สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า เราจักบัญญัติปฏิปทาของมุนีที่บุคคล ทำได้ยาก ให้เกิดความยินดีได้ยาก แต่ท่าน เอาเถิดเราจักบอกปฏิปทาของมุนีนั้นแก่ท่าน. ท่านจงอุปถัมภ์ตน จงเป็นผู้มั่นคงเถิด พึงกระทำการด่า และการไหว้ในบ้านให้เสมอกัน พึงรักษาความประทุษร้ายแห่งใจ พึงเป็นผู้สงบ ไม่มีความเย่อหยิ่งเป็นอารมณ์. อารมณ์ที่สูงต่ำ มีอุปมาด้วยเปลวไฟในป่า ย่อมมาสู่คลองจักษุเป็นต้น เหล่านารีย่อมประเล้าประโลมมุนี นารีเหล่านั้น อย่าพึงประเล้าประโลมท่าน. มุนีละกามทั้งหลายทั้งที่ดีแล้วงดเว้นจากเมถุนธรรม ไม่ยินดียินร้ายในสัตว์ ทั้งหลายผู้สะดุ้งและมั่นคง. พึงกระทำตนให้เป็นอุปมาว่า เราฉันใด สัตว์เหล่านี้ก็ฉันนั้น สัตว์เหล่านี้ ฉันใด เราก็ฉันนั้น ดังนี้แล้ว ไม่พึงฆ่าเอง ไม่พึงใช้ผู้อื่นให้ฆ่า. มุนีละความปรารถนา และความโลภในปัจจัยที่ปุถุชนข้องอยู่แล้ว เป็นผู้มีจักษุ พึงปฏิบัติปฏิปทาของมุนีนี้ พึงข้ามความทะเยอทะยานในปัจจัย ซึ่งเป็นเหตุแห่งมิจฉาชีพที่หมายรู้กันว่านรกนี้เสีย. พึงเป็นผู้มีท้องพร่อง (ไม่เห็นแก่ท้อง) มีอาหารพอประมาณ มีความปรารถนาน้อย ไม่มีความโลภ เป็นผู้หายหิว ไม่มีความปรารถนาด้วยความอยาก ดับความเร่าร้อนได้แล้วทุกเมื่อ. มุนีนั้นเที่ยวไปรับบิณฑบาตแล้ว พึงไปยังชายป่า เข้าไปนั่งอยู่ที่โคนต้นไม้. พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน เป็นนักปราชญ์ ยินดีแล้วในป่า พึงทำจิตให้ยินดียิ่ง เพ่งฌานอยู่ที่โคนต้นไม้. ครั้นเมื่อล่วงราตรีไปแล้ว พึงเข้าไปสู่บ้าน ไม่ยินดีโภชนะที่ยังไม่ได้ และโภชนะที่เขานำไปแต่บ้าน. ไปสู่บ้านแล้ว ไม่พึงเที่ยวไปในสกุล โดยรีบร้อน ตัดถ้อยคำเสียแล้ว ไม่พึงกล่าววาจาเกี่ยวด้วยการแสวงหาของกิน. มุนีนั้นคิดว่า เราได้สิ่งใด สิ่งนี้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ เราไม่ได้ก็เป็นความดี ดังนี้แล้ว เป็นผู้คงที่ เพราะการได้และไม่ได้ ทั้งสองอย่างนั้นแล ย่อมก้าวล่วงทุกข์เสียได้. เปรียบเหมือนบุรุษ แสวงหาผลไม้ เข้าไปยังต้นไม้แล้ว แม้จะได้ แม้จะไม่ได้ ก็ไม่ยินดี ไม่เสียใจ วางจิตเป็นกลางหลับไป ฉะนั้น. มุนีมีบาตรในมือเที่ยวไปอยู่ ไม่เป็นใบ้ ก็สมมุติว่าเป็นใบ้ ไม่พึงหมิ่นทานว่าน้อย ไม่พึงดูแคลนบุคคลผู้ให้. ก็ปฏิปทาสูงต่ำ พระพุทธสมณะประกาศแล้ว มุนีทั้งหลายย่อมไม่ไปสู่นิพพานถึงสองครั้ง นิพพานนี้ควรถูกต้องครั้งเดียวเท่านั้น หามิได้. ก็ภิกษุผู้ไม่มีตัณหา ตัดกระแสกิเลสได้แล้ว ละกิจน้อยใหญ่ได้เด็ดขาด แล้ว ย่อมไม่มีความเร่าร้อน....
ถ้าเรารู้จักทางสายกลาง จะอ่านข้อความนี้เข้าใจ
ไม่ใช่ปฏิบัติแบบยึดมั่นถือมั่น
แต่ปฏิบัติให้ดีที่สุด
ถ้าเรารู้จักทางสายกลาง จะอ่านข้อความนี้เข้าใจ
ไม่ใช่ปฏิบัติแบบยึดมั่นถือมั่น
แต่ปฏิบัติให้ดีที่สุด
ความคิดเห็นที่ 5
...ข้อปฏิบัติรายละเอียด ต้องไปหาอ่านจากคัมภีร์ชั้นรองลงไปเช่นจากอรรถกถา , ฏีกา ...
หลักการฝึกปฎิบัติ โมเนยยปฏิปทา คือ "ครั้งเดียว" ...
เช่น ...พบพระพุทธเจ้าครั้งเดียวแล้วจะไม่มาพบอีกเลย.., ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าครั้งเดียวแล้วจะไม่มาฟังอีกเเลย , เจอใครครั้งเดียวแล้วจะไม่เจอซ้ำอีกเลย , เทศนาให้ใครฟัง ก็แค่ครั้งเดียว จะไม่เทศนาให้ฟังอีกเลย , รับอาหารจากใครครั้งเดียว แล้วจะไม่รับซ้ำอีกเลย , นอนที่ไหนก็แค่ครั้งเดียว จะไม่มานอนซ้ำอีกเลย , อยู่กุฏิไหน ก็อยู่แค่วันเดียวแล้วจะไม่อยู่ซ้ำอีกในวันต่อไป ...ฯลฯ เป็นต้น..
หลักการฝึกปฎิบัติ โมเนยยปฏิปทา คือ "ครั้งเดียว" ...
เช่น ...พบพระพุทธเจ้าครั้งเดียวแล้วจะไม่มาพบอีกเลย.., ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าครั้งเดียวแล้วจะไม่มาฟังอีกเเลย , เจอใครครั้งเดียวแล้วจะไม่เจอซ้ำอีกเลย , เทศนาให้ใครฟัง ก็แค่ครั้งเดียว จะไม่เทศนาให้ฟังอีกเลย , รับอาหารจากใครครั้งเดียว แล้วจะไม่รับซ้ำอีกเลย , นอนที่ไหนก็แค่ครั้งเดียว จะไม่มานอนซ้ำอีกเลย , อยู่กุฏิไหน ก็อยู่แค่วันเดียวแล้วจะไม่อยู่ซ้ำอีกในวันต่อไป ...ฯลฯ เป็นต้น..
ความคิดเห็นที่ 1
๑. http://www.dhammahome.com/webboard/topic/16520
๒. https://th.wikipedia.org/wiki/พระนาลกะ
ช้อสังเกตุ .. ถ้าอ่านดูให้ดี ๆ โมเนยยะปฏิปทา สองชุดนี้ ไม่เหมือนกัน คือ เป็นธรรมะคนละชุดกัน แสดงไว้กับคนละคนหรือคนละหมู่กัน ลองศึกษาดูนะ ครับ
๒. https://th.wikipedia.org/wiki/พระนาลกะ
ช้อสังเกตุ .. ถ้าอ่านดูให้ดี ๆ โมเนยยะปฏิปทา สองชุดนี้ ไม่เหมือนกัน คือ เป็นธรรมะคนละชุดกัน แสดงไว้กับคนละคนหรือคนละหมู่กัน ลองศึกษาดูนะ ครับ
แสดงความคิดเห็น
โมเนยยะปฏิปทา คืออะไร