เอ็นร้อยหวาย กับที่มาของชื่อสุดโหด #หนึ่งด้าวฟ้าเดียว


เอ็นร้อยหวาย กับที่มาของชื่อนี้


ในบทนี้ผมจะมาบอกเล่าประวัติศาสตร์สั้นๆกับที่มาของชื่อ "เอ็นร้อยหวาย" ว่าทำไมมันถึงชื่อ เอ็น+ร้อยหวาย แอบกระซิบนิดนึงว่า มันโหดมั้กๆ จะเป็นยังไงนั้น ตามมาเลยครับผม


เอ็นร้อยหวาย (Achilles tendon) คือ เส้นเอ็นที่อยู่บริเวณด้านหลังข้อเท้า โดยเมื่อใช้นิ้วคลำตั้งแต่กระดูกส้นเท้าขึ้นมาจะพบเส้นเอ็นที่มีความแข็งตึง และเมื่อเรากระดกข้อเท้าจะเห็นแนวของเส้นเอ็นชัดเจน ซึ่งตรงจุดนั้นละครับที่มีชื่อว่าเอ็นร้อยหวาย


ลักษณะการคล้องจะคล้ายๆภาพนี้

ที่มาของชื่อเอ็นร้อยหวาย


เมื่อถามถึงที่มาของชื่อ "เอ็นร้อยหวาย" ว่ามาจากไหน? เกิดขึ้นได้อย่างไร? เห็นทีคงจะต้องย้อนกลับไปตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแตกเลยละมั้งครับ เพราะเป็นช่วงที่มีหลักฐานบันทึกไว้ชัดเจนว่า หลังสิ้นสุดสงคราม พม่าสามารถเข้ายึดกรุงศรีได้แล้ว ก็เข้าทำการปล้มสะดมของมีค่าต่างๆ และกวาดต้อนเชลยศึกกลับพม่า และขณะที่กวาดต้อนเชลยศึกกลับประเทศ ก็มีเชลยศึก(คนไทย) บางส่วนหลบหนีไปได้ แล้วเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เชลยศึกหลบหนีได้อีก ผู้คุมจึงเจาะที่ด้านหลังตาตุ่มแล้วนำหวาย (คือ พืชตระกูลปาล์มชนิดนึงมีลำต้นเรียวยาว และมีความแข็งแรง เหนียวมาก จึงนิยมมาใช้ในงานหัตถกรรม ทำโต๊ะ ทำเก้าอี้ หรือแม้กระทั่งเอามาทำเป็นไม้เรียวไว้ตีเด็ก เพี๊ยะๆ) มาร้อยที่ตาตุ่มใกล้ๆกับเส้นเอ็น ผ่านขาซ้ายไปยังขาขวา ทำให้เชลยศึกวิ่งหนีไปไหนไม่ได้ และนี่คือที่มาของชื่อ "เอ็นร้อยหวาย" นั่นเองครับ


หวายที่ใช้ร้อยผ่านตาตุ่มของเชลยในอดีต

เท่านั้นยังไม่พอ เพื่อให้เชลยหนียากขึ้นอีก ผู้คุมจึงร้อยหวายแทนที่จะเป็นหวาย 1 เส้นต่อเชลย 1 คนก็ใช้หวาย 1 เส้นต่อเชลยหลายคนๆซะเลย เวลาเดินก็ต้องเดินด้วยกัน การหลบหนีจึงทำได้ยากกว่า หรือต่อให้หนีไปได้ก้ตามจับตัวได้ง่าย เพราะมันต้องวิ่งหนีกันเป็นกลุ่มๆ (เอาจริงๆไม่ต้องถึงร้อยหวายที่ข้อเท้าหรอกครับ แต่เจาะบริเวณหลังตาตุ่มก็เจ็บซะจนเดินแทบไม่ได้แล้ว)


อ่านมาถึงตรงนี้ บางคนอาจจะบอกว่าทหารพม่าดูโหดร้ายจัง แต่หารู้ไม่ว่าในประเทศไทยเอง(สยาม) ก็นิยมใช้หวายมาร้อยที่บริเวณตาตุ่มใกล้กับเส้นเอ็นเช่นกัน ซึงนิยมใช้กับบรรดาทาสที่พยายามหนี หรือบรรดานักโทษนั่นเองครับ

เครดิต http://www.doobody.com/%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1-34783-%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B9%82%E0%B8%AB%E0%B8%94.html
ความคิดเห็นจาก Expert Account
ความคิดเห็นที่ 16
ผมเห็นด้วยกับหลายๆ ความคิดเห็นว่าไม่น่ามีการใช้วิธีนี้ในการกวาดต้อนเชลยอยู่จริงครับ โดยมีข้อควรพิจารณาดังนี้

๑. ทั้งหลักฐานของไทยและพม่าไม่มีการระบุว่าใช้วิธีการเจาะเอ็นร้อยหวายในการกวาดต้อนเชลยคราวสงครามเสียกรุง ๒๓๑๐ เอาจริงๆ ยังไม่พบหลักฐานที่สามารถยืนยันได้อย่างชัดเจนว่าเคยมีการเจาะเอ็นร้อยหวายในการกวาดต้อนเชลยจำนวนมากนอกจากเรื่องที่เพิ่งมาเล่ากันในยุคหลังๆ เท่านั้น  แต่ส่วนใหญ่เท่าที่พบคือจะระบุว่าการเจาะเอ็นร้อยหวายใช้กับนักโทษทั่วไปมากกว่า

๒. จากพงศาวดารพม่า กองทัพพม่าต้องรีบถอยทัพกลับอย่างรวดเร็วเพราะได้ข่าวว่ากองทัพต้าชิงยกมาตีกรุงอังวะ  โดยเนมฺโยสีหปเต๊ะยกทัพของตนออกจากอยุทธยาในเดือน ๗ และกลับไปถึงกรุงอังวะในเดือน ๙ ใช้เวลาเพียง ๒ เดือนเท่านั้น การจะมาเสียเวลาเจาะเอ็นร้อยหวายเชลยจำนวนมาก (ไทยระบุว่า ๓๐,๐๐๐ พม่าว่ามีถึง ๑๐๖,๑๐๐) แม้จะไม่ทุกคนก็ตามก็ยังเป็นไปได้ยาก เพราะนอกจากเสียเวลาในการเจาะแล้วกลับยิ่งเป็นภาระในการเดินทางมากขึ้นไปอีกเพราะสร้างความเจ็บปวดให้เชลยอย่างมาก รวมถึงต้องเสียเวลามาพยาบาลรักษาเชลยอีก

๓. การเจาะเอ็นร้อยหวายให้เดินทางไกลด้วยเท้าเปล่านั้นมีโอกาสติดเชื้อโดยเฉพาะบาดทะยักจนตายสูงมากหรือไม่ก็อาจพิการจนเดินไม่ได้ เป็นการสูญเสียเชลยโดยไม่จำเป็น ขัดแย้งกับแนวคิดของการทำศึกสมัยโบราณของแถบนี้ที่กวาดต้อนประชากรไปใช้แรงงานเป็นหลัก


วิธีนี้อาจจะมีใช้งานกับเชลยอยู่ แต่ถ้ามีจริงก็ไม่น่าจะใช้มาก สันนิษฐานจะใช้เป็นการลงโทษเชลยที่หลบหนีบางคนให้พอเป็นตัวอย่างไม่ให้เชลยอื่นหลบหนีอย่างที่ คห.14 ระบุมากกว่าครับ โดยเชลยส่วนใหญ่เอาเชือกมัดข้อมือข้อเท้าร้อยกันไปไว้ก็น่าจะพอแล้ว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่