ผู้ใช้รถยนต์-รถจักรยานยนต์พัทลุงปรับตัวใช้อะไหล่มือสองทดแทนอะไหล่ใหม่แพงกว่า 3 เท่าตัว เหตุเศรษฐกิจซบหนัก ย่านการค้าหงอยสถานบันเทิงปิดตัวระนาว
นายเอียด ขาวผ่อง เจ้าของร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ เทศบาลตำบลแม่ขรี อ.ตะโหมด จ.พัทลุง เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ธุรกิจร้านซ่อมรถจักรยานยนต์มีความต้องการใช้อะไหล่รถมือสองเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ เนื่องจากประชาชนที่มาใช้บริการซ่อมส่วนใหญ่ เป็นเกษตรกรมีรายได้หลักจากการขายยางพารา เมื่อราคายางพาราตกลงต่อเนื่อง ทำให้มีผลต่อกำลังซื้อในพื้นที่ และการจับจ่ายใช้สอยของคนในพื้นที่ หากจ่ายซื้ออะไหล่ใหม่ มีราคาสูงกว่าถึง 3 เท่าตัว โดยเฉพาะการซ่อมในลักษณะการยกเครื่องใหม่มีค่าใช้จ่ายไม่ต่ำกว่า 3,000 บาท/ครั้ง
“ปัจจุบันผู้ใช้รถไม่ยอมเปลี่ยนอะไหล่ใหม่ เนื่องจากมีความจำเป็นเร่งด่วนอื่น ๆ ในการใช้เงิน ทั้งนี้ อะไหล่มือสองจำนวนมาก ยังมีอายุการใช้งานเหลือ โดยบางชิ้นส่วนยังสามารถใช้งานได้ไม่ต่ำกว่า 2 ปี ทั้งนี้อะไหล่มือสอง ดังกล่าวจะถูกซื้อต่อมาจากผู้ประกอบการร้านรับซื้อของเก่าในพื้นที่ โดยราคาอะไหล่มือสอง มีราคาต่ำกว่าอะไหล่ใหม่กว่า 3 เท่า เช่น ล้อยางมือสอง ราคาประมาณ 80-100 บาท/เส้น เทียบกับล้อยางใหม่ ราคา 350 บาท/เส้น สเตอร์โซ่มือสอง ราคา 150 บาท/ชุด เทียบกับสินค้าใหม่ราคาประมาณ 450 บาท/ชุด ผ้าเบรกมือสองราคาประมาณ 40-50 บาท เทียบกับของใหม่ราคา 150 บาท และต้องล้อ (โครงล้อ)มือสองราคา 100 บาท เทียบกับต้องล้อใหม่ ราคา 400 บาท นอกจากนี้ ยังมีอะไหล่อีกหลายชิ้นที่มีความต้องการ
นายเอียดกล่าวอีกว่า พื้นที่เขตเทศบาลตำบลแม่ขรี อ.ตะโหมด เป็นพื้นที่ศูนย์กลางเศรษฐกิจการค้าของ จ.พัทลุงตอนล่าง ประมาณ 4-5 อำเภอ ที่มาใช้บริการ ซึ่งความต้องการอะไหล่มือสอง ที่เพิ่มขึ้นในจังหวัดพัทลุงตอนล่างมีความเป็นไปได้ว่าเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจในจังหวัดพัทลุง ซึ่งมียางพาราเป็นรายได้หลัก เมื่อราคายางพาราตกลง ทำให้มีผลต่อกำลังซื้อ โดยเฉพาะในส่วนร้านอาหาร สถานบันเทิง และสถานประกอบการคาราโอเกะ จากเดิมในบริเวณจังหวัดพัทลุงตอนล่างที่มีประมาณ 30 ร้าน ปัจจุบันเหลือประมาณ 5 ร้าน บ้านเช่าในทำเลยอดนิยมมีการย้ายออก และทะยอยคืนบ้านเช่า ในขณะที่ค้าปลีกบางร้านขายสินค้าได้วันละ 1,000 บาท จากเดิม 7,000-8,000 บาท/วัน
ด้านนายสัญญา ศรีสมพงศ์ เจ้าของร้านแสงอรุณ ซ่อมรถจักรยานยนต์ เขตเทศบาลตำบลควนเสาธง อ.ตะโหมด จ.พัทลุง เปิดเผยว่า ขณะนี้ความต้องการใช้อะไหล่รถยนต์ และรถจักรยานยนต์มือสองมีแนวทางเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งทางร้านมีอะไหล่มือสองไว้ขายให้กับผู้ที่ต้องการ แต่ไม่ได้รับซ่อมจักรยานยนต์ เนื่องจากไม่คุ้มทุนด้านค่าแรง แต่หากลูกค้ารายได้ต้องการให้ทางร้านซ่อมจำเป็นต้องคิดค่าแรงเพิ่มอีกส่วนหนึ่งจึงจะคุ้มทุน และหากรับซ่อมโดยใช้อะไหล่มือสองต่อไปผู้ใช้บริการจะหันมาใช้อะไหล่มือสองกันมาก และส่งผลกระทบต่ออะไหล่ใหม่ ขณะนี้อะไหล่มือสองมีความต้องการมากทั้งผู้ใช้รถจักรยานยนต์ และรถยนต์ประเภทอื่น ๆ ทั้งนี้ หากมองที่การใช้งานแล้วอะไหล่มือสองสามารถใช้งานแทนอะไหล่ใหม่ได้นาน เพราะบางชิ้นเป็นอะไหล่เกรดเอ
JJNY : เสดดดดดดดดดดตะกิดดี๊ดี...ซี้จุกสูญ พัทลุงเศรษฐกิจซบ ยอดใช้อะไหล่รถมือสองพุ่ง
นายเอียด ขาวผ่อง เจ้าของร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ เทศบาลตำบลแม่ขรี อ.ตะโหมด จ.พัทลุง เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ธุรกิจร้านซ่อมรถจักรยานยนต์มีความต้องการใช้อะไหล่รถมือสองเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ เนื่องจากประชาชนที่มาใช้บริการซ่อมส่วนใหญ่ เป็นเกษตรกรมีรายได้หลักจากการขายยางพารา เมื่อราคายางพาราตกลงต่อเนื่อง ทำให้มีผลต่อกำลังซื้อในพื้นที่ และการจับจ่ายใช้สอยของคนในพื้นที่ หากจ่ายซื้ออะไหล่ใหม่ มีราคาสูงกว่าถึง 3 เท่าตัว โดยเฉพาะการซ่อมในลักษณะการยกเครื่องใหม่มีค่าใช้จ่ายไม่ต่ำกว่า 3,000 บาท/ครั้ง
“ปัจจุบันผู้ใช้รถไม่ยอมเปลี่ยนอะไหล่ใหม่ เนื่องจากมีความจำเป็นเร่งด่วนอื่น ๆ ในการใช้เงิน ทั้งนี้ อะไหล่มือสองจำนวนมาก ยังมีอายุการใช้งานเหลือ โดยบางชิ้นส่วนยังสามารถใช้งานได้ไม่ต่ำกว่า 2 ปี ทั้งนี้อะไหล่มือสอง ดังกล่าวจะถูกซื้อต่อมาจากผู้ประกอบการร้านรับซื้อของเก่าในพื้นที่ โดยราคาอะไหล่มือสอง มีราคาต่ำกว่าอะไหล่ใหม่กว่า 3 เท่า เช่น ล้อยางมือสอง ราคาประมาณ 80-100 บาท/เส้น เทียบกับล้อยางใหม่ ราคา 350 บาท/เส้น สเตอร์โซ่มือสอง ราคา 150 บาท/ชุด เทียบกับสินค้าใหม่ราคาประมาณ 450 บาท/ชุด ผ้าเบรกมือสองราคาประมาณ 40-50 บาท เทียบกับของใหม่ราคา 150 บาท และต้องล้อ (โครงล้อ)มือสองราคา 100 บาท เทียบกับต้องล้อใหม่ ราคา 400 บาท นอกจากนี้ ยังมีอะไหล่อีกหลายชิ้นที่มีความต้องการ
นายเอียดกล่าวอีกว่า พื้นที่เขตเทศบาลตำบลแม่ขรี อ.ตะโหมด เป็นพื้นที่ศูนย์กลางเศรษฐกิจการค้าของ จ.พัทลุงตอนล่าง ประมาณ 4-5 อำเภอ ที่มาใช้บริการ ซึ่งความต้องการอะไหล่มือสอง ที่เพิ่มขึ้นในจังหวัดพัทลุงตอนล่างมีความเป็นไปได้ว่าเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจในจังหวัดพัทลุง ซึ่งมียางพาราเป็นรายได้หลัก เมื่อราคายางพาราตกลง ทำให้มีผลต่อกำลังซื้อ โดยเฉพาะในส่วนร้านอาหาร สถานบันเทิง และสถานประกอบการคาราโอเกะ จากเดิมในบริเวณจังหวัดพัทลุงตอนล่างที่มีประมาณ 30 ร้าน ปัจจุบันเหลือประมาณ 5 ร้าน บ้านเช่าในทำเลยอดนิยมมีการย้ายออก และทะยอยคืนบ้านเช่า ในขณะที่ค้าปลีกบางร้านขายสินค้าได้วันละ 1,000 บาท จากเดิม 7,000-8,000 บาท/วัน
ด้านนายสัญญา ศรีสมพงศ์ เจ้าของร้านแสงอรุณ ซ่อมรถจักรยานยนต์ เขตเทศบาลตำบลควนเสาธง อ.ตะโหมด จ.พัทลุง เปิดเผยว่า ขณะนี้ความต้องการใช้อะไหล่รถยนต์ และรถจักรยานยนต์มือสองมีแนวทางเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งทางร้านมีอะไหล่มือสองไว้ขายให้กับผู้ที่ต้องการ แต่ไม่ได้รับซ่อมจักรยานยนต์ เนื่องจากไม่คุ้มทุนด้านค่าแรง แต่หากลูกค้ารายได้ต้องการให้ทางร้านซ่อมจำเป็นต้องคิดค่าแรงเพิ่มอีกส่วนหนึ่งจึงจะคุ้มทุน และหากรับซ่อมโดยใช้อะไหล่มือสองต่อไปผู้ใช้บริการจะหันมาใช้อะไหล่มือสองกันมาก และส่งผลกระทบต่ออะไหล่ใหม่ ขณะนี้อะไหล่มือสองมีความต้องการมากทั้งผู้ใช้รถจักรยานยนต์ และรถยนต์ประเภทอื่น ๆ ทั้งนี้ หากมองที่การใช้งานแล้วอะไหล่มือสองสามารถใช้งานแทนอะไหล่ใหม่ได้นาน เพราะบางชิ้นเป็นอะไหล่เกรดเอ