สื่อมวลชนญี่ปุ่นได้สอบถามผู้เชี่ยวชาญถึงการช่วยเหลือ13 เยาวชนนักเตะและโค้ชทีมฟุตบอล “หมูป่าอะคาเดมี” ออกจากถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน แต่สภาพพื้นที่ยากลำบากอย่างยิ่ง
สถานีโทรทัศน์ของญี่ปุ่นได้ให้ความสนใจการช่วยเหลือเยาวชนและผู้ฝึกสอน “ทีมหมูป่า” ผู้ดำเนินรายการได้อธิบายสภาพของถ้ำโดยใช้ภาพกราฟฟิกประกอบเพื่อให้เข้าใจง่ายว่า สภาพในถ้ำที่มืดมิดและระยะทางที่ห่างจากปากถ้ำมากถึง 5 กม. ทำให้มี “จุดอันตราย” ที่มีน้ำขังสูง 3 จุดที่เหล่าเยาวชนจะต้องดำน้ำข้ามมา
จุดแรกมีระยะทางราว 400 เมตร แต่เนื่องจากเด็ก ๆ ว่ายน้ำไม่แข็ง จึงอาจต้องใช้นักประดาน้ำ2 คนค่อยๆ ช่วยเหลือนำเด็กว่ายน้ำข้ามาทีละคน
จุดที่สองมีเนินเพื่อหยุดพักได้ แต่เพดานถ้ำต่ำมาก และพื้นขรุขระ ประกอบกับภายในถ้ำมืดมาก จึงลำบากอย่างยิ่ง
จุดที่สาม ถือว่าลำบากที่สุด เพราะถึงแม้มีระยะทางเพียง 15 เมตร แต่พื้นที่ใต้น้ำเป็นร่องลึกลงไปถึง5 เมตรและแคบมาก ทำให้ไม่สามารถใช้นักประดาน้ำช่วยประคองได้ ถ้าจะข้ามผ่านเด็ก ๆ จำเป็นต้องดำน้ำไปทีละคน
ทั้งนี้เมื่อประเมินแล้ว หากจะออกจากถ้ำ ณ เวลานี้ เด็ก ๆ จะต้องว่ายน้ำไม่น้อยกว่า 2.5 กม. ภายใต้สภาพที่มืดมิดและพื้นที่ที่ยากลำบากมาก จึงถือว่ามีความเสี่ยงสูงมาก
สถานีโทรทัศน์ของญี่ปุ่นยังได้สอบถามกับผู้เชี่ยวชาญด้านการสำรวจถ้ำชาวญี่ปุ่น ซึ่งให้ความเห็นว่า การกู้ภัยในถ้ำนั้นมีการใช้แปลสนาม ซึ่งปกติใช้ในพื้นที่ทางบกแต่ก็สามารถดัดแปลงให้ใช้ในน้ำได้ โดยพ่วงถังออกซิเจนไปกับเปล จากนั้นให้ผู้ประสบภัยนอนบนเปลพร้อมใช้สายรัดตัวไว้และสวมหน้ากากออกซิเจน และค่อย ๆ ลำเลียงผู้ประสบภัยออกมา
การใช้เปลลำเลียงนี้ทำให้ผู้ประสบภัยมองไม่เห็นความน่ากลัวของสภาพพื้นที่ จึงลดความตื่นตระหนกได้
แต่ผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่นชี้ว่า ความยากลำบากของวิธีนี้คือเปลสนามพ่วงด้วยถังออกซิเจนมีขนาดพอสมควร และไม่สามารถพลิกขยับได้ เมื่อเผชิญกับสภาพถ้ำที่คับแคบมากก็อาจทำให้ติดขัด จนไม่สามารถใช้งานจริงได้
ผู้เชี่ยวชาญอีกท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นนักจิตวิทยาเด็ก ให้ความเห็นว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดในตอนนี้ นอกจากสภาพร่างกายของเด็ก ๆ แล้ว ก็คือ สภาพจิตใจ เพราะการอยู่ในพื้นที่ลำบากที่ไม่เห็นเดือนเห็นตะวัน ขาดอาหาร และต้องเฝ้ารอการช่วยเหลือนั้น จะทำให้สภาพจิตใจของเด็ก ๆ ย่ำแย่ลง นักจิตวิทยาแนะนำว่าวิธีที่ดีที่สุดในการช่วยให้จิตใจของเด็ก ๆ เข้มแข็งคือรักษาการติดต่อกับครอบครัว เมื่อได้สื่อสารกับพ่อแม่พี่น้องก็จะทำให้เด็ก ๆ มีกำลังใจเข้มแข็งขึ้น.
เครดิตคลิปจาก ANNnewsCH
ข่าวจาก : MGR Online
https://mgronline.com/japan/detail/9610000066681
ผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นวิเคราะห์ทางช่วยเหลือ “ทีมหมูป่า”
สื่อมวลชนญี่ปุ่นได้สอบถามผู้เชี่ยวชาญถึงการช่วยเหลือ13 เยาวชนนักเตะและโค้ชทีมฟุตบอล “หมูป่าอะคาเดมี” ออกจากถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน แต่สภาพพื้นที่ยากลำบากอย่างยิ่ง
สถานีโทรทัศน์ของญี่ปุ่นได้ให้ความสนใจการช่วยเหลือเยาวชนและผู้ฝึกสอน “ทีมหมูป่า” ผู้ดำเนินรายการได้อธิบายสภาพของถ้ำโดยใช้ภาพกราฟฟิกประกอบเพื่อให้เข้าใจง่ายว่า สภาพในถ้ำที่มืดมิดและระยะทางที่ห่างจากปากถ้ำมากถึง 5 กม. ทำให้มี “จุดอันตราย” ที่มีน้ำขังสูง 3 จุดที่เหล่าเยาวชนจะต้องดำน้ำข้ามมา
จุดแรกมีระยะทางราว 400 เมตร แต่เนื่องจากเด็ก ๆ ว่ายน้ำไม่แข็ง จึงอาจต้องใช้นักประดาน้ำ2 คนค่อยๆ ช่วยเหลือนำเด็กว่ายน้ำข้ามาทีละคน
จุดที่สองมีเนินเพื่อหยุดพักได้ แต่เพดานถ้ำต่ำมาก และพื้นขรุขระ ประกอบกับภายในถ้ำมืดมาก จึงลำบากอย่างยิ่ง
จุดที่สาม ถือว่าลำบากที่สุด เพราะถึงแม้มีระยะทางเพียง 15 เมตร แต่พื้นที่ใต้น้ำเป็นร่องลึกลงไปถึง5 เมตรและแคบมาก ทำให้ไม่สามารถใช้นักประดาน้ำช่วยประคองได้ ถ้าจะข้ามผ่านเด็ก ๆ จำเป็นต้องดำน้ำไปทีละคน
ทั้งนี้เมื่อประเมินแล้ว หากจะออกจากถ้ำ ณ เวลานี้ เด็ก ๆ จะต้องว่ายน้ำไม่น้อยกว่า 2.5 กม. ภายใต้สภาพที่มืดมิดและพื้นที่ที่ยากลำบากมาก จึงถือว่ามีความเสี่ยงสูงมาก
สถานีโทรทัศน์ของญี่ปุ่นยังได้สอบถามกับผู้เชี่ยวชาญด้านการสำรวจถ้ำชาวญี่ปุ่น ซึ่งให้ความเห็นว่า การกู้ภัยในถ้ำนั้นมีการใช้แปลสนาม ซึ่งปกติใช้ในพื้นที่ทางบกแต่ก็สามารถดัดแปลงให้ใช้ในน้ำได้ โดยพ่วงถังออกซิเจนไปกับเปล จากนั้นให้ผู้ประสบภัยนอนบนเปลพร้อมใช้สายรัดตัวไว้และสวมหน้ากากออกซิเจน และค่อย ๆ ลำเลียงผู้ประสบภัยออกมา
การใช้เปลลำเลียงนี้ทำให้ผู้ประสบภัยมองไม่เห็นความน่ากลัวของสภาพพื้นที่ จึงลดความตื่นตระหนกได้
แต่ผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่นชี้ว่า ความยากลำบากของวิธีนี้คือเปลสนามพ่วงด้วยถังออกซิเจนมีขนาดพอสมควร และไม่สามารถพลิกขยับได้ เมื่อเผชิญกับสภาพถ้ำที่คับแคบมากก็อาจทำให้ติดขัด จนไม่สามารถใช้งานจริงได้
ผู้เชี่ยวชาญอีกท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นนักจิตวิทยาเด็ก ให้ความเห็นว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดในตอนนี้ นอกจากสภาพร่างกายของเด็ก ๆ แล้ว ก็คือ สภาพจิตใจ เพราะการอยู่ในพื้นที่ลำบากที่ไม่เห็นเดือนเห็นตะวัน ขาดอาหาร และต้องเฝ้ารอการช่วยเหลือนั้น จะทำให้สภาพจิตใจของเด็ก ๆ ย่ำแย่ลง นักจิตวิทยาแนะนำว่าวิธีที่ดีที่สุดในการช่วยให้จิตใจของเด็ก ๆ เข้มแข็งคือรักษาการติดต่อกับครอบครัว เมื่อได้สื่อสารกับพ่อแม่พี่น้องก็จะทำให้เด็ก ๆ มีกำลังใจเข้มแข็งขึ้น.
เครดิตคลิปจาก ANNnewsCH
ข่าวจาก : MGR Online
https://mgronline.com/japan/detail/9610000066681