https://www.bbc.com/thai/thailand-44494889
"ฮิญาบ (ผ้าคลุมผม) คือมงกุฎ เอาตามตรงคือละเมิดสิทธิของเด็ก ทำไมต้องออก (ระเบียบ) แบบนั้นด้วย" ชายมุสลิมวัย 30 ปีกล่าวกับบีบีซีไทยที่ จ. ยะลา หลังทราบระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 ที่ถูกเผยแพร่ลงราชกิจจานุเบกษา วานนี้ (14 มิ.ย.)
โดยเชื่อกันว่าเป็นการสร้าง "กติกาใหม่" เพื่อแก้ไขปัญหาคาราคาซังข้ามเดือนจากปม "ฮิญาบโรงเรียนอนุบาลปัตตานี" หลังผู้ปกครองนักเรียนมุสลิมกลุ่มหนึ่งออกมาเรียกร้องให้บุตรหลานสวมเครื่องแต่งกายตามหลักศาสนาอิสลาม โดยนักเรียนหญิงให้สวมฮิญาบ ส่วนนักเรียนชายให้สวมกางเกงขายาว ท่ามกลางเสียงคัดค้านอย่างหนักจากชาวพุทธในพื้นที่
เนื้อหาในระเบียบ ศธ. ระบุตอนหนึ่งว่า
"สถานศึกษาที่ขอใช้พื้นที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์เป็นที่ตั้งของสถานศึกษา การแต่งเครื่องแบบนักเรียนให้เป็นไปตามสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างวัดกับสถานศึกษา"
ถือเป็นการ "ฉีกข้อตกลงเดิม" ที่อนุญาตให้นักเรียนโรงเรียนอนุบาลปัตตานี ซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินของวัดนพวงศาราม แต่งกายตามหลักศาสนา ซึ่งเป็นผลจากการหารือระหว่างเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กับผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1 เมื่อ 20 พ.ค.
เครือข่ายชาวพุทธฯ เผยปมต้านฮิญาบ กลัว "ได้คืบเอาศอก"
แม้ไม่อาจเรียกว่านี่คือ "ชัยชนะของชาวพุทธ" แต่นายรักชาติ สุวรรณ เครือข่ายชาวพุทธเพื่อสันติภาพ กล่าวกับบีบีซีไทยว่า เท่าที่คุยกับชาวพุทธในพื้นที่ก็
อยากให้บรรยากาศในโรงเรียนเป็นแบบเดิม ไม่มีการสวมฮิญาบ เพื่อให้อยู่บนพื้นฐานเดียวกันเหมือนคนปกติ ไม่มีการแบ่งแยก และในอดีตก็เป็นมาอย่างนี้
"พอมีการคลุมฮิญาบ มีการร้องขอ คนพุทธก็กังวลว่า 'ได้คืบจะเอาศอก' หรือไม่ เริ่มต้นจากการคลุมฮิญาบได้ ต่อไปอาจขอมีครัวฮาลาล ไม่มีครัวสากล ต่อไปอาจขอให้ยกพระพุทธรูปออกจากโรงเรียน หรือยกเลิกพิธีกรรมทางพุทธศาสนาในโรงเรียน เช่น การไหว้ครู ก็เป็นการป้องกันวิถีเก่า ๆ ดั้งเดิมเพราะกลัวจะสูญหายไป" นายรักชาติกล่าว
ปรากฏการณ์ต่อต้านการสวมฮิญาบในโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ธรณีสงฆ์ ถูกนายรักชาติอธิบายว่าเป็นไปเพื่อ "รักษาพื้นที่เล็ก ๆ" ของชาวพุทธให้คงอยู่ เพราะปัจจุบันส่วนราชการเกือบทั้งหมดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ล้วนเต็มไปด้วยอัตลักษณ์ของชาวมุสลิม พื้นที่โรงเรียนวัดจึงเป็นสิ่งที่พวกเขาหวงแหน
ส่วนระเบียบ ศธ. ที่มีผลบังคับใช้ครอบคลุมทั้งประเทศ ไม่เฉพาะ จ.ปัตตานี-พื้นที่เกิดเหตุ จะนำไปสู่การทำ "สัญญาหรือข้อตกลงระหว่างวัดกับสถานศึกษา"ใหม่ในพื้นที่อื่น ๆ หรือไม่ นายรักชาติยอมรับว่า "เป็นไปได้" อย่างไรก็ตามเท่าที่พูดคุยกับผู้ใหญ่ ระเบียบนี้ไม่ได้มุ่งหวังให้โรงเรียนอื่นต้องมาทบทวนแนวทางการปฏิบัติ หากโรงเรียนเคยให้นักเรียนสวมฮิญาบไปเรียน ก็ทำแบบเดิมได้ ขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ผู้บริหารสถาบันการศึกษานั้น ๆ
เป็นที่ทราบกันดีในพื้นที่ว่าโรงเรียนอนุบาลปัตตานี ถือเป็นโรงเรียนอันดับต้น ๆ ที่ผู้ปกครองจะส่งบุตรหลายเข้าเรียน ซึ่งนายรักชาติชี้ว่า แต่ละปีมีสถิตินักเรียนชั้นประถม 6 ของโรงเรียนอนุบาลปัตตานี สอบเข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) ได้ค่อนข้างมาก
จึงน่าคิดว่าระเบียบของ ศธ. ที่ออกมาไปปิดกั้นโอกาสทางการศึกษาที่ดีของนักเรียนมุสลิมหรือไม่ ?
"ในเมื่อเราอยากให้ลูกเรียนในโรงเรียนมีคุณภาพ บางครั้งเราก็ต้องยอมทำตามกฎของโรงเรียนเขา" นายรักชาติกล่างอ้างคำพูดของเพื่อนชาวมุสลิมหลายคน
แต่เหตุที่เกิดขึ้นที่โรงเรียนอนุบาลปัตตานี ทำให้เขามองว่าถึงเวลาแล้วที่คนในพื้นที่ต้องมานั่งคุยกันว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะส่งลูกเรียน ป. 1-4 โดยไม่ต้องสวมฮิญาบ แต่พอเด็กหญิงมีประจำเดือน เข้าสู่วัยเจริญพันธ์ ต้องปกปิดร่างกายให้เรียบร้อย จึงอนุญาตให้สวมฮิญาบตามหลักศาสนา หรือนักเรียน ป. 1-4 ไม่ต้องสวมฮิญาบ ยกเว้นช่วงรอมฎอน ที่ผ่านมาสิ่งเหล่านี้ไม่มีใครมานั่งพูดคุยกัน ถึงเวลาผู้ใหญ่ก็ฟันธงลงมา
สังคมไทยขาดทักษะในการอยู่แบบสังคมพหุวัฒนธรรม
แต่ในมุมมองของชาวพุทธอย่าง น.ส.รุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช นักวิชาการอิสระด้านการจัดการความขัดแย้ง เห็นว่าธรรมเนียมปฏิบัติอันดีงามของชาวพุทธน่าจะเป็นการเคารพในความแตกต่างหลากหลายและการปฏิบัติของชนต่างศาสนิก
"ดิฉันยังไม่เข้าใจว่าทำไมชาวพุทธบางส่วนจึงมองว่าการปฏิบัติตามหลักศาสนาของมุสลิมจะเป็นการลิดรอนสิทธิของตน ศาสนาพุทธที่เราเข้าใจซึ่งสอนถึงความเมตตากรุณาต่อผู้อื่นไม่พึงเป็นเช่นนี้ ปรากฏการณ์นี้อาจแสดงให้เห็นว่าสังคมไทยไม่มีทักษะที่ดีพอในการอยู่ร่วมกันแบบสังคมพหุวัฒนธรรม การแก้ไขระเบียบในครั้งนี้อาจถูกมองว่าเป็นการประกาศความเป็นใหญ่ของชาวพุทธซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ และคนส่วนน้อยก็จำต้องยอมรับคำสั่งนั้น"
นักวิชาการอิสระด้านการจัดการความขัดแย้ง กล่าวด้วยว่า เรื่องราวที่ดูเหมือนเล็กน้อยในโรงเรียนเล็ก ๆ แห่งนี้เกิดขึ้นที่จังหวัดปัตตานี สมรภูมิที่มีความขัดแย้งด้วยอาวุธมาอย่างต่อเนื่องนานกว่า 15 ปี แน่นอนว่าในมุมของคนมุสลิม พวกเขาต้องการเห็นสิทธิในการปฏิบัติตนตามหลักศาสนาได้รับการปกป้องซึ่งสิทธินี้ก็ได้ถูกระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ (มาตรา 31 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนาและย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติหรือประกอบพิธีกรรมตามหลักศาสนาของตน...) ซึ่งอาจมองได้ว่าระเบียบดังกล่าวนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญ
"เรื่องที่ดูเหมือนเล็ก ๆ นี้อาจถูกนำไปขยายความต่อเป็นเรื่องการจำกัดสิทธิทางศาสนาของคนกลุ่มน้อยในประเทศ และยิ่งจะเป็นการเติมเชื้อไฟให้กับปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มากขึ้นไปอีก"
กสม. บอกรัฐบาล "เสียใจ" ชี้ระเบียบใหม่ไม่เคารพเสรีภาพนับถือศาสนา
ด้านนางอังคณา นีละไพจิตร กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กล่าวกับบีบีซีไทยว่าเธอทั้ง "เสียใจ" และ "กังวลใจ" ต่อระเบียบของ ศธ.
"ระเบียบนี้ไม่สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนเลย เพราะเสรีภาพในการปฏิบัติตามความเชื่อตามศาสนาต้องได้รับความคุ้มครอง ถ้าเสรีภาพนั้นไม่ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยต่อชาติบ้านเมือง ซึ่งการคลุมฮิญาบไม่ได้ทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย" กสม. กล่าว
นางอังคณาเห็นว่า ระเบียบที่ออกมาค่อนข้างแข็งตัว แม้เปิดโอกาสให้พูดคุยตกลงกันได้ แต่ต้องยอมรับว่ากรณีโรงเรียนอนุบาลปัตตานีคือเครื่องสะท้อนว่าไม่สามารถพูดคุยกันได้ ดังนั้นถ้าให้ไปตกลงกันเอง ก็เห็นอยู่แล้วว่าตกลงกันไม่ได้ ซึ่งขณะนี้เริ่มมีเสียงวิจารณ์ในสื่อสังคมออนไลน์ด้วยถ้อยคำที่รุนแรง อีกทั้งก่อนประกาศใช้ระเบียบก็ไม่มีการปรึกษาผู้เกี่ยวข้อง ทั้งคนทำงานด้านพหุวัฒนธรรมและความขัดแย้ง
วานนี้ (14 มิ.ย.) นางอังคนามีโอกาสแสดงความเสียใจและสะท้อนข้อห่วงใยของเธอไปที่ "ผู้ใหญ่ในรัฐบาล" บางคน โดยหวังว่านายกรัฐมนตรี หรือ ครม. จะทบทวนระเบียบฉบับนี้เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา เพราะที่ผ่านมามีการพูดกันว่าปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนา แต่เป็นเรื่องความไม่เป็นธรรม
"วันนี้มันมีเรื่องความขัดแย้งทางศาสนาจริง ๆ ถ้าลองดูประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกเมื่อมีความขัดแย้งทางศาสนา บางคนที่ยึดมั่นถือมั่นมากเขายอมตายเพื่อปกป้องศาสนา ดังนั้นไม่อยากให้มองว่านี่เป็นเรื่องเล็ก ๆ" กสม. กล่าวและว่า ถึงเวลาที่จะมีการหารืออย่างจริงจังเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม
เธอบอกว่า โดยปกติผู้ปกครองใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มักส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนสอนศาสนาเอกชน มีจำนวนน้อยที่ไปเรียนโรงเรียนรัฐ แต่การที่นักเรียนมุสลิมมาเรียนที่โรงเรียนทั่วไป โดยเฉพาะโรงเรียนที่วัดสนับสนุน จึงถือเป็นโอกาสอันดีที่เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้วัฒนธรรมต่างศาสนิก เพราะถ้าแบ่งแยกกันเรียน บางแยกกันอยู่ แบ่งยากกันใช้ชีวิต ไปโตขึ้นมาก็อยู่กันอย่างหวาดระแวงอีก
กรณีระเบียบกระทรวงศึกษาธิการเรื่องการ“สวมฮิญาบ” รักษาพื้นที่ชาวพุทธ หรือไม่เคารพมุสลิม?
"ฮิญาบ (ผ้าคลุมผม) คือมงกุฎ เอาตามตรงคือละเมิดสิทธิของเด็ก ทำไมต้องออก (ระเบียบ) แบบนั้นด้วย" ชายมุสลิมวัย 30 ปีกล่าวกับบีบีซีไทยที่ จ. ยะลา หลังทราบระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 ที่ถูกเผยแพร่ลงราชกิจจานุเบกษา วานนี้ (14 มิ.ย.)
โดยเชื่อกันว่าเป็นการสร้าง "กติกาใหม่" เพื่อแก้ไขปัญหาคาราคาซังข้ามเดือนจากปม "ฮิญาบโรงเรียนอนุบาลปัตตานี" หลังผู้ปกครองนักเรียนมุสลิมกลุ่มหนึ่งออกมาเรียกร้องให้บุตรหลานสวมเครื่องแต่งกายตามหลักศาสนาอิสลาม โดยนักเรียนหญิงให้สวมฮิญาบ ส่วนนักเรียนชายให้สวมกางเกงขายาว ท่ามกลางเสียงคัดค้านอย่างหนักจากชาวพุทธในพื้นที่
เนื้อหาในระเบียบ ศธ. ระบุตอนหนึ่งว่า "สถานศึกษาที่ขอใช้พื้นที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์เป็นที่ตั้งของสถานศึกษา การแต่งเครื่องแบบนักเรียนให้เป็นไปตามสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างวัดกับสถานศึกษา"
ถือเป็นการ "ฉีกข้อตกลงเดิม" ที่อนุญาตให้นักเรียนโรงเรียนอนุบาลปัตตานี ซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินของวัดนพวงศาราม แต่งกายตามหลักศาสนา ซึ่งเป็นผลจากการหารือระหว่างเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กับผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1 เมื่อ 20 พ.ค.
เครือข่ายชาวพุทธฯ เผยปมต้านฮิญาบ กลัว "ได้คืบเอาศอก"
แม้ไม่อาจเรียกว่านี่คือ "ชัยชนะของชาวพุทธ" แต่นายรักชาติ สุวรรณ เครือข่ายชาวพุทธเพื่อสันติภาพ กล่าวกับบีบีซีไทยว่า เท่าที่คุยกับชาวพุทธในพื้นที่ก็อยากให้บรรยากาศในโรงเรียนเป็นแบบเดิม ไม่มีการสวมฮิญาบ เพื่อให้อยู่บนพื้นฐานเดียวกันเหมือนคนปกติ ไม่มีการแบ่งแยก และในอดีตก็เป็นมาอย่างนี้
"พอมีการคลุมฮิญาบ มีการร้องขอ คนพุทธก็กังวลว่า 'ได้คืบจะเอาศอก' หรือไม่ เริ่มต้นจากการคลุมฮิญาบได้ ต่อไปอาจขอมีครัวฮาลาล ไม่มีครัวสากล ต่อไปอาจขอให้ยกพระพุทธรูปออกจากโรงเรียน หรือยกเลิกพิธีกรรมทางพุทธศาสนาในโรงเรียน เช่น การไหว้ครู ก็เป็นการป้องกันวิถีเก่า ๆ ดั้งเดิมเพราะกลัวจะสูญหายไป" นายรักชาติกล่าว
ปรากฏการณ์ต่อต้านการสวมฮิญาบในโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ธรณีสงฆ์ ถูกนายรักชาติอธิบายว่าเป็นไปเพื่อ "รักษาพื้นที่เล็ก ๆ" ของชาวพุทธให้คงอยู่ เพราะปัจจุบันส่วนราชการเกือบทั้งหมดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ล้วนเต็มไปด้วยอัตลักษณ์ของชาวมุสลิม พื้นที่โรงเรียนวัดจึงเป็นสิ่งที่พวกเขาหวงแหน
ส่วนระเบียบ ศธ. ที่มีผลบังคับใช้ครอบคลุมทั้งประเทศ ไม่เฉพาะ จ.ปัตตานี-พื้นที่เกิดเหตุ จะนำไปสู่การทำ "สัญญาหรือข้อตกลงระหว่างวัดกับสถานศึกษา"ใหม่ในพื้นที่อื่น ๆ หรือไม่ นายรักชาติยอมรับว่า "เป็นไปได้" อย่างไรก็ตามเท่าที่พูดคุยกับผู้ใหญ่ ระเบียบนี้ไม่ได้มุ่งหวังให้โรงเรียนอื่นต้องมาทบทวนแนวทางการปฏิบัติ หากโรงเรียนเคยให้นักเรียนสวมฮิญาบไปเรียน ก็ทำแบบเดิมได้ ขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ผู้บริหารสถาบันการศึกษานั้น ๆ
เป็นที่ทราบกันดีในพื้นที่ว่าโรงเรียนอนุบาลปัตตานี ถือเป็นโรงเรียนอันดับต้น ๆ ที่ผู้ปกครองจะส่งบุตรหลายเข้าเรียน ซึ่งนายรักชาติชี้ว่า แต่ละปีมีสถิตินักเรียนชั้นประถม 6 ของโรงเรียนอนุบาลปัตตานี สอบเข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) ได้ค่อนข้างมาก
จึงน่าคิดว่าระเบียบของ ศธ. ที่ออกมาไปปิดกั้นโอกาสทางการศึกษาที่ดีของนักเรียนมุสลิมหรือไม่ ?
"ในเมื่อเราอยากให้ลูกเรียนในโรงเรียนมีคุณภาพ บางครั้งเราก็ต้องยอมทำตามกฎของโรงเรียนเขา" นายรักชาติกล่างอ้างคำพูดของเพื่อนชาวมุสลิมหลายคน
แต่เหตุที่เกิดขึ้นที่โรงเรียนอนุบาลปัตตานี ทำให้เขามองว่าถึงเวลาแล้วที่คนในพื้นที่ต้องมานั่งคุยกันว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะส่งลูกเรียน ป. 1-4 โดยไม่ต้องสวมฮิญาบ แต่พอเด็กหญิงมีประจำเดือน เข้าสู่วัยเจริญพันธ์ ต้องปกปิดร่างกายให้เรียบร้อย จึงอนุญาตให้สวมฮิญาบตามหลักศาสนา หรือนักเรียน ป. 1-4 ไม่ต้องสวมฮิญาบ ยกเว้นช่วงรอมฎอน ที่ผ่านมาสิ่งเหล่านี้ไม่มีใครมานั่งพูดคุยกัน ถึงเวลาผู้ใหญ่ก็ฟันธงลงมา
สังคมไทยขาดทักษะในการอยู่แบบสังคมพหุวัฒนธรรม
แต่ในมุมมองของชาวพุทธอย่าง น.ส.รุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช นักวิชาการอิสระด้านการจัดการความขัดแย้ง เห็นว่าธรรมเนียมปฏิบัติอันดีงามของชาวพุทธน่าจะเป็นการเคารพในความแตกต่างหลากหลายและการปฏิบัติของชนต่างศาสนิก
"ดิฉันยังไม่เข้าใจว่าทำไมชาวพุทธบางส่วนจึงมองว่าการปฏิบัติตามหลักศาสนาของมุสลิมจะเป็นการลิดรอนสิทธิของตน ศาสนาพุทธที่เราเข้าใจซึ่งสอนถึงความเมตตากรุณาต่อผู้อื่นไม่พึงเป็นเช่นนี้ ปรากฏการณ์นี้อาจแสดงให้เห็นว่าสังคมไทยไม่มีทักษะที่ดีพอในการอยู่ร่วมกันแบบสังคมพหุวัฒนธรรม การแก้ไขระเบียบในครั้งนี้อาจถูกมองว่าเป็นการประกาศความเป็นใหญ่ของชาวพุทธซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ และคนส่วนน้อยก็จำต้องยอมรับคำสั่งนั้น"
นักวิชาการอิสระด้านการจัดการความขัดแย้ง กล่าวด้วยว่า เรื่องราวที่ดูเหมือนเล็กน้อยในโรงเรียนเล็ก ๆ แห่งนี้เกิดขึ้นที่จังหวัดปัตตานี สมรภูมิที่มีความขัดแย้งด้วยอาวุธมาอย่างต่อเนื่องนานกว่า 15 ปี แน่นอนว่าในมุมของคนมุสลิม พวกเขาต้องการเห็นสิทธิในการปฏิบัติตนตามหลักศาสนาได้รับการปกป้องซึ่งสิทธินี้ก็ได้ถูกระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ (มาตรา 31 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนาและย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติหรือประกอบพิธีกรรมตามหลักศาสนาของตน...) ซึ่งอาจมองได้ว่าระเบียบดังกล่าวนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญ
"เรื่องที่ดูเหมือนเล็ก ๆ นี้อาจถูกนำไปขยายความต่อเป็นเรื่องการจำกัดสิทธิทางศาสนาของคนกลุ่มน้อยในประเทศ และยิ่งจะเป็นการเติมเชื้อไฟให้กับปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มากขึ้นไปอีก"
กสม. บอกรัฐบาล "เสียใจ" ชี้ระเบียบใหม่ไม่เคารพเสรีภาพนับถือศาสนา
ด้านนางอังคณา นีละไพจิตร กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กล่าวกับบีบีซีไทยว่าเธอทั้ง "เสียใจ" และ "กังวลใจ" ต่อระเบียบของ ศธ.
"ระเบียบนี้ไม่สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนเลย เพราะเสรีภาพในการปฏิบัติตามความเชื่อตามศาสนาต้องได้รับความคุ้มครอง ถ้าเสรีภาพนั้นไม่ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยต่อชาติบ้านเมือง ซึ่งการคลุมฮิญาบไม่ได้ทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย" กสม. กล่าว
นางอังคณาเห็นว่า ระเบียบที่ออกมาค่อนข้างแข็งตัว แม้เปิดโอกาสให้พูดคุยตกลงกันได้ แต่ต้องยอมรับว่ากรณีโรงเรียนอนุบาลปัตตานีคือเครื่องสะท้อนว่าไม่สามารถพูดคุยกันได้ ดังนั้นถ้าให้ไปตกลงกันเอง ก็เห็นอยู่แล้วว่าตกลงกันไม่ได้ ซึ่งขณะนี้เริ่มมีเสียงวิจารณ์ในสื่อสังคมออนไลน์ด้วยถ้อยคำที่รุนแรง อีกทั้งก่อนประกาศใช้ระเบียบก็ไม่มีการปรึกษาผู้เกี่ยวข้อง ทั้งคนทำงานด้านพหุวัฒนธรรมและความขัดแย้ง
วานนี้ (14 มิ.ย.) นางอังคนามีโอกาสแสดงความเสียใจและสะท้อนข้อห่วงใยของเธอไปที่ "ผู้ใหญ่ในรัฐบาล" บางคน โดยหวังว่านายกรัฐมนตรี หรือ ครม. จะทบทวนระเบียบฉบับนี้เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา เพราะที่ผ่านมามีการพูดกันว่าปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนา แต่เป็นเรื่องความไม่เป็นธรรม
"วันนี้มันมีเรื่องความขัดแย้งทางศาสนาจริง ๆ ถ้าลองดูประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกเมื่อมีความขัดแย้งทางศาสนา บางคนที่ยึดมั่นถือมั่นมากเขายอมตายเพื่อปกป้องศาสนา ดังนั้นไม่อยากให้มองว่านี่เป็นเรื่องเล็ก ๆ" กสม. กล่าวและว่า ถึงเวลาที่จะมีการหารืออย่างจริงจังเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม
เธอบอกว่า โดยปกติผู้ปกครองใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มักส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนสอนศาสนาเอกชน มีจำนวนน้อยที่ไปเรียนโรงเรียนรัฐ แต่การที่นักเรียนมุสลิมมาเรียนที่โรงเรียนทั่วไป โดยเฉพาะโรงเรียนที่วัดสนับสนุน จึงถือเป็นโอกาสอันดีที่เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้วัฒนธรรมต่างศาสนิก เพราะถ้าแบ่งแยกกันเรียน บางแยกกันอยู่ แบ่งยากกันใช้ชีวิต ไปโตขึ้นมาก็อยู่กันอย่างหวาดระแวงอีก