 ยุคพัฒนาเทคโนโลยี
เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ทำให้กล้อง MILC ถูกพัฒนาต่อเนื่องอย่างไม่หยุดยั้ง ในยุคนี้เราได้เห็นการเริ่มนำตัวช่วยประมวลผลลัพธ์เข้ามาใช้ อาทิ Live Composite ที่เป็นสมบัติประจำตระกูลของโอลิมปัสที่ช่วยให้ถ่ายพลุ ลากไฟรถ ได้ง่ายแม้ไม่มีพื้นฐานการถ่ายภาพเลย หรือระบบ Play Memories App ของ Sony Alpha ที่ช่วยให้การถ่ายภาพในสถานการณ์ยุ่งยากกลายเป็นเรื่องง่าย
*จริงๆทั้งโอลิมปัสและโซนี่ต่างมีตัวช่วยเหล่านี้ตั้งแต่ในยุคแรกเริ่มแล้ว เพียงแต่ในยุคนี้ด้วยสเปคที่ดีขึ้น ทำให้ตัวช่วยเหล่านี้ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ได้คุณภาพภาพที่ดีขึ้นมามาก และชูฟีเจอร์ดังกล่าวขึ้นเป็นจุดเด่นในระบบของตน
นอกจากนั้น ด้วยความพยายามแก้ไขจุดด้อยของ MILC ทำให้เกิดการพัฒนาระบบของตัวเองขึ้นมาในแต่ละเจ้า
ทาง Sony สามารถ Breakthrough เซนเซอร์แบบ BSI CMOS ได้สำเร็จ ในขณะที่ Fujifilm ก็เร่งเสริมระบบ Ecosystem ของตนให้แข็งแกร่งขึ้น
ในยุคสมัยนี้กล้อง MILC ของ Sony และ Fujifilm เริ่มนำ PDAF เข้ามาใช้กับ MILC ของตนแล้ว ซึ่งจะเป็นระบบ Hybrid AF ทำให้สามารถโฟกัสได้แม่นและไว อีกทั้งยังสามารถนำเลนส์ของ DSLR ที่เป็นระบบ PDAF มาใช้ได้ด้วยโดยผ่านอแดปเตอร์ของ 3rd Party
EVF ที่เคยเกิด Lagging time ในยุคนี้เกิด Lagging ที่หน่วย Microsec (นับถือในความเป็นเดอะแฟลชของคนที่บอกว่ากล้องรุ่น 2017-2018 สัมผัสได้ว่ามันแลคครับ ท่านเหล่านั้นสามารถแยกแยะความต่างของภาพในระดับ 0.006 วินาทีได้เลยทีเดียว)
AF ล้ำสมัย รวดเร็วไม่แพ้ DSLR ด้วยระบบ Hybrid PDAF
ในยุคนี้ตลาดเริ่มถูกครอบครองโดยสมบูรณ์จากผู้เล่นไม่กี่เจ้า โดย Fullframe : Sony, APSC : Sony – Fujifilm, MFT : Olympus - Panasonic
และตลาด DSLR ในระดับ Entry เริ่มหายไปเรื่อยๆ หากดูจากยอดขายเราจะเห็นได้ว่ากล้อง DSLR ที่ยังขายได้อยู่จะเป็นตระกูล Enthusiastic เสียมากกว่า
*กล้อง DSLR ตัวสุดท้ายที่ได้ตำแหน่ง Best Camera of the Year คือ Canon EOS 7D Mark ii ปี 2015 หลังจากนั้นมารางวัลนี้ไม่เคยตกถึง DSLR อีกเลย (2016: Sony Alpha A7RM2, 2017: Olympus OM-D E-M1 mk ii, 2018: Sony Alpha A9) ส่วนฝั่ง Nikon เคยได้รับรางวัลนี้ครั้งสุดท้ายคือ Nikon Df ในปี 2014
4 ยุคสมัยแห่งอนาคต
ว่ากันถึงตลาด DSLR ในปี 2018 หากดูเอกสาร IR ที่มีการชี้แจงข้อมูลให้นักลงทุนรับทราบ จะเห็นได้ชัดว่าเจ้าใหญ่อย่าง Canon ยอดขาย DSLR ยังคงอยู่ได้ด้วยโมเดล EOS 6D mk2 ซึ่งแทบจะเป็นโมเดลเดียวของ DSLR ที่ทำกำไรหลักให้บริษัท เช่นเดียวกับ Nikon ที่ยอดขายตลอดสามไตรมาสติดลบอย่างต่อเนื่อง แต่พลิกกลับมาติดบวกได้ด้วยยอดขายของ D850 ทำให้สองเจ้านี้เริ่มขยับครั้งใหญ่
จากจุดนี้ จะเข้าสู่บทสรุปที่ทำให้ส่วนตัวมองปี 2019 ว่าจะเป็นปีที่ดุเดือดของการแข่งขันในตลาด MILC ด้วยปัจจัยต่อไปนี้ครับ
[คาดการณ์][ชวนคุย] 2019 จุดเริ่มต้นความดุเดือดของตลาดกล้อง Mirrorless
มันมีเหตุผลบางประการที่ส่วนตัวผมมองว่าปีหน้าจะมีการแข่งขันที่ดุเดือด
แต่ก่อนอื่นขอพูดย้อนคร่าวๆ ถึงยุคสมัยของ MILC ก่อนครับ เพราะดูเหมือนมันจะเป็นปัจจัยสำคัญพอสมควร
1 ยุคเริ่มต้น
ในยุคแรก กล้องมิเรอเลสแบบเปลี่ยนเลนส์ได้ จะมีจุดเด่นคือการใช้ EVF เป็นหลัก จึงมีชื่อเรียกในยุคแรกเริ่มว่า EVIL (Electronic Viewfinder Interchangeable Lens) ยุคแรกเริ่มนี้ก็จะออกแนวกล้องป๊อกแป๊กน่ารักๆ นำโดยตระกูล Pen ของโอลิมปัสเป็นหลัก ก็เป็นกล้องที่มุ่งเจาะตลาด Beginner และกลุ่มคนที่ต้องการกล้องเบาๆ สำหรับวันสบายๆ
สเปคกล้องในช่วงนั้นไม่มีอะไรหวือหวามาก ก็จะคล้ายๆกล้องคอมแพคที่มีเลนส์ให้เปลี่ยน ฟังดูไม่น่าซื้อ แต่ในความเป็นจริงคือยอดขายถล่มทลายมาก เริ่มทำให้ตลาด Entry Level DSLR ถูกแบ่งบางส่วนออกไปเป็นมาร์เกตแชร์ของโอลิมปัส ทำให้ในเวลาต่อมา Canon ต้องแก้เกมด้วยการออกโมเดล 100D ซึ่งเป็น DSLR ตัวจิ๋วออกมาเน้นกลุ่ม Beginner เป็นหลัก
2 ยุคทองของมิเรอเลส
ในเวลาไม่กี่ปีถัดมา Players มีมากขึ้น ตลาด DSLR ถูกเจ้าใหญ่สามเจ้า CNP กินตลาดเรียบ กลุ่มที่เหลือเลิกผลิต DSLR หันมาทำ MILC ที่มีอนาคตมากกว่า ในยุคนี้เราได้เห็นโมเดลต่างๆมากมาย เช่น Olympus PEN, Sony NEX, Samsung NX เป็นต้น และแม้ว่าสองค่ายใหญ่ของ DSLR อย่าง Canikon จะแบ่งทัพหัวเมืองลงมาไล่ตีค่ายอื่นในตลาด MILC แต่ทัพเหล่านั้นที่นำโดย Nikon 1 และ Canon EOS M1 กลับพ่ายไม่เป็นท่า
จะว่าด้วยทิฐิหรือหัวรั้นของ Canon ก็ไม่ทราบได้ หลังจากที่ออก EOS M2 แล้วยังขายได้แค่ในประเทศญี่ปุ่น ทางผู้บริหารก็มอบนโยบายใหม่ลงมา นั่นคือ “Canon MILC จะมุ่งสู่อันดับ 1 ในประเทศญี่ปุ่น” ซึ่งหลังจากประกาศนโยบายนี้ได้แค่สองปี ทาง Canon ก็ทุบตลาดญี่ปุ่นเละด้วยโมเดล EOS M10 และ EOS M3 ส่งผลให้ยอดขายมิเรอเลสในปี 2016 ที่ญี่ปุ่นนั้นค่ายแดงสามารถตบค่ายอื่นแซงขึ้นมาอยู่อันดับ 2 ได้สำเร็จ (1: Oly 2: Canon 3: Sony) และนับจากนั้นมายอดขายในประเทศของ Canon และ Sony ก็ไล่สูสีคู่คี่เบียดกันผลัดกันแซงไปมาตลอด ในยุคนี้ยอดขายของ DSLR เริ่มลดลงอย่างเห็นได้ชัด
ในยุคนี้ สเปคของ MILC เริ่มดีขึ้นมาตีคู่กับ DSLR แต่ยังมีจุดอ่อนในด้านระบบ AF ที่ยังใช้ระบบการหาโฟกัสแบบ CDAF (Contrast Detect AF) แบบเดียวกับกล้องในยุคแรก ทำให้การโฟกัสทำได้ช้า (ยกเว้นระบบ MFT ของ Olympus และ Panasonic ที่แม้จะใช้ CDAF แต่ด้วยจุดเด่นของขนาดเซนเซอร์ที่เล็กกว่าทำให้การโฟกัสรวดเร็วมากกว่า APSC) และไม่รองรับการนำเลนส์ของ DSLR ที่ใช้ระบบ PDAF (Phase Detect AF) มาใช้กับบอดี้กล้องของ MILC (ยกเว้นรุ่นที่รองรับการนำเลนส์ DSLR มาใช้โดยผ่านระบบอแดปเตอร์ของตัวเอง เช่นตระกูล Olympus OM-D E-M1 เป็น PDAF)
รวมถึงการบริหารพลังงานทำได้ไม่ดีมาก อีกทั้ง EVF ที่เกิด Lagging ก็ยังคงเป็นจุดอ่อน
*จุดอ่อนของ MILC ในยุคนี้ น่าจะเป็น Stereotype ที่คนส่วนมากจำฝังใจว่าระบบของ MILC มีจุดอ่อนแบบนี้
แต่ถึงกระนั้น ยุคสมัยเริ่มคัดกรองผู้แข็งแกร่ง ในยุคนี้กระแสในเวทีโลกฝั่งเอเชีย(นอกจากญี่ปุ่น) เริ่มพลิกกลับไปหากลุ่มที่ทำระบบ Ecosystem ของตัวเองได้ดีอย่าง Fujifilm ที่ทำเลนส์ในระบบได้เล็กกะทัดรัดแต่เปี่ยมด้วยคุณภาพ
ทางด้าน Sony ได้พลิกโฉมวงการ MILC ใหม่ด้วยการรีลีสโมเดล A7 กล้อง Fullsize MILC รุ่นแรกของโลก และเริ่มสร้างอาณาจักร Fullframe MILC ขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง
3 ยุคพัฒนาเทคโนโลยี
เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ทำให้กล้อง MILC ถูกพัฒนาต่อเนื่องอย่างไม่หยุดยั้ง ในยุคนี้เราได้เห็นการเริ่มนำตัวช่วยประมวลผลลัพธ์เข้ามาใช้ อาทิ Live Composite ที่เป็นสมบัติประจำตระกูลของโอลิมปัสที่ช่วยให้ถ่ายพลุ ลากไฟรถ ได้ง่ายแม้ไม่มีพื้นฐานการถ่ายภาพเลย หรือระบบ Play Memories App ของ Sony Alpha ที่ช่วยให้การถ่ายภาพในสถานการณ์ยุ่งยากกลายเป็นเรื่องง่าย
*จริงๆทั้งโอลิมปัสและโซนี่ต่างมีตัวช่วยเหล่านี้ตั้งแต่ในยุคแรกเริ่มแล้ว เพียงแต่ในยุคนี้ด้วยสเปคที่ดีขึ้น ทำให้ตัวช่วยเหล่านี้ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ได้คุณภาพภาพที่ดีขึ้นมามาก และชูฟีเจอร์ดังกล่าวขึ้นเป็นจุดเด่นในระบบของตน
นอกจากนั้น ด้วยความพยายามแก้ไขจุดด้อยของ MILC ทำให้เกิดการพัฒนาระบบของตัวเองขึ้นมาในแต่ละเจ้า
ทาง Sony สามารถ Breakthrough เซนเซอร์แบบ BSI CMOS ได้สำเร็จ ในขณะที่ Fujifilm ก็เร่งเสริมระบบ Ecosystem ของตนให้แข็งแกร่งขึ้น
ในยุคสมัยนี้กล้อง MILC ของ Sony และ Fujifilm เริ่มนำ PDAF เข้ามาใช้กับ MILC ของตนแล้ว ซึ่งจะเป็นระบบ Hybrid AF ทำให้สามารถโฟกัสได้แม่นและไว อีกทั้งยังสามารถนำเลนส์ของ DSLR ที่เป็นระบบ PDAF มาใช้ได้ด้วยโดยผ่านอแดปเตอร์ของ 3rd Party
EVF ที่เคยเกิด Lagging time ในยุคนี้เกิด Lagging ที่หน่วย Microsec (นับถือในความเป็นเดอะแฟลชของคนที่บอกว่ากล้องรุ่น 2017-2018 สัมผัสได้ว่ามันแลคครับ ท่านเหล่านั้นสามารถแยกแยะความต่างของภาพในระดับ 0.006 วินาทีได้เลยทีเดียว)
AF ล้ำสมัย รวดเร็วไม่แพ้ DSLR ด้วยระบบ Hybrid PDAF
ในยุคนี้ตลาดเริ่มถูกครอบครองโดยสมบูรณ์จากผู้เล่นไม่กี่เจ้า โดย Fullframe : Sony, APSC : Sony – Fujifilm, MFT : Olympus - Panasonic
และตลาด DSLR ในระดับ Entry เริ่มหายไปเรื่อยๆ หากดูจากยอดขายเราจะเห็นได้ว่ากล้อง DSLR ที่ยังขายได้อยู่จะเป็นตระกูล Enthusiastic เสียมากกว่า
*กล้อง DSLR ตัวสุดท้ายที่ได้ตำแหน่ง Best Camera of the Year คือ Canon EOS 7D Mark ii ปี 2015 หลังจากนั้นมารางวัลนี้ไม่เคยตกถึง DSLR อีกเลย (2016: Sony Alpha A7RM2, 2017: Olympus OM-D E-M1 mk ii, 2018: Sony Alpha A9) ส่วนฝั่ง Nikon เคยได้รับรางวัลนี้ครั้งสุดท้ายคือ Nikon Df ในปี 2014
4 ยุคสมัยแห่งอนาคต
ว่ากันถึงตลาด DSLR ในปี 2018 หากดูเอกสาร IR ที่มีการชี้แจงข้อมูลให้นักลงทุนรับทราบ จะเห็นได้ชัดว่าเจ้าใหญ่อย่าง Canon ยอดขาย DSLR ยังคงอยู่ได้ด้วยโมเดล EOS 6D mk2 ซึ่งแทบจะเป็นโมเดลเดียวของ DSLR ที่ทำกำไรหลักให้บริษัท เช่นเดียวกับ Nikon ที่ยอดขายตลอดสามไตรมาสติดลบอย่างต่อเนื่อง แต่พลิกกลับมาติดบวกได้ด้วยยอดขายของ D850 ทำให้สองเจ้านี้เริ่มขยับครั้งใหญ่
จากจุดนี้ จะเข้าสู่บทสรุปที่ทำให้ส่วนตัวมองปี 2019 ว่าจะเป็นปีที่ดุเดือดของการแข่งขันในตลาด MILC ด้วยปัจจัยต่อไปนี้ครับ