พุทธศาสนากับความเสือมถอย
หลายครั้งที่ไปวัดแล้วรับรู้ถึงความเสื่อม ไม่มีความรู้สึกเหมือนไปวัดตอนเด็ก ที่ไร้เดียงสา ไปแล้วได้ทำบุญรู้สึกดี สบายใจ แต่ตอนนี้พอไปวัดเริ่มถามว่า นี่เรากำลังทำบุญกับใคร พระเหรอ ใช่พระจริงๆใช่มั้ย
ความรู้สึกแบบนี้ เป็นมาตั้งแต่สมัยเรียนจบใหม่ เริ่มจากไปวัดแล้ว แบบว่าเฮย ทำไมตู้ทำบุญมาเยอะจังฟร่ะ เข้าโบสถ์ที มีตู้ตั้งอยู่ประมาณเกือบๆ 20 ตู้ ตู้ค่าไฟ ตู้ค่าน้ำ ตู้ซ่อมหลังคา ตู้บริจาค ตู้ค่ารักษาพยาบาล นู้น นี่ โหมันเยอะจริงๆ ตู้ทำบุญนี่ถึงแม้จะเยอะมาก แต่ก็พอเข้า เพราะพระก็ต้องจ่าย ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าธูปเทียน ดอกไม้
งั้นมาดูอย่างอื่นบ้าง เช่น การถวายสังฆทาน เวลาเราไปวัด มักจะเห็นร้านค้าหน้าวัด หรือแม้แต่ในวัด มีกระเช้า หรือของสังฆทานคอยอำนวยคววามสะดวก สำหรับผู้ที่มาทำบุญ ราคาชุดล่ะประมาณ 250 – 1000 สำหรับชุดใหญ่ มีอยู่หลายครั้ง ที่ศรัทธามันหายไป เพราะเราเห็นเด็กวัดนั้น เอาของสังฆทาน มาวนขายให้ร้านค้าหน้าวัด และใต้ทุนกุฎิแบบเห็นกันจะๆ ก็เข้าใจว่าคนถวามสังฆทานเยอะ พระใช้ไม่หมด เอามาวนขายเอาปัจจัยดีกว่า แต่ก็นะ ก็สงสัยว่าถวายพระแล้ว พระไม่ใช้ เราได้บุญมั้ย???
หรือ การทำบุญไถ่ชีวิต โค กระบือ มีอยู่วัดหนึ่ง ใน กทม มีการทำโรงวัว เอาวัว ควายมาเลี้ยง แล้วเอาหญ้ามาขายเพื่อเลี้ยงวัว มีการเอาโต๊ะมาตั้งเพื่อบริจาคไถ่ชีวิต โค กระบือ ตอนเด็กๆ ก็ดีนะ พอโตแล้วเริ่มสงสัย คือวัวตัวเดิมมันอยู่ในโรงนี้มาจะ 10 ปีล่ะ (จำลายได้) มันยังไถ่ไม่ได้อีกเหรอ หรือถ้าถาไปแล้ว ทำไมไม่ไปไถ่ตัวอื่นเพิ่ม (มันไม่เคยมีจำนวนเพิ่มขึ้นเลย) เงินที่บริจาคให้ไปไถ่ชีวิต โค กระบือเป็น 10 ปี หายไปไหน
อื่นๆอีกจิปาถะ กับการหาเงินของวัด ซึ่งจริงๆแล้วก็เป็นเรื่องที่หลายๆคนรู้ดี เพราะเรายังยึดติดอยู่กับคำว่า “บุญ”
ถ้าจะพูดเชิงวิชาการหน่อย “บุญ” มันก็คือซึ่งที่พุทธศาสนิกชนทุกคนต้องการ (Need and Want) จากการไปวัด มันก็คือ Customer Value หรือคุณค่าที่ลูกค้าจะได้จากการเสียสละอย่างใด อย่างหนึ่ง หรือหลายๆอย่าง เพื่อให้ได้มา (ทำบุญด้วยแรงงาน สมอง เงิน เวลา) ซึ่งตามหลักแล้ว พระหรือวัดนั้น มีหน้าที่อย่างหนึ่งในทางพุทธศาสนา ก็คือการเผยแพร่และทำนุบำรุงศาสนา เพราะฉะนั้นในการเผยแพร่พูทธศาสนานั้น มันก็ต้องมีการเรียกคนเข้าวัด และวิธีการนั้นก็ ชูสิ่งที่คนต้องการนั้นก็คือ การทำบุญ (Customer Value) นั้นเอง
ผมไม่ได้บอกว่าการทำบุญนั้นไม่ดี ผมก็ชอบทำบุญ แต่สิ่งอยากพูดถึงนั้นก็คือ การรับรู้บุญจากการไปวัดนั้น มันน้อยลง (Perceived Customer Value) ลองคิดดูลูกค้าไปซื้อสินค้าหรือบริการตามที่เค้าโฆษณาไว้ ตั้งความหวังไว้สูงมาก แต่ไม่ได้ตามที่ต้องการ หรือ ไปถวายสังฆทานเพื่อทำบุญ แต่ของสังฆทานโดนวน หรือเอาเงินบริจาคช่วยค่านำ ค่าไฟ แต่พระบอกเด็กวัดให้เงินในตู้ไปซื้อทีวีมาดูกัน อย่างนี้ Perceived Customer Value มันหายไป หายไปพร้อมๆกับศรัทธาที่มีต่อพระภิกษุสงฆ์
credit:
https://www.facebook.com/Flying-Thaiman-201690967103244/
พุทธศาสนากับความเสือมถอย
หลายครั้งที่ไปวัดแล้วรับรู้ถึงความเสื่อม ไม่มีความรู้สึกเหมือนไปวัดตอนเด็ก ที่ไร้เดียงสา ไปแล้วได้ทำบุญรู้สึกดี สบายใจ แต่ตอนนี้พอไปวัดเริ่มถามว่า นี่เรากำลังทำบุญกับใคร พระเหรอ ใช่พระจริงๆใช่มั้ย
ความรู้สึกแบบนี้ เป็นมาตั้งแต่สมัยเรียนจบใหม่ เริ่มจากไปวัดแล้ว แบบว่าเฮย ทำไมตู้ทำบุญมาเยอะจังฟร่ะ เข้าโบสถ์ที มีตู้ตั้งอยู่ประมาณเกือบๆ 20 ตู้ ตู้ค่าไฟ ตู้ค่าน้ำ ตู้ซ่อมหลังคา ตู้บริจาค ตู้ค่ารักษาพยาบาล นู้น นี่ โหมันเยอะจริงๆ ตู้ทำบุญนี่ถึงแม้จะเยอะมาก แต่ก็พอเข้า เพราะพระก็ต้องจ่าย ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าธูปเทียน ดอกไม้
งั้นมาดูอย่างอื่นบ้าง เช่น การถวายสังฆทาน เวลาเราไปวัด มักจะเห็นร้านค้าหน้าวัด หรือแม้แต่ในวัด มีกระเช้า หรือของสังฆทานคอยอำนวยคววามสะดวก สำหรับผู้ที่มาทำบุญ ราคาชุดล่ะประมาณ 250 – 1000 สำหรับชุดใหญ่ มีอยู่หลายครั้ง ที่ศรัทธามันหายไป เพราะเราเห็นเด็กวัดนั้น เอาของสังฆทาน มาวนขายให้ร้านค้าหน้าวัด และใต้ทุนกุฎิแบบเห็นกันจะๆ ก็เข้าใจว่าคนถวามสังฆทานเยอะ พระใช้ไม่หมด เอามาวนขายเอาปัจจัยดีกว่า แต่ก็นะ ก็สงสัยว่าถวายพระแล้ว พระไม่ใช้ เราได้บุญมั้ย???
หรือ การทำบุญไถ่ชีวิต โค กระบือ มีอยู่วัดหนึ่ง ใน กทม มีการทำโรงวัว เอาวัว ควายมาเลี้ยง แล้วเอาหญ้ามาขายเพื่อเลี้ยงวัว มีการเอาโต๊ะมาตั้งเพื่อบริจาคไถ่ชีวิต โค กระบือ ตอนเด็กๆ ก็ดีนะ พอโตแล้วเริ่มสงสัย คือวัวตัวเดิมมันอยู่ในโรงนี้มาจะ 10 ปีล่ะ (จำลายได้) มันยังไถ่ไม่ได้อีกเหรอ หรือถ้าถาไปแล้ว ทำไมไม่ไปไถ่ตัวอื่นเพิ่ม (มันไม่เคยมีจำนวนเพิ่มขึ้นเลย) เงินที่บริจาคให้ไปไถ่ชีวิต โค กระบือเป็น 10 ปี หายไปไหน
อื่นๆอีกจิปาถะ กับการหาเงินของวัด ซึ่งจริงๆแล้วก็เป็นเรื่องที่หลายๆคนรู้ดี เพราะเรายังยึดติดอยู่กับคำว่า “บุญ”
ถ้าจะพูดเชิงวิชาการหน่อย “บุญ” มันก็คือซึ่งที่พุทธศาสนิกชนทุกคนต้องการ (Need and Want) จากการไปวัด มันก็คือ Customer Value หรือคุณค่าที่ลูกค้าจะได้จากการเสียสละอย่างใด อย่างหนึ่ง หรือหลายๆอย่าง เพื่อให้ได้มา (ทำบุญด้วยแรงงาน สมอง เงิน เวลา) ซึ่งตามหลักแล้ว พระหรือวัดนั้น มีหน้าที่อย่างหนึ่งในทางพุทธศาสนา ก็คือการเผยแพร่และทำนุบำรุงศาสนา เพราะฉะนั้นในการเผยแพร่พูทธศาสนานั้น มันก็ต้องมีการเรียกคนเข้าวัด และวิธีการนั้นก็ ชูสิ่งที่คนต้องการนั้นก็คือ การทำบุญ (Customer Value) นั้นเอง
ผมไม่ได้บอกว่าการทำบุญนั้นไม่ดี ผมก็ชอบทำบุญ แต่สิ่งอยากพูดถึงนั้นก็คือ การรับรู้บุญจากการไปวัดนั้น มันน้อยลง (Perceived Customer Value) ลองคิดดูลูกค้าไปซื้อสินค้าหรือบริการตามที่เค้าโฆษณาไว้ ตั้งความหวังไว้สูงมาก แต่ไม่ได้ตามที่ต้องการ หรือ ไปถวายสังฆทานเพื่อทำบุญ แต่ของสังฆทานโดนวน หรือเอาเงินบริจาคช่วยค่านำ ค่าไฟ แต่พระบอกเด็กวัดให้เงินในตู้ไปซื้อทีวีมาดูกัน อย่างนี้ Perceived Customer Value มันหายไป หายไปพร้อมๆกับศรัทธาที่มีต่อพระภิกษุสงฆ์
credit: https://www.facebook.com/Flying-Thaiman-201690967103244/