สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 13
“พัทธยา, พัทยา, พัดยา” เป็นชื่อลมประจำถิ่นชนิดหนึ่งครับ พัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปยังทิศตะวันออกเฉียงเหนือ คนไทยโบราณทั้งในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้นำมาใช้เรียกแทนชื่อทิศตะวันตกเฉียงใต้ที่เป็นแหล่งกำเนิดลม สันนิษฐานว่ามาจากภาษามลายู “บะรัตดะยา” (barat daya) หมายถึงทิศตะวันตกเฉียงใต้
เมืองพัทยา จ.ชลบุรีได้ชื่อนี้เพราะมีลมพัทธยาพัดผ่านจากอ่าวไทยทางทิศตะวันตกเฉียงใต้
ฉะนั้นจึงไม่แปลกที่จะมีชื่อ “พัทยา” อยู่ในหลายจังหวัด
หากสนใจลองค้นคว้าเกี่ยวกับชื่อลมทั้ง ๘ ทิศของคนไทยโบราณได้ครับ ปัจจุบันคนที่จะรู้จักชื่อลมเหล่านี้คือชาวประมง
(อ้างอิงจากภาคกลาง ชื่อลม ๘ ทิศตามเข็มนาฬิกา)
“ลมว่าว, ลมข้าวเบา” พัดจากทิศเหนือลงใต้
“ลมอุตรา, ลมอุกา” พัดจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มาจากภาษาสันสกฤตหมายถึงทิศเหนือ (มลายู “utara” อุตะรา)
“ลมตะวันออก” พัดจากทิศตะวันออก
“ลมหัวเขา” พัดจากทิศตะวันออกเฉียงใต้คือจากภูเขาในภาคตะวันออก
“ลมตะเภา, ลมกะเภา, ลมสะเปา(ภาคเหนือ)” พัดจากทิศใต้ขึ้นเหนือ ลมนี้นำพาเรือสำเภาเข้ามาสู่ปากน้ำเข้าพระยาในสมัยโบราณ
“ลมสลาตัน, ลมเพชรหึง” พัดจากทิศใต้ขึ้นเหนือ มาจากภาษามลายู “selatan” หมายถึงทิศใต้
“ลมพัทธยา, ลมพัดยา(ภาคใต้)” พัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ มาจากภาษามลายู “barat daya” (บะรัตดะยา)
“ลมตะวันตก” พัดจากเทือกเขาภาคตะวันตก
“ลมลมตะโก้, ลมพัดหลวง” พัดจากทิศทิศตะวันตกเฉียงเหนือ สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากภาษามลายู “barat laut” (บะรัตละอุต) หมายถึงทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
.
.
.
อ้าวทำไมผมไม่เข้าพวกเนี่ย ๕๕๕ นักวิชาเกิน
เมืองพัทยา จ.ชลบุรีได้ชื่อนี้เพราะมีลมพัทธยาพัดผ่านจากอ่าวไทยทางทิศตะวันตกเฉียงใต้
ฉะนั้นจึงไม่แปลกที่จะมีชื่อ “พัทยา” อยู่ในหลายจังหวัด
หากสนใจลองค้นคว้าเกี่ยวกับชื่อลมทั้ง ๘ ทิศของคนไทยโบราณได้ครับ ปัจจุบันคนที่จะรู้จักชื่อลมเหล่านี้คือชาวประมง
(อ้างอิงจากภาคกลาง ชื่อลม ๘ ทิศตามเข็มนาฬิกา)
“ลมว่าว, ลมข้าวเบา” พัดจากทิศเหนือลงใต้
“ลมอุตรา, ลมอุกา” พัดจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มาจากภาษาสันสกฤตหมายถึงทิศเหนือ (มลายู “utara” อุตะรา)
“ลมตะวันออก” พัดจากทิศตะวันออก
“ลมหัวเขา” พัดจากทิศตะวันออกเฉียงใต้คือจากภูเขาในภาคตะวันออก
“ลมตะเภา, ลมกะเภา, ลมสะเปา(ภาคเหนือ)” พัดจากทิศใต้ขึ้นเหนือ ลมนี้นำพาเรือสำเภาเข้ามาสู่ปากน้ำเข้าพระยาในสมัยโบราณ
“ลมสลาตัน, ลมเพชรหึง” พัดจากทิศใต้ขึ้นเหนือ มาจากภาษามลายู “selatan” หมายถึงทิศใต้
“ลมพัทธยา, ลมพัดยา(ภาคใต้)” พัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ มาจากภาษามลายู “barat daya” (บะรัตดะยา)
“ลมตะวันตก” พัดจากเทือกเขาภาคตะวันตก
“ลมลมตะโก้, ลมพัดหลวง” พัดจากทิศทิศตะวันตกเฉียงเหนือ สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากภาษามลายู “barat laut” (บะรัตละอุต) หมายถึงทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
.
.
.
อ้าวทำไมผมไม่เข้าพวกเนี่ย ๕๕๕ นักวิชาเกิน
แสดงความคิดเห็น
ถามเกี่ยวกับถ้ำหลวงค่ะ ห่างจากหาดพัทยา 400 เมตร