ขออนุญาติเพื่อนๆด้วยนะครับ พอดีอ่านภาษาไทยเรื่อง ภาพพจน์แล้วกลัวว่าจะจำไม่ได้ เลยหาลูกเล่นต่างๆใส่เข้าไป (นำมาแชร์เผื่อจะเกิดประโยชน์กับเพื่อนๆบางคนบ้าง ไม่มากก็น้อยนะครับ)
อะไรคือ ภาพพจน์
ภาพพจน์ คือ การใช้สำนวนหรือโวหาร เพื่อให้เกิดมโนภาพหรือจินตภาพต่างๆ ซึ่งประกอบไปด้วยดังต่อไปนี้
1. อุปมา คือ การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่งหนึ่งที่โดยธรรมชาติแล้วมีสภาพที่แตกต่างกัน แต่มีลักษณะเด่น ร่วมกันและใช้คำที่มีความหมายว่า เหมือนหรือคล้ายเป็นคำแสดงการเปรียบเทียบเพื่อเน้นให้เห็นจริงว่า เหมือนอย่างไร ในลักษณะใด ได้แก่คำว่า เหมือน เสมือน ดัง ดั่ง คล้าย ดูราว เหมือนดั่ง ดุจ ฯลฯ
ผมยาวสยายหอม หอม "ดั่ง" มาลี (นี่คืออุปมา)
2. อุปลักษณ์ คือ การเปรียบเทียบแบบเดียวกับอุปมา แต่ความหมายลึกและตรงกว่า
"แต่ว่าใครหนอใครเปรียบเปรยครูไว้ว่าเป็นเรือจ้าง" นี่คืออุปลักษณ์
3. บุคลาธิษฐาน คือ การสมมุติให้สิ่งที่ไม่มีชีวิต ไม่มีความนึกคิดแบบมนุษย์ ให้กลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความรู้สึก นึกคิดขึ้นมา แล้วสื่อความรู้สึกออกมาให้ผู้รับสารได้รับรู้เป็นการเปรียบเทียบ (ผู้แต่งเพลงมักจะใช้บุคลาธิษฐานในการแต่งเพลงเป็นจำนวนมาก)
4. อติพจน์ เข้าใจง่ายๆ คือ การกล่าวเกินจริง
ตรงตัวนะครับ "หนาวววววววว ใจจะขาด"
5. นามนัย คือ คำหรือวลี ที่ใช้แสดงความหมายของคำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้คำธรรมดาซ้ำซาก **ตัวนี้ผมไม่มั่นใจนักว่าเพลงที่ผมเลือกมาถูกต้องหรือไม่**
มื้อนี้เราจะเคี้ยวข้าวและ "ทุบหม้อข้าว" นี่น่าจะเป็นนามนัย (ไม่ชัวร์นะครับ ผิดชี้แนะผมด้วย)
6. อนุนามนัย คือ การกล่าวถึงส่วนย่อยที่มีลักษณะเด่นของสิ่งนั้น ๆ มากล่าวแทนสิ่งที่ต้องการกล่าวถึงทั้งหมด เป็นการเปรียบเทียบโดยนำเอาลักษณะเด่นที่เป็นส่วนหนึ่งมากล่าวแทนทั้งหมด เช่น
-เรื่องนี้ได้กลิ่นตุ ๆ ว่า คนมีสีอยู่เบื้องหลัง (คนมีสี หมายถึง ข้าราชการ)
-เขามีหน้ามีตาในสังคมได้เพราะมีผู้มีอำนาจให้การสนับสนุน(มีหน้ามีตา หมายถึง มีเกียรติ)
**ข้อนี้ยอมรับว่านึกเพลงที่เกี่ยวข้องกันไม่ออกจริงๆ ใครรู้ก็แชร์กันได้ครับ**
7. ปฏิพจน์ คือ การใช้ถ้อยคำที่มีความหมายตรงกันข้าม หรือขัดแย้งกันมากล่าวร่วมกันได้อย่างกลมกลืน วงที่เขียนเพลงโดยภาพพจน์ประเภทนี้ที่หลายๆคนรู้จักกันดี คือ วง gutsunova
8. สัทพจน์ คือ การใช้ถ้อยคำเลียนเสียงธรรมชาติ
9. ปฏิวาทะ คือ การใช้คำที่มีความหมายตรงกันข้ามกันหรือขัดแย้งกันมารวมไว้ด้วยกันเพื่อให้มีความหมายใหม่ เช่น
-คู่หมั้นของหล่อนดีเป็นบ้า (หมายถึง ดีมาก)
-เดชทำคะแนนได้น้อยมาก (หมายถึง น้อยเหลือเกิน)
ข้อนี้ก็เป็นอีกหนึ่งข้อที่ผมนึกเพลงไม่ออก ขออภัยครับ
10. สัญลักษณ์ คือ คือ การเปรียบเทียบที่เรียกสิ่งหนึ่งสิ่งใดโดยใช้คำอื่นแทน คำที่ใช้เรียกนั้นเกิดจากการเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดเจน
"หมอกจางๆและควัน เหมือนกันจนบางทีไม่อาจรู้ อยากจะถามดู ว่าเธอเป็นดั่งหมอกหรือควัน" หมอกจะใช้แทนความสดชื่น ความสบายใจ ส่วนควันก็คือความมองหม่น การมีน้ำตา เป็นต้น
ประมาณนี้ครับ ผิดพลาดประการใดขออภัยทุกท่านด้วยครับ
เรามาเรียนรู้ภาพพจน์ของภาษาไทยผ่านเพลงกันดีกว่า...
อะไรคือ ภาพพจน์
ภาพพจน์ คือ การใช้สำนวนหรือโวหาร เพื่อให้เกิดมโนภาพหรือจินตภาพต่างๆ ซึ่งประกอบไปด้วยดังต่อไปนี้
1. อุปมา คือ การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่งหนึ่งที่โดยธรรมชาติแล้วมีสภาพที่แตกต่างกัน แต่มีลักษณะเด่น ร่วมกันและใช้คำที่มีความหมายว่า เหมือนหรือคล้ายเป็นคำแสดงการเปรียบเทียบเพื่อเน้นให้เห็นจริงว่า เหมือนอย่างไร ในลักษณะใด ได้แก่คำว่า เหมือน เสมือน ดัง ดั่ง คล้าย ดูราว เหมือนดั่ง ดุจ ฯลฯ
ผมยาวสยายหอม หอม "ดั่ง" มาลี (นี่คืออุปมา)
2. อุปลักษณ์ คือ การเปรียบเทียบแบบเดียวกับอุปมา แต่ความหมายลึกและตรงกว่า
"แต่ว่าใครหนอใครเปรียบเปรยครูไว้ว่าเป็นเรือจ้าง" นี่คืออุปลักษณ์
3. บุคลาธิษฐาน คือ การสมมุติให้สิ่งที่ไม่มีชีวิต ไม่มีความนึกคิดแบบมนุษย์ ให้กลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความรู้สึก นึกคิดขึ้นมา แล้วสื่อความรู้สึกออกมาให้ผู้รับสารได้รับรู้เป็นการเปรียบเทียบ (ผู้แต่งเพลงมักจะใช้บุคลาธิษฐานในการแต่งเพลงเป็นจำนวนมาก)
4. อติพจน์ เข้าใจง่ายๆ คือ การกล่าวเกินจริง
ตรงตัวนะครับ "หนาวววววววว ใจจะขาด"
5. นามนัย คือ คำหรือวลี ที่ใช้แสดงความหมายของคำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้คำธรรมดาซ้ำซาก **ตัวนี้ผมไม่มั่นใจนักว่าเพลงที่ผมเลือกมาถูกต้องหรือไม่**
มื้อนี้เราจะเคี้ยวข้าวและ "ทุบหม้อข้าว" นี่น่าจะเป็นนามนัย (ไม่ชัวร์นะครับ ผิดชี้แนะผมด้วย)
6. อนุนามนัย คือ การกล่าวถึงส่วนย่อยที่มีลักษณะเด่นของสิ่งนั้น ๆ มากล่าวแทนสิ่งที่ต้องการกล่าวถึงทั้งหมด เป็นการเปรียบเทียบโดยนำเอาลักษณะเด่นที่เป็นส่วนหนึ่งมากล่าวแทนทั้งหมด เช่น
-เรื่องนี้ได้กลิ่นตุ ๆ ว่า คนมีสีอยู่เบื้องหลัง (คนมีสี หมายถึง ข้าราชการ)
-เขามีหน้ามีตาในสังคมได้เพราะมีผู้มีอำนาจให้การสนับสนุน(มีหน้ามีตา หมายถึง มีเกียรติ)
**ข้อนี้ยอมรับว่านึกเพลงที่เกี่ยวข้องกันไม่ออกจริงๆ ใครรู้ก็แชร์กันได้ครับ**
7. ปฏิพจน์ คือ การใช้ถ้อยคำที่มีความหมายตรงกันข้าม หรือขัดแย้งกันมากล่าวร่วมกันได้อย่างกลมกลืน วงที่เขียนเพลงโดยภาพพจน์ประเภทนี้ที่หลายๆคนรู้จักกันดี คือ วง gutsunova
8. สัทพจน์ คือ การใช้ถ้อยคำเลียนเสียงธรรมชาติ
9. ปฏิวาทะ คือ การใช้คำที่มีความหมายตรงกันข้ามกันหรือขัดแย้งกันมารวมไว้ด้วยกันเพื่อให้มีความหมายใหม่ เช่น
-คู่หมั้นของหล่อนดีเป็นบ้า (หมายถึง ดีมาก)
-เดชทำคะแนนได้น้อยมาก (หมายถึง น้อยเหลือเกิน)
ข้อนี้ก็เป็นอีกหนึ่งข้อที่ผมนึกเพลงไม่ออก ขออภัยครับ
10. สัญลักษณ์ คือ คือ การเปรียบเทียบที่เรียกสิ่งหนึ่งสิ่งใดโดยใช้คำอื่นแทน คำที่ใช้เรียกนั้นเกิดจากการเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดเจน
"หมอกจางๆและควัน เหมือนกันจนบางทีไม่อาจรู้ อยากจะถามดู ว่าเธอเป็นดั่งหมอกหรือควัน" หมอกจะใช้แทนความสดชื่น ความสบายใจ ส่วนควันก็คือความมองหม่น การมีน้ำตา เป็นต้น
ประมาณนี้ครับ ผิดพลาดประการใดขออภัยทุกท่านด้วยครับ