ผบ.ทอ.เป็นประธานพิธีเกียรติยศเนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปี เครื่องบินขับไล่แบบ เอฟ-16 เอ/บี ที่ กองบิน 1 จังหวัดนครราชสีมา โดยมีการสวนสนามของเครื่องบินเอฟ -16 จาก 3 ฝูงบิน...
เมื่อวันที่ 13 มิ.ย.2561 พล.อ.อ.จอม รุ่งสว่าง ผู้บัญชาการกองทัพอากาศ เป็นประธานในพิธีเกียรติยศเนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปี เครื่องบินขับไล่แบบ 19/ก หรือ เครื่องบิน เอฟ-16 “30 ปี บ.ข.19 /ก แสนยานุภาพเหนือน่านฟ้าไทย” ณ กองบิน 1 จังหวัดนครราชสีมา ในโอกาสนี้ พลอากาศเอกอิทธิพร ศุภวงศ์ และพลอากาศเอกประจิน จั่นตอง อดีตผู้บัญชาการกองทัพอากาศ ที่เคยทำการบินกับเครื่องบิน เอฟ-16 ได้ให้เกียรติเดินทางมาร่วมพิธีเกียรติยศครั้งนี้ด้วย
เอฟ-16 บินเกาะหมู่ สวนสนามทางอากาศ
ผบ.ทอ. และ อดีต ผบ.ทอ. นักบินเอฟ-16 ชุดแรกๆ ของทอ.ไทย
นักบินเอฟ-16 ของกองทัพอากาศไทย
เครื่องบิน เอฟ-16 ได้บรรจุเข้าประจำการครั้งแรกในกองทัพอากาศเมื่อวันที่ 2 ก.ค.2531 ตามโครงการ PEACE NARESUAN ที่เป็นโครงการที่กองทัพอากาศจัดหาเครื่องบินรบที่ทันสมัยเข้าประจำการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการป้องปรามและตอบโต้การรุกรานของลัทธิคอมมิวนิสต์จากประเทศรอบข้างต่อมากองทัพอากาศได้จัดซื้อเครื่องบินเอฟ-16 เพิ่มเติม เข้าประจำการยัง ฝูงบิน 103 LIGHTNING กองบิน 1 และฝูง 403 COBRA กองบิน 4 และ ฝูง 102 STARS กองบิน 1 ตามลำดับ
เอฟ-16 เอ ฝูงบิน 103
เอฟ-16 บี ฝูงบิน 103
เอ้าหยุด.......!!
เมื่อปี 2549 กองทัพอากาศไทยได้อนุมัติแผนการปรับปรุงขีดความสามารถของเครื่องบินขับไล่ F-16 A/B ของฝูงบิน 102 และฝูงบิน 103 ที่มีอายุใช้งานขณะนั้นกว่า 20 ปีในช่วงครึ่งอายุการใช้งาน ให้มีขีดความสามารถที่สูงขึ้น โดยได้รับการปรับปรุงตามโครงการระยะที่ 1 ภายใต้ชื่อ FALCON UP เพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจด้วยความปลอดภัยจนถึง 4,000 ชั่วโมง และก็ได้เข้าสู่โครงการปรับปรุงต่อเนื่องตามโครงการระยะที่ 2 ภายใต้ชื่อ FALCON STAR เพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจด้วยความปลอดภัยจนถึง 8,000 ชั่วโมง และ เอฟ-16 ของฝูงบิน 403 ได้เข้าโครงการปรับปรุง FALCON STAR ร่วมกับเครื่องบิน F-16 A/B ของฝูงบิน 102 และฝูงบิน 103 ที่จะทำให้เครื่องบินสามารถปฏิบัติการได้ด้วยความปลอดภัยไปจนถึง 8,000 ชั่วโมง
เอฟ-16 เอดีเอฟ ฝูงบิน 102
เอฟ-16 เอ ฝูงบิน 403
ล่าสุด เครื่องบิน เอฟ-16 ของฝูงบิน 403 ยังได้เข้าปรับปรุงตามโครงการระยะที่ 3 ภายใต้ชื่อ F-16 A/B MLU (MID-LIFE UPDATE) เพื่อพัฒนาระบบเรดาร์ตรวจจับรุ่นใหม่ ระบบคอมพิวเตอร์อำนวยการรบ และเอวิโอนิกส์ รวมถึงระบบการป้องกันตนเองอัตโนมัติ และการอัพเกรดซอฟต์แวร์เพื่อรองรับระบบอาวุธที่ทันสมัย อาทิ อาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศระยะนอกสายตา, อาวุธปล่อยอากาศสู่พื้นนำวิถีด้วย GPS และอากาศสู่เรือผิวน้ำ เป็นต้น.
ที่มา
https://www.thairath.co.th/content/1306787
กองทัพอากาศจัดงานเกียรติยศ เอฟ-16 ครบรอบ 30 ปีที่กองบิน 1
ผบ.ทอ.เป็นประธานพิธีเกียรติยศเนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปี เครื่องบินขับไล่แบบ เอฟ-16 เอ/บี ที่ กองบิน 1 จังหวัดนครราชสีมา โดยมีการสวนสนามของเครื่องบินเอฟ -16 จาก 3 ฝูงบิน...
เมื่อวันที่ 13 มิ.ย.2561 พล.อ.อ.จอม รุ่งสว่าง ผู้บัญชาการกองทัพอากาศ เป็นประธานในพิธีเกียรติยศเนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปี เครื่องบินขับไล่แบบ 19/ก หรือ เครื่องบิน เอฟ-16 “30 ปี บ.ข.19 /ก แสนยานุภาพเหนือน่านฟ้าไทย” ณ กองบิน 1 จังหวัดนครราชสีมา ในโอกาสนี้ พลอากาศเอกอิทธิพร ศุภวงศ์ และพลอากาศเอกประจิน จั่นตอง อดีตผู้บัญชาการกองทัพอากาศ ที่เคยทำการบินกับเครื่องบิน เอฟ-16 ได้ให้เกียรติเดินทางมาร่วมพิธีเกียรติยศครั้งนี้ด้วย
เอฟ-16 บินเกาะหมู่ สวนสนามทางอากาศ
ผบ.ทอ. และ อดีต ผบ.ทอ. นักบินเอฟ-16 ชุดแรกๆ ของทอ.ไทย
นักบินเอฟ-16 ของกองทัพอากาศไทย
เครื่องบิน เอฟ-16 ได้บรรจุเข้าประจำการครั้งแรกในกองทัพอากาศเมื่อวันที่ 2 ก.ค.2531 ตามโครงการ PEACE NARESUAN ที่เป็นโครงการที่กองทัพอากาศจัดหาเครื่องบินรบที่ทันสมัยเข้าประจำการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการป้องปรามและตอบโต้การรุกรานของลัทธิคอมมิวนิสต์จากประเทศรอบข้างต่อมากองทัพอากาศได้จัดซื้อเครื่องบินเอฟ-16 เพิ่มเติม เข้าประจำการยัง ฝูงบิน 103 LIGHTNING กองบิน 1 และฝูง 403 COBRA กองบิน 4 และ ฝูง 102 STARS กองบิน 1 ตามลำดับ
เอฟ-16 เอ ฝูงบิน 103
เอฟ-16 บี ฝูงบิน 103
เอ้าหยุด.......!!
เมื่อปี 2549 กองทัพอากาศไทยได้อนุมัติแผนการปรับปรุงขีดความสามารถของเครื่องบินขับไล่ F-16 A/B ของฝูงบิน 102 และฝูงบิน 103 ที่มีอายุใช้งานขณะนั้นกว่า 20 ปีในช่วงครึ่งอายุการใช้งาน ให้มีขีดความสามารถที่สูงขึ้น โดยได้รับการปรับปรุงตามโครงการระยะที่ 1 ภายใต้ชื่อ FALCON UP เพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจด้วยความปลอดภัยจนถึง 4,000 ชั่วโมง และก็ได้เข้าสู่โครงการปรับปรุงต่อเนื่องตามโครงการระยะที่ 2 ภายใต้ชื่อ FALCON STAR เพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจด้วยความปลอดภัยจนถึง 8,000 ชั่วโมง และ เอฟ-16 ของฝูงบิน 403 ได้เข้าโครงการปรับปรุง FALCON STAR ร่วมกับเครื่องบิน F-16 A/B ของฝูงบิน 102 และฝูงบิน 103 ที่จะทำให้เครื่องบินสามารถปฏิบัติการได้ด้วยความปลอดภัยไปจนถึง 8,000 ชั่วโมง
เอฟ-16 เอดีเอฟ ฝูงบิน 102
เอฟ-16 เอ ฝูงบิน 403
ล่าสุด เครื่องบิน เอฟ-16 ของฝูงบิน 403 ยังได้เข้าปรับปรุงตามโครงการระยะที่ 3 ภายใต้ชื่อ F-16 A/B MLU (MID-LIFE UPDATE) เพื่อพัฒนาระบบเรดาร์ตรวจจับรุ่นใหม่ ระบบคอมพิวเตอร์อำนวยการรบ และเอวิโอนิกส์ รวมถึงระบบการป้องกันตนเองอัตโนมัติ และการอัพเกรดซอฟต์แวร์เพื่อรองรับระบบอาวุธที่ทันสมัย อาทิ อาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศระยะนอกสายตา, อาวุธปล่อยอากาศสู่พื้นนำวิถีด้วย GPS และอากาศสู่เรือผิวน้ำ เป็นต้น.
ที่มา https://www.thairath.co.th/content/1306787