"ขอขอบคุณเพจ Military tactical weapons(อาวุธยุทธวิธีทางทหาร) อย่างสูงครับ
https://www.facebook.com/militarytacticalweapons/?hc_ref=ARRqCnGw1ZsjIEmIjK6c6WuRLeWkCizRra03Gzmg_JKP9xYX19Ya2p_D00ZoSsQ4NXU
ปืนกระเป๋า 6.35 มม.(รุ่นคุณทวด)
ปืนเล็กจิ๋วขนาดสองกระบอกเรียงกันฝ่ามือยังปิดมิดในช่วงต้นศตวรรษที่ยี่สิบ (ค.ศ. 1900) เป็นที่นิยมกันมากในกลุ่มเศรษฐีผู้มี อันจะกินสมัยนั้นปืนเป็นของหายากราคาแพงเมื่อคนส่วนใหญ่ไม่มีปืน คนที่พกปืนเพียงกระบอกเล็ก ๆ ก็สามารถแสดงอำนาจเหนือคนไม่มีปืนได้ นอกจากนี้ ปืนเล็กมากสามารถพกซ่อนได้มิดชิดเป็นเขี้ยวเล็บชิ้นสุดท้ายสำหรับใช้ในระยะเผาขนเมื่อฝ่ายตรงข้ามไม่ทันระวังตัว
เมื่อต้องการให้ตัวปืนเล็กกระสุนที่ใช้ก็ต้องออกแบบให้เล็กลงมาด้วยซึ่งในแง่ของ การออกแบบทั้งปืนทั้งกระสุน ไม่มีใครเกินหน้า จอห์น เบรานิงก์ ไปได้กระสุนที่เบรานิงก์ออกแบบไว้เป็นชุด ไล่จากเล็กไปหาใหญ่คือ .25, .32, .380, .38และ .45 โดยในสหรัฐ ต่อท้ายขนาดกระสุนด้วย ACP คือ Automatic Colt Pistol เนื่องจากบริษัทโคลท์ เป็นขาใหญ่ทำตลาดในภูมิภาคนั้นส่วนทางยุโรปที่ใช้ระบบเมตริก เรียกชื่อกระสุนด้วยขนาดหน้าตัดเป็น มิลลิเมตร (มม.) คือ 6.35, 7.65, 9 และ 11 มม. และจะต่อท้ายด้วยชื่อ เบรานิงก์ คนออกแบบ เช่น 9 mm. Browning Short ที่บ้านเราเรียกว่า “ลูกเก้าสั้น” เป็นขนาดเดียวกับที่ทางสหรัฐ เรียก .380 ACP เป็นต้น
กระสุนตัวเล็กสุดของชุดนี้ คือ .25 ACP หรือ 6.35 มม. ออกแบบสำหรับปืนกึ่งอัตโนมัติตัวเล็กจิ๋วโดยเฉพาะปลอกตรง มีจานท้ายใหญ่กว่าตัวปลอกเล็กน้อย ใช้เป็นจุดกำหนดตำแหน่งเมื่อกระสุนเข้ารังเพลิงหน้าจานท้ายมีร่องสำหรับขอรั้งปลอกจับ ใช้หัวกระสุนหัวแข็งหนัก 50 เกรน ทำความเร็วได้ 760 ฟุต/วินาที เมื่อยิงจากลำกล้องสองนิ้วคำนวณพลังงานได้ 65 ฟุต-ปอนด์อยู่ในระดับเดียวกับลูกกรดมาตรฐาน แต่ .25 เป็นกระสุนชนวนกลาง อายุการเก็บยาวกว่า คือโอกาสกระสุนด้านน้อยกว่าลูกกรดที่เก่าเท่า ๆ กัน และผนังปลอกหนากว่ากับหัวกระสุนเคลือบแข็ง ช่วยให้การทำงานของปืนไว้ใจได้มากกว่า ในกลุ่มผู้ใช้ปืนเล็กจิ๋ว จึงยังนิยม .25 แม้ว่าจะมีขนาดลูกกรด .22 ให้เลือกได้
เบรานิงก์ ออกแบบปืนเล็กจิ๋วให้โรงงาน FN (Fabrique Nationale) ของเบลเยียม เป็นผู้ผลิตในปี ค.ศ. 1905 เริ่มออกขายปีถัดมาโรงงานเรียกชื่อรุ่นว่า M1906 Vest Pocket คือเป็นปืนที่พกได้ในกระเป๋าเสื้อกั๊ก ที่ปกติจะใส่นาฬิกาพก การทำงานของปืนใช้ระบบลำเลื่อนอัดสปริงไม่ขัดกลอน จุดชนวนด้วยเข็มพุ่งกระแทก ไกเป็นแบบซิงเกิลคือเข็มต้องง้างสุดจึงจะเหนี่ยวยิงได้ ปืน Vest Pocket ใช้หลังอ่อนเป็นคันนิรภัยทำให้ยิงค่อนข้างยากปืนรุ่นนี้ขายในยุโรปติดยี่ห้อ FN เป็นโลโก้ที่ด้าม ส่วนที่ขายในสหรัฐ ติดยี่ห้อ Browning ต่อมาในปี ค.ศ. 1916 โคลท์ปรับแบบเพิ่มระบบนิรภัย ติดยี่ห้อของตนเองเรียกว่า Colt Junior
สำหรับปืนนายแบบของสัปดาห์นี้ ติดด้าม FN ใส่ชื่อรุ่น Baby เป็นการพัฒนาจาก M1906 โดย ดิวดอนเน เซอิฟ (Dieudonne Saive) วิศวกรของ FN ที่ทำงานร่วมกับเบรานิงก์ มาแต่เดิม เริ่มปรับแบบในปี ค.ศ. 1927 หลังเบรานิงก์ถึงแก่กรรมสิ่งที่เปลี่ยนไปคือ เลิกใช้หลังอ่อนเพิ่มระบบนิรภัย ตัดการทำงานของไกเมื่อไม่ใส่ซองกระสุน ทำคันห้ามไกยาวพ้นขอบหน้าด้ามให้ดันขึ้นลงง่ายต่อรางปืนด้านหน้าไปเสมอปลายลำเลื่อน ปาดเนื้อโลหะหน้าด้ามหลังโกร่งไกให้จับได้สูงขึ้น เหนี่ยวไกถนัดดีกว่าเดิม
โดยรวม FN Baby Browning กระบอกนี้ ในแง่คุณค่าสะสมเข้าข่ายปืนหายาก ฝีมือผลิตประณีตตามมาตรฐานยุโรปดั้งเดิมและในแง่ใช้งาน ยังเป็นปืนพกซ่อนชั้นดียิง
ในระยะประชิดระยะหวังผลไม่เกิน 3-5 เมตร ถ้าแสงดีมองเห็นศูนย์เล็ก ๆ ได้แต่ปกติมักใช้จ่อยิงแบบไม่ต้องมองศูนย์ กระสุน .25 ยังหาได้ในตลาดปืนบ้านเรา ไม่มีขายในสนามซ้อมเป็นอาวุธที่จะชักออกใช้เมื่อจำเป็นจริง ๆ เท่านั้น.
ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช
.....................................................
ข้อมูลสรุป FN – Baby Browning
ขนาดกระสุน : 6.35 mm. Browning (.25 ACP) ความจุ 6+1 นัด
มิติ ยาวxสูงxหนา : 104x72x22 มิลลิเมตร
ลำกล้องยาว : 53 มม.
น้ำหนัก 275 กรัม
แรงเหนี่ยวไก : 3200 กรัม (7 ปอนด์)
วัสดุ เหล็กรมดำ (มีรุ่นชุบนิเกิล)
ลักษณะใช้งาน : พกซ่อน, ป้องกันตัวระยะประชิด
ตัวเลือกอื่น : Beretta 21, Colt Junior, Astra Cub.
Credit:
ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช
http://www.dailynews.co.th/…/%E0%B8%9B%E0%B8%B7%E0%B8%99%E0…
สวัสดีครับ
สารานุกรมปืนตอนที่ 186 FN Baby Browning
https://www.facebook.com/militarytacticalweapons/?hc_ref=ARRqCnGw1ZsjIEmIjK6c6WuRLeWkCizRra03Gzmg_JKP9xYX19Ya2p_D00ZoSsQ4NXU
ปืนกระเป๋า 6.35 มม.(รุ่นคุณทวด)
ปืนเล็กจิ๋วขนาดสองกระบอกเรียงกันฝ่ามือยังปิดมิดในช่วงต้นศตวรรษที่ยี่สิบ (ค.ศ. 1900) เป็นที่นิยมกันมากในกลุ่มเศรษฐีผู้มี อันจะกินสมัยนั้นปืนเป็นของหายากราคาแพงเมื่อคนส่วนใหญ่ไม่มีปืน คนที่พกปืนเพียงกระบอกเล็ก ๆ ก็สามารถแสดงอำนาจเหนือคนไม่มีปืนได้ นอกจากนี้ ปืนเล็กมากสามารถพกซ่อนได้มิดชิดเป็นเขี้ยวเล็บชิ้นสุดท้ายสำหรับใช้ในระยะเผาขนเมื่อฝ่ายตรงข้ามไม่ทันระวังตัว
เมื่อต้องการให้ตัวปืนเล็กกระสุนที่ใช้ก็ต้องออกแบบให้เล็กลงมาด้วยซึ่งในแง่ของ การออกแบบทั้งปืนทั้งกระสุน ไม่มีใครเกินหน้า จอห์น เบรานิงก์ ไปได้กระสุนที่เบรานิงก์ออกแบบไว้เป็นชุด ไล่จากเล็กไปหาใหญ่คือ .25, .32, .380, .38และ .45 โดยในสหรัฐ ต่อท้ายขนาดกระสุนด้วย ACP คือ Automatic Colt Pistol เนื่องจากบริษัทโคลท์ เป็นขาใหญ่ทำตลาดในภูมิภาคนั้นส่วนทางยุโรปที่ใช้ระบบเมตริก เรียกชื่อกระสุนด้วยขนาดหน้าตัดเป็น มิลลิเมตร (มม.) คือ 6.35, 7.65, 9 และ 11 มม. และจะต่อท้ายด้วยชื่อ เบรานิงก์ คนออกแบบ เช่น 9 mm. Browning Short ที่บ้านเราเรียกว่า “ลูกเก้าสั้น” เป็นขนาดเดียวกับที่ทางสหรัฐ เรียก .380 ACP เป็นต้น
กระสุนตัวเล็กสุดของชุดนี้ คือ .25 ACP หรือ 6.35 มม. ออกแบบสำหรับปืนกึ่งอัตโนมัติตัวเล็กจิ๋วโดยเฉพาะปลอกตรง มีจานท้ายใหญ่กว่าตัวปลอกเล็กน้อย ใช้เป็นจุดกำหนดตำแหน่งเมื่อกระสุนเข้ารังเพลิงหน้าจานท้ายมีร่องสำหรับขอรั้งปลอกจับ ใช้หัวกระสุนหัวแข็งหนัก 50 เกรน ทำความเร็วได้ 760 ฟุต/วินาที เมื่อยิงจากลำกล้องสองนิ้วคำนวณพลังงานได้ 65 ฟุต-ปอนด์อยู่ในระดับเดียวกับลูกกรดมาตรฐาน แต่ .25 เป็นกระสุนชนวนกลาง อายุการเก็บยาวกว่า คือโอกาสกระสุนด้านน้อยกว่าลูกกรดที่เก่าเท่า ๆ กัน และผนังปลอกหนากว่ากับหัวกระสุนเคลือบแข็ง ช่วยให้การทำงานของปืนไว้ใจได้มากกว่า ในกลุ่มผู้ใช้ปืนเล็กจิ๋ว จึงยังนิยม .25 แม้ว่าจะมีขนาดลูกกรด .22 ให้เลือกได้
เบรานิงก์ ออกแบบปืนเล็กจิ๋วให้โรงงาน FN (Fabrique Nationale) ของเบลเยียม เป็นผู้ผลิตในปี ค.ศ. 1905 เริ่มออกขายปีถัดมาโรงงานเรียกชื่อรุ่นว่า M1906 Vest Pocket คือเป็นปืนที่พกได้ในกระเป๋าเสื้อกั๊ก ที่ปกติจะใส่นาฬิกาพก การทำงานของปืนใช้ระบบลำเลื่อนอัดสปริงไม่ขัดกลอน จุดชนวนด้วยเข็มพุ่งกระแทก ไกเป็นแบบซิงเกิลคือเข็มต้องง้างสุดจึงจะเหนี่ยวยิงได้ ปืน Vest Pocket ใช้หลังอ่อนเป็นคันนิรภัยทำให้ยิงค่อนข้างยากปืนรุ่นนี้ขายในยุโรปติดยี่ห้อ FN เป็นโลโก้ที่ด้าม ส่วนที่ขายในสหรัฐ ติดยี่ห้อ Browning ต่อมาในปี ค.ศ. 1916 โคลท์ปรับแบบเพิ่มระบบนิรภัย ติดยี่ห้อของตนเองเรียกว่า Colt Junior
สำหรับปืนนายแบบของสัปดาห์นี้ ติดด้าม FN ใส่ชื่อรุ่น Baby เป็นการพัฒนาจาก M1906 โดย ดิวดอนเน เซอิฟ (Dieudonne Saive) วิศวกรของ FN ที่ทำงานร่วมกับเบรานิงก์ มาแต่เดิม เริ่มปรับแบบในปี ค.ศ. 1927 หลังเบรานิงก์ถึงแก่กรรมสิ่งที่เปลี่ยนไปคือ เลิกใช้หลังอ่อนเพิ่มระบบนิรภัย ตัดการทำงานของไกเมื่อไม่ใส่ซองกระสุน ทำคันห้ามไกยาวพ้นขอบหน้าด้ามให้ดันขึ้นลงง่ายต่อรางปืนด้านหน้าไปเสมอปลายลำเลื่อน ปาดเนื้อโลหะหน้าด้ามหลังโกร่งไกให้จับได้สูงขึ้น เหนี่ยวไกถนัดดีกว่าเดิม
โดยรวม FN Baby Browning กระบอกนี้ ในแง่คุณค่าสะสมเข้าข่ายปืนหายาก ฝีมือผลิตประณีตตามมาตรฐานยุโรปดั้งเดิมและในแง่ใช้งาน ยังเป็นปืนพกซ่อนชั้นดียิง
ในระยะประชิดระยะหวังผลไม่เกิน 3-5 เมตร ถ้าแสงดีมองเห็นศูนย์เล็ก ๆ ได้แต่ปกติมักใช้จ่อยิงแบบไม่ต้องมองศูนย์ กระสุน .25 ยังหาได้ในตลาดปืนบ้านเรา ไม่มีขายในสนามซ้อมเป็นอาวุธที่จะชักออกใช้เมื่อจำเป็นจริง ๆ เท่านั้น.
ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช
.....................................................
ข้อมูลสรุป FN – Baby Browning
ขนาดกระสุน : 6.35 mm. Browning (.25 ACP) ความจุ 6+1 นัด
มิติ ยาวxสูงxหนา : 104x72x22 มิลลิเมตร
ลำกล้องยาว : 53 มม.
น้ำหนัก 275 กรัม
แรงเหนี่ยวไก : 3200 กรัม (7 ปอนด์)
วัสดุ เหล็กรมดำ (มีรุ่นชุบนิเกิล)
ลักษณะใช้งาน : พกซ่อน, ป้องกันตัวระยะประชิด
ตัวเลือกอื่น : Beretta 21, Colt Junior, Astra Cub.
Credit:
ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช
http://www.dailynews.co.th/…/%E0%B8%9B%E0%B8%B7%E0%B8%99%E0…