มือใหม่หัดเชื่อม งาน DIY

สอบถามครับ เป็นมือใหม่เริ่มหัดทำงาน DIY ตอนนี้อยากลองหัดเชื่อมและอยากมีตู้เชื่อมสักตู้ คำถามคือ
1. เลือกตู้เชื่อมตัวไหนดีระหว่าง Jasic ระบบ ARC รุ่น ARC162I กับ ARC204E (MOSFET) งานที่ทำเป็นพวกเชื่อมเหล็กกล่องโครงหลังคา กับงานเชื่อมรั้ว และก็งานเหล็กเล็กๆทั่วไปครับ
2. อุปกรณ์นอกจากตู้เชื่อม ควรมีอะไรเพิ่มเติมครับ เน้นสเปคกลางๆมือใหม่ใช้คล่อง
3. อุปกรณ์ที่มีความจำเป็นต้องใช้กับงานเชือมเพิ่มเติม พวก สว่าน ลูกหมู (ขอรุ่น ยี่ห้อก็ได้ครับ)
4. มีเทคนิคการเชื่อมอะไรที่ควรรู้ สำคัญๆบ้างครับ

ขอบคุณครับ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
อุปกรณ์เหรอ เยอะเลยหล่ะ

--- อุปกรณ์ที่ใช้ ---

- ตู้เชื่อม
- หน้ากากออโต้ เลือกพวกจอใหญ่ เซนเซอร์ 4 จุด พวก shade ต่ำๆ จะช่วยให้มองเห็นชิ้นงานได้สว่างชัดเจน  (เลขน้อยยิ่งสว่าง)
                     อย่างราคาแพงปรับ shade ได้ 5-13 ส่วนราคาถูก shade ได้แค่ 9-13
                   * ที่สำคัญต้องลอกฟิล์มบนกระจกกันสะเก็ดออกให้หมดจนเป็นสีใส อย่าตายน้ำตื้น

- คีมจับลวดเชื่อม คีมจับสายดิน แถมมาตอนซื้อตู้อยู่แล้ว
   (กรณีที่จะเปลี่ยนหัวใหม่ ต้องดูด้วยว่าใช้กี่ 300A 500A ขึ้นอยู่กับขนาดลวดเชื่อมและขนาดสายไฟ)

- สายเชื่อม สายกราวด์ สายดี ๆ ก็จะให้มาที่ 35 sq.mm. (ส่วน 50 sq.mm. ต้องซื้อมาโมเอง)
   ถ้าพวกตู้จีนราคาถูก สายเชื่อมจะอยู่ประมาณ 9-12 sq.mm. เท่านั้นเอง

- ลวดเชื่อม

- ลูกหมู (มีใช้ 2 ตัวจะสะดวกมาก ไม่ต้องคอยเปลี่ยนใบ)
- ไฟเบอร์ตัดเหล็ก (ถ้างบเยอะจัด เลือก DRY CUT  แต่ใบก็แพงมากด้วย)
- ใบตัดไฟเบอร์ = ใบที่ขายทั่วไปราคา 60-ร้อยต้น มักตัด 45 ได้ไม่ค่อยตรง ต้องทำใจ ถ้าอยากได้ดีต้องพวกใบฝังเพชรถึงจะไม่มีปัญหา แต่อย่าเอาใบของเลื่อยองศามาใส่เพราะมันคนละรอบกัน
- ใบเจียร์ ใบตัด ใบขัด ใบต่างๆ (ซื้อเก็บไว้เยอะ ๆ หลายแบบ ได้หยิบมาใช้แน่นอน)

- สว่าน + ดอกต่าง ๆ  (อาจโดน สว่านแท่น อีกซักตัวก็ดี)

- ปากกาจับชิ้นงานตั้งโต๊ะ หรือ ปากกาจับสว่านแท่น ใช้เป็นตัวจับล็อคเจาะรู

- เวอร์เนียร์ (สมัยนี้ เล่นแบบดิจิตอลไปเลย ไม่ต้องมานั่งแพ่งให้ปวดตา เห็นแบบดิจิฯ สแตนเลส เริ่มที่ 390 บาท เท่านั้นเอง)
                (เวอร์เนียร์ดิจิฯ อย่าเลือกแบบพลาสติกเลย เพิ่มเงินร้อยเดียวก็ได้แบบสแตนเลสแล้ว)

- ค้อนเคาะสแลก (ใช้สิ่ว 2 นิ้ว หรือค้อนต๊อก แทนก็ได้ หน้ามันกว้างเคาะได้มันกว่า) (แต่ถ้าอยากได้ 2 หัว แบน+แหลม ส่วนมากจะโมเอาเอง)
- แปรงลวด (ถ้าพวกปีกบานทรงด้ามมีดใช้แป๊ปๆก็พัง ให้ซื้อแปรงลวดหน้าตรงจะใช้ได้นาน)
- ตะไบเหล็ก (แบบแบน กับ แบบกลม ได้ใช้บ่อยสุด  และแบบชุดปรับแต่งเล็ก ๆ   อะไรพวกนี้ ซื้อ ๆ เก็บไว้บ้าง งานอื่นก็ได้ใช้เหมือนกัน)

- ฉากเหล็ก (การหาตัวที่ได้ฉากเป๊ะ ๆ นั้น เป็นไปตามบุญตามกรรม ต้องตามล่าหากันหน่อย)
- ฉากสามเหลี่ยม (speed square)  (การหาตัวที่ได้ฉากเป๊ะ ๆ ก็เป็นไปตามบุญตามกรรมเหมือนกัน)

- ตลับเมตร (ใช้แบบหัวแม่เหล็กก็จะดี  ถ้ามีตัว 8 เมตรเก็บไว้บ้าง แล้วจะรู้ว่าคุ้มกว่า 5 เมตร)
- ระดับน้ำ (แบบสั้น แบบยาว แบบดอปิโด มีหลาย ๆ แบบ ใช้งานได้ครอบคลุม เลือกให้ดีๆ เพราะระดับน้ำที่ไม่ดี วัดแล้วไม่ได้ระดับมีขายเยอะ)
- ปากกาขีดเหล็ก, ปากกามาร์ค, ช็อคขีด, ปากกาต่างๆ (อย่างปากกาหัวยาวแบบ Pica จะสะดวกมากเมื่อเข้ารูลึกๆ)

- แม่เหล็กจับฉาก (งานเหล็กได้ใช้บ่อยมาก เอาไว้ช่วยเข้าฉาก เข้ามุม)(เวลาใช้วางให้สูง เวลาเก็บควรใส่ถุง เพื่อป้องกันเศษเหล็กเข้ามาติด ไม่งั้นจะแกะออกยาก)
- corner clamp (ถ้าราคาถูกเรท 200 บาท ไม่ต้องก็ได้ เพราะก๊องแก้ง ใช้แม่เหล็กจับฉากจะสะดวกกว่า แต่ถ้าพวกราคา 700-1000 ถึงจะน่าใช้ ไว้จับล็อคตอนเชื่อมเพราะเป็นจังหว่ะเหล็กบิดตัว งานเหล็กควรหาตัวที่จับได้ 3" ถึงจะครอบคลุมงาน)

- คีมล็อค ก้ามปู, ปากแบน, ปากโค้ง, (อย่าซื้อชิ้นเดียว ให้ซื้ออย่างละ 2 ตัว)
- แคล้มป์ล็อค C Clamp , Quick Clamp , F Clamp (ซื้อพวก Clamp อย่าซื้อชิ้นเดียว ควรมีแบบละ 2 ตัว เป็นอย่างน้อย เพื่อช่วยจับล็อค 2 ด้าน)


- บันได    ถ้าซื้อตัวแรก ให้เอาทรง A  6-7 ขั้นมาก่อน ใช้งานได้หลากหลายกว่า 5 ชั้น (ถ้าซื้อ 2 ตัว เลือก 8 ขั้น กับ 4 ขั้นกันไฟ)
           ถ้าคิดจะทำหลังคาต่อเติม แนะนำ 8-9 ชั้น เพื่อหลีกเลี่ยงท่า over head ให้มากที่สุด
               8-9 ชั้นเมื่อรวมความสูงที่เรายืน จะเลยชายคาต่อเติม ทำให้ตำแหน่งเชื่อมอยู่ต่ำกว่าศรีษะ)

- ฮู๊ดหนัง แบบคลุมหัว-คอ-ไหล่ (ถ้าเชื่อม Over Head สำคัญมาก โดนลูกไฟเจาะใส่กบาล เข้าโรงพยาบาลสถานเดียว)
- ถุงมือผ้า, ถุงมือ POLY , ถุงมือเคลือบ PU
- ถุงมือหนัง, ถุงมือเชื่อมอาร์กอน
    - ถุงมือหนังยาว 18"-19" (14"-16" จะไม่ถึงศอก , 18" จะแค่ชนศอก, 19" จะถึงศอกแต่ไม่เลย ถ้าเอาตัวเดียวเลือก 18",19" มาก่อน เพราะช่วยป้องกันได้ดีกว่าพวกสั้น ๆ ,
         ถ้าได้ 25"-26" จะยาวถึงไหล่ แต่หาซื้อยากมาก ถ้าหาซื้อได้จะดีมาก เพราะไม่ต้องใส่ปลอกแขนอีกอันให้ยุ่งยาก)
      (ถุงมือหนัง เลือกพวกที่ทำจากหนังท้อง จะนิ่มกว่าแบบธรรมดา เวลาจับชิ้นงาน จะรู้ว่าหยิบจับได้ดีกว่า)
    - ถุงมือเชื่อมอาร์กอน จะบางหน่อย เหมาะกับการใช้ใส่มือขวาจับคีมคีบลวดเชื่อม จับโน้นนั่นนี่ เพราะจะถนัด (มือขวาจะไม่ค่อยโดนสะเก็ดไฟ)
    - เวลาใช้จริง มือซ้ายใส่ถุงมือหนังยาว มือขวาใส่ถุงมืออาร์กอน จะถนัดที่สุด เพราะสะเก็ดไฟมักวิ่งเข้าด้านซ้ายมากกว่าด้านขวา

- ปลอกแขนหนัง ปลอกขาหนัง (ใส่เสื้อยีนส์แขนยาว กับกางเกงยีนส์ แทนก็ได้)
    - ปลอกแขนหนัง ถ้ามีถุงมือหนัง 26" ก็ไม่ต้องซื้อมาใช้ให้รกกล่องเครื่องมือ
    - ส่วนบน แนะนำหาซื้อเสื้อเชิ๊ตหนังกลับมือสองหรือเสื้อยีนส์มือสองมาใส่จะดีกว่า
          เพราะเมืองไทยไม่มีแจ็คเก็ตหนังสำหรับงานเชื่อมขาย และมันไม่วุ่นวาย สวมใส่ง่ายกว่าเอี้ยมเปิดหลัง

- หน้ากากกรองฝุ่นกรองควัน กรองสารพิษได้ แถมยังช่วยป้องกันสะเก็ดไฟเข้าคางได้ด้วย
    อย่าง 3M รุ่น 3200 ใส่ได้แน่นอนไม่ติดหน้ากาก
    3M รุ่น 6200 กับ รุ่น 7502 ก็ใส่ได้ไม่ติด แต่จะชิดขอบหน้ากากเลยทีเดียว (ทั้งนี้ อยู่ที่ใช้กรองรุ่นไหนด้วยนะ)


เอาจริง ๆ แล้ว รายละเอียดมันเยอะมาก
เดี๋ยวตอนทำงาน ก็จะรู้ด้วยตัวเองว่า ขาด-เหลือ อะไรบ้าง


เขียนมาเยอะหน่อย แต่เผื่อมีประโยชน์ จะได้ไม่ต้องซื้อแบบลองผิดลองถูกอะไรให้มากมาย

เอาแค่ที่พอจะนึกออกนะครับ แค่นี้ก็ตาลายแล้ว
ความคิดเห็นที่ 5
โจทย์คำถามคือ
1. เลือกตู้เชื่อมตัวไหนดีระหว่าง Jasic ระบบ ARC รุ่น ARC162I กับ ARC204E (MOSFET) งานที่ทำเป็นพวกเชื่อมเหล็กกล่องโครงหลังคา กับงานเชื่อมรั้ว และงานเหล็กเล็กๆทั่วไปครับ

คำเเนะนำ.ตู้เชื่อม JASIC ARC200 ราคา 6,7XX บาท สำหรับผมยังเป็นรุ่นที่จ่ายเงินไป แล้วคุ้มเงินมากที่สุด เครื่องเชื่อมเป็นเเบบ Mosfet / บอร์ด 3 ชั้น มาตรฐาน/พิมท์นิยม ถ้าเกิดสมมุติมีเสียก็ซ่อมง่าย อะไหล่ก็ถูก ลองหาซื้อที่คลองถมดูครับ เคยมีคนซื้อได้ในราคานี้ ( หรือถูกกว่า ? ) หรือ ร้านค้าตามในรูปที่โพสต์ เพราะร้านฮาร์ดเเวร์หลายๆร้านที่ผมรู้จักยังขายในราคา 7,7XX บาท

ส่วนตัวยังอนุรักษ์นิยมใช้เป็นเเบบ Mosfet ไม่เคยคิดจะใช้เเบบ IGBT เเบบข้อด้อยมันเยอะเมื่อมันมาอยู่ในเครื่องเชื่อมงานจีนครับ


ที่ทำงานผมเลือกรุ่นนี้ใช้งานอยู่ประมาณ 6-8 ตัว ใช้งานมา 5 -6 ปี เเล้วครับ


2. อุปกรณ์นอกจากตู้เชื่อม ควรมีอะไรเพิ่มเติมครับ เน้นสเปคกลางๆมือใหม่ใช้งานคล่อง
คำเเนะนำ
- หน้ากากเชื่อมปรับเเสงอัตโนมัติ เเนะนำของ Falcon และ Welpro ตามรูป ( คาดว่าน่าจะเหมือนสั่ง OEM มาจากโรงงานเดียวกัน ) ส่วนตัวเลือกใช้ของ Falcon เพราะราคา 1,700 บาทถูกกว่า Welpro ที่สอบถามราคามาคือ 2,000 บาท ขีอดีคือ หน้าจอใหญ่กว่ามองเห็นงานเชื่อมมากกว่า,ปุ่มปรับฯอยู่ด้านนอก นํ้าหนักเบาเพราะเป็นวัสดุ ABS ส่วนครอบหัว/รัดศีรษะ ออกแบบมาดีกว่าทั่วๆไป
จริงๆจะมีตัวถูกรองลงมา ขายในราคาพันต้น วัสดุหมวกเหมือนกัน แต่ส่วนกระจกหน้ากากเชื่อมขนาดเล็กกว่า ปุ่มปรับอยู่ด้านใน ยกเว้นปุ่มปรับความเข้มมืดตัวกระจกเชื่อมอจะอยู่ด้านนอกหมวก


หน้ากากเชื่อมยี่ห้อนี้จะมี 2 รุ่น ตามที่เเจ้งไป สิ่งที่เเตกต่างคือ ขนาดหน้ากากช่องมองกระจกเชื่อมที่มีขนาดเเตกต่างกันชัดเจน


- ถุงมือช่างเชื่อม เเนะนำเเบบหนา มีซับใน 2 ชั้น ยาว 14-16 นิ้ว ตามรูป ตอนนี้ผมนิยม Kovet หรือ Bestsafe ควรพยายามใส่ถุงมือเชื่อมทุกครั้ง ใส่ถุงมือหนังงานเชื่อมใช้งานจนชิน



- ลวดเชื่อมเหล็กเหนียว แนะนำเรียงตามลำดับดังนี้
ี้1. Kobe ( โกเบ ) RB-26 ห่อเเดง เชื่อมนิ่ม สะเก็ดไฟน้อย ชอบมากที่สุด
2. Kobe E-30 ห่อขาว เชื่อมนิ่ม ควันน้อย
3. YAWATA FT-51  เชื่อมขิ่ม ควันเยอะ+สะเก็ดไฟเชื่อมเยอะ เเต่ใช้ลวดเชื่อมยี่ห้อนี้มากที่สุด เพราะถูกกว่า Kobe  
4. FUJI CX3 เชื่อมนิ่มใช้ได้ครับ แต่ไม่ค่อยได้ใช้งานเท่าไร
- สายไฟฟ้าพ่วง แนะนำทำเองใช้สายไฟ VCT ขนาด 2.5 sq.mm ความยาวไม่น้อยกว่า 15-20 เมตร ส่วนตัวตัวเรือนปลั๊กไฟ เป็นเเบบยางหุ้มกันกระเเทก และ ปลั๊กไฟเป็นเเบบ ปลั๊กคู่มีรูกราวน์ งานพานาโซนิค รุ่นเก่า หรือ จะเป็นของตรา ช้าง ก็ได้ครับที่ใช้งานมา..สอบผ่านครับ
- หินชอล์ก มีไว้เขียนตีเเนว มาร์กตำเเหน่ง,มาร์กเส้น
- ดอกสว่านเจาะเหล็ก แนะนำซื้อดอกสว่านเกรด HSS ขึ้นไป ยี่ห้อที่เคยได้ยินชื่อในตลาด พวกดอกงานจีนโนเนม มาเป็นเเพ็คกลองโฟมไม่เเนะนำครับ ในท้องตลาดจะมี Kaiba ( เริ่มทำตลาดดอกสว่าน,ดอกโฮซอว์ ) APEX  ดีขึ้นมาก็ Sutton งาน ออสเตรเลีย, V.K. งานอินเดีย เจาะเหล็กทั่งวไปได้ดีครับ


3. อุปกรณ์ที่มีความจำเป็นต้องใช้กับงานเชื่อมเพิ่มเติม พวก สว่าน ลูกหมู (ขอรุ่น ยี่ห้อก็ได้ครับ)
คำเเนะนำ
1. หินเจียร 4 นิ้ว
- เน้นถูก เเนะนำ NKT 1G-1008 ราคา 700 บาทมีทอน
ใหญ่ถ้าคนที่ต้องการหินเจียรที่ราคาตํ่ากว่า 900 บาทคงต้องตัวนี้ครับรุ่นนี้ ที่เคยรื้อดูคุณไม่ต้องกลัวเรื่องอะไหล่ หินเจียรตัวนี้
- ชุดหัวกระโหลก เฟืองเกียร์ทด,เเกนเพลา,เฟืองหัวทุ่น Makita 9500NB
- ชุดตัวทุ่น+ฟิลคอลย์ เป็นแบบ MAKTEC MT954
- งานตลับลูกปืนทุ่น หน้า/หลัง ที่ใส่มาใช้เกรดคุณภาพดีครับ
ดังนั้นไม่ต้องกลัว หรือ กังวล เรื่องอะไหล่ว่าเเค่เหมือนเเต่ข้างนอก แต่ข้างในไม่สามารถใช้อะไหล่ร่วม Makita,Maktec ที่โคลนนิ่งได้ครับ งานดีกว่าพวกเจียร 4 นิ้วงานจีนราคาถูกๆ 5-6 ร้อยบาทครับ





- เน้นมาตรฐาน นิยมใช้งาน ผมเเนะนำ

1. MAKTEC MT970 หรือ 971 ราคาตามในรูป รูปทรงผอม ทรง Silm นิดๆจับใช้งานสะดวก




2. MAKITA 9553 BX ราคาประมาณ 1,5XX บาท ถูกผลิตใช้งานกันมากว่า 10 ปี ใช้งานดีครับ




- เน้นใช้งานดีสุด ราคาเป็นเรื่องรอง ไม่ใช่ประเด็นเที่ต้องเอามาใส่ใจ
ผมเเนะนำ MAKITA 9533B งานญี่ปุ่น Slim Body จับถือสะดวก วัตต์เยอะ สายไฟยาว และ คุณภาพดี ราคาประมาณ 3,6XX-3,8XX บาท ใช้งานส่วนตัว ช่วงนี้มข้งานทุกวัน




สว่านไฟฟ้า ผมเเนะนำว่า มันมีเยอะ ผมเเนะนำว่า ควรเริ่มเป็นสว่านเจาะกระเเทก หัวจับดอกสว่านธรรมดา ไว้เจาะรูเหล็ก,เจาะเเผ่นไม้ เเนะนำ

MAKTEC MT817 EURO TYPE ขนาด13 มม.(1/2 นิ้ว) ราคาประมาณ 1,400-1,500 บาท ( ไม่ยืนยัน )





- สว่านโรตารี่ แนะนำ สว่านโรตารี่ Makita ซีรีส์ใหม่ เน้นถูก ตระกูลซีรีส์ M ตามในรูป ช่วงนี้จัดโปร เเถมชุดดอกสว่าน,ดอกสกัด ตามในรูป ราคาประมาณ 2,800 บาท เพิ่งออกตลาด ผมยังไม่เคยใช้ แต่มันคือ MAKTEC MT871 แปลงร่างมาจากสีส้มเป็นสีเขียว เเละ ขายในราคาถูกกว่า ( แค่ของเเถมที่มาก็ราคาประมาณ 5XX บาท แล้วครับ ) ทาง มากิต้า เปิดาคาสว่านโรตารี่ ซีรีส์นี้ราคาเเบบนี้  พวก เเบรนด์ยี่ห้อ  Zinsano , Pumpkin , ฮุนได คงต้องปรับราคารุ่นยอดฮิตหนีลงมาอีกครับ ส่วนพวกสว่านโรตารี่ Bosch, Makita ที่เป็นเเบบรุ่น 2 ระบบ คงคาเเผงขายไม่ออกครับ








- แท่นตัดเหล็กไฟเบอร์ 14 นิ้ว แนะนำ MAKTEC MT 243 ราคา 3 พันบาทต้นๆ มันอาจจะไม่ใช่เเท่นตัดเหล็กไฟเบอร์ที่ดีที่สุด แต่มันขายดี และ นิยมใช้งานกันมากที่สุดครับ



รุ่นนี้ แก้ไขใช้เป็นน๊อตหัวจมในการขันเเผ่น + ทำที่เก็บ+มีประเเจกหกเหลี่ยม ติดกับตัวเเท่นตัดเหล็กไฟเบอร์



ตรวจเช็คตัวเเท่นตัด ได้ฉากได้ดิ่งกับตัวเเท่น+ใบตัด


ราคาตามในรูป แต่เท่าที่ทราบ สินค้า Maktec มีปรับราคาตอนต้นเดือนนี้นะครับ ดังนั้นราคานี้ไม่ยืนยันครับ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่