เพิ่งอ่านโพสต์จากเพจ “มนุษย์กรุงเทพ”
เป็นบทสัมภาษณ์ของคนหนึ่ง ที่กล่าวโดยสรุป คือ โดนพ่อแม่ทิ้งตั้งแต่เด็ก โตมาโดยยายและน้าเลี้ยงดู มีบางช่วงที่ต้องอยู่สถานสงเคราะห์ จบหางานทำ มีครอบครัวที่มุมานะจงอยู่สบาย น้าจึงติดต่อมาว่า แม่ป่วยให้มาดูแล เลยเป็นความรู้สึก “เฉย” แต่โดนบอกด้วยคำว่า “กตัญญู”
จึงมาคิดในมุมของศาสนา มีคำอธิบายหรือหลักคำสอนอะไรเกี่ยวกับประเด็นนี้บ้าง?
ที่พอนึกออก คือ ขงจื้อ
มีลูกศิษย์ของขงจื้อคนหนึ่งที่ได้รับการยกย่องเป็น 1 ใน 24 ลูกกตัญญูของจีน มีพ่อที่ชอบโมโหทำร้าย จนครั้งหนึ่งทำร้ายจนสลบ แต่เมื่อฟื้นมาก็แกล้งสบายดี ดีดดนตรีให้พ่อฟัง เพื่อไม่ให้พ่อรู้สึกไม่ดี ชาวบ้านรู้ข่าวจึงกล่าวยกย่อง ยกเว้นขงจื้อที่สั่งห้ามเข้าเรือน
พอเวลาผ่านไปคลายโกรธ จึงเรียกพบพร้อมสอนว่า
เมื่อขงจื่อคลายโมโหลง จึงเรียกเจิงเซินมาต่อว่า “เจ็บเล็กน้อยพอทนได้ แต่รุนแรงไปก็หลีกหนีซะ” “ฝืนจะกตัญญูอย่างเดียว ถ้าหากพ่อตีเจ้าจนตายจะว่าอย่างไร?” “พ่อเจ้าฆ่าคนตาย ก็มีค่าเป็นอาชญากร ลูกที่ปล่อยให้พ่อเป็นฆาตกรนี่แหละลูกไร้คุณธรรม ที่เจ้าทำนี่แหละคือต้นตอของความอกตัญญู” ที่จริงในคำสอนของขงจื่อก็มีเน้นย้ำ “ลูกที่ดีต้องไม่ปล่อยให้พ่อแม่ติดกับดักแห่งความเลวร้าย” ไม่ว่าลูกหรือขุนนาง จะยอมศิโรราบต่อพ่อและฮ่องเต้อย่างไร้เงื่อนไขไม่ได้ พ่อแม่ทำผิด ลูกต้องใช้วิธีที่สมควรโน้มน้าวให้พ่อแม่มาสู่หนทางที่ถูกต้อง ขุนนางที่ดีก็ควรปฏิบัติเช่นนี้กับฮ่องเต้เหมือนกัน
แต่ที่ฟังมาในรูปแบบบริบทของสังคมไทย
พ่อแม่มีบุญคุณมหาศาล เพียงให้กำเนิดก็ทดแทนไม่มีวันหมด แต่ประเด็นให้กำเนิดแล้วทอดทิ้ง หรือทำร้ายละ ไม่แน่ใจศาสนาพุทธให้คำอธิบายอย่างไร?
จะบอกว่าต่อให้โดนทำร้ายแค่ไหนก็ต้องทน มันก็ดูจะไม่ใช่แนวทางของพุทธเลย
รวมถึงศาสนาอื่นอีก? คริสต์ ที่บอกทุกการกระทำเกิดจากเจตจำนงค์ของพระเจ้า แล้วที่โดนทำร้าย คือ พระเจ้าบันดาล การขัดขืน คือ ต่อต้านพระเจ้า?
อยากรู้ว่าจริงแล้ว ศาสนาบอกอะไรเกี่ยวกับสถานการณ์นี้
พ่อแม่ทอดทิ้งลูก หรือพ่อแม่ทำร้ายลูก แต่ละศาสนาสอนลูกในเคสเหล่านี้ อย่างไร?
เป็นบทสัมภาษณ์ของคนหนึ่ง ที่กล่าวโดยสรุป คือ โดนพ่อแม่ทิ้งตั้งแต่เด็ก โตมาโดยยายและน้าเลี้ยงดู มีบางช่วงที่ต้องอยู่สถานสงเคราะห์ จบหางานทำ มีครอบครัวที่มุมานะจงอยู่สบาย น้าจึงติดต่อมาว่า แม่ป่วยให้มาดูแล เลยเป็นความรู้สึก “เฉย” แต่โดนบอกด้วยคำว่า “กตัญญู”
จึงมาคิดในมุมของศาสนา มีคำอธิบายหรือหลักคำสอนอะไรเกี่ยวกับประเด็นนี้บ้าง?
ที่พอนึกออก คือ ขงจื้อ
มีลูกศิษย์ของขงจื้อคนหนึ่งที่ได้รับการยกย่องเป็น 1 ใน 24 ลูกกตัญญูของจีน มีพ่อที่ชอบโมโหทำร้าย จนครั้งหนึ่งทำร้ายจนสลบ แต่เมื่อฟื้นมาก็แกล้งสบายดี ดีดดนตรีให้พ่อฟัง เพื่อไม่ให้พ่อรู้สึกไม่ดี ชาวบ้านรู้ข่าวจึงกล่าวยกย่อง ยกเว้นขงจื้อที่สั่งห้ามเข้าเรือน
พอเวลาผ่านไปคลายโกรธ จึงเรียกพบพร้อมสอนว่า
เมื่อขงจื่อคลายโมโหลง จึงเรียกเจิงเซินมาต่อว่า “เจ็บเล็กน้อยพอทนได้ แต่รุนแรงไปก็หลีกหนีซะ” “ฝืนจะกตัญญูอย่างเดียว ถ้าหากพ่อตีเจ้าจนตายจะว่าอย่างไร?” “พ่อเจ้าฆ่าคนตาย ก็มีค่าเป็นอาชญากร ลูกที่ปล่อยให้พ่อเป็นฆาตกรนี่แหละลูกไร้คุณธรรม ที่เจ้าทำนี่แหละคือต้นตอของความอกตัญญู” ที่จริงในคำสอนของขงจื่อก็มีเน้นย้ำ “ลูกที่ดีต้องไม่ปล่อยให้พ่อแม่ติดกับดักแห่งความเลวร้าย” ไม่ว่าลูกหรือขุนนาง จะยอมศิโรราบต่อพ่อและฮ่องเต้อย่างไร้เงื่อนไขไม่ได้ พ่อแม่ทำผิด ลูกต้องใช้วิธีที่สมควรโน้มน้าวให้พ่อแม่มาสู่หนทางที่ถูกต้อง ขุนนางที่ดีก็ควรปฏิบัติเช่นนี้กับฮ่องเต้เหมือนกัน
แต่ที่ฟังมาในรูปแบบบริบทของสังคมไทย
พ่อแม่มีบุญคุณมหาศาล เพียงให้กำเนิดก็ทดแทนไม่มีวันหมด แต่ประเด็นให้กำเนิดแล้วทอดทิ้ง หรือทำร้ายละ ไม่แน่ใจศาสนาพุทธให้คำอธิบายอย่างไร?
จะบอกว่าต่อให้โดนทำร้ายแค่ไหนก็ต้องทน มันก็ดูจะไม่ใช่แนวทางของพุทธเลย
รวมถึงศาสนาอื่นอีก? คริสต์ ที่บอกทุกการกระทำเกิดจากเจตจำนงค์ของพระเจ้า แล้วที่โดนทำร้าย คือ พระเจ้าบันดาล การขัดขืน คือ ต่อต้านพระเจ้า?
อยากรู้ว่าจริงแล้ว ศาสนาบอกอะไรเกี่ยวกับสถานการณ์นี้