สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
ฝากชีวิตไว้กับเครื่องคิดเลขโดยไม่คำนวณผลลัพธ์คร่าว ๆ หากเกิดการผิดพลาด โดยทั่วไปเกิดจากการป้อนตัวเลขและขั้นตอนการคำนวณ หากได้คำตอบมาแล้วเราเชื่อมันทั้งหมด โดยไม่มีการคำนวณคร่าว ๆ เลย เราก็จะไม่ทราบว่ามันน่าจะเกิดการผิดพลาด
อาชีพอื่นผมไม่ทราบ ในฐานะวิศวกรไฟฟ้า + อาจารย์สอนวิศวกรรมไฟฟ้าจนเกษียณ
การคำนวณควรทราบผลลัพธ์คร่าว ๆ อย่างน้อยก็ควรออกมาประมาณเท่าใด เพราะขั้นตอนการคำนวณทางวิศวกรรมนั้นโอกาสผิดพลาดจากการกดตัวเลขหรือขั้นตอนคำนวณมีมาก
ผมไม่แปลกใจเลย นศ.รุ่นหลัง ๆ ที่ผมสอนก่อนเกษียณ เวลาคำนวณ ไม่เคยคิดคร่าว ๆ ก่อนเลยว่า ผลลัพธ์ควรมีหน่วยใด เป็น M k m ไมโคร n
หรือ P ต.ย.เช่น วงจรแหล่งจ่าย 12 V กระแสไม่ถึง 100 mA ซึ่งอิมพีแดนซ์เป็นหลัก "ร้อย" โอห์ม พอแสดงขั้นตอนคำนวณออกมา ดันตอบอิมพีแดนซ์ 0.15 มิลลิโอห์ม บางคนทักษะต่ำจนแม้แต่แปลงหน่วยก็ไม่เป็น ตอบมา 0.00015 โอห์ม บางคนยื่งกว่านั้น ไม่รู้จะตอบหน่วยอะไร ใส่แต่ตัวเลขมาเฉย ๆ นอกจากจะแปลงหน่วยไม่เป็นเพราะไม่เข้าใจแล้ว ยังทราบว่าคำตอบที่ถูกควรประมารหลักเท่าใด
แสดงว่า ตั้งแต่เรียนจนจบ ม.ปลาย หรือ ปวช. ไม่ชอบทำแบบฝึกหัด จึงขาดทักษะการคำนวณ
จริงอยู่ เรามีเครื่องคิดเลข และในสาขาวิศวกรรม ต้องใช้ Scientific calculator ด้วย เครื่องคิดเลขธรรมดาไม่พอใช้หรอก แต่นั่น คนใช้ต้องมีทักษะการคำนวณ จึงจะหา Solution ออกมาได้ถูกต้อง
สมัยก่อนไม่มีเครื่องคิดเลข การเรียนสาขาวิศวกรรม เราต้องใช้ Slide rule ซึ่งการชักสไลด์รูล ต้องมีพื้นฐานทักษะการคำนวณที่ดี จึงจะตอบได้ถูกต้อง เพราะในสเกลมันมีแค่ 0.............1 ต้องรู้จำนวนคำตอบคร่าว ๆ ในแต่ละขั้นตอนก่อน
ดังนั้น ตั้งแต่ประถม จนจบมัธยม พื้นฐานทักษะการคำนวณ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่สุด
ง่าย ๆ 7 + 3 x 4 ถ้าใช้เครื่องคิดเลขราคาถูก ๆ ประเภท จากร้านทุกอย่าง 60 บาท หรือ ทุกอย่าง 20 บาท มันจะตอบ 40 แต่หากใช้เครื่อง Scientific มันจะตอบ 19 ซึ่งถูกต้องตามขั้นตอนทางคณิตศาสตร์
อาชีพอื่นผมไม่ทราบ ในฐานะวิศวกรไฟฟ้า + อาจารย์สอนวิศวกรรมไฟฟ้าจนเกษียณ
การคำนวณควรทราบผลลัพธ์คร่าว ๆ อย่างน้อยก็ควรออกมาประมาณเท่าใด เพราะขั้นตอนการคำนวณทางวิศวกรรมนั้นโอกาสผิดพลาดจากการกดตัวเลขหรือขั้นตอนคำนวณมีมาก
ผมไม่แปลกใจเลย นศ.รุ่นหลัง ๆ ที่ผมสอนก่อนเกษียณ เวลาคำนวณ ไม่เคยคิดคร่าว ๆ ก่อนเลยว่า ผลลัพธ์ควรมีหน่วยใด เป็น M k m ไมโคร n
หรือ P ต.ย.เช่น วงจรแหล่งจ่าย 12 V กระแสไม่ถึง 100 mA ซึ่งอิมพีแดนซ์เป็นหลัก "ร้อย" โอห์ม พอแสดงขั้นตอนคำนวณออกมา ดันตอบอิมพีแดนซ์ 0.15 มิลลิโอห์ม บางคนทักษะต่ำจนแม้แต่แปลงหน่วยก็ไม่เป็น ตอบมา 0.00015 โอห์ม บางคนยื่งกว่านั้น ไม่รู้จะตอบหน่วยอะไร ใส่แต่ตัวเลขมาเฉย ๆ นอกจากจะแปลงหน่วยไม่เป็นเพราะไม่เข้าใจแล้ว ยังทราบว่าคำตอบที่ถูกควรประมารหลักเท่าใด
แสดงว่า ตั้งแต่เรียนจนจบ ม.ปลาย หรือ ปวช. ไม่ชอบทำแบบฝึกหัด จึงขาดทักษะการคำนวณ
จริงอยู่ เรามีเครื่องคิดเลข และในสาขาวิศวกรรม ต้องใช้ Scientific calculator ด้วย เครื่องคิดเลขธรรมดาไม่พอใช้หรอก แต่นั่น คนใช้ต้องมีทักษะการคำนวณ จึงจะหา Solution ออกมาได้ถูกต้อง
สมัยก่อนไม่มีเครื่องคิดเลข การเรียนสาขาวิศวกรรม เราต้องใช้ Slide rule ซึ่งการชักสไลด์รูล ต้องมีพื้นฐานทักษะการคำนวณที่ดี จึงจะตอบได้ถูกต้อง เพราะในสเกลมันมีแค่ 0.............1 ต้องรู้จำนวนคำตอบคร่าว ๆ ในแต่ละขั้นตอนก่อน
ดังนั้น ตั้งแต่ประถม จนจบมัธยม พื้นฐานทักษะการคำนวณ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่สุด
ง่าย ๆ 7 + 3 x 4 ถ้าใช้เครื่องคิดเลขราคาถูก ๆ ประเภท จากร้านทุกอย่าง 60 บาท หรือ ทุกอย่าง 20 บาท มันจะตอบ 40 แต่หากใช้เครื่อง Scientific มันจะตอบ 19 ซึ่งถูกต้องตามขั้นตอนทางคณิตศาสตร์
แสดงความคิดเห็น
ทำไมครูต้องให้คิดเลขหลักเยอะๆ ทั้งที่มีเครื่องคิดเลข บอกข้อดีหน่อยค่ะ
แต่ยอมรับนะว่าตัวเองก็ไม่เห็นด้วยกับการทำแบบนี้ เพราะชีวิตจริงใช้เครื่องคิดเลขตลอด แล้วโอกาสที่จะไปคิดเลขพิศดารโดยไม่มีเครื่องคิดเลขนี่ น้อยมาก (แบบต้องไปติดแบบ Martian) ไป summer ที่อเมริกา ครูที่โน่นก็ให้เด็กใช้เครื่องคิดเลขทั้งที่ตัวเลขไม่พิศดารเท่าบ้านเรา
ที่บอกว่าหลักเยอะนี่ เยอะจริงๆนะคะ แบบหลักหลายสิบล้านหารด้วยหลักแสน หรือถอดรูทหลักหมื่น คูณเลขหลักหมื่น