บทบรรณาธิการ : มาตรฐาน กสทช.... ข่าวสดออนไลน์ ..../sao..เหลือ..noi

กระทู้คำถาม
การพิจารณาประเด็นความเหมาะสมของถ้อยคำที่ออกอากาศในรายการโทรทัศน์
ของกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
หรือ กสทช. เป็นเรื่องที่ผู้คนสนใจและเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์

โดยเฉพาะเส้นแบ่งระหว่างความสุภาพ-ความหยาบคาย กับเสรีภาพในการแสดงออก

มาตรฐานของการพิจารณาเนื้อหาเป็นอย่างไร

รวมถึงการปฏิบัติของ กสทช. ที่มีต่อบุคคลและกลุ่มคน ว่าเท่าเทียมกันหรือไม่
และได้มาตรฐานหรือไม่

จากที่ผ่านมามีการปิดหรือระงับสถานีที่ถูกตัดสินว่าออกอากาศด้วยการเสนอข่าว
ไม่เป็นกลาง และไม่รอบด้าน

กรณีที่พิธีกรรายการข่าวทางโทรทัศน์ใช้คำพูดก้าวร้าวต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจในกรณี
บุกจับกุมผู้ต้องหาคดีอั้งยี่ซ่องโจร และข้อหาปลอมและใช้พระปรมาภิไธยปลอมนั้น
เป็นเรื่องน่าตกตะลึง

แม้การปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจสมควรเป็นเรื่องที่ประชาชนวิพากษ์วิจารณ์ได้ เพราะถือ
เป็นข้าราชการที่ทำงานใกล้ชิดกับประชาชน

แต่ความใกล้ชิดไม่ได้หมายถึงการละเว้นที่ควรจะให้เกียรติและเคารพกัน

ถ้อยคำวิจารณ์ไม่ควรสื่อในลักษณะก้าวร้าวรุนแรง เหยียดหยามและหยาบคาย
ปลุกให้เกิดความเกลียดชัง

ยิ่งเมื่อกรณีดังกล่าวเป็นที่ผู้คนพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง ผู้ทำงานเป็นกสทช. ควรใส่ใจ
มากกว่าชี้แจงเพียงว่าไม่พบว่ามีการร้องเรียนเรื่องดังกล่าว

ส่วนกรณีที่ละครแนวคอมเมดี้ แม้ใช้บทสนทนาสมจริง เหมือนที่คนในสังคมรับทราบว่า
มีการใช้คำหยาบที่พูดติดปากกันอยู่

แต่คำถามของกรณีนี้คือมาตรฐานการจัดระดับความเหมาะสมไว้ที่ระดับ ท หรือ
รายการที่เหมาะสำหรับผู้ชมทุกวัย นั้นถูกต้องแล้วหรือไม่

กสทช.อธิบายว่า คำพูดที่ไม่สุภาพในบางครั้ง ไม่ใช่บริบทที่พบบ่อยในการนำเสนอ
จึงยังจัดรายการนี้อยู่ในระดับ ท

หากพิจารณาตามนี้หมายความว่า ควรปล่อยให้ผู้ชมทุกวัย ที่รวมถึงเยาวชนตั้งแต่อายุยัง
น้อย 3-10 ขวบ รับสารและบริบทดังกล่าวได้ตามปกติเหมือนเยาวชนอายุ 15-18 ปี
ใช่หรือไม่

เรื่องนี้เป็นอีกตัวอย่างที่ กสทช.กำลังทำให้สังคมสับสน

https://www.khaosod.co.th/hot-topics/news_1165985

สาวแว่น
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่