ในตอนก่อตั้ง จุฬาฯ ใครสามารถเรียนได้บ้าง ?

พอดีช่วงนี้กำลังศึกษาประวัติก่อตั้งมหาวิทยาลัยของไทยอยู่ครับ โดยอ่านประวัติของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วรู้สึกไม่ค่อยชัดเจนอยู่ครับ

   มธ. เคลมว่าเป็นมหาวิทยาลัยเปิดแห่งแรกของประเทศไทย แต่จุฬาฯเคลมว่าเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทยโดยเป็นสถาบันอุดมศึกษาของชาวสยาม

คำถามคือ จุฬาฯ ในยุคเริ่มแรกหลังเปลี่ยนจากโรงเรียนข้าราชการพลเรือนนั้น เปิดกว้างให้ประชาชนได้เข้าศึกษาแค่ไหน ?

อ้างอิง1 https://www.chula.ac.th/about/overview/history/
อ้างอิง2 https://www4.tu.ac.th/index.php/th/408-th-th/teach/280-his
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
การเข้าเรียนจุฬาฯ ในยุคโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ นั้น  เป็นการรวมสถาบันการศึกษา
ชั้นสูงของประเทศ เช่น โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์  โรงเรียนยันตรศึกษา  โรงเรียนรัฏฐ
ประศาสนศาสตร์ ฯลฯ มารวมกัน  แต่เพราะระบบการศึกษาของไทยในยุคเริ่มแรกนั้น
ความรู้ของนักเรียนสูงสุดเทียบได้เพียงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น  ฉะนั้นการเรียนในโรงเรียน
ต่างๆ นั้นจึงเทียบได้กับชั้น ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  เมื่อโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ
เปิดสอนมาได้ช่วงระยะเวลาหนึ่งจึงมีการกำหนดให้ผู้ที่จบการศึกษาจากโรงเรียนชั้นสูงนั้น
เมื่อออกไปรับราชการครบ ๓ ปี และมีหนังสือรับรองจากผู้บังคับบัญชาเจ้าสังกัดมายื่นต่อ
โรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ท่านเหล่านั้นจะได้รับพระราชทานเข็มบัณฑิต  แสดงว่าเป็น
ผู้มีคุณวุฒิชั้นบัณฑิตแล้ว


ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๕๕  กระทรวงธรรมการประกาศใช้แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. ๒๔๕๖
กำหนดให้จัดการศึกษาชาติเป็น อนุบาล ปรถม มัธยม และอุดมศึกษา  จนปี ๒๔๕๙
กระทรวงธรรมการจึงเริ่มจัดการสอนในโรงเรียนมัธยมถึงชั้นมัธยมบริบูรณ์   หรือมัธยม
ปลายเป็นปีแรก  ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี
(สนั่น  เทพหัสดืน ณ อยุธยา) เสนาบดีกระทรวงธรรมการไปคิดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้น
ในเวลานั้นเสนาบดีธรรมการกราบบังคมทูลว่า ยังจัดไม่ได้เพราะไม่มีนักเรียนจะเรียน
และไม่มีมรครูพอที่จะสอนได้  แต่ก็มีพระราชกระแสว่า ตั้งเถิดอย่ารอให้ดีมานด์เกิด
เราต้องตั้งสัพพลายขึ้นล่อดีมานด์  ด้วยเหตุนี้จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้
ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ เป็นุจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ ๒๖ มีนาคม
๒๔๕๙

เมื่อสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้นแล้ว  ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ
เจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์ (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก)
เป็นข้าหลวงพิเศษตรวจจัดการศึกษา (Educational Inspector General) ไปเจรจาขอความ
ช่วยเหลือทางวิชาการจากมูลนิธิร้อคกี้เฟลเลอร์  จนมูลนิธิฯ ส่ง นพ.เอลลิส (Ellis) ศาสตราจารย์
ทางการแพทย์มาจัดตั้งหลักสูตรเวชชศาสตร์บัณฑิตขึ้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เปิดสอนครั้ง
แรกใน พ.ศ. ๒๔๖๗  มีนักเรียนรุ่นแรก ๑๘ คน  นพ.วิรัช (ตี๋)  มรรคดวงแก้ว เล่าว่า เมื่อท่านเรียน
จบชั้นมัธยมปลายจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยแล้ว  อาจารย์มาชวนไปเรียนเวชชศาสตร์บัณฑิต
แต่ตัวท่านตั้งใจจะไปทำงานห้างฝรั่งซึ่งได้เงินเดือนเริ่มต้นเดือนละ ๑๐๐ บาท  อาจารย์จึงบอกว่าไป
เรียนเถิดเพราะในระหว่างเรียนจะได้เงินเดือนๆ ละ ๑ ชั่ง (๘๐ บาท) ท่านจึงตัดสินใจเรียนเวชชศาสตร์
บัณฑิต  จนสำเร็จการศึกษาเป็นเวชชศาสตร์บัณฑิตใน พ.ศ. ๒๔๗๒

สำหรับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองนั้นมีต้นกำเนิดมาจากการแยกเอาโรงเรียนกฎหมาย และ
โรงเรียนรัฏฐประศาสนศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยอีกแห่งหนึ่งใน
ช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง  นช่วงแรกก็จัดเป็นมหาวิทยาลัยเปิด  แต่ก็เปิดอยู่ได้ไม่นานก็แปรสภาพ
มาเป็นมห่วิทยาลัยปิด
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่