คลังอัด 4 หมื่นล้าน เดินหน้าแจกสวัสดิการคนจนปี’62 – ยันเฟส 2 ไม่ล้มเหลวหลังคนเมินอบรม
https://www.khaosod.co.th/economics/news_1179075
นาย
ประสงค์ พูนธเนศ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังเดินหน้าโครงการแจกสวัสดิการภาครัฐ ที่มีผู้มาลงทะเบียนและได้สิทธิจำนวน 11.4 ล้านคนต่อเนื่อง โดยในการแจกสวัสดิการเฟส 1 ที่เป็นการช่วยเหลือค่าครองชีพ จะมีดำเนินการต่อเนื่องจนถึงปีงบประมาณ 2562 ซึ่งได้มีการเตรียมงบประมาณไว้เป็นที่เรียบร้อย
สำหรับปี 2561 คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบการแจกสวัสดิการผู้มีรายได้น้อยเฟส 1 ใช้สำหรับซื้อสินค้าร้านธงฟ้า ขึ้นรถ บขส. และรถไฟ รถไฟฟ้า เดือนละ 3,495 ล้านบาท หรือปีละ 4.19 หมื่นล้านบาท โดยใช้เงินจากกองทุนประชารัฐซึ่งได้รับสรรจากเงินงบประมาณมาจำนวน 4.6 หมื่นล้านบาท
นาย
ประสงค์ กล่าวว่า ในส่วนของการแจกสวัสดิการภาครัฐเฟส 2 เรื่องการฝึกทักษะอาชีพเพิ่มเงินรายได้ให้หลุดจากความยากจนที่มีผู้ประสงค์ไม่ฝึกอาชีพจำนวนมากถึง 3.1 ล้านคน ไม่ถือว่าโครงการล้มเหลว เพราะส่วนหนึ่งผู้มีรายได้น้อยไม่เข้าร่วมเพราะอายุมาก และอีกส่วนหนึ่งเห็นว่าชีวิตที่เป็นอยู่เพียงพออยู่แล้ว เพียงแต่ขอให้รัฐบาลช่วยเหลืออย่างที่ทำอยู่ให้ต่อเนื่องเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้ให้ที่ปรึกษาผู้มีรายได้น้อย หรือ AO ลงสำรวจผู้มีรายได้น้อยที่ไม่ประสงค์ฝึกอาชีพอีกครั้ง คาดว่าจะชัดจูงทำให้มีผู้รายได้น้อยเปลี่ยนใจมาฝึกอาชีพเพิ่มขึ้นกว่า 1 แสนราย
ทั้งนี้กระทรวงการคลัง ได้รายงานการดำเนินการแจกสวัสดิการผู้มีรายได้น้อยเฟส 2 ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบล่าสุดว่า ผู้มีรายได้น้อยจำนวน 11.4 ล้านคน มีแจ้งความประสงค์ฝึกอาชีพ 8.3 ล้านคน ซึ่งทำให้ได้เงินเพิ่มใช้จ่ายซื้อของร้านธงฟ้าเพิ่มคนละ 100-200 บาท จากเดิมที่ได้รับอยู่คนละ 200-300 บาท ในจำนวนนี้ได้มีการสำรวจความเห็นจาก AO แล้ว 7.2 ล้านคน มีผู้ประสงค์ฝึกอาชีพ 4.1 ล้านคน และไม่ประสงค์ฝึกอาชีพ 3.1 ล้านคน จากที่คลังคาดว่าจะมี 1.5 ล้านคน หรือมากกว่าที่คลังคาดไว้ถึงเท่าตัว
อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังได้ตัดสิทธิเงินเพิ่มเดือนละ 100-200 บาท สำหรับคนที่ไม่ประสงค์ฝึกอาชีพตั้งแต่เดือนมิ.ย.นี้ เป็นต้นไป แต่สำหรับวงเงินที่ได้รับในเฟส 1 คนละ 200-300 บาท ยังได้อยู่เหมือนเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลง
สำหรับการดำเนินช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยเฟส 2 รัฐบาลได้เห็นชอบงบประมาณจำนวน 3.56 หมื่นล้านบาท เป็นค่าใช้จ่าย 2,989 ล้านบาท งบประมาณเพื่อรองรับการพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิต 1.88 หมื่นล้านบาท และงบประมาณสำหรับซื้อสินค้าอุปโภคและบริโภคที่จำเป็นในร้านค้าประชารัฐวงเงิน 1.38 หมื่นล้านบาท
แฉ! นักวิชาการ กปปส. ป้องผอ.ปม ทุจริตอาหารกลางวันเด็ก ที่แท้สนิทกัน
https://www.khaosod.co.th/monitor-news/news_1178536
ทุจริตอาหารกลางวันเด็ก ยังคงมีเรื่องราวดราม่ามากมายมาให้เสพอย่างต่อเนื่อง หลังจากก่อนหน้านี้มีภาพ อาหารกลางวันเด็ก ของ โรงเรียนบ้านท่าใหม่ หมู่ที่ 17 ต.ประสงค์ อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี เป็นเมนู ขนมจีนคลุกน้ำปลา ออกมาจนทำให้มีการตรวจสอบและ ผอ.โรงเรียน อย่าง นาย
สมเชาว์ สิทธิเชนทร์ ถูกเด้งไป
ต่อมาได้มีผู้ใช้เฟซบุ๊ก
จรูญ หยูทอง นักวิชาการสถาบันทักษิณคดีศึกษา ซึ่งเคยออกมาร่วมชุมนุมกับกลุ่ม กปปส.เพื่อเรียกร้องให้มีการปฎิรูปก่อนการเลือกตั้ง ได้ออกมาโพสต์ในเรื่อง ทุจริตอาหารกลางวันเด็ก โดยเผยว่า
“เด็กระดับอนุบาลที่ไหนๆเขาก็ให้กินขนมจีนกับน้ำปลา เพราะเด็กมันกินเผ็ดไม่ได้ ไม่เห็นแปลกถ้ามีสมองคิด และไม่อคติจนเสียสติกันไปหมด”
หลังจากโพสต์สเตตัสดังกล่าวออกไป ได้มีผู้เข้ามาวิพากษวิจารณ์เรื่อง ทุจริตอาหารกลางวันเด็ก อย่างมากมาย ก่อนที่ต่อมาเจ้าตัวจะอกมาแก้ต่างบนเฟซบุ๊กส่วนตัวต่อว่า
“กรณีขนมจีนกับน้ำปลา ผมไม่ได้บอกว่ามันดีกว่าอย่างอื่น เพียงแต่บอกว่าเด็กวัยนี้ถ้าจะกินขนมจีนเขามักให้กินกับน้ำปลาก็เท่านั้นเอง”
ทั้งนี้ทีมข่าวลองสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมพบว่า นาย
จรูญ หยูทอง มีความสัมพันธ์ระดับที่สนิทกับ นาย
สมเชาว์ สิทธิเชนทร์ อดีตผอ.โรงเรียนบ้านท่าใหม่ ที่มีภาพเด็กนักเรียนรับประทานขนมจีนคลุกน้ำปลา โดยได้มีการโพสต์ข้อความให้กำลังใจ พร้อมลงรูปภาพคู่กันอีกด้วย
เงินพนันบอลเฉียด 6 หมื่นล้าน
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/804033
หอการค้าฯ คาดบอลโลก 2018 เงินการพนันบอลเฉียด 6 หมื่นล้าน เพิ่มขึ้น 1.9%
ช่วงเวลาที่คอบอลทั่วโลกรอคอยมานานถึง 4 ปี "
มหกรรมฟุตบอลโลก 2018” ที่รัสเซียเป็นเจ้าภาพกำลังจะเปิดฉากในวันที่ 14 มิ.ย.นี้ยาวไปจนถึง 15 ก.ค.61 ประเทศไทย ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่คลั่งไคล้ฟุตบอล และเกาะติดตารางการแข่งขัน ท่ามกลางการตื่นตัวของทุกภาคธุรกิจ แคมเปญต่างๆ ผุดขึ้นดึงดูดทุกเพศวัย ให้ร่วมสนุกกับมหกรรมฟุตบอลโลก
สิ่งที่เกิดความกังวลขึ้นพร้อมๆ กับความสนุกที่มากับเกมการแข่งขัน ภัย
“พนัน” เพราะไม่ใช่แค่นักพนันกลุ่มคนวัยทำงานเท่านั้น แต่ยังเกิดนักพนันหน้าใหม่ โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน เพิ่มขึ้น ยิ่งปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวล้ำ ทุกคนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตทุกที่ทุกเวลา จาก
“โต๊ะพนันบอล” ออฟไลน์ กลายเป็น
“นักพนันออนไลน์” ว่ากันว่ามีช่องทางดึงดูดให้หลงสู่วงจรการพนันมากกว่า 10,000 เว็บไซต์ สร้างเม็ดเงินมหาศาล ภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างงัดมาตรการหวังสกัดล้อมคอกป้องกันการพนันบอล
นาย
ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า จากผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายในช่วงฟุตบอลโลก 2018 ระหว่างวันที่ 28 พ.ค.-2 มิ.ย.2561 ทั่วประเทศ คาดการณ์ว่าช่วงฟุตบอลโลกจะมีเงินสะพัด 78,385.68 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19.4 % เมื่อเทียบกับเทศกาลบอลยูโร 2016 มีเงินสะพัด 76,541.15 ล้านบาท แต่ถ้าเทียบกับบอลโลกเมื่อ 4 ปีที่แล้ว ใช้เงิน 9 หมื่นกว่าล้านบาท อาจจะไม่คึกคักเท่า โดยการใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจ บอลโลก 2018 มีเพียง 17,901.75 ล้านบาท หรือเติบโต 4.1% สาเหตุมาจากเศรษฐกิจยังฟื้นตัวแบบกระจุกตัว คนระมัดระวังการใช้จ่ายเพราะมองถึงรายได้ยังต่ำกว่ารายจ่าย อีกทั้งทีมฟุตบอลที่โปรดที่ชื่นชอบหายไป เช่น อิตาลี เนเธอร์แลนด์ ทำให้กระแสการรอชมจึงน้อยและการจัดโปรโมชั่นยังล่าช้ากว่าปกติ มีการถ่ายทอดฟรีทั้งหมด และปีนี้ส่วนใหญ่ 60% ชมการแข่งขันผ่านอินเทอร์เน็ต จากมือถือ คอมพิวเตอร์ ส่วนเงินที่นำมาใช้จ่าย มาจากเงินเดือน/รายได้ปกติ 61.0% เงินออม 18.8% โบนัส/รายได้พิเศษ 16.7% กู้ยืม 1.9% จากผู้ปกครอง 1.6% และอื่นๆ 0.1% ส่วนช่องทางการติดตามข่าวสารเกี่ยวกับฟุตบอลโลก 65.3% ติดตามผ่านอินเทอร์เน็ต
นาย
ธนวรรธน์ กล่าวต่อไปว่า ส่วนการใช้จ่ายนอกระบบเศรษฐกิจ(พนันบอล)ปีนี้คาดว่ามีใช้เงิน 58,995 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.9% ดังนั้น เมื่อรวมค่าใช้จ่ายทั้ง 2 ส่วน จะเพิ่มขึ้น 2.4% จาก 4 ปีก่อน หรือช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอีก 0.2-0.3 พฤติกรรมการเล่นพนันบอล พบว่า 57.7% ไม่เล่น 34.2 % เล่นเฉพาะทีมที่ชอบ 6.6% เล่นบางนัด และ 1.5%เล่นทุกนัด ซึ่งรูปแบบเล่นพนัน 78.3% ใช้เงินสด 14.0% อาหาร 7.3% สิ่งของ และ 0.4% อื่นๆ ส่วนสาเหตุเล่นพนันบอล พบว่า 54.9% อยากได้รางวัลจากการพนันบอล 26.2% การชักชวนของเพื่อน 12.1% ความสนุก และ 6.8% เป็นแฟชั่น
จำนวนเงินที่ใช้เล่นพนันบอลเฉลี่ย 5,872.50 บาทต่อการเล่นพนันบอลตลอดการแข่งขัน และเฉลี่ย 2,065.56 บาทต่อการพนันในนัดที่เล่น เงินต่อนัดได้รับที่ประมาณ 6,569.12 บาท ส่วนการวางเงินเดิมพัน พบว่า 56.8 % เงินเดิมพัน 1,001-5,000 บาท ,15% เงินเดิมพัน 501-1,000 บาท, 13.4% เงินเดิมพัน 101-500 บาท ,10.9% เงินเดิมพัน 5,001-10,000 บาท, 3.2% เงินเดิมพัน 10,001-50,000 บาท ,0.4 % ต่ำกว่า 100 บาท และ 0.3%มากกว่า 50,001 ขึ้นไป
“เมื่อเปรียบเทียบการพนันฟุตบอลโลก 2018 กับช่วงต่างๆ ผู้ตอบแบบสอบถามคาดว่าจะมีการเล่นพนันบอลเพิ่มขึ้น 56.9% สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากสุด คือกลุ่มนักเรียนและนักศึกษา ที่น่าจับตาคือเงินพนันไหลไปต่างประเทศมากขึ้น ประมาณ 1-2 หมื่นล้านบาทจากเงินพนันทั้งหมด เพราะนิยมเล่นในอินเทอร์เน็ตมากขึ้น” นาย
ธนวรรธน์ กล่าวและว่า ทั้งนี้ มีข้อเสนอแนะอยากให้มีการประกาศให้
“การควบคุมพนัน” เป็นวาระแห่งชาติ และไม่เห็นด้วยที่ให้เปิดการพนันอย่างถูกกฎหมาย
JJNY : อัด 4 หมื่นล้าน สวัสดิการคนจนปี’62ฯ / แฉ! นักวิชาการ กปปส. ป้องผอ.ปมทุจริตฯ / เงินพนันบอลเฉียด 6 หมื่นล้าน
https://www.khaosod.co.th/economics/news_1179075
นายประสงค์ พูนธเนศ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังเดินหน้าโครงการแจกสวัสดิการภาครัฐ ที่มีผู้มาลงทะเบียนและได้สิทธิจำนวน 11.4 ล้านคนต่อเนื่อง โดยในการแจกสวัสดิการเฟส 1 ที่เป็นการช่วยเหลือค่าครองชีพ จะมีดำเนินการต่อเนื่องจนถึงปีงบประมาณ 2562 ซึ่งได้มีการเตรียมงบประมาณไว้เป็นที่เรียบร้อย
สำหรับปี 2561 คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบการแจกสวัสดิการผู้มีรายได้น้อยเฟส 1 ใช้สำหรับซื้อสินค้าร้านธงฟ้า ขึ้นรถ บขส. และรถไฟ รถไฟฟ้า เดือนละ 3,495 ล้านบาท หรือปีละ 4.19 หมื่นล้านบาท โดยใช้เงินจากกองทุนประชารัฐซึ่งได้รับสรรจากเงินงบประมาณมาจำนวน 4.6 หมื่นล้านบาท
นายประสงค์ กล่าวว่า ในส่วนของการแจกสวัสดิการภาครัฐเฟส 2 เรื่องการฝึกทักษะอาชีพเพิ่มเงินรายได้ให้หลุดจากความยากจนที่มีผู้ประสงค์ไม่ฝึกอาชีพจำนวนมากถึง 3.1 ล้านคน ไม่ถือว่าโครงการล้มเหลว เพราะส่วนหนึ่งผู้มีรายได้น้อยไม่เข้าร่วมเพราะอายุมาก และอีกส่วนหนึ่งเห็นว่าชีวิตที่เป็นอยู่เพียงพออยู่แล้ว เพียงแต่ขอให้รัฐบาลช่วยเหลืออย่างที่ทำอยู่ให้ต่อเนื่องเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้ให้ที่ปรึกษาผู้มีรายได้น้อย หรือ AO ลงสำรวจผู้มีรายได้น้อยที่ไม่ประสงค์ฝึกอาชีพอีกครั้ง คาดว่าจะชัดจูงทำให้มีผู้รายได้น้อยเปลี่ยนใจมาฝึกอาชีพเพิ่มขึ้นกว่า 1 แสนราย
ทั้งนี้กระทรวงการคลัง ได้รายงานการดำเนินการแจกสวัสดิการผู้มีรายได้น้อยเฟส 2 ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบล่าสุดว่า ผู้มีรายได้น้อยจำนวน 11.4 ล้านคน มีแจ้งความประสงค์ฝึกอาชีพ 8.3 ล้านคน ซึ่งทำให้ได้เงินเพิ่มใช้จ่ายซื้อของร้านธงฟ้าเพิ่มคนละ 100-200 บาท จากเดิมที่ได้รับอยู่คนละ 200-300 บาท ในจำนวนนี้ได้มีการสำรวจความเห็นจาก AO แล้ว 7.2 ล้านคน มีผู้ประสงค์ฝึกอาชีพ 4.1 ล้านคน และไม่ประสงค์ฝึกอาชีพ 3.1 ล้านคน จากที่คลังคาดว่าจะมี 1.5 ล้านคน หรือมากกว่าที่คลังคาดไว้ถึงเท่าตัว
อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังได้ตัดสิทธิเงินเพิ่มเดือนละ 100-200 บาท สำหรับคนที่ไม่ประสงค์ฝึกอาชีพตั้งแต่เดือนมิ.ย.นี้ เป็นต้นไป แต่สำหรับวงเงินที่ได้รับในเฟส 1 คนละ 200-300 บาท ยังได้อยู่เหมือนเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลง
สำหรับการดำเนินช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยเฟส 2 รัฐบาลได้เห็นชอบงบประมาณจำนวน 3.56 หมื่นล้านบาท เป็นค่าใช้จ่าย 2,989 ล้านบาท งบประมาณเพื่อรองรับการพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิต 1.88 หมื่นล้านบาท และงบประมาณสำหรับซื้อสินค้าอุปโภคและบริโภคที่จำเป็นในร้านค้าประชารัฐวงเงิน 1.38 หมื่นล้านบาท
แฉ! นักวิชาการ กปปส. ป้องผอ.ปม ทุจริตอาหารกลางวันเด็ก ที่แท้สนิทกัน
https://www.khaosod.co.th/monitor-news/news_1178536
ทุจริตอาหารกลางวันเด็ก ยังคงมีเรื่องราวดราม่ามากมายมาให้เสพอย่างต่อเนื่อง หลังจากก่อนหน้านี้มีภาพ อาหารกลางวันเด็ก ของ โรงเรียนบ้านท่าใหม่ หมู่ที่ 17 ต.ประสงค์ อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี เป็นเมนู ขนมจีนคลุกน้ำปลา ออกมาจนทำให้มีการตรวจสอบและ ผอ.โรงเรียน อย่าง นายสมเชาว์ สิทธิเชนทร์ ถูกเด้งไป
ต่อมาได้มีผู้ใช้เฟซบุ๊ก จรูญ หยูทอง นักวิชาการสถาบันทักษิณคดีศึกษา ซึ่งเคยออกมาร่วมชุมนุมกับกลุ่ม กปปส.เพื่อเรียกร้องให้มีการปฎิรูปก่อนการเลือกตั้ง ได้ออกมาโพสต์ในเรื่อง ทุจริตอาหารกลางวันเด็ก โดยเผยว่า
“เด็กระดับอนุบาลที่ไหนๆเขาก็ให้กินขนมจีนกับน้ำปลา เพราะเด็กมันกินเผ็ดไม่ได้ ไม่เห็นแปลกถ้ามีสมองคิด และไม่อคติจนเสียสติกันไปหมด”
หลังจากโพสต์สเตตัสดังกล่าวออกไป ได้มีผู้เข้ามาวิพากษวิจารณ์เรื่อง ทุจริตอาหารกลางวันเด็ก อย่างมากมาย ก่อนที่ต่อมาเจ้าตัวจะอกมาแก้ต่างบนเฟซบุ๊กส่วนตัวต่อว่า
“กรณีขนมจีนกับน้ำปลา ผมไม่ได้บอกว่ามันดีกว่าอย่างอื่น เพียงแต่บอกว่าเด็กวัยนี้ถ้าจะกินขนมจีนเขามักให้กินกับน้ำปลาก็เท่านั้นเอง”
ทั้งนี้ทีมข่าวลองสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมพบว่า นายจรูญ หยูทอง มีความสัมพันธ์ระดับที่สนิทกับ นายสมเชาว์ สิทธิเชนทร์ อดีตผอ.โรงเรียนบ้านท่าใหม่ ที่มีภาพเด็กนักเรียนรับประทานขนมจีนคลุกน้ำปลา โดยได้มีการโพสต์ข้อความให้กำลังใจ พร้อมลงรูปภาพคู่กันอีกด้วย
เงินพนันบอลเฉียด 6 หมื่นล้าน
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/804033
หอการค้าฯ คาดบอลโลก 2018 เงินการพนันบอลเฉียด 6 หมื่นล้าน เพิ่มขึ้น 1.9%
ช่วงเวลาที่คอบอลทั่วโลกรอคอยมานานถึง 4 ปี "มหกรรมฟุตบอลโลก 2018” ที่รัสเซียเป็นเจ้าภาพกำลังจะเปิดฉากในวันที่ 14 มิ.ย.นี้ยาวไปจนถึง 15 ก.ค.61 ประเทศไทย ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่คลั่งไคล้ฟุตบอล และเกาะติดตารางการแข่งขัน ท่ามกลางการตื่นตัวของทุกภาคธุรกิจ แคมเปญต่างๆ ผุดขึ้นดึงดูดทุกเพศวัย ให้ร่วมสนุกกับมหกรรมฟุตบอลโลก
สิ่งที่เกิดความกังวลขึ้นพร้อมๆ กับความสนุกที่มากับเกมการแข่งขัน ภัย “พนัน” เพราะไม่ใช่แค่นักพนันกลุ่มคนวัยทำงานเท่านั้น แต่ยังเกิดนักพนันหน้าใหม่ โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน เพิ่มขึ้น ยิ่งปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวล้ำ ทุกคนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตทุกที่ทุกเวลา จาก“โต๊ะพนันบอล” ออฟไลน์ กลายเป็น “นักพนันออนไลน์” ว่ากันว่ามีช่องทางดึงดูดให้หลงสู่วงจรการพนันมากกว่า 10,000 เว็บไซต์ สร้างเม็ดเงินมหาศาล ภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างงัดมาตรการหวังสกัดล้อมคอกป้องกันการพนันบอล
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า จากผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายในช่วงฟุตบอลโลก 2018 ระหว่างวันที่ 28 พ.ค.-2 มิ.ย.2561 ทั่วประเทศ คาดการณ์ว่าช่วงฟุตบอลโลกจะมีเงินสะพัด 78,385.68 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19.4 % เมื่อเทียบกับเทศกาลบอลยูโร 2016 มีเงินสะพัด 76,541.15 ล้านบาท แต่ถ้าเทียบกับบอลโลกเมื่อ 4 ปีที่แล้ว ใช้เงิน 9 หมื่นกว่าล้านบาท อาจจะไม่คึกคักเท่า โดยการใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจ บอลโลก 2018 มีเพียง 17,901.75 ล้านบาท หรือเติบโต 4.1% สาเหตุมาจากเศรษฐกิจยังฟื้นตัวแบบกระจุกตัว คนระมัดระวังการใช้จ่ายเพราะมองถึงรายได้ยังต่ำกว่ารายจ่าย อีกทั้งทีมฟุตบอลที่โปรดที่ชื่นชอบหายไป เช่น อิตาลี เนเธอร์แลนด์ ทำให้กระแสการรอชมจึงน้อยและการจัดโปรโมชั่นยังล่าช้ากว่าปกติ มีการถ่ายทอดฟรีทั้งหมด และปีนี้ส่วนใหญ่ 60% ชมการแข่งขันผ่านอินเทอร์เน็ต จากมือถือ คอมพิวเตอร์ ส่วนเงินที่นำมาใช้จ่าย มาจากเงินเดือน/รายได้ปกติ 61.0% เงินออม 18.8% โบนัส/รายได้พิเศษ 16.7% กู้ยืม 1.9% จากผู้ปกครอง 1.6% และอื่นๆ 0.1% ส่วนช่องทางการติดตามข่าวสารเกี่ยวกับฟุตบอลโลก 65.3% ติดตามผ่านอินเทอร์เน็ต
นายธนวรรธน์ กล่าวต่อไปว่า ส่วนการใช้จ่ายนอกระบบเศรษฐกิจ(พนันบอล)ปีนี้คาดว่ามีใช้เงิน 58,995 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.9% ดังนั้น เมื่อรวมค่าใช้จ่ายทั้ง 2 ส่วน จะเพิ่มขึ้น 2.4% จาก 4 ปีก่อน หรือช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอีก 0.2-0.3 พฤติกรรมการเล่นพนันบอล พบว่า 57.7% ไม่เล่น 34.2 % เล่นเฉพาะทีมที่ชอบ 6.6% เล่นบางนัด และ 1.5%เล่นทุกนัด ซึ่งรูปแบบเล่นพนัน 78.3% ใช้เงินสด 14.0% อาหาร 7.3% สิ่งของ และ 0.4% อื่นๆ ส่วนสาเหตุเล่นพนันบอล พบว่า 54.9% อยากได้รางวัลจากการพนันบอล 26.2% การชักชวนของเพื่อน 12.1% ความสนุก และ 6.8% เป็นแฟชั่น
จำนวนเงินที่ใช้เล่นพนันบอลเฉลี่ย 5,872.50 บาทต่อการเล่นพนันบอลตลอดการแข่งขัน และเฉลี่ย 2,065.56 บาทต่อการพนันในนัดที่เล่น เงินต่อนัดได้รับที่ประมาณ 6,569.12 บาท ส่วนการวางเงินเดิมพัน พบว่า 56.8 % เงินเดิมพัน 1,001-5,000 บาท ,15% เงินเดิมพัน 501-1,000 บาท, 13.4% เงินเดิมพัน 101-500 บาท ,10.9% เงินเดิมพัน 5,001-10,000 บาท, 3.2% เงินเดิมพัน 10,001-50,000 บาท ,0.4 % ต่ำกว่า 100 บาท และ 0.3%มากกว่า 50,001 ขึ้นไป
“เมื่อเปรียบเทียบการพนันฟุตบอลโลก 2018 กับช่วงต่างๆ ผู้ตอบแบบสอบถามคาดว่าจะมีการเล่นพนันบอลเพิ่มขึ้น 56.9% สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากสุด คือกลุ่มนักเรียนและนักศึกษา ที่น่าจับตาคือเงินพนันไหลไปต่างประเทศมากขึ้น ประมาณ 1-2 หมื่นล้านบาทจากเงินพนันทั้งหมด เพราะนิยมเล่นในอินเทอร์เน็ตมากขึ้น” นายธนวรรธน์ กล่าวและว่า ทั้งนี้ มีข้อเสนอแนะอยากให้มีการประกาศให้ “การควบคุมพนัน” เป็นวาระแห่งชาติ และไม่เห็นด้วยที่ให้เปิดการพนันอย่างถูกกฎหมาย