ถ้าจะกำหนดให้ไฟฉุกเฉินของ "รถที่จะผลิตใหม่ทุกประเภท" ทำงานได้เฉพาะตอนที่รถจอดนิ่งเท่านั้น จะผลเสียอย่างไรบ้างครับ

โดยกรณีนี้จะคล้ายกับการออกกฎกำหนดให้ไฟส่องหน้าและไฟหรี่ท้ายรถจักรยานยนต์ต้องติดสว่างเมื่อติดเครื่องยนต์ ให้เป็นมาตรฐานตั้งแต่รถออกจากโรงงานผลิตเลยน่ะครับ

แนวทางที่ผมคิดได้คือ ให้วงจรของระบบไฟฉุกเฉิน หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ไฟผ่าหมาก ติดตั้งโดยใช้ตำแหน่งเกียร์และ/หรือตรวจสอบการเปิดอุปกรณ์อื่นร่วมด้วย เป็นตัวควบคุมร่วมกับสวิทช์ครับ

เกียร์อัตโนมัติ  AT จะใช้งานไฟฉุกเฉินได้เฉพาะตำแหน่ง P เท่านั้น (ยังไม่ได้คิดเผื่อกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินเพราะระบบเกียร์รวนหรือเสียครับ)

ส่วนเกียร์ธรรมดา MT จะใช้งานไฟฉุกเฉินได้เฉพาะตำแหน่งเกียร์ว่าง N และคลัทช์ต้องไม่ถูกเหยียบ (ตรวจสอบ 2 ขั้นตอนครับว่ารถจอดสนิทจริง)

* โดยต้องดับเครื่องยนต์แล้ว จึงจะเปิดไฟฉุกเฉินได้ *

ประโยชน์ที่ผมคิดได้นะครับ
1. รถรุ่นใหม่ จะไม่สามารถเปิดไฟฉุกเฉินเพื่อขอผ่านแยกให้เกิดการเข้าใจผิดเนื่องจากรถคันอื่นถูกบดบังทัศนวิสัย ทำให้คิดว่าเลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวา
(โดยเฉพาะรถทัวร์หมู่คณะ 2 คัน ที่วิ่งผ่านแยกสามย่าน เมื่อเย็นวันอาทิตย์ที่ 3 มิ.ย. 61 เวลาประมาณ 16.xx น. ทำผมเสี่ยงตายมาก)

2. ลดการเปิดไฟฉุกเฉินขณะขับรถช้า เช่น เวลาฝนตก หรือพี่รถสาธารณะบางประเภทที่ใช้ไฟฉุกเฉินแทนการบอกว่าจะจอดรับผู้โดยสาร

3. ลดช่องทางในการใช้ไฟฉุกเฉินเพื่อจอดในที่ไม่ควรจอด หรือกีดขวางการจราจร เพราะต้องดับเครื่องยนต์ก่อนเท่านั้นด้วย คาดว่าการจอดเพื่อซื้อของก็ควรลดลงได้

(ส่วนการจอดรถทิ้งไว้ตามปกติแต่เปิดไฟฉุกเฉินไว้ยังสามารถทำได้ เว้นแต่เพิ่มข้อกำหนดว่าต้องเปิดฝากระโปรงหน้าหรือท้ายด้วย เพื่อให้ใช้ในยามฉุกเฉินที่เกี่ยวข้องกับเครื่องยนต์หรือเปลี่ยนบางอะไหล่จริง

แต่กรณีฉุกเฉินเพราะปัญหาอื่นจะยุ่งยาก เช่น จอดรถไหล่ทางเพื่อเก็บของที่ร่วงมาตรงที่วางเท้า กีดขวางการขับขี่รถในขณะที่ฝนตก ทำขวดน้ำหก)

ที่นี้มาดูข้อเสียครับ
1. ต้องการเปิดไฟฉุกเฉินเมื่อเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน แดดก็ร้อน ถ้าต้องดับเครื่องยนต์ด้วย ก็จะเปิดแอร์เพื่อนั่งรอในรถไม่ได้ ยิ่งฝนตกยิ่งต้องรอประกันเป็นชั่วโมง ตายกันพอดี
- ผมยังคิดทางออกที่ลงตัวทั้งเรื่องความปลอดภัยขณะจอดรอประกัน เงื่อนไขการพิจารณาคนถูกคนผิดจากตำแหน่งของรถกับช่องจราจร ไม่ได้เลย จึงอยากมาขอความคิดเห็นจากเพื่อนๆ สมาชิกครับ

2. กรณีรถยนต์ทั่วไปจะนำส่งผู้ป่วยฉุกเฉินในขณะรถติด ต้องการเปิดไฟเพื่อขอทางหรือแสดงว่ามีเหตุฉุกเฉิน
- นอกจากจะเปิดไฟสูงได้ตามปกติแล้ว อันนี้ก็มืดแปดด้านครับ

ต้องขออภัยด้วยที่รายละเอียดสำหรับรถจักรยานยนต์นั้น ผมอาจไม่ได้ระบุมากพอครับ
แต่ไม่น่าจะมีประเด็นเยอะครับ รับส่งผู้ป่วยฉุกเฉินได้ไม่สะดวก
(ใจจริงผมอยากให้ออกกฎหมายกำหนดให้เอาไฟ Hazard ในรถจักรยานยนต์นี่ออกไปมากกว่าครับ)

ผมคิดว่าการสร้างจิตสำนึกในการใช้งานไฟฉุกเฉินอย่างถูกต้องอย่างเดียวคงไม่พอ ต้องมีการกำหนดคุณสมบัติของรถช่วยควบคุมด้วยจึงจะลดปัญหานี้ลงได้ครับ

มิเช่นนั้นก็จะกลายเป็นการสร้างความเข้าใจผิดในการใช้ไฟฉุกเฉิน ทำนองเดียวกับที่ค่านิยมของไทยใช้ไฟสูงเพื่อขอทาง ไม่ใช่ให้ทางแก่รถคันอื่นตามระบบสากลนิยมครับ

ปล. ผมขับขี่ทั้งรถยนต์ จักรยานยนต์ จักรยาน นะครับ และด่าแฟนเก่า/ภรรยา ตำหนิคนใกล้ตัวที่เปิดไฟผ่าหมากตอนผ่านแยกมาแล้วด้วยครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 9
ถือว่าเป็นความคิดที่ดีครับ รวมทั้งได้พูดถึงข้อเสียด้วย

แต่ทั้งนี้ต้นเหตุอยู่ที่คนมักง่ายไม่เคารพกฏ ไฟฉุกเฉินเป็นเพียงเครื่องมือ
ดังนั้นถึงแม้ไม่มีไฟฉุกเฉินคนเหล่านี้ก็ยังทำผิดอยู่ดี และว่าตามตรงเปิดไฟฉุกเฉิน
โดยไม่ได้ฉุกเฉินจริงก็ผิดนะครับ ไม่รู้ทำไมไม่ค่อยจับรถเหล่านี้ คนใช้ถนน
บางคนก็เหมือนยอมรับ

หากเป็นรถที่เลี้ยวโดยไม่เปิดไฟเลี้ยว หรือเปิดไฟเลี้ยวแต่ไม่ยอมเลี้ยว อันนี้
จะผิดชัดกว่าและอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่