คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
คำพังเพยหรือสำนวนในทุกภาษามีวาระเหมาะสมในการใช้ จะเอาไปใช้ในสถานะการณ์อื่นที่ว่าส่งเสริมให้คนไม่กล้าคิดไม่กล้าทำไม่ได้ สำนวนที่ว่า พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง ใช้ได้ในสถานะการณ์ที่ไปถกเถียงกับคนที่ไม่ยอมรับเหตุผล ถึงจะพูดไปเสียยาวยืดก็ไม่ทำให้อีกฝ่ายยอมรับฟัง สถานะการณ์แบบนี้มีเกิดขึ้นในทุกสังคมมนุษย์จึงมีสำนวนหรือคำคมทำนองนี้ใช้ในภาษาอื่นเช่นเดียวกัน เช่น
"Never argue with stupid people, they will drag you down to their level and then beat you with experience." - Mark Twain
คำพังเพยในภาษาเยอรมันก็มีเหมือนกัน ทั้งแปลออกมาและมีความหมายเหมือนกันเลยกับ พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง
Reden ist Silber, Schweigen ist Gold
"Never argue with stupid people, they will drag you down to their level and then beat you with experience." - Mark Twain
คำพังเพยในภาษาเยอรมันก็มีเหมือนกัน ทั้งแปลออกมาและมีความหมายเหมือนกันเลยกับ พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง
Reden ist Silber, Schweigen ist Gold
แสดงความคิดเห็น
พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง?
ผมคิดว่าในหลาย ๆ โอกาส เราก็ควรที่จะพูดแสดงความคิดเห็น เพื่อสิ่งที่ถูกต้อง และรักษาผลประโยชน์ไม่ใช่เหรอครับ
ในความคิดเห็นของผม, คำพังเพยหรือสำนวนทำนองนี้ กลับสะท้อนให้เห็นถึงค่านิยมในสังคมไทย ที่ไม่ส่งเสริมให้คนกล้าคิด กล้าทำ และกล้าแสดงออก
ยกตัวอย่างเช่น เด็ก ๆ ในชั้นเรียน ไม่ชอบแสดงความคิดเห็น หรือตอบคำถาม เพราะ คิดว่าทำไปก็ไม่มีคะแนน เผลอ ๆ จะโดนตำหนิหรือเยาะเย้ยเสียเปล่า ๆ
แทนที่จะบอกให้ลูกหลานเราอยู่นิ่ง ๆ ไม่พูดไม่แสดงความคิดเห็น คุณเห็นด้วยหรือไม่ว่าควรสอนให้เขากล้าคิด กล้าทำ และกล้าแสดงออกในสิ่งที่ถูกต้อง
"พูดเฉย ๆ สองไพเบี้ย พูดมีเหตุผลเนี่ยตำลึงทอง"