นี่เป็นกระทู้เกี่ยวกับภาษาไทยกระทู้ที่เท่าไรของผมแล้วก็ไม่รู้ แต่พอนึกได้ หรือพอเห็นอะไรที่มันผิดแล้วก็รู้สึกขัด ๆ แล้วต้องมาตั้งอีกครั้ง
ตอนนี้มี ๓ หัวข้อใหญ่ ๆ ของการสะกดผิดที่ผมอยากเขียนถึง
๑.ไม้ม้วน ไม้มลาย คงไม่ต้องอธิบายมากนะครับ สมัยก่อนเราเคยท่องกันว่า "ยี่สิบม้วนจำจงดี" แน่นอนว่า คำที่ใช้ไม้ม้วน ก็มีแค่ ๒๐ ตัวที่เราท่องกันในนั้น คำอื่นนอกเหนือจากนั้นจะใช้ไม้มลายหมด แต่ทุกวันนี้คนชอบมั่ว หยิบเอาไม้ม้วนมาใช้กันเยอะขึ้น เข้าใจว่าสาเหตุของการเอาไม้ม้วนมาใช้ผิดนี้ น่าจะเป็นความนิยมตามยุคสมัย อยากเท่ หรือเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของภาษาวัยรุ่น ไม่น่าจะมาจากความไม่รู้เหมือนการสะกดผิดคำอื่น ๆ (แต่ก็คิดว่าคงมีบ้าง)
๒.ร,ล สลับกัน ช่วงนี้เจอบ่อยมาก คำที่ต้องใช้ ล ก็ไปใช้ ร เช่น ละเอียด เป็น ระเอียด เลียนแบบ เป็น เรียนแบบ คำที่ควรใช้ ร ก็ไปใช้เป็น ล เช่น ลำคาญ ซึ่งกรณีหลังน่าจะมาจากการที่บางคนเวลาพูดจะออกเสียงควบกล้ำไม่ชัด ไม่กระดกลิ้นเวลาออกเสียง ร ทำให้เคยชินจนติดไปกับการเขียน และหยิบ ล มาใช้แทน หรือบางคน ก็สะกดโดยที่โยน ร,ล ทิ้งไปเลย
๓.วรรณยุกต์ อีกปัญหาใหญ่ที่สุด ที่เจอบ่อยมากสุดคือ อ ผสม ไม้โท ซึ่ง อ นั้นเป็นอักษรกลาง จะสามารถผันได้ครบ ๕ เสียง และออกเสียงตรงตามวรรณยุกต์ คือ ถ้าเป็นไม้โท ก็ออกเสียงโท ไม้ตรีก็ออกเสียงตรี ที่ผมเจอมากคือเพื่อนหลายคนที่พูดถึง เอกภาษาอังกฤษ ก็มักจะสะกดว่า เอกอิ้ง เอกอิ้ง โดยที่ไม่ได้รู้ว่า อิ้ง มันออกเสียงว่าอะไร ถ้าจะให้ถูกต้องเป็น เอกอิ๊ง ใช้ไม้ตรี เอาง่าย ๆ คำว่า อ้า ออกเสียงวรรณยุกต์อย่างไร อิ้ง ก็ออกเสียงวรรณยุกต์เดียวกัน
ซึ่งสำหรับผม วิธีที่ง่ายที่สุดสำหรับการเขียน ขอย้ำว่าการเขียนก็คือ เทียบเสียง นั่นแหละครับ บางคนอาจจะบ่นว่าเวลาเขียนจริงใครจะมานั่งเทียบเสียง แต่ถ้าให้ความสำคัญจริง ๆ ก็น่าจะลองดูครับ ถ้าต่อไปชำนาญแล้ว เวลาอาจจะน้อยลง และต่อไปก็อาจจะแม่นจนไม่ต้องเทียบเสียงเลยด้วย
แม้แต่ในหนังสือพิมพ์ หรือ นิตยสารที่น่าจะเป็นอีกสื่อที่ใช้ภาษาได้ถูกต้อง ก็เริ่มมีการสะกดผิดหลุดออกไปบ้างแล้ว อย่างเมื่อวานผมไปเจอหนังสือนิตยสารเล่มหนึ่งที่เขียนชื่อดาราที่ชื่อ อิ๊งค์ นี่แหละ แต่ใช้ไม้โท และในเว็บของหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ฉบับหนึ่งของไทย ก็จะเจอการสะกดผิดบ่อยมาก ถ้าให้ผมเดา น่ามาจากการที่คนรุ่นใหม่ที่เริ่มสะกดคำไม่ถูก เรียนจบแล้วออกไปทำงานมากขึ้น ก็เลยมีคำพวกนี้หลุดออกไปสู่สังคมภายนอกมากขึ้น และคนที่เห็นบางคนก็ปล่อยปละละเลย ไม่ได้สนใจอะไร ก็เลยเป็นแบบนี้
บางคนอาจจะเขียนผิดแค่ในการคุยกับเพื่อน ในโซเชียล แต่ถ้าจะให้พบกันครึ่งทางก็คือ ในเวลาที่เขียนแบบเป็นทางการ เขียนแบบจริงจัง ก็ขอให้สะกดให้ถูกด้วยแล้วกันครับ
สมัยนี้เจอมากขึ้นเรื่อย ๆ คนที่เขียนวรรณยุกต์ผิด,ใช้ ร,ล สลับกัน และ ไม้ม้วน ไม้มลาย ผิด
ตอนนี้มี ๓ หัวข้อใหญ่ ๆ ของการสะกดผิดที่ผมอยากเขียนถึง
๑.ไม้ม้วน ไม้มลาย คงไม่ต้องอธิบายมากนะครับ สมัยก่อนเราเคยท่องกันว่า "ยี่สิบม้วนจำจงดี" แน่นอนว่า คำที่ใช้ไม้ม้วน ก็มีแค่ ๒๐ ตัวที่เราท่องกันในนั้น คำอื่นนอกเหนือจากนั้นจะใช้ไม้มลายหมด แต่ทุกวันนี้คนชอบมั่ว หยิบเอาไม้ม้วนมาใช้กันเยอะขึ้น เข้าใจว่าสาเหตุของการเอาไม้ม้วนมาใช้ผิดนี้ น่าจะเป็นความนิยมตามยุคสมัย อยากเท่ หรือเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของภาษาวัยรุ่น ไม่น่าจะมาจากความไม่รู้เหมือนการสะกดผิดคำอื่น ๆ (แต่ก็คิดว่าคงมีบ้าง)
๒.ร,ล สลับกัน ช่วงนี้เจอบ่อยมาก คำที่ต้องใช้ ล ก็ไปใช้ ร เช่น ละเอียด เป็น ระเอียด เลียนแบบ เป็น เรียนแบบ คำที่ควรใช้ ร ก็ไปใช้เป็น ล เช่น ลำคาญ ซึ่งกรณีหลังน่าจะมาจากการที่บางคนเวลาพูดจะออกเสียงควบกล้ำไม่ชัด ไม่กระดกลิ้นเวลาออกเสียง ร ทำให้เคยชินจนติดไปกับการเขียน และหยิบ ล มาใช้แทน หรือบางคน ก็สะกดโดยที่โยน ร,ล ทิ้งไปเลย
๓.วรรณยุกต์ อีกปัญหาใหญ่ที่สุด ที่เจอบ่อยมากสุดคือ อ ผสม ไม้โท ซึ่ง อ นั้นเป็นอักษรกลาง จะสามารถผันได้ครบ ๕ เสียง และออกเสียงตรงตามวรรณยุกต์ คือ ถ้าเป็นไม้โท ก็ออกเสียงโท ไม้ตรีก็ออกเสียงตรี ที่ผมเจอมากคือเพื่อนหลายคนที่พูดถึง เอกภาษาอังกฤษ ก็มักจะสะกดว่า เอกอิ้ง เอกอิ้ง โดยที่ไม่ได้รู้ว่า อิ้ง มันออกเสียงว่าอะไร ถ้าจะให้ถูกต้องเป็น เอกอิ๊ง ใช้ไม้ตรี เอาง่าย ๆ คำว่า อ้า ออกเสียงวรรณยุกต์อย่างไร อิ้ง ก็ออกเสียงวรรณยุกต์เดียวกัน
ซึ่งสำหรับผม วิธีที่ง่ายที่สุดสำหรับการเขียน ขอย้ำว่าการเขียนก็คือ เทียบเสียง นั่นแหละครับ บางคนอาจจะบ่นว่าเวลาเขียนจริงใครจะมานั่งเทียบเสียง แต่ถ้าให้ความสำคัญจริง ๆ ก็น่าจะลองดูครับ ถ้าต่อไปชำนาญแล้ว เวลาอาจจะน้อยลง และต่อไปก็อาจจะแม่นจนไม่ต้องเทียบเสียงเลยด้วย
แม้แต่ในหนังสือพิมพ์ หรือ นิตยสารที่น่าจะเป็นอีกสื่อที่ใช้ภาษาได้ถูกต้อง ก็เริ่มมีการสะกดผิดหลุดออกไปบ้างแล้ว อย่างเมื่อวานผมไปเจอหนังสือนิตยสารเล่มหนึ่งที่เขียนชื่อดาราที่ชื่อ อิ๊งค์ นี่แหละ แต่ใช้ไม้โท และในเว็บของหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ฉบับหนึ่งของไทย ก็จะเจอการสะกดผิดบ่อยมาก ถ้าให้ผมเดา น่ามาจากการที่คนรุ่นใหม่ที่เริ่มสะกดคำไม่ถูก เรียนจบแล้วออกไปทำงานมากขึ้น ก็เลยมีคำพวกนี้หลุดออกไปสู่สังคมภายนอกมากขึ้น และคนที่เห็นบางคนก็ปล่อยปละละเลย ไม่ได้สนใจอะไร ก็เลยเป็นแบบนี้
บางคนอาจจะเขียนผิดแค่ในการคุยกับเพื่อน ในโซเชียล แต่ถ้าจะให้พบกันครึ่งทางก็คือ ในเวลาที่เขียนแบบเป็นทางการ เขียนแบบจริงจัง ก็ขอให้สะกดให้ถูกด้วยแล้วกันครับ