บางกล่ำหมู่บ้านนี้มีที่มา

กระทู้สนทนา
ประวัติบ้านบางกล่ำ
                    บ้านบางกล่ำ (ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของทะเลสาบสงขลา) ต.บางกล่ำ อ.บางกล่ำ (เดิมเป็นอำเภอหาดใหญ่ ได้แยกออกมาเป็นอำเภอบางกล่ำเมื่อ 8 กันยายน พ.ศ. 2538) จ.สงขลา กินเนื้อที่โดยรวม 3 หมู่บ้านของอำเภอบางกล่ำ ประกอบด้วย หมู่ 1 บ้านบางกล่ำบน (เป็นสถานที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอบางกล่ำ และองค์การบริหารส่วนตำบลบางกล่ำ), หมู่ 2 บ้านบางกล่ำกลาง และหมู่ 3 บ้านบางกล่ำใต้ บ้านบางกล่ำมีคลองบางกล่ำพาดผ่านและเชื่อมออกไปยังทะเลสาบสงขลาที่บ้านเกาะน้ำรอบ ต.บางเหรียง อ.ควนเนียง จ.สงขลา เดิมเป็นชื่อหมู่บ้านเรียกตามธรรมชาติของภูมิประเทศ คือเรียกตามชื่อคลองกับชื่อเกาะกลม เดิมชาวบ้านเรียกว่า บางเกาะกลม หรือเรียกสั้นๆว่า บางกลม
        ช่วงสมัยรัชกาลที่ 2 จนถึงรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีกลุ่มชาวจีนอพยพมาจาก อำเภอไห่เติง/ไห่เฉิง  海登縣 / 海澄縣 (ไฮเท่ง) ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นอำเภอหลงไห่ 龍海縣 (เหล่งไฮ)   จังหวัดจังโจว (เจียงจิว 漳州府) มณฑลฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน 福建省) ประเทศจีน   ได้อาศัยเดินเรือมาทางอ่าวไทยเข้าสู่ทะเลสาบสงขลา และเข้ามาตั้งบ้านเรือน อาศัยอยู่ริมคลองปะปนกับคนไทยมาเป็นเวลาหลายสิบปี เริ่มแรกได้ประกอบอาชีพทางการเกษตร ปลูกผัก ผลไม้ ประมง และค้าขายทางเรือ ได้ถ่ายทอดวัฒนธรรมต่อๆกันมาหลายอย่าง เช่น ภาษาพูด เป็นต้น จนกระทั่งคนจีนสามารถพูดภาษาท้องถิ่นได้ เป็นเหตุให้เรียกชื่อคลองและหมู่บ้านคลาดเคลื่อนไปจากบางกลม หรือ บางเกาะกลม เป็น บางกล่ำ แรกเริ่มเดิมทีคนที่นี่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ประมง และค้าขายทางเรือ
         พอสมัยรัชกาลที่ 5 ก็มีชาวจีนบางส่วนมาเป็นคนงานสร้างทางรถไฟ  และยึดอาชีพปลูกพลู และละมุด ส่งขายทางเรือ ซึ่งพันธุ์ละมุด (สวา) ได้เอามาจากเมืองไทรบุรี กลันตรัน  ของไทยในสมัยนั้น  การปลูกสร้างบ้านเรือนจะเป็นไม้ยกพื้นแบบปักษ์ใต้ เนื่องด้วยทำเลที่ตั้งเป็นที่ราบลุ่มมีน้ำหลากช่วงปลายปี การสัญจรแต่เดิมใช้ทางเรือเท่านั้นเพื่อไปยังเมืองสงขลาซึ่งเป็นชุมชนเมืองใหญ่ในสมัยนั้น และชุมชนรอบ ๆ ทะเลสาบสงขลา เช่น เมืองสงขลา เกาะยอ ระโนด การสัญจรทางรถไฟเริ่มในสมัยรัชกาลที่ 5 ส่วนการสัญจรทางรถยนต์จะมีถนนริมคลอง ปัจจุบันไม่มีได้สัญจรแล้วเพราะมีถนนตัดผ่านในหมู่บ้าน การสัญจรทางรถยนต์ก็เลยสะดวกสบายจนถึงปัจจุบัน ขนบธรรมเนียมประเพณี เนื่องด้วยเป็นหมู่บ้านคนไทยเชื้อสายจีนฮกเกี้ยน ขนบธรรมเนียมของจีนที่สำคัญยังคงยึดถือมาตั้งแต่อดีตจีนถึงปัจจุบัน คือ ตรุษจีน (ไหว้ชื่อบรรพชน) และเฉ่งเบ่ง (ไหว้หลุมศพ) และการทำบุญวันว่างเดือนห้า การทำบุญเดือนสิบ ประเพณีชักพระ ซึ่งเป็นประเพณีของไทยภาคใต้ สถานที่สำคัญ วัดบางทีง  วัดริมคลองบางกล่ำที่เก่าแก่ที่สุด อายุ กว่า 200 ปี ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของคลองบางกล่ำ บ้านบางทีง ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา (พระชื่อดัง พ่อท่านซุ้น, พ่อท่านจูลิ่ม) วัดชลธาราวาส (วัดบางกล่ำ เดิมชื่อวัดโคกขี้เหล็ก) ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 บ้านบางกล่ำบน พระเกจิที่โด่งดัง
คือ พ่อท่านขวัญ หลวงพ่อเอียด (พ่อท่านต้ม) ศาลาทวดบ้านบางกล่ำ เป็นศาลเจ้าโบราณอายุร้อยหกสิบกว่าปี ตั้งอยู่ริมคลองบางกล่ำ หมู่ที่ 3 บ้านบางกล่ำใต้ วัดบางหยี  วัดริมคลองบางกล่ำ ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของคลองบางกล่ำ บ้านบางหยี อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
History of Bang Klam Village (Ban Bang Klam) located on the south west of Songkhla Lake, Bang Klam District (孟咁縣),formerly was Hat Yai District (合艾縣) It was split into Bangklam district on September 8, 1995) Songkhla province. The village of Ban Bang Klam were consisting of, Moo1 Ban Bang Klam Bon. (This is the location of Bangklam District Office. And Bangkla Subdistrict Administrative Organization, Moo 2, Bang Klam Klang and Moo 3, Bang Klam Tai. Ban Bang Klam has Khlong Bang Klam canal and crosses to Songkhla Lake at Baan Koh Nam Lob, Bang Riang,  Kuan Niang District, Songkhla Province, originally called from the geographical features. It is called by the name of the canal with a rounded island. The villagers called Bang Koh Klom and become the short name is Bang Klom (a round canal)
    During the reign of King Rama II until the King Rama V,  Rattanakosin period. There is a group of Chinese immigrants from Haicheng District(海澄縣),is currently Longhai county-level city (龍海市), Zhangzhou Prefecture-level city (漳州市), Fujian Province ( 福建省), China. Cruise to the Gulf of Thailand into Songkhla Lake. And come to the house Living along the canal mixed with the Thai people for decades. Initially engaged in agriculture, growing vegetables, fruits, fisheries and shipping. It has spread the mixted cultures, such as spoken languages, food, until Chinese people can speak the local language. As a result, they called the name the village deviate from Bang Klom (round canal) to Bang Klam.
    In the reign of King Rama V, some Chinese were employed as railway workers. And seized the business of growing betel for sale by boat. Sapodilla (Swao) was taken the plant species from the city of trai-bù-ree (Kedah), Trengganu in Thailand in those days. Currently belong to Malaysia. The house was built as a wooden platform house. Due to the location is plains with water at the end of a year. Traffic was originally used by boat only to go to Songkhla City, a major urban area of those days, and the other communities around Songkhla Lake. Railroad commute commenced in the reign of King Rama V, and road route along the canal later.
    As a villager of Thai people of Chinese descent. Important Chinese traditions are still held from the past to the present day, such as the Chinese New Year and Tomb Sweeping Day. And Thai traditions such as fifth month make merit, annual festival of merit-making at the end of the tenth lunar month and Chak Phra Festival (Pulling the Buddha image),
    There are many places along Bang Klam canal as the landmark, such as Thaluang suspension bridge, Bang Klam temple, Ji Fu shrine(集福廟), and Bangyee temple these places are good for do worship and nature canoe cruise
孟咁村的历史

    孟咁村(班邦克拉姆)的历史,位于孟咁区(孟咁县)宋卡湖西南部,原为合艾县,于1995年9月8日分裂为孟咁区。宋卡府. 孟咁村由Moo1 Ban 孟咁Bon组成。 (这是孟咁区办事处的位置. 孟咁街道行政组织,Moo 2,孟咁和Moo 3,Bang Klam Tai。班邦克拉姆拥有孟咁运河,并且在Baan Koh Nam Lob,Bang交叉到宋卡湖Songkhla省Kuan Niang区的Riang,最初叫地理特征。它被称为运河的名字,有一个圆形的岛屿。村民叫Bang Koh Klom,简称Bang Klom(圆形运河.

    在拉玛二世国王统治期间,直到国王拉玛五世,拉达那哥欣时期。有一群来自海澄县的中国移民,目前是龙海县级市(龙海市),漳州市(漳州市),福建省(福建省),中国。乘船游览泰国湾到宋卡湖。来到这所房子生活在沿着运河与泰国人民混居数十年。最初从事农业,种植蔬菜,水果,渔业和航运。它传播了混合文化,如口语,食物,直到中国人能说当地语言。结果,他们称这个村庄的名字从BangKlom(圆形运河)偏离到孟咁。


    在拉玛五世国王统治时期,一些中国人被雇用为铁路工人。并抓住了通过船出售槟榔的业务。 Sapodilla(Swao)当时采取了泰国Trengganu的trai-bù-ree(Kedah)市的植物种类。目前属于马来西亚。这座房子是一座木制平台房屋。由于地理位置是一年底有水的平原。交通最初只是乘船前往宋卡市,当时的主要城区,以及宋卡湖周围的其他社区。铁路通勤开始于拉玛五世国王的统治时期,以及后来沿运河的公路
    作为泰国华裔的村民。从过去到现在仍然有重要的中国传统,例如中国农历新年和清明节。像第五个月的泰国传统,在农历十月末和Chak Phra音乐节(拉佛像),每年都有功绩,

    沿着孟咁运河的许多地方作为地标,如Thaluang吊桥,孟咁寺,集福庙和Bangyee寺这些地方都有很好的做礼拜和自然独木舟游轮。
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่