ทล.ฟุ้ง มอเตอร์เวย์รายได้พุ่ง คาดทั้งปีโกยกระฉูด 7.2พันล้าน.
ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2561
ทางหลวงยิ้ม 6 เดือน มอเตอร์เวย์รายได้ทะลัก 3 พันล้านบาท คาดทั้งปีรายได้กระ ฉูดแตะ 7.2 พันล้านบาท ดีเดย์เก็บเงินด่านมอเตอร์เวย์หมายเลข 9 เริ่ม 1 ก.ค.นี้
นายอรรถสิทธิ์ สวัสดิ์พานิช ผู้อำนวยการกองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) กรมทางหลวง หรือ ทล. เปิดเผยว่า ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมามีรายได้จากการจัดเก็บค่าผ่านทางมอเตอร์เวย์สองสาย ได้แก่ มอเตอร์เวย์สาย 7 ช่วงกรุงเทพฯ-พัทยา และมอ เตอร์เวย์สาย 9 บางปะอิน-บางนา รวม 3,600 ล้านบาท หรือคิดเป็นค่าเฉลี่ยวันละ 20 ล้านบาท โดยปริมาณรายได้เติบโตเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับปริมาณการจราจรที่เติบโตขึ้นตามการขยายตัวของเมืองหลวง โดยคาดว่าในปีนี้จะมีรายได้จากค่าผ่านทางมอเตอร์เวย์มากกว่า 7,200 ล้านบาท
นอกจากนี้ ในช่วงครึ่งปีหลังตั้งแต่ 1 ก.ค.เป็นต้นไป ทล.จะเริ่มเก็บค่าผ่านทางมอเตอร์เวย์สาย 9 ช่วงบางขุนเทียน-ทุ่งครุ ส่งผลให้ปีนี้จะรับรู้รายได้เพิ่มขึ้นอีก 300 ล้านบาท หรือเฉลี่ยเดือนละ 50 ล้านบาท สนับสนุนรายได้หลักของปีนี้เติบโตขึ้นอีก 4% จากทั้งหมด ส่งผลให้ในอนาคตรายได้จากส่วนนี้จะสูงถึงปีละ 600 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นตามปริมาณการจราจรที่ยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะระบบ M-Pass ที่มียอดผู้ใช้เติบโตกว่าเดือนละ 38% ปัจจุบันมีผู้ใช้บัตร M-Pass ที่ 1.5 ล้านคันต่อวัน
อภิชาติ จันทรทรัพย์ รองอธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) กล่าวว่า ตั้งแต่เวลา 0.01 น. ของวันที่ 1 ก.ค.61 นี้เป็นต้นไป กรมทางหลวงจะจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ปี 54 บนทางพิเศษหมายเลข 9 พระประแดง-บางแค-ต่างระดับ บางขุนเทียน (ด่านบางครุ 3) โดยรถยนต์ 4 ล้อ เสีย 15 บาท, 6 ล้อ 25 บาท และมากกว่า 6 ล้อ 35 บาท ปัจจุบันมีรถผ่านประมาณวันละ 12,000 คันต่อวัน.
ชมภาพความคืบหน้ามอเตอร์เวย์หมายเลข 7 พัทยา-มาบตาพุด
มอเตอร์เวย์หมายเลข 7 พัทยา-มาบตาพุด คืบหน้ากว่า 75% ยืนยันทดสอบให้บริการได้ภายในปี 2562 ใช้เทคโนโลยีในการตรวจสอบโดยติดตั้งเครื่องวัดความขรุขระของผิวด้วยเลเซอร์ (Laser Profilometer) ตามมาตรฐานสากล
ธานินทร์ สมบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยคืบหน้าโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพฯ-บ้านฉาง ช่วงพัทยา-มาบตาพุด ว่า โดยปัจจุบันทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายพัทยา-มาบตาพุด มีความก้าวหน้ากว่าร้อยละ 75 (ณ เดือนพฤษภาคม 2561) คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือน พ.ย. 2561 ขณะที่งานก่อสร้างระบบบริหารจัดเก็บค่าผ่านและซ่อมบำรุง (O&M) คาดว่าจะสามารถลงนามสัญญากับเอกชนได้เร็วๆ นี้ ก่อนเริ่มทดสอบระบบในปี 2562 และเปิดใช้งานเต็มรูปแบบในปี 2563 สอดคล้องกับแผนงานพัฒนาเพื่อรองรับระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ปี 2560 -2564 ที่รัฐบาลให้ความสำคัญ
สำหรับความพิเศษโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพฯ-บ้านฉาง ช่วงพัทยา-มาบตาพุด กรมทางหลวงได้ใช้เทคโนโลยีในการตรวจสอบโดยติดตั้งเครื่องวัดความขรุขระของผิวด้วยเลเซอร์ (Laser Profilometer) ซึ่งใช้วัดดัชนีความเรียบขรุขระสากล (International Roughness Index, IRI) หากเป็นถนนคอนกรีตต้องมีค่าต่ำกว่า 2.5 และถนนแอสฟัลต์ต้องมีค่าต่ำกว่า 2.0 จึงตรวจรับงาน อันเป็นไปตามมาตรฐานสากล และคำแนะนำของธนาคารโลก
ทั้งนี้เมื่อโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จจะเป็นเส้นทางที่สามารถเชื่อมต่อการคมนาคมขนส่งระหว่างภาคกลางกับภาคตะวันออกได้อย่างสมบูรณ์ นับเป็นเส้นทางสายหลักที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ซึ่งจะช่วยส่งเสริมทั้งในภาคธุรกิจการค้าและการท่องเที่ยว ด้วยแนวเส้นทางที่สามารถรองรับการเดินทางและการขนส่งสินค้าในภาคตะวันออกไปยังทั่วทุกภูมิภาค เชื่อมโยงกับท่าเรือแหลมฉบังและนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึงการขนส่งทางรถไฟ และการขนส่งทางอากาศที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานอู่ตะเภา เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายโลจิสติกส์ของประเทศ เพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งของภูมิภาคอาเซียน
ทางหลวงหมายเลข 7 สายพัทยา-มาบตาพุด เป็นการก่อสร้างเส้นทางสายใหม่ ผ่านพื้นที่ 2 จังหวัด มีจุดเริ่มต้นที่ กม.2+300 เชื่อมกับทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ผ่านอำเภอบางละมุง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี สิ้นสุดที่เทศบาลเมืองมาบตาพุด จังหวัดระยอง บริเวณ กม.34+400 ระยะทางรวม 32 กม. ใช้งบประมาณการก่อสร้าง 14,200 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบประมาณจากกองทุนเงินค่าธรรมเนียมผ่านทางของทางหลวงพิเศษสำหรับงานก่อสร้างในส่วนงานโยธา แบ่งออกเป็น 13 สัญญา ติดตามภาพได้เลย
ที่มา : กรมทางหลวง
https://goo.gl/fWSnxr
ทล.ฟุ้ง มอเตอร์เวย์รายได้พุ่ง คาดทั้งปีโกยกระฉูด 7.2พันล้าน. // ความคืบหน้ามอเตอร์เวย์ พัทยา-มาบตาพุด
ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2561
ทางหลวงยิ้ม 6 เดือน มอเตอร์เวย์รายได้ทะลัก 3 พันล้านบาท คาดทั้งปีรายได้กระ ฉูดแตะ 7.2 พันล้านบาท ดีเดย์เก็บเงินด่านมอเตอร์เวย์หมายเลข 9 เริ่ม 1 ก.ค.นี้
นายอรรถสิทธิ์ สวัสดิ์พานิช ผู้อำนวยการกองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) กรมทางหลวง หรือ ทล. เปิดเผยว่า ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมามีรายได้จากการจัดเก็บค่าผ่านทางมอเตอร์เวย์สองสาย ได้แก่ มอเตอร์เวย์สาย 7 ช่วงกรุงเทพฯ-พัทยา และมอ เตอร์เวย์สาย 9 บางปะอิน-บางนา รวม 3,600 ล้านบาท หรือคิดเป็นค่าเฉลี่ยวันละ 20 ล้านบาท โดยปริมาณรายได้เติบโตเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับปริมาณการจราจรที่เติบโตขึ้นตามการขยายตัวของเมืองหลวง โดยคาดว่าในปีนี้จะมีรายได้จากค่าผ่านทางมอเตอร์เวย์มากกว่า 7,200 ล้านบาท
นอกจากนี้ ในช่วงครึ่งปีหลังตั้งแต่ 1 ก.ค.เป็นต้นไป ทล.จะเริ่มเก็บค่าผ่านทางมอเตอร์เวย์สาย 9 ช่วงบางขุนเทียน-ทุ่งครุ ส่งผลให้ปีนี้จะรับรู้รายได้เพิ่มขึ้นอีก 300 ล้านบาท หรือเฉลี่ยเดือนละ 50 ล้านบาท สนับสนุนรายได้หลักของปีนี้เติบโตขึ้นอีก 4% จากทั้งหมด ส่งผลให้ในอนาคตรายได้จากส่วนนี้จะสูงถึงปีละ 600 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นตามปริมาณการจราจรที่ยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะระบบ M-Pass ที่มียอดผู้ใช้เติบโตกว่าเดือนละ 38% ปัจจุบันมีผู้ใช้บัตร M-Pass ที่ 1.5 ล้านคันต่อวัน
อภิชาติ จันทรทรัพย์ รองอธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) กล่าวว่า ตั้งแต่เวลา 0.01 น. ของวันที่ 1 ก.ค.61 นี้เป็นต้นไป กรมทางหลวงจะจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ปี 54 บนทางพิเศษหมายเลข 9 พระประแดง-บางแค-ต่างระดับ บางขุนเทียน (ด่านบางครุ 3) โดยรถยนต์ 4 ล้อ เสีย 15 บาท, 6 ล้อ 25 บาท และมากกว่า 6 ล้อ 35 บาท ปัจจุบันมีรถผ่านประมาณวันละ 12,000 คันต่อวัน.
ชมภาพความคืบหน้ามอเตอร์เวย์หมายเลข 7 พัทยา-มาบตาพุด
มอเตอร์เวย์หมายเลข 7 พัทยา-มาบตาพุด คืบหน้ากว่า 75% ยืนยันทดสอบให้บริการได้ภายในปี 2562 ใช้เทคโนโลยีในการตรวจสอบโดยติดตั้งเครื่องวัดความขรุขระของผิวด้วยเลเซอร์ (Laser Profilometer) ตามมาตรฐานสากล
ธานินทร์ สมบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยคืบหน้าโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพฯ-บ้านฉาง ช่วงพัทยา-มาบตาพุด ว่า โดยปัจจุบันทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายพัทยา-มาบตาพุด มีความก้าวหน้ากว่าร้อยละ 75 (ณ เดือนพฤษภาคม 2561) คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือน พ.ย. 2561 ขณะที่งานก่อสร้างระบบบริหารจัดเก็บค่าผ่านและซ่อมบำรุง (O&M) คาดว่าจะสามารถลงนามสัญญากับเอกชนได้เร็วๆ นี้ ก่อนเริ่มทดสอบระบบในปี 2562 และเปิดใช้งานเต็มรูปแบบในปี 2563 สอดคล้องกับแผนงานพัฒนาเพื่อรองรับระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ปี 2560 -2564 ที่รัฐบาลให้ความสำคัญ
สำหรับความพิเศษโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพฯ-บ้านฉาง ช่วงพัทยา-มาบตาพุด กรมทางหลวงได้ใช้เทคโนโลยีในการตรวจสอบโดยติดตั้งเครื่องวัดความขรุขระของผิวด้วยเลเซอร์ (Laser Profilometer) ซึ่งใช้วัดดัชนีความเรียบขรุขระสากล (International Roughness Index, IRI) หากเป็นถนนคอนกรีตต้องมีค่าต่ำกว่า 2.5 และถนนแอสฟัลต์ต้องมีค่าต่ำกว่า 2.0 จึงตรวจรับงาน อันเป็นไปตามมาตรฐานสากล และคำแนะนำของธนาคารโลก
ทั้งนี้เมื่อโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จจะเป็นเส้นทางที่สามารถเชื่อมต่อการคมนาคมขนส่งระหว่างภาคกลางกับภาคตะวันออกได้อย่างสมบูรณ์ นับเป็นเส้นทางสายหลักที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ซึ่งจะช่วยส่งเสริมทั้งในภาคธุรกิจการค้าและการท่องเที่ยว ด้วยแนวเส้นทางที่สามารถรองรับการเดินทางและการขนส่งสินค้าในภาคตะวันออกไปยังทั่วทุกภูมิภาค เชื่อมโยงกับท่าเรือแหลมฉบังและนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึงการขนส่งทางรถไฟ และการขนส่งทางอากาศที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานอู่ตะเภา เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายโลจิสติกส์ของประเทศ เพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งของภูมิภาคอาเซียน
ทางหลวงหมายเลข 7 สายพัทยา-มาบตาพุด เป็นการก่อสร้างเส้นทางสายใหม่ ผ่านพื้นที่ 2 จังหวัด มีจุดเริ่มต้นที่ กม.2+300 เชื่อมกับทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ผ่านอำเภอบางละมุง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี สิ้นสุดที่เทศบาลเมืองมาบตาพุด จังหวัดระยอง บริเวณ กม.34+400 ระยะทางรวม 32 กม. ใช้งบประมาณการก่อสร้าง 14,200 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบประมาณจากกองทุนเงินค่าธรรมเนียมผ่านทางของทางหลวงพิเศษสำหรับงานก่อสร้างในส่วนงานโยธา แบ่งออกเป็น 13 สัญญา ติดตามภาพได้เลย
ที่มา : กรมทางหลวง
https://goo.gl/fWSnxr