Trader หรือนัก “ซื้อ-ขาย” หลักทรัพย์หรือเครื่องมือทางการเงินอื่นในตลาดนั้น พูดในทางวิชาการแล้วก็ไม่ใช่ “นักลงทุน” แม้ว่าทั้งสองกลุ่มอาจจะเข้ามาซื้อขายหลักทรัพย์เช่น หุ้น ในตลาดเดียวกัน การแบ่งแยกว่าใครเป็นเทรดเดอร์และใครเป็นนักลงทุนนั้น บางทีก็ไม่สามารถแยกแยะได้อย่างเด็ดขาด เพราะคน ๆ เดียวกันอาจจะทำทั้งสองอย่าง คือในบางครั้งบางเวลาก็เป็นเทรดเดอร์แต่ในบางเวลาก็เป็น Investor หรือนักลงทุน ในอีกด้านหนึ่ง หลักทรัพย์และวิธีการซื้อขายหรือลงทุนแต่ละอย่างนั้นก็มีคุณสมบัติแตกต่างกัน หลักทรัพย์บางอย่างนั้นการเข้าไปซื้อขายก็สามารถบอกได้ชัดเจนว่าคนที่เข้าไปทำคือ Trader แน่นอน เช่นการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ แต่ในหลักทรัพย์บางอย่างเช่นหุ้นนั้น บางทีก็เป็นการลงทุนแต่บางครั้งก็เป็นการเทรดขึ้นอยู่กับความตั้งใจและวิธีการของคนซื้อขาย ลองมาดูกันว่าลักษณะแบบไหนเป็นการแสดงให้เห็นว่ามันเป็นการเทรดและคนที่ทำมากก็น่าจะเป็นเทรดเดอร์ไม่ใช่นักลงทุน
เริ่มตั้งแต่เรื่องของความตั้งใจของคนที่ซื้อ ถ้าเขาคิดว่าเขาซื้อหลักทรัพย์มาเพื่อที่จะขายในระยะเวลาอันสั้นเพื่อหวังผลกำไรจากส่วนต่างของราคา ลักษณะนี้ก็ดูเหมือนว่าเขาจะเป็นเทรดเดอร์ ยิ่งสั้นเท่าไร เช่น ต้องการถือแค่ไม่เกิน 2-3 สัปดาห์หรือบางทีเป็นวัน แบบนี้ก็ชัดเจนว่าเขาน่าจะเป็นเทรดเดอร์ ถ้ายาวออกมาเป็น 2-3 เดือนขึ้นไป บางทีก็อาจจะถือว่าเป็นนักลงทุนระยะสั้น แต่ถ้าคิดว่าจะถือเป็นปีหรือหลายปี แบบนี้ก็มักจะชัดเจนว่าเป็นการลงทุน
หลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงินที่โดยปกติมีราคาผันผวนรุนแรงในระยะสั้น อาจจะด้วยคุณลักษณะของตัวมันเองหรืออาจจะเป็นเพราะมันถูกออกแบบมาในลักษณะที่ความผันผวนถูกขยายให้มากขึ้นเป็นหลาย ๆ เท่าผ่านการ Leverage หรือการกู้เงินเพิ่มมาก ๆ ก็มักเป็นเรื่องของการเทรด ตัวอย่างตราสารเหล่านี้ก็เช่น การซื้อขาย Future, Option, Forex, Derivative Warrant (DW) ของหุ้นต่าง ๆ รวมถึงการทำ Block Trade ซื้อขายหุ้นบางตัวจำนวนมากด้วยการกู้เงินมหาศาล ทั้งหมดนั้นมักจะมีความผันผวนของราคาสูงมาก บางทีเป็น 10 เท่าของการผันผวนของหลักทรัพย์หรือตราสารการเงินที่เป็นตัวหลัก ดังนั้น คนที่เข้าไปเล่นหรือซื้อขายเครื่องมือทางการเงินเหล่านั้นก็มักจะเป็นเทรดเดอร์แน่นอน
การซื้อขายสิ่งที่ไม่ได้ก่อให้เกิดรายได้หรือกำไรด้วยตัวมันเอง เช่น ทอง น้ำมัน และโภคภัณฑ์ต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงสินค้าเกษตร เช่น ถั่วเหลือง ยางพารา ข้าวโพด ก็มีแนวโน้มว่าเป็นเรื่องของเทรดเดอร์ที่ต้องการทำกำไรจากการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าเหล่านั้นในตลาด เพราะสิ่งเหล่านั้นเราไม่สามารถประเมินผลตอบแทนระยะยาวที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการถือสินค้าเหล่านั้นได้ พูดง่าย ๆ เราไม่สามารถประเมินหา “มูลค่าพื้นฐานที่เหมาะสม” ของมันได้ ทุกอย่างขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ซื้อผู้ขายซึ่งคาดการณ์ได้ยาก นอกจากนั้น ลักษณะของการซื้อขายสินค้าเหล่านั้นยังมักจะมีการใช้ Leverage สูงมาก พูดง่าย ๆ เช่น การซื้อขายทองนั้น ส่วนใหญ่แล้วก็เป็นเรื่องของการซื้อ Future ของทองซึ่งเป็นตราสารที่ใช้เงิน “มัดจำ” อาจจะเพียง 10% ส่วนที่เหลืออีก 90% นั้นเป็นการกู้ ซึ่งทำให้ราคาของ Future นั้นแกว่งขึ้นลงอาจจะเป็น 10 เท่าของราคาทองจริง ๆ ดังนั้น คนที่ซื้อขายเครื่องมือทางการเงินเหล่านี้ก็เป็นเทรดเดอร์แน่นอน
การซื้อขายอะไรก็ตามที่ผลรวมเป็น “Zero-Sum Game” หรือก็คือการซื้อขายที่มีคนได้ก็จะมีคนเสียเท่า ๆ กัน ในขณะเดียวกันทั้งคนที่ได้และคนที่เสียก็จะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการซื้อขายแต่ละครั้ง ผลก็คือ โดยเฉลี่ยแล้วคนที่เข้าไปซื้อขายจะขาดทุนเท่ากับค่าธรรมเนียมที่เสียไปซึ่งโดยปกติก็ค่อนข้างมากเพราะคนที่เข้าไปเล่นมักจะซื้อ ๆ ขาย ๆ บ่อยมากเช่น เกือบทุกวัน ผลก็คือ คนที่เข้าไปเล่นในระยะยาวแล้วส่วนมากมักจะขาดทุน คนที่ “เก่งมาก” หรือว่าที่จริงอาจจะต้องบอกว่า “โชคดีมาก” ก็อาจจะยังได้กำไรบ้าง แต่คนที่โชคไม่ดีนั้นร้อยละ 90 ขึ้นไปอาจจะขาดทุนหนัก ตัวอย่างของ Zero-Sum Game ก็เช่นการเล่นพนันในกาสิโนและการเทรด Forex หรือการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ เป็นต้น
จากการสังเกตการเทรดดิ้งในตลาดหลักทรัพย์และโดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดการเงินอื่น ๆ นั้น ผมเองยังไม่เคยพบคนที่รวยจากการเทรดจริง ๆ จะมีอยู่บ้างก็คือคนที่เทรดหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ที่เน้นการซื้อขายหุ้นเป็นหลัก ช่วงที่ผ่านมาซักประมาณ 10 ปีที่เป็น “ยุคทองของหุ้นไทย” นั้น ผมคิดว่าคนที่รวยจากการเทรดโดยเฉพาะจากการใช้ Leverage สูง ๆ นั้นน่าจะมีอยู่พอสมควร อย่างไรก็ตาม ผมก็ไม่แน่ใจว่าผลตอบแทนสูง ๆ ที่ได้นั้นมาจากการเทรดเพียงอย่างเดียวหรือมีการ “ปั่นหุ้น” หรือใช้กลอุบายที่ได้เปรียบเช่น การใช้ข้อมูลภายในผสมผสานหรือไม่ แต่ในส่วนของการเทรดในกรณีที่ไม่สามารถทำราคาตราสารการเงินได้เช่น การเทรดค่าเงินหรือ Forex นั้น ผมไม่เห็นคนที่รวยหรือทำเงินเป็นกอบเป็นกำได้จริง ๆ คนที่พอจะได้เงินบ้างนั้นดูเหมือนว่าจะเป็นคนที่บอกว่าตนเองเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือเป็น “เซียน” หรือในตอนหลังก็เรียกว่าเป็น “โค้ช” ที่เปิดคอร์สสอนการเทรดที่มีการคิดค่าเรียนสูงลิ่ว บางทีเป็นแสน ๆบาทต่อคอร์ส
คนหนุ่มสาวรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยถูกดึงดูดให้เข้ามาเรียนหรืออบรมเกี่ยวกับการเทรดตราสารการเงินที่ไม่สามารถประเมินมูลค่าที่เหมาะสมได้ ราคาของตราสารที่ผันผวนเปลี่ยนไปแบบ “เดาสุ่ม” นั้นแปลว่าบางช่วงบางตอนราคาก็อาจจะขึ้นได้แรงหรือตกได้แรงเนื่องจากคุณสมบัติของการ Leverage หรือการกู้เงินมหาศาลมาเทรด สิ่งนี้ทำให้ในบางช่วงคนเล่นบางคนก็กำไรมากในเวลาอันสั้นซึ่งก็สามารถดึงดูดให้คนอื่นอยากเข้ามาเล่น เพราะนี่เป็นจิตวิทยาสำคัญโดยเฉพาะสำหรับคนหนุ่มสาวสมัยปัจจุบันที่ต้องการ “รวยเร็ว” แต่ไม่ต้องการทำงานหนัก ในด้านตรงกันข้าม ในบางช่วงและบางคนก็อาจจะขาดทุนหนัก แต่ข้อมูลนี้มักจะปรากฏให้เห็นน้อยกว่ามากเพราะคนที่แพ้หรือ “เจ๊ง” นั้นมักจะเก็บไว้กับตัวไม่อยากพูด ผลก็คือ ความนิยมในการเทรดโดยเฉพาะในหมู่นักลงทุนหน้าใหม่ ๆ จึงสูง เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ การเทรดเหล่านี้ไม่ต้องใช้เงินมากแต่คุณ “อาจจะรวยได้” ดูตัวอย่างของ “อาจารย์” ที่โชว์ผลงาน “ทำเงินจากหมื่นเป็นล้านบาทดูได้” นี่คือคำโฆษณาที่ใช้ชักชวนให้คนมาเรียนและเทรดตราสารการเงินที่มีสภาพคล่องและความผันผวนของราคาสูงมาก
แต่ทั้งหมดนั้นดูเหมือนว่าจะเริ่มเปลี่ยนแปลงไปเมื่อความคึกคักในเรื่องของการลงทุนและการเทรดโดยรวมค่อย ๆ ลดลงอานิสงค์จากการที่นักเทรดจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่สามารถทำผลตอบแทนได้และอาจจะขาดทุนอย่างหนัก คนที่เคยทำกำไรได้สุดยอดเป็น “เซียน” หลายคนนั้น เมื่อเวลาผ่านไปนานเข้าและด้วยกฎของค่าเฉลี่ยของตัวเลขขนาดใหญ่หรือ Law of Large Numbers ซึ่งบอกว่าถ้าคุณทำมากขึ้นเรื่อย ในที่สุดโชคก็จะหายไปเหลือแต่ความเป็นจริงทางสถิติและทฤษฎีที่ว่าการเทรดโดยที่คุณไม่สามารถประเมินมูลค่าพื้นฐานได้นั้นโอกาสชนะต่ำมากเพราะคุณต้องเสียค่าธรรมเนียมการซื้อขายตลอดเวลา และนี่นำมาสู่ข้อสรุปของผมว่า ความนิยมในเรื่องของการเทรดหุ้นและโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเทรดตราสารการเงินที่มีความเสี่ยงหรือความผันผวนสูงเช่น Forex ได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว ถ้าจะพูดก็คือมันเป็น “อวสานของเทรดเดอร์” แล้ว
"อวสานของ TRADER " by DR. นิเวศน์
เริ่มตั้งแต่เรื่องของความตั้งใจของคนที่ซื้อ ถ้าเขาคิดว่าเขาซื้อหลักทรัพย์มาเพื่อที่จะขายในระยะเวลาอันสั้นเพื่อหวังผลกำไรจากส่วนต่างของราคา ลักษณะนี้ก็ดูเหมือนว่าเขาจะเป็นเทรดเดอร์ ยิ่งสั้นเท่าไร เช่น ต้องการถือแค่ไม่เกิน 2-3 สัปดาห์หรือบางทีเป็นวัน แบบนี้ก็ชัดเจนว่าเขาน่าจะเป็นเทรดเดอร์ ถ้ายาวออกมาเป็น 2-3 เดือนขึ้นไป บางทีก็อาจจะถือว่าเป็นนักลงทุนระยะสั้น แต่ถ้าคิดว่าจะถือเป็นปีหรือหลายปี แบบนี้ก็มักจะชัดเจนว่าเป็นการลงทุน
หลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงินที่โดยปกติมีราคาผันผวนรุนแรงในระยะสั้น อาจจะด้วยคุณลักษณะของตัวมันเองหรืออาจจะเป็นเพราะมันถูกออกแบบมาในลักษณะที่ความผันผวนถูกขยายให้มากขึ้นเป็นหลาย ๆ เท่าผ่านการ Leverage หรือการกู้เงินเพิ่มมาก ๆ ก็มักเป็นเรื่องของการเทรด ตัวอย่างตราสารเหล่านี้ก็เช่น การซื้อขาย Future, Option, Forex, Derivative Warrant (DW) ของหุ้นต่าง ๆ รวมถึงการทำ Block Trade ซื้อขายหุ้นบางตัวจำนวนมากด้วยการกู้เงินมหาศาล ทั้งหมดนั้นมักจะมีความผันผวนของราคาสูงมาก บางทีเป็น 10 เท่าของการผันผวนของหลักทรัพย์หรือตราสารการเงินที่เป็นตัวหลัก ดังนั้น คนที่เข้าไปเล่นหรือซื้อขายเครื่องมือทางการเงินเหล่านั้นก็มักจะเป็นเทรดเดอร์แน่นอน
การซื้อขายสิ่งที่ไม่ได้ก่อให้เกิดรายได้หรือกำไรด้วยตัวมันเอง เช่น ทอง น้ำมัน และโภคภัณฑ์ต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงสินค้าเกษตร เช่น ถั่วเหลือง ยางพารา ข้าวโพด ก็มีแนวโน้มว่าเป็นเรื่องของเทรดเดอร์ที่ต้องการทำกำไรจากการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าเหล่านั้นในตลาด เพราะสิ่งเหล่านั้นเราไม่สามารถประเมินผลตอบแทนระยะยาวที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการถือสินค้าเหล่านั้นได้ พูดง่าย ๆ เราไม่สามารถประเมินหา “มูลค่าพื้นฐานที่เหมาะสม” ของมันได้ ทุกอย่างขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ซื้อผู้ขายซึ่งคาดการณ์ได้ยาก นอกจากนั้น ลักษณะของการซื้อขายสินค้าเหล่านั้นยังมักจะมีการใช้ Leverage สูงมาก พูดง่าย ๆ เช่น การซื้อขายทองนั้น ส่วนใหญ่แล้วก็เป็นเรื่องของการซื้อ Future ของทองซึ่งเป็นตราสารที่ใช้เงิน “มัดจำ” อาจจะเพียง 10% ส่วนที่เหลืออีก 90% นั้นเป็นการกู้ ซึ่งทำให้ราคาของ Future นั้นแกว่งขึ้นลงอาจจะเป็น 10 เท่าของราคาทองจริง ๆ ดังนั้น คนที่ซื้อขายเครื่องมือทางการเงินเหล่านี้ก็เป็นเทรดเดอร์แน่นอน
การซื้อขายอะไรก็ตามที่ผลรวมเป็น “Zero-Sum Game” หรือก็คือการซื้อขายที่มีคนได้ก็จะมีคนเสียเท่า ๆ กัน ในขณะเดียวกันทั้งคนที่ได้และคนที่เสียก็จะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการซื้อขายแต่ละครั้ง ผลก็คือ โดยเฉลี่ยแล้วคนที่เข้าไปซื้อขายจะขาดทุนเท่ากับค่าธรรมเนียมที่เสียไปซึ่งโดยปกติก็ค่อนข้างมากเพราะคนที่เข้าไปเล่นมักจะซื้อ ๆ ขาย ๆ บ่อยมากเช่น เกือบทุกวัน ผลก็คือ คนที่เข้าไปเล่นในระยะยาวแล้วส่วนมากมักจะขาดทุน คนที่ “เก่งมาก” หรือว่าที่จริงอาจจะต้องบอกว่า “โชคดีมาก” ก็อาจจะยังได้กำไรบ้าง แต่คนที่โชคไม่ดีนั้นร้อยละ 90 ขึ้นไปอาจจะขาดทุนหนัก ตัวอย่างของ Zero-Sum Game ก็เช่นการเล่นพนันในกาสิโนและการเทรด Forex หรือการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ เป็นต้น
จากการสังเกตการเทรดดิ้งในตลาดหลักทรัพย์และโดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดการเงินอื่น ๆ นั้น ผมเองยังไม่เคยพบคนที่รวยจากการเทรดจริง ๆ จะมีอยู่บ้างก็คือคนที่เทรดหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ที่เน้นการซื้อขายหุ้นเป็นหลัก ช่วงที่ผ่านมาซักประมาณ 10 ปีที่เป็น “ยุคทองของหุ้นไทย” นั้น ผมคิดว่าคนที่รวยจากการเทรดโดยเฉพาะจากการใช้ Leverage สูง ๆ นั้นน่าจะมีอยู่พอสมควร อย่างไรก็ตาม ผมก็ไม่แน่ใจว่าผลตอบแทนสูง ๆ ที่ได้นั้นมาจากการเทรดเพียงอย่างเดียวหรือมีการ “ปั่นหุ้น” หรือใช้กลอุบายที่ได้เปรียบเช่น การใช้ข้อมูลภายในผสมผสานหรือไม่ แต่ในส่วนของการเทรดในกรณีที่ไม่สามารถทำราคาตราสารการเงินได้เช่น การเทรดค่าเงินหรือ Forex นั้น ผมไม่เห็นคนที่รวยหรือทำเงินเป็นกอบเป็นกำได้จริง ๆ คนที่พอจะได้เงินบ้างนั้นดูเหมือนว่าจะเป็นคนที่บอกว่าตนเองเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือเป็น “เซียน” หรือในตอนหลังก็เรียกว่าเป็น “โค้ช” ที่เปิดคอร์สสอนการเทรดที่มีการคิดค่าเรียนสูงลิ่ว บางทีเป็นแสน ๆบาทต่อคอร์ส
คนหนุ่มสาวรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยถูกดึงดูดให้เข้ามาเรียนหรืออบรมเกี่ยวกับการเทรดตราสารการเงินที่ไม่สามารถประเมินมูลค่าที่เหมาะสมได้ ราคาของตราสารที่ผันผวนเปลี่ยนไปแบบ “เดาสุ่ม” นั้นแปลว่าบางช่วงบางตอนราคาก็อาจจะขึ้นได้แรงหรือตกได้แรงเนื่องจากคุณสมบัติของการ Leverage หรือการกู้เงินมหาศาลมาเทรด สิ่งนี้ทำให้ในบางช่วงคนเล่นบางคนก็กำไรมากในเวลาอันสั้นซึ่งก็สามารถดึงดูดให้คนอื่นอยากเข้ามาเล่น เพราะนี่เป็นจิตวิทยาสำคัญโดยเฉพาะสำหรับคนหนุ่มสาวสมัยปัจจุบันที่ต้องการ “รวยเร็ว” แต่ไม่ต้องการทำงานหนัก ในด้านตรงกันข้าม ในบางช่วงและบางคนก็อาจจะขาดทุนหนัก แต่ข้อมูลนี้มักจะปรากฏให้เห็นน้อยกว่ามากเพราะคนที่แพ้หรือ “เจ๊ง” นั้นมักจะเก็บไว้กับตัวไม่อยากพูด ผลก็คือ ความนิยมในการเทรดโดยเฉพาะในหมู่นักลงทุนหน้าใหม่ ๆ จึงสูง เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ การเทรดเหล่านี้ไม่ต้องใช้เงินมากแต่คุณ “อาจจะรวยได้” ดูตัวอย่างของ “อาจารย์” ที่โชว์ผลงาน “ทำเงินจากหมื่นเป็นล้านบาทดูได้” นี่คือคำโฆษณาที่ใช้ชักชวนให้คนมาเรียนและเทรดตราสารการเงินที่มีสภาพคล่องและความผันผวนของราคาสูงมาก
แต่ทั้งหมดนั้นดูเหมือนว่าจะเริ่มเปลี่ยนแปลงไปเมื่อความคึกคักในเรื่องของการลงทุนและการเทรดโดยรวมค่อย ๆ ลดลงอานิสงค์จากการที่นักเทรดจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่สามารถทำผลตอบแทนได้และอาจจะขาดทุนอย่างหนัก คนที่เคยทำกำไรได้สุดยอดเป็น “เซียน” หลายคนนั้น เมื่อเวลาผ่านไปนานเข้าและด้วยกฎของค่าเฉลี่ยของตัวเลขขนาดใหญ่หรือ Law of Large Numbers ซึ่งบอกว่าถ้าคุณทำมากขึ้นเรื่อย ในที่สุดโชคก็จะหายไปเหลือแต่ความเป็นจริงทางสถิติและทฤษฎีที่ว่าการเทรดโดยที่คุณไม่สามารถประเมินมูลค่าพื้นฐานได้นั้นโอกาสชนะต่ำมากเพราะคุณต้องเสียค่าธรรมเนียมการซื้อขายตลอดเวลา และนี่นำมาสู่ข้อสรุปของผมว่า ความนิยมในเรื่องของการเทรดหุ้นและโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเทรดตราสารการเงินที่มีความเสี่ยงหรือความผันผวนสูงเช่น Forex ได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว ถ้าจะพูดก็คือมันเป็น “อวสานของเทรดเดอร์” แล้ว