.
บทที่ ๒๒ เจ้าฟ้าเมืองน่าน
กรุงสุโขทัยแต่โบราณปกครองโดยราชวงศ์พ่อขุนศรีนาวนำถม ก่อนจะถูกยึดครองโดยขอมสบาดโขลญลำพง
พ่อขุนผาเมืองพระโอรสของพ่อขุนศรีนาวนำถมทรงชักชวนพระสหาย คือพ่อขุนบางกลางหาวเจ้าเมืองราด เข้าโจมตีขับไล่ขอมสบาดโขลญลำพงออกไป แต่ด้วยเหตุที่พ่อขุนผาเมืองมีพระมเหสีเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ กษัตริย์ขอม เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาภายในและภายนอกระหว่างชาวสุโขทัยและชาวขอมที่จะตามมา พระองค์จึงทรงยกเมืองให้พ่อขุนบางกลางหาวครอบครอง ทรงมอบพระนามพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ให้พระสหาย สถาปนาราชวงศ์พระร่วงแห่งสุโขทัยขึ้น สืบต่อมาถึง ๔ รัชกาล
โดยมีองค์พ่อขุนพระยางั่วนำถม แห่งราชวงศ์ศรีนาวนำถม สลับขึ้นครองกรุงสุโขทัยในลำดับรัชกาลที่ ๕ ก่อนจะเกิดจลาจลขึ้นเมื่อสิ้นรัชกาล และองค์พ่อขุนพระยาลิไทแห่งราชวงศ์พระร่วงเสด็จขึ้นครองราชย์สืบต่อไป
องค์พ่อขุนพระยาลิไททรงเลื่อมใสและแตกฉานในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง โปรดให้สร้างวัดและวิหารมากมาย รวมทั้งพระพุทธรูปองค์สำคัญต่างๆ พระปรีชาญาณของพระองค์ปรากฏชัดในพระราชนิพนธ์ “ไตรภูมิพระร่วง” จนได้รับขนานพระนามว่า “พระมหาธรรมราชา”
ในแผ่นดินปัจจุบันซึ่งเป็นรัชกาลต่อมา องค์พ่อขุนพระยาลือไทพระราชโอรสของพระองค์ ทรงขึ้นครองราชย์ ออกพระนามตามพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ ๒
หลังจากทรงว่าราชการงานเมืองในช่วงบ่ายเสร็จสิ้น องค์พ่อขุนพระยาลือไทเสด็จออกจากท้องพระโรงสำหรับฝ่ายหน้าซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของพระราชวังที่ประทับ เมื่อทรงย่างพระบาทพ้นพระทวาร พนักงานวังในซึ่งรอรับเสด็จอยู่พลันกราบบังคมทูลว่า
“ขอเดชะฝ่าพระบาท พระศรีธรรมราชพระมเหสี มีพระราชเสาวนีย์ให้ข้าพระพุทธเจ้ามากราบทูลฝ่าพระบาทความว่า บัดนี้พระองค์หญิงกัณฐิมาศเจ้าฟ้าเมืองน่านเสด็จกลับสู่สุโขทัยแล้ว ฝ่าพระบาทจะมีพระประสงค์ให้พระองค์หญิงเข้าเฝ้าเมื่อใด พระพุทธเจ้าข้า”
“องค์หญิงกัณฐิมาศ..” รับสั่งทวนพระนามด้วยพระทัยยินดี “แล้วตอนนี้ พระนางอยู่ที่ใด”
“พระนางประทับอยู่กับพระมเหสีในพระราชวัง พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีแล้ว... เราจะกลับวัง จะได้พบและเจรจาพร้อมกับพระสาขา”
พระสาขา คือพระนามเดิมของพระมเหสี ซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระยาการเมือง กษัตริย์เมืองน่านพระองค์ก่อน เเละเป็นพระขนิษฐา (น้องสาว) ของพระยาผากอง กษัตริย์เมืองน่านองค์ปัจจุบัน อีกทั้งมีศักดิ์เป็นพระเชษฐภคินี (พี่สาว) ต่างพระมารดาขององค์หญิงกัณฐิมาศ
องค์พ่อขุนทรงพระดำเนินไปเบื้องทิศตะวันตก เพียงครู่ก็เสด็จถึงพระราชวังที่ประทับซึ่งอยู่ด้านหน้าวัดมหาธาตุ เป็นพระราชวังขนาดใหญ่ หน้าองค์ปราสาทขนาดกว้างราว ๒๖ วา (๕๒ เมตร) ตัวฐานพระราชวังก่ออิฐโบกปูนแข็งแรงเป็นรูปบัวคว่ำบัวหงายสูงราว ๑ วา ด้านบนปราสาทสร้างด้วยไม้สักขนาดใหญ่ ฉลุลายทองประดับตามขอบมุม แลดูสวยงามอลังการ
องค์หญิงกัณฐิมาศทรงหมอบกราบกับพื้นเมื่อองค์พ่อขุนเสด็จมาประทับบนพระราชอาสน์ร่วมกับพระมเหสี
“ลุกขึ้นนั่งเถิด หลานเรา” องค์พ่อขุนรับสั่งเรียกพระองค์หญิงตามสายสัมพันธ์แห่งเชื้อพระวงศ์สุโขทัย
เมื่อพระองค์หญิงทรงลุกขึ้นประทับบนพระแท่นองค์เล็กเบื้องข้างพระนางสาขาแล้ว องค์พ่อขุนจึงรับสั่งถามด้วยสีพระพักตร์เบิกบาน
“ตัวเจ้าเป็นอย่างไรบ้าง หายไปนานกว่าสองปี เราส่งคนไปตามที่เมืองน่านอยู่หลายครั้งก็เพียงแจ้งว่าออกจากเมืองไปเที่ยวเล่นตามหัวเมืองต่างๆ”
“เกล้ากระหม่อมฉันต้องขอพระราชทานอภัยโทษที่กระทำให้ฝ่าพระบาทขัดเคืองพระราชหฤทัย เหตุเพราะออกจากเมืองไปโดยมิได้กราบบังคมทูลลา เพคะ... เกล้ากระหม่อมฉันไปพำนักยังเมืองน่านและเมืองทางใต้ที่พอจะท่องเที่ยวออกไปได้ แม้จะมีความเพลิดเพลินอยู่บ้างแต่มิได้สบายใจเลย ด้วยอดเป็นห่วงและระลึกถึงฝ่าพระบาททั้งสองพระองค์ เพคะ”
“เจ้านี่ ช่างรู้จักประจบเจรจานัก” ทรงพระสรวล พอพระราชหฤทัยในคำกราบทูลของพระนางผู้เปรียบเหมือนพระภาคิไนย (ลูกของน้องสาว)
“แล้วองค์พระยาผากองล่ะ ทรงหายจากพระอาการบาดเจ็บดีแล้วหรือไม่” รับสั่งถามถึงพระเจ้าเมืองน่าน
“ตั้งแต่กลับจากศึกเมืองชากังราวครั้งก่อน พระเชษฐาธิราช (พี่ชายซึ่งเป็นกษัตริย์) ทรงได้รับบาดเจ็บแม้มิสาหัสแต่ก็ต้องพักพระวรกายอยู่นานถึง ๔ เดือน จึงทรงกลับมามีพระพลานามัยแข็งแรงดังเดิมเพคะ พระองค์ทรงให้เกล้ากระหม่อมฉันมากราบถวายพระพรฝ่าพระบาท ด้วยระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ เพคะ”
สีพระพักตร์ขององค์พ่อขุนซึ่งประดับด้วยรอยแย้มพระสรวลพลันคลายออก ทรงถอนพระปัสสาสะ (ลมหายใจออก) ตรัสว่า
“ศึกอโยธยาที่เมืองชากังราวเมื่อ ๒ ปีก่อน นับว่าเป็นศึกหนักที่สุดของกรุงสุโขทัย ผู้คนทั้งสองฝ่ายต่างล้มตายกันมากมาย แม้สุดท้ายอโยธยาจะถอยทัพกลับไปแต่ทางฝ่ายเรากลับต้องสูญเสียมากกว่า โดยเฉพาะบรรดาขุนพลแม่ทัพที่ถูกกุมตัวจับไป”
ทรงนิ่งไปชั่วครู่ จึงรับสั่งถามต่อขึ้นว่า
“เราได้ยินมาว่า ขณะที่พระยาผากองทรงเสียทีแก่ “ขุนปราบ” แม่ทัพใหญ่ฝ่ายอโยธยา มีทหารคนหนึ่งในกองทัพอโยธยาได้แปรพักตร์ช่วยเหลือพระองค์ไว้ เรื่องนี้พระองค์ทรงกล่าวถึงบ้างหรือไม่”
“เรื่องที่ฝ่าพระบาททรงรับฟังมา มีส่วนถูกต้องเพคะ ขณะที่องค์พระยาผากองทรงช้างอยู่หน้าศึก ขุนปราบแม่ทัพใหญ่ฝ่ายอโยธยาไสช้างเข้าหาพระองค์ ขุนปราบนั้นเป็นผู้มีฝีมือเป็นหนึ่งในอโยธยาหามีผู้ใดจะทัดเทียมได้ ขณะที่พระองค์ทรงเพลี้ยงพล้ำต้องคมง้าวของขุนปราบ มีทหารคนหนึ่งของอโยธยาไสช้างเข้ามาช่วยและต่อสู้กับขุนปราบจนบาดเจ็บไปทั้งคู่ ทำให้พระองค์ที่ได้รับบาดเจ็บสามารถนำกองทัพถอยกลับเมืองน่านได้เพคะ ส่วนทหารที่ช่วยพระองค์ไว้ เห็นว่าลักษณะการแต่งกายไม่ใช่ทหารใหญ่ เป็นเพียงหัวหมู่ธรรมดา แต่ฝีมือเก่งกาจมิได้แตกต่างจากขุนปราบเลยเพคะ”
องค์พ่อขุนทรงรับฟัง พร้อมทรงพยักพระพักตร์และเม้มพระโอษฐ์ พระอาการเคร่งขรึม
“นับว่าเป็นบุญของพระยาผากอง ทรงได้คนดีมาช่วยไว้ มิเช่นนั้นคงจะยับไปทั้งกองทัพน่าน...”
หลังจากทรงเงียบไปสักครู่หนึ่ง จึงทรงเปลี่ยนเรื่องรับสั่ง
“หลานเรากลับมาก็ดีแล้ว เจ้ารู้ไหมพระสาขาทรงคิดถึงเจ้ามาก”
“เกล้ากระหม่อมฉันสำนึกตัวดีเพคะ ว่าพระมเหสีทรงพระเมตตา... บุญคุณที่ได้ชุบเลี้ยงมาตลอดสิบกว่าปี เกล้ากระหม่อมฉันจดจำไว้มิได้ลืมเลือนเพคะ”
องค์หญิงกัณฐิมาศประสูติที่เมืองน่าน แต่หลังจากพระยาการเมืองถูกลอบปลงพระชนม์พร้อมพระมารดาของพระนาง พระองค์หญิงก็ทรงถูกรับกลับมาถวายการเลี้ยงดูอยู่ที่สุโขทัยกับพระมาตุจฉา (พี่สาวของแม่) ซึ่งเป็นพระธิดาองค์โตของพระมหาเถรศรีศรัทธา ภายหลังเมื่อพระมาตุจฉาสิ้นพระชนม์ลง พระนางสาขาจึงทรงรับพระนางมาอุปถัมภ์ดูแล ด้วยเป็นพระเชษฐภคินี (พี่สาว) ต่างพระมารดา พระชนมายุห่างกันถึง ๑๕ ชันษา ความผูกพันรักใคร่จึงประดุจน้าและหลานไม่ปาน
“อีกคนที่คงจะดีใจในการกลับมาของเจ้าก็คือ “ขุนกาฬ” ครั้งก่อนที่เจ้าหนีออกจากเมืองไปก็เพราะไม่ยินยอมหมั้นหมายกับเขา กลับมาครานี้คงจะปลงใจได้แล้วกระมัง”
พระมเหสีที่ทรงนิ่งอยู่ พลันรับสั่งขัดขึ้น
“พระองค์อย่าเร่งรับสั่งถึงเรื่องขุนกาฬเลย น้องหญิงเราเพิ่งจะกลับมา เดี๋ยวจะหนีหายไปอีก”
องค์พ่อขุนทรงรำลึกได้ว่าพระมเหสีทรงเจรจาความกับพระองค์หญิงมาได้ครู่ใหญ่ คงจะทรงหยั่งน้ำพระทัยอย่างใดมาได้บ้าง จึงรับสั่งไปเพียงว่า
“ช่างเถอะ เรายังมีเวลาอีกมาก... เราเพียงเห็นใจในความภักดีที่ “ขุนไกรหาญ” และขุนกาฬ สองอาหลานมีต่อเรา ทั้งสองขุนต่างทุ่มเทกายถวายชีวิตเพื่อปกป้องเมืองสุโขทัย... ตัวขุนกาฬเองก็เป็นขุนทัพมีฝีมือเป็นเอกกว่าผู้ใดในแคว้นเรา สมเป็นชาติอาชาไนยที่เหมาะสมคู่ควรกับหลานเรายิ่งนัก”
พระนางกัณฐิมาศรับสั่งเลี่ยงไปว่า
“เกล้ากระหม่อมฉันได้ยินระหว่างเดินทางกลับมาว่า อโยธยาเตรียมจะยกทัพขึ้นมาทำศึกอีกคราหลังเสร็จฤดูเก็บเกี่ยวข้าว อย่างไรเสียฝ่าพระบาทอย่าทรงนิ่งนอนพระทัย เพคะ”
องค์พ่อขุนทรงถอนพระปัสสาสะ ตรัสว่า
“บรรดาพ่อค้าที่ขึ้นล่องกับหัวเมืองทางใต้ก็โจษจันกันอยู่เรื่องกองทัพอโยธยาจะยกมา ตอนนี้ทุกคนต่างเสียขวัญ เราจึงคิดจะสร้างพระพุทธรูปองค์สำคัญประจำรัชกาลขึ้น เพื่อเป็นศิริมงคลและกำลังใจของชาวเมือง... เย็นนี้เราได้เรียกสามสำนักช่างใหญ่มาเฝ้าเพื่อบอกกล่าววิธีคัดเลือกช่างเอกผู้ดำเนินการ”
“สำนักบ้านเงินบ้านทอง” องค์หญิงทรงรำพึงขึ้นทันที
“ใช่ สำนักบ้านเงินบ้านทองเป็นหนึ่งในสามสำนักที่เราเรียกมาประกวดคัดเลือกในครั้งนี้”
-----------------------------------
แสงอาทิตย์อ่อนยามเย็น บริเวณลานดงตาลภายในกำแพงเมืองด้านทิศเหนือ เยื้องไปทางฝั่งตะวันตก ปรากฏหมู่ผู้คนนั่งอยู่ อันมีหัวหน้าสำนักช่างใหญ่ของเมืองสุโขทัยทั้งสามสำนัก พร้อมด้วย “ขุนเสนะทิพ” ขุนวังแห่งสุโขทัยและเหล่าข้าราชบริพารจำนวนหนึ่ง ทั้งหมดรอเข้าเฝ้าองค์พ่อขุนพระยาลือไท...
หากแม้นเป็นความที่เกี่ยวเนื่องด้วยชาวเมือง หรือเป็นงานแผ่นดินอันเกี่ยวเนื่องด้วยพ่อค้าหรือช่างฝีมือนอกราชสำนัก องค์พ่อขุนมักเสด็จมาประทับยังพระแท่นมนังคศิลาบาตร (หินสกัดขึ้นเป็นแท่นขนาดใหญ่ สร้างในสมัยพ่อขุนรามคำแหงสำหรับประทับหรือให้พระเถระขึ้นนั่งเทศนาธรรม) ณ ลานดงตาล เพื่อทรงประชุมปรึกษางาน ไม่โปรดการประชุมในท้องพระโรงให้มากพิธีการ
“ขอเดชะ ฝ่าพระบาท บัดนี้ครูแสงคำหัวหน้าสำนักบ้านเงินบ้านทอง ครูแก้วมารุนหัวหน้าสำนักศิลาจาร และ ครูผาทินหัวหน้าสำนักพุทธาไลย ต่างมาเฝ้าฝ่าพระบาทตามพระราชประสงค์แล้ว พระพุทธเจ้าข้า”
ขุนเสนะทิพ ตำแหน่งขุนวังผู้ดูแลกิจของราชสำนัก กิจการภายในตัวเมืองสุโขทัยและคดีความร้องทุกข์ กราบบังคมทูลเมื่อองค์พ่อขุนเสด็จมาประทับบนพระแท่นมนังคศิลาบาตรและทุกคนต่างถวายบังคมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
“ตามสบายเถิดทุกคน เราขอขอบใจที่มาพร้อมหน้ากันในวันนี้” องค์พ่อขุนพระยาลือไทมีพระราชปฏิสัณถาร (พูดทักทาย) ด้วยพระเมตตา จนผู้มาเข้าเฝ้าต่างพากันยิ้มแย้ม ก่อนจะรับสั่งต่อไปว่า
“ครั้งพระราชบิดา หากเป็นเรื่องศิลปะและศาสนาพระองค์มักจะทรงเรียกให้พวกท่านมาชุมนุมกัน ณ ที่นี้ ครั้งนี้ท่านขุนวังคงได้แจ้งความประสงค์ของเราให้ทุกท่านทราบและให้เตรียมตัวกันไว้บ้างแล้ว... เราปรารถนาจะสร้างพระพุทธรูปประจำรัชกาลขึ้น ด้วยตลอดระยะเวลา ๗ ปีที่เราขึ้นครองกรุงสุโขทัยมีแต่ศึกมาติดพันแทบทุกปี ผู้คนต่างมีใจท้อถอยจึงอยากสร้างองค์พระใหญ่ขึ้นเพื่อเป็นมิ่งขวัญแก่ชาวเมืองทั้งปวง”
“พวกข้าพระพุทธเจ้า ต่างขอสนองพระราชประสงค์ พระพุทธเจ้าข้า” ทั้งสามสำนักต่างกราบทูล แม้ถ้อยคำไม่พร้อมเพรียงกัน แต่ด้วยดวงใจที่ภักดีเสมอกัน
“ขอบใจพวกท่าน ในสมัยพระบิดา งานปั้นหล่อพระใหญ่ต่างๆ ก็มักโปรดให้สำนักบ้านเงินบ้านทองและสำนักศิลาจารเป็นผู้ดำเนินการ มาถึงสมัยของเราก็มีสำนักพุทธาไลยเกิดขึ้น มีผลงานมากมาย เราเชื่อว่าฝีมือของท่านทั้งสามหาได้เป็นรองกันไม่...
ครั้งนี้เราประสงค์จะให้หนึ่งในสำนักของท่านเป็นผู้ดำเนินการสร้างพระใหญ่ การคัดเลือกช่างเอกเพื่อดำเนินการคงต้องมีการประกวดประขันกันขึ้น หากแม้นอีกสองท่านไม่ได้รับคัดเลือกก็อย่าได้น้อยใจหรือตำหนิเราเลย อีกทั้งการประกวดประขันคงนำมาซึ่งความยินดีของชาวเมืองที่จะได้ชมผลงานของพวกท่าน”
“ขอเดชะ ฝ่าพระบาท สุดแท้แต่จะมีพระราชประสงค์เถิด พระพุทธเจ้าข้า อย่าได้ทรงปริวิตกกังวลถึงข้าพระพุทธเจ้าทั้งสามเลย พระเจ้าข้า” ปู่หลวงแสงคำ กราบถวายบังคมทูลแทนความในใจของครูช่างเอกทั้งสามสำนัก
(มีต่อ)
ราชาสิบสองนักษัตร ศึกรวมสุโขทัย - บทที่ ๒๒ เจ้าฟ้าเมืองน่าน
บทที่ ๒๒ เจ้าฟ้าเมืองน่าน
กรุงสุโขทัยแต่โบราณปกครองโดยราชวงศ์พ่อขุนศรีนาวนำถม ก่อนจะถูกยึดครองโดยขอมสบาดโขลญลำพง
พ่อขุนผาเมืองพระโอรสของพ่อขุนศรีนาวนำถมทรงชักชวนพระสหาย คือพ่อขุนบางกลางหาวเจ้าเมืองราด เข้าโจมตีขับไล่ขอมสบาดโขลญลำพงออกไป แต่ด้วยเหตุที่พ่อขุนผาเมืองมีพระมเหสีเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ กษัตริย์ขอม เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาภายในและภายนอกระหว่างชาวสุโขทัยและชาวขอมที่จะตามมา พระองค์จึงทรงยกเมืองให้พ่อขุนบางกลางหาวครอบครอง ทรงมอบพระนามพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ให้พระสหาย สถาปนาราชวงศ์พระร่วงแห่งสุโขทัยขึ้น สืบต่อมาถึง ๔ รัชกาล
โดยมีองค์พ่อขุนพระยางั่วนำถม แห่งราชวงศ์ศรีนาวนำถม สลับขึ้นครองกรุงสุโขทัยในลำดับรัชกาลที่ ๕ ก่อนจะเกิดจลาจลขึ้นเมื่อสิ้นรัชกาล และองค์พ่อขุนพระยาลิไทแห่งราชวงศ์พระร่วงเสด็จขึ้นครองราชย์สืบต่อไป
องค์พ่อขุนพระยาลิไททรงเลื่อมใสและแตกฉานในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง โปรดให้สร้างวัดและวิหารมากมาย รวมทั้งพระพุทธรูปองค์สำคัญต่างๆ พระปรีชาญาณของพระองค์ปรากฏชัดในพระราชนิพนธ์ “ไตรภูมิพระร่วง” จนได้รับขนานพระนามว่า “พระมหาธรรมราชา”
ในแผ่นดินปัจจุบันซึ่งเป็นรัชกาลต่อมา องค์พ่อขุนพระยาลือไทพระราชโอรสของพระองค์ ทรงขึ้นครองราชย์ ออกพระนามตามพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ ๒
หลังจากทรงว่าราชการงานเมืองในช่วงบ่ายเสร็จสิ้น องค์พ่อขุนพระยาลือไทเสด็จออกจากท้องพระโรงสำหรับฝ่ายหน้าซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของพระราชวังที่ประทับ เมื่อทรงย่างพระบาทพ้นพระทวาร พนักงานวังในซึ่งรอรับเสด็จอยู่พลันกราบบังคมทูลว่า
“ขอเดชะฝ่าพระบาท พระศรีธรรมราชพระมเหสี มีพระราชเสาวนีย์ให้ข้าพระพุทธเจ้ามากราบทูลฝ่าพระบาทความว่า บัดนี้พระองค์หญิงกัณฐิมาศเจ้าฟ้าเมืองน่านเสด็จกลับสู่สุโขทัยแล้ว ฝ่าพระบาทจะมีพระประสงค์ให้พระองค์หญิงเข้าเฝ้าเมื่อใด พระพุทธเจ้าข้า”
“องค์หญิงกัณฐิมาศ..” รับสั่งทวนพระนามด้วยพระทัยยินดี “แล้วตอนนี้ พระนางอยู่ที่ใด”
“พระนางประทับอยู่กับพระมเหสีในพระราชวัง พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีแล้ว... เราจะกลับวัง จะได้พบและเจรจาพร้อมกับพระสาขา”
พระสาขา คือพระนามเดิมของพระมเหสี ซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระยาการเมือง กษัตริย์เมืองน่านพระองค์ก่อน เเละเป็นพระขนิษฐา (น้องสาว) ของพระยาผากอง กษัตริย์เมืองน่านองค์ปัจจุบัน อีกทั้งมีศักดิ์เป็นพระเชษฐภคินี (พี่สาว) ต่างพระมารดาขององค์หญิงกัณฐิมาศ
องค์พ่อขุนทรงพระดำเนินไปเบื้องทิศตะวันตก เพียงครู่ก็เสด็จถึงพระราชวังที่ประทับซึ่งอยู่ด้านหน้าวัดมหาธาตุ เป็นพระราชวังขนาดใหญ่ หน้าองค์ปราสาทขนาดกว้างราว ๒๖ วา (๕๒ เมตร) ตัวฐานพระราชวังก่ออิฐโบกปูนแข็งแรงเป็นรูปบัวคว่ำบัวหงายสูงราว ๑ วา ด้านบนปราสาทสร้างด้วยไม้สักขนาดใหญ่ ฉลุลายทองประดับตามขอบมุม แลดูสวยงามอลังการ
องค์หญิงกัณฐิมาศทรงหมอบกราบกับพื้นเมื่อองค์พ่อขุนเสด็จมาประทับบนพระราชอาสน์ร่วมกับพระมเหสี
“ลุกขึ้นนั่งเถิด หลานเรา” องค์พ่อขุนรับสั่งเรียกพระองค์หญิงตามสายสัมพันธ์แห่งเชื้อพระวงศ์สุโขทัย
เมื่อพระองค์หญิงทรงลุกขึ้นประทับบนพระแท่นองค์เล็กเบื้องข้างพระนางสาขาแล้ว องค์พ่อขุนจึงรับสั่งถามด้วยสีพระพักตร์เบิกบาน
“ตัวเจ้าเป็นอย่างไรบ้าง หายไปนานกว่าสองปี เราส่งคนไปตามที่เมืองน่านอยู่หลายครั้งก็เพียงแจ้งว่าออกจากเมืองไปเที่ยวเล่นตามหัวเมืองต่างๆ”
“เกล้ากระหม่อมฉันต้องขอพระราชทานอภัยโทษที่กระทำให้ฝ่าพระบาทขัดเคืองพระราชหฤทัย เหตุเพราะออกจากเมืองไปโดยมิได้กราบบังคมทูลลา เพคะ... เกล้ากระหม่อมฉันไปพำนักยังเมืองน่านและเมืองทางใต้ที่พอจะท่องเที่ยวออกไปได้ แม้จะมีความเพลิดเพลินอยู่บ้างแต่มิได้สบายใจเลย ด้วยอดเป็นห่วงและระลึกถึงฝ่าพระบาททั้งสองพระองค์ เพคะ”
“เจ้านี่ ช่างรู้จักประจบเจรจานัก” ทรงพระสรวล พอพระราชหฤทัยในคำกราบทูลของพระนางผู้เปรียบเหมือนพระภาคิไนย (ลูกของน้องสาว)
“แล้วองค์พระยาผากองล่ะ ทรงหายจากพระอาการบาดเจ็บดีแล้วหรือไม่” รับสั่งถามถึงพระเจ้าเมืองน่าน
“ตั้งแต่กลับจากศึกเมืองชากังราวครั้งก่อน พระเชษฐาธิราช (พี่ชายซึ่งเป็นกษัตริย์) ทรงได้รับบาดเจ็บแม้มิสาหัสแต่ก็ต้องพักพระวรกายอยู่นานถึง ๔ เดือน จึงทรงกลับมามีพระพลานามัยแข็งแรงดังเดิมเพคะ พระองค์ทรงให้เกล้ากระหม่อมฉันมากราบถวายพระพรฝ่าพระบาท ด้วยระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ เพคะ”
สีพระพักตร์ขององค์พ่อขุนซึ่งประดับด้วยรอยแย้มพระสรวลพลันคลายออก ทรงถอนพระปัสสาสะ (ลมหายใจออก) ตรัสว่า
“ศึกอโยธยาที่เมืองชากังราวเมื่อ ๒ ปีก่อน นับว่าเป็นศึกหนักที่สุดของกรุงสุโขทัย ผู้คนทั้งสองฝ่ายต่างล้มตายกันมากมาย แม้สุดท้ายอโยธยาจะถอยทัพกลับไปแต่ทางฝ่ายเรากลับต้องสูญเสียมากกว่า โดยเฉพาะบรรดาขุนพลแม่ทัพที่ถูกกุมตัวจับไป”
ทรงนิ่งไปชั่วครู่ จึงรับสั่งถามต่อขึ้นว่า
“เราได้ยินมาว่า ขณะที่พระยาผากองทรงเสียทีแก่ “ขุนปราบ” แม่ทัพใหญ่ฝ่ายอโยธยา มีทหารคนหนึ่งในกองทัพอโยธยาได้แปรพักตร์ช่วยเหลือพระองค์ไว้ เรื่องนี้พระองค์ทรงกล่าวถึงบ้างหรือไม่”
“เรื่องที่ฝ่าพระบาททรงรับฟังมา มีส่วนถูกต้องเพคะ ขณะที่องค์พระยาผากองทรงช้างอยู่หน้าศึก ขุนปราบแม่ทัพใหญ่ฝ่ายอโยธยาไสช้างเข้าหาพระองค์ ขุนปราบนั้นเป็นผู้มีฝีมือเป็นหนึ่งในอโยธยาหามีผู้ใดจะทัดเทียมได้ ขณะที่พระองค์ทรงเพลี้ยงพล้ำต้องคมง้าวของขุนปราบ มีทหารคนหนึ่งของอโยธยาไสช้างเข้ามาช่วยและต่อสู้กับขุนปราบจนบาดเจ็บไปทั้งคู่ ทำให้พระองค์ที่ได้รับบาดเจ็บสามารถนำกองทัพถอยกลับเมืองน่านได้เพคะ ส่วนทหารที่ช่วยพระองค์ไว้ เห็นว่าลักษณะการแต่งกายไม่ใช่ทหารใหญ่ เป็นเพียงหัวหมู่ธรรมดา แต่ฝีมือเก่งกาจมิได้แตกต่างจากขุนปราบเลยเพคะ”
องค์พ่อขุนทรงรับฟัง พร้อมทรงพยักพระพักตร์และเม้มพระโอษฐ์ พระอาการเคร่งขรึม
“นับว่าเป็นบุญของพระยาผากอง ทรงได้คนดีมาช่วยไว้ มิเช่นนั้นคงจะยับไปทั้งกองทัพน่าน...”
หลังจากทรงเงียบไปสักครู่หนึ่ง จึงทรงเปลี่ยนเรื่องรับสั่ง
“หลานเรากลับมาก็ดีแล้ว เจ้ารู้ไหมพระสาขาทรงคิดถึงเจ้ามาก”
“เกล้ากระหม่อมฉันสำนึกตัวดีเพคะ ว่าพระมเหสีทรงพระเมตตา... บุญคุณที่ได้ชุบเลี้ยงมาตลอดสิบกว่าปี เกล้ากระหม่อมฉันจดจำไว้มิได้ลืมเลือนเพคะ”
องค์หญิงกัณฐิมาศประสูติที่เมืองน่าน แต่หลังจากพระยาการเมืองถูกลอบปลงพระชนม์พร้อมพระมารดาของพระนาง พระองค์หญิงก็ทรงถูกรับกลับมาถวายการเลี้ยงดูอยู่ที่สุโขทัยกับพระมาตุจฉา (พี่สาวของแม่) ซึ่งเป็นพระธิดาองค์โตของพระมหาเถรศรีศรัทธา ภายหลังเมื่อพระมาตุจฉาสิ้นพระชนม์ลง พระนางสาขาจึงทรงรับพระนางมาอุปถัมภ์ดูแล ด้วยเป็นพระเชษฐภคินี (พี่สาว) ต่างพระมารดา พระชนมายุห่างกันถึง ๑๕ ชันษา ความผูกพันรักใคร่จึงประดุจน้าและหลานไม่ปาน
“อีกคนที่คงจะดีใจในการกลับมาของเจ้าก็คือ “ขุนกาฬ” ครั้งก่อนที่เจ้าหนีออกจากเมืองไปก็เพราะไม่ยินยอมหมั้นหมายกับเขา กลับมาครานี้คงจะปลงใจได้แล้วกระมัง”
พระมเหสีที่ทรงนิ่งอยู่ พลันรับสั่งขัดขึ้น
“พระองค์อย่าเร่งรับสั่งถึงเรื่องขุนกาฬเลย น้องหญิงเราเพิ่งจะกลับมา เดี๋ยวจะหนีหายไปอีก”
องค์พ่อขุนทรงรำลึกได้ว่าพระมเหสีทรงเจรจาความกับพระองค์หญิงมาได้ครู่ใหญ่ คงจะทรงหยั่งน้ำพระทัยอย่างใดมาได้บ้าง จึงรับสั่งไปเพียงว่า
“ช่างเถอะ เรายังมีเวลาอีกมาก... เราเพียงเห็นใจในความภักดีที่ “ขุนไกรหาญ” และขุนกาฬ สองอาหลานมีต่อเรา ทั้งสองขุนต่างทุ่มเทกายถวายชีวิตเพื่อปกป้องเมืองสุโขทัย... ตัวขุนกาฬเองก็เป็นขุนทัพมีฝีมือเป็นเอกกว่าผู้ใดในแคว้นเรา สมเป็นชาติอาชาไนยที่เหมาะสมคู่ควรกับหลานเรายิ่งนัก”
พระนางกัณฐิมาศรับสั่งเลี่ยงไปว่า
“เกล้ากระหม่อมฉันได้ยินระหว่างเดินทางกลับมาว่า อโยธยาเตรียมจะยกทัพขึ้นมาทำศึกอีกคราหลังเสร็จฤดูเก็บเกี่ยวข้าว อย่างไรเสียฝ่าพระบาทอย่าทรงนิ่งนอนพระทัย เพคะ”
องค์พ่อขุนทรงถอนพระปัสสาสะ ตรัสว่า
“บรรดาพ่อค้าที่ขึ้นล่องกับหัวเมืองทางใต้ก็โจษจันกันอยู่เรื่องกองทัพอโยธยาจะยกมา ตอนนี้ทุกคนต่างเสียขวัญ เราจึงคิดจะสร้างพระพุทธรูปองค์สำคัญประจำรัชกาลขึ้น เพื่อเป็นศิริมงคลและกำลังใจของชาวเมือง... เย็นนี้เราได้เรียกสามสำนักช่างใหญ่มาเฝ้าเพื่อบอกกล่าววิธีคัดเลือกช่างเอกผู้ดำเนินการ”
“สำนักบ้านเงินบ้านทอง” องค์หญิงทรงรำพึงขึ้นทันที
“ใช่ สำนักบ้านเงินบ้านทองเป็นหนึ่งในสามสำนักที่เราเรียกมาประกวดคัดเลือกในครั้งนี้”
-----------------------------------
แสงอาทิตย์อ่อนยามเย็น บริเวณลานดงตาลภายในกำแพงเมืองด้านทิศเหนือ เยื้องไปทางฝั่งตะวันตก ปรากฏหมู่ผู้คนนั่งอยู่ อันมีหัวหน้าสำนักช่างใหญ่ของเมืองสุโขทัยทั้งสามสำนัก พร้อมด้วย “ขุนเสนะทิพ” ขุนวังแห่งสุโขทัยและเหล่าข้าราชบริพารจำนวนหนึ่ง ทั้งหมดรอเข้าเฝ้าองค์พ่อขุนพระยาลือไท...
หากแม้นเป็นความที่เกี่ยวเนื่องด้วยชาวเมือง หรือเป็นงานแผ่นดินอันเกี่ยวเนื่องด้วยพ่อค้าหรือช่างฝีมือนอกราชสำนัก องค์พ่อขุนมักเสด็จมาประทับยังพระแท่นมนังคศิลาบาตร (หินสกัดขึ้นเป็นแท่นขนาดใหญ่ สร้างในสมัยพ่อขุนรามคำแหงสำหรับประทับหรือให้พระเถระขึ้นนั่งเทศนาธรรม) ณ ลานดงตาล เพื่อทรงประชุมปรึกษางาน ไม่โปรดการประชุมในท้องพระโรงให้มากพิธีการ
“ขอเดชะ ฝ่าพระบาท บัดนี้ครูแสงคำหัวหน้าสำนักบ้านเงินบ้านทอง ครูแก้วมารุนหัวหน้าสำนักศิลาจาร และ ครูผาทินหัวหน้าสำนักพุทธาไลย ต่างมาเฝ้าฝ่าพระบาทตามพระราชประสงค์แล้ว พระพุทธเจ้าข้า”
ขุนเสนะทิพ ตำแหน่งขุนวังผู้ดูแลกิจของราชสำนัก กิจการภายในตัวเมืองสุโขทัยและคดีความร้องทุกข์ กราบบังคมทูลเมื่อองค์พ่อขุนเสด็จมาประทับบนพระแท่นมนังคศิลาบาตรและทุกคนต่างถวายบังคมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
“ตามสบายเถิดทุกคน เราขอขอบใจที่มาพร้อมหน้ากันในวันนี้” องค์พ่อขุนพระยาลือไทมีพระราชปฏิสัณถาร (พูดทักทาย) ด้วยพระเมตตา จนผู้มาเข้าเฝ้าต่างพากันยิ้มแย้ม ก่อนจะรับสั่งต่อไปว่า
“ครั้งพระราชบิดา หากเป็นเรื่องศิลปะและศาสนาพระองค์มักจะทรงเรียกให้พวกท่านมาชุมนุมกัน ณ ที่นี้ ครั้งนี้ท่านขุนวังคงได้แจ้งความประสงค์ของเราให้ทุกท่านทราบและให้เตรียมตัวกันไว้บ้างแล้ว... เราปรารถนาจะสร้างพระพุทธรูปประจำรัชกาลขึ้น ด้วยตลอดระยะเวลา ๗ ปีที่เราขึ้นครองกรุงสุโขทัยมีแต่ศึกมาติดพันแทบทุกปี ผู้คนต่างมีใจท้อถอยจึงอยากสร้างองค์พระใหญ่ขึ้นเพื่อเป็นมิ่งขวัญแก่ชาวเมืองทั้งปวง”
“พวกข้าพระพุทธเจ้า ต่างขอสนองพระราชประสงค์ พระพุทธเจ้าข้า” ทั้งสามสำนักต่างกราบทูล แม้ถ้อยคำไม่พร้อมเพรียงกัน แต่ด้วยดวงใจที่ภักดีเสมอกัน
“ขอบใจพวกท่าน ในสมัยพระบิดา งานปั้นหล่อพระใหญ่ต่างๆ ก็มักโปรดให้สำนักบ้านเงินบ้านทองและสำนักศิลาจารเป็นผู้ดำเนินการ มาถึงสมัยของเราก็มีสำนักพุทธาไลยเกิดขึ้น มีผลงานมากมาย เราเชื่อว่าฝีมือของท่านทั้งสามหาได้เป็นรองกันไม่...
ครั้งนี้เราประสงค์จะให้หนึ่งในสำนักของท่านเป็นผู้ดำเนินการสร้างพระใหญ่ การคัดเลือกช่างเอกเพื่อดำเนินการคงต้องมีการประกวดประขันกันขึ้น หากแม้นอีกสองท่านไม่ได้รับคัดเลือกก็อย่าได้น้อยใจหรือตำหนิเราเลย อีกทั้งการประกวดประขันคงนำมาซึ่งความยินดีของชาวเมืองที่จะได้ชมผลงานของพวกท่าน”
“ขอเดชะ ฝ่าพระบาท สุดแท้แต่จะมีพระราชประสงค์เถิด พระพุทธเจ้าข้า อย่าได้ทรงปริวิตกกังวลถึงข้าพระพุทธเจ้าทั้งสามเลย พระเจ้าข้า” ปู่หลวงแสงคำ กราบถวายบังคมทูลแทนความในใจของครูช่างเอกทั้งสามสำนัก
(มีต่อ)