ทำไมเค้าไม่ให้ครูเอกชน ทำกองทุนการออมแห่งชาติ.ประกันสังคมก็ไม่ได้. มีแต่เก็ยเงินสะสมทุกเดือน แต่สะสม10ปี ไม่พอค่างานศพ

อย่าง..

   กองทุนการออมแห่งชาติ       จะได้ช่วยเราเก็บเงินอีกทาง


ครูเอกชนทำประกันสังคมไม่ได้  บัตรทองก็ห้ามใช้


ต้องใช้เงินจากกองทุนครูเอกชนที่หักไป สามเปอร์เซนต์ จากเงินเดือน


เงินตัวเองมาจ่ายตัวเอง


แต่ของบัตรทองเค้าต้องจ่ายอะไร  บางคนไม่เข้าระบบภาษี ไม่มีชื่อในระบบ

ใช้บัตรทอง        


ถ้าให้ครูเอกชนไปทำประกันสังคม ถ้าจ่ายครบ 180  เดือน         แก่ๆไปก็ยังมี เงินช่วยเหลือ

เจ็บป่วย รถชนก็ยังเข้า รพ.ได้  ฉุกเฉินก็เข้าต่าง รพ.ได้เพราะบัตรประกันสังคมคือเจ้าภาพจ่ายเงิน


ของเรากลายเป็นว่า แย่ที่สุดเลย สวัสดิการไม่มี     ไป รพ.ต้องแจ้งว่าเบิกได้ เพื่อเอาใบทำเรื่องเบิกที่หลัง

ถ้าได้มาทำไม่ตายก่อน

    คือไปรักษาใช้เงินจากกองทุนของเงินที่ตัวเองจ่าย แล้วมาเบิกที่หลัง

แต่ครูเอกชนต้องจ่ายก่อน    รพ. ก็รู้ว่าครูเอกชน จนๆๆ   ไม่ค่อยมีเงิน  




แต่บัตรทองมีเจ้าภาพจ่าย  ประกันสังคมก็มีเจ้าภาพจ่าย รพ.รักษาได้เต็มที่

รัฐควรจะแก้ข้อบังคับตรงนี้ เลือกให้อย่างใดอย่างหนึ่ง

และเงินสะสมสามเปอร์เซนต์ ตายขึ้นมาเงินตรงนั้น ยังไม่พอทำศพเลย

สิบปี สะสมได้ไม่กี่หมื่น


ต้องสะสมเองในหุ้นโดนห้ามพลาด ....


หรือซื้อประกันชีวิตแบบจ่ายน้อย แต่ตายคนข้างหลังได้เยอะๆ

รวมถึง มี ชพค  ตายตอนนี้ได้ประมาณ 9 แสน  คนข้างหลังได้.  ตัวเองไม่ได้ใช้ครับ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
เรื่องนี้ไม่ทราบรายละเอียด แต่...

ครูเอกชน ผมว่ารัฐบาลควรหันมาสนใจมากขึ้นนะครับ พวกท่านก็มีส่วนสำคัญไม่น้อยในการสร้างชาติเหมือนกัน แต่ดูเหมือนจะไม่ค่อยได้รับการเหลียวแลเท่าไหร่


+1 ให้ครับ
ความคิดเห็นที่ 5
ด้วยความสัตย์จริง ผมเพิ่งรู้นะเนี่ย
ความคิดเห็นที่ 34
เราเคยเป็นครูโรงเรียนเอกชนค่ะ ทำอยู่ 6 ปี ตอนนี้ลาออกเพราะต้องติดตามสามีศึกษาต่อต่างประเทศ เราเห็นด้วยกับคุณทุกตัวอักษรค่ะ ครูเอกชนสวัสดิการเทียบอะไรไม่ได้เลยกับข้าราชการครู จริงๆถ้าไม่มีเหตุให้ออก เราก็ยังทำอยู่นะคะ เรารักงานของเรา รักนนักเรียน ได้สอนในสิ่งที่ถ้าเราไปสอบบรรจุเราคงไม่ได้สอน โรงเรียนเก่าเราสำหรับเงินเดือน ค่อนข้างแฟร์ค่ะ ก่อนลาออกเราได้เกือบ 2 หมื่น ทอน 200 กว่าบาท แต่เรื่องสิทธิรักษาพยาบาลเราเข้าใจมากๆ เพราะเราเคยป่วยส่งรพ.ฉุกเฉิน เราเข้าเอกชนเพราะใกล้บ้าน แต่เราเบิกไม่ได้ เพราะต้องฉุกเฉินถึงแก่ชีวิตเท่านั้น เวลาลา ต้องกลับมาใช้คาบที่เราขาดไป (คือเราขาดวันไหน คาบเราก็จะมีครูแทน ซึ่งพอเรากลับมา เราต้องสอนใช้คืนในคาบครูคนนั้น) เราเลยไม่อยากลาถ้าไม่จำเป็นจริงๆ

โอทีไม่มีค่ะ กลับบ้านช้า มาทำงานวันหยุดก็ต้องทำ เป็นคำสั่ง

โบนัส โรงเรียนเรามีทุกปีนะ ตามฐานเงินเดือน 3000-5000 ตอนสิ้นปี แต่ล่าสุดก่อนออก ได้ 1 เดือนเต็ม ปีใหม่แฮปปี้

ค่าสอนพิเศษ ถ้าโรงเรียนเปิดสอน ครูที่สอนก็ได้ค่ะ แบ่งจากที่เก็บจากเด็ก

ค่าสอนปรับพื้นฐาน ได้ทุกคนที่มาสอน มาทำงาน ประมาณ 30% ของเงินเดือน ให้พิเศษในช่วงเรียนปรับพื้นฐาน

ส่วนงานเยอะ ต้องแบกกลับมาทำบ้าน งานเอกสารเยอะ เดือนมีนาคม นร. หยุด ครูต้องมาทำงาน วางแผนงาน ทำสื่อ ทำแผนการสอน อันนี้ทำกันทุกคนแหละ

เวลามีน้องๆแอบไปสอบ เราเข้าใจนะ ใครก็อยากได้สวัสดิการที่ดีกว่า แต่ราชการเองก็เถอะเวลาเรียกรายงานตัว ทำไมไม่เรียกเป็นเทอมๆ เรียนมกรา กุมภา งี้ ครูหาย ที่เหลือก็วิ่งวุ่นสิ สอนแทนกันแทบแย่ คาบเดิมก็เยอะอยู่แล้ว เราเคยสอนสูงสุด 23 คาบ/ สัปดาห์ 7 รหัสวิชามาแล้ว เหนื่อยสาหัสมาก แล้วเราสอนมัธยม เตรียมสอนแต่ละรหัสไม่ใช่น้อยๆ ครูใหม่ก็ไม่ได้หาง่ายๆ จริงๆทางสช. เคยประชุมเรื่องสวัสดิการที่พยายามจะทำให้ดีขึ้น แต่ผ่านมาหลายปีก็เหมือนเดิม แถมตอนนั้นยังพูดให้ไปใช้ 30 ดีกว่าเยอะ ฟังแล้ว อืม... แทนที่จะทำไงให้ดีขึ้น แต่นี่เหมือนปัดๆไป

เราเคยทำวิจัยหาข้อมูล สัมภาษณ์ ดูงานสช. ฟังแล้วสช. นี่เหมือนลูกเมียน้อยมากๆ งบนี่โดนหั่นแล้วหั่นอีก คือโรงเรียนรัฐบาลนี่งบหลายส่วนมาจากส่วนกลางได้ใช่มั้ย เงินเดือนก็มาจากกรมบัญชีกลางเลย แต่เอกชนคือคุณต้องบริหารเงินในโรงเรียนทั้งหมดทุกสิ่งอย่าง จากค่าอุดหนุนรายหัว ค่าเทอม สหกรณ์โรงเรียน ค่าเช่าต่างๆ และอื่นๆที่จะเก็บเป็นรายได้ได้ โรงเรียนดังๆแพงๆนี่ไม่ขอเงินอุดหนุนเลยอยู่ได้สบายๆ แต่โรงเรียนกลางๆล่ะ โรงเรียนเล็กๆล่ะ นร.น้อย ค่าหัวน้อย จะเอาเงินที่ไหนไปจ่ายเงินเดือนครู ขอสช.เพิ่มก็ไม่ได้

โรงเรียนเราเป็นโรงเรียนเอกชนขนาดใหญ่ แต่เก็บค่าเทอมน้อย เพราะอยู่ในชุมชนที่ไม่ใช่คนรวยเท่าไหร่ บางทีครูนี่ต้องควักเงินให้เด็กอีก ไปเยี่ยมบ้านบางคนน้ำตาจะไหล บางคนทวงค่าเทอมจนครูแทบไม่อยากทวง ดีที่โรงเรียนเราบริหารเงินดี

ฉะนั้นครูเอกชนที่อยู่จนเกษียณนี่เรานับถือน้ำใจมากๆนะคะ ใจรักจริงๆ เอาใจช่วยครูเอกชนทุกท่านค่ะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่