โบสถ์ที่สร้างอยู่ในภูเขาไฟที่ดับแล้ว

.

.
ภูเขาไฟ Santa Margarida มีโบสถ์
อยู่ภายในปล่องภูเขาไฟที่ดับแล้ว
© Carquinyol/Wikimedia
.
.


Santa Margarida เป็นภูเขาไฟ
แบบ Phreatomagmatic Vocalno
ตั้งอยู่ในเขต Garrotxa
แคว้น Catalonia ในสเปญ
ช่วงราว 11,500 ปีที่ผ่านมา
เปลือกโลกได้ระเบิดขึ้นมา
และดันหินหนืดออกมาหลายล้านตัน
จนสะสมขึ้นเป็นรูปกรวย
มีสภาพกลายเป็นเนินเขา
ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางราว 2 กม./สูง 682 ม.
มีทางระบายน้ำฝนลงสู่พื้นด้านล่าง 2 เส้น

ที่ด้านบนของเนินเขา
มีสภาพเป็นวงกลมขนาดกว้าง
ในใจกลางของปล่องภูเขาไฟ
ที่ดับแล้วจะมี  โบสถ์โรมัน
ทุกวันนี้มีสภาพคล้ายกับ
การปูพรมด้วยหญ้าหนาและพุ่มไม้
ด้านข้างล้อมรอบพื้นที่วงกลม
จะเต็มไปด้วยต้นโอ๊ก/ป่าไม้เบญจพรรณ

ยังไม่ค่อยมีข้อมูลที่แน่ชัดเกี่ยวกับ
ประวัติความเป็นมาของ
โบสถ์ Santa Margarida
มีแต่คำบอกเล่าว่าโบสถ์หลังแรก
ถูกสร้างขึ้นครั้งแรกราว 600 ปีก่อนหน้านี้
แล้วมีการตั้งชื่อนี้ขึ้นมาในภายหลัง

ในช่วงปี 1428
โบสถ์ดั้งเดิมภายในภูเขาไฟ
เกิดพังทะลายลงไปเพราะแผ่นดินไหว
ในแคว้นคาตาโลเนียครั้งสำคัญ

ในช่วงปี 1865
จึงมีการสร้างขึ้นมาทดแทนของเดิม

เขตภูเขาไฟ Garrotxa หรือ
ที่เรียกกันว่าเขตภูเขาไฟ Olot
ซึ่ง Santa Margarida ก็เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่ง
ระยะทางประมาณ 90 กิโลเมตร
ไปทางทิศเหนือของ Barcelona
เขตภูเขาไฟดังกล่าว
มีภูเขาไฟรูปกรวยราว 40 ลูก
ที่สงบตัวลงไปแล้ว
และยังไม่มีการระเบิดอีกเลย
หลังจากการระเบิดเมื่อ 11,000 ปีที่ผ่านมา
ซึ่งแตกต่างจากภูเขาไฟส่วนมาก
ที่มักจะปะทุซ้ำขึ้นอีกได้ในภายหลัง

เขตภูเขาไฟ Garrotxa
จึงเป็นเขตที่มีภูเขาไฟ
ประเภทระเบิดสนั่นเพียงครั้งเดียว
แล้วยุติไปแลย/สงบไปเลย
แต่เขตนี้ก็ยังต้องเผชิญหน้ากับ
แผ่นดินไหวและการสั่นสะเทือนเลือนลั่น
ที่รู้สึกได้เป็นครั้งคราว  

ในปี 1428
เกิดแผ่นดินไหวครั้งสำคัญ
ก่อให้เกิดความเสียหาย
ต่อบ้านเรือนจำนวนหลายหลัง
และมีผู้เสียชีวิตถึง 20 ราย
ใน Barcelona ห่างออกไป 90 กิโลเมตร
.

เรียบเรียง/ที่มา


https://goo.gl/YuwLg8
https://goo.gl/9k95Nr
https://goo.gl/qg4Tq1
.
.
.

.
โบสถ์ Santa Margarida Volcano
© nito/Shutterstoc
.
.

.
© Rafel Miro/Flickr
.
.

.
© raul2010/Flickr
.
.

.
© Santi Nunez Fulcara/Shutterstock
.
.

.
ภูเขาไฟที่เกิดขึ้นในเขคพื้นที่เดียวกัน  
© https://goo.gl/H6QbX3
.
.

.
© https://goo.gl/KBEyi4
.
.
.

ภูเขาไฟในไทย


ในประเทศไทยมีภูเขาไฟอยู่ในทุกภูมิภาค
ลักษณะจะเป็นภูเขาไฟแบบโล่ (Shield Volcano)
ซึ่งคุณสมบัติของลาวาจะไหลได้ง่าย
ดังนั้นหากมีการระเบิดขึ้นก็จะไม่รุนแรง

ภูเขาไฟในทุกภูมิภาคดับแล้ว
ภาคเหนือ  พบในเขตจังหวัด ลำปาง
เชียงราย แพร่ น่าน และอุตรดิตถ์
ภาคกลาง  พบในเขตจังหวัดสุโขทัย
กำแพงเพชร เพชรบูรณ์  สระบุรี และลพบุรี

ภาคตะวันออก พบในเขตจังหวัด ปราจีนบุรี
จันทบุรี นครนายก และตราด

ภาคตะวันตก พบในเขตจังหวัด
กาญจนบุรีและจังหวัดตาก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบในเขตจังหวัด
นครราชสีมา ศรีษะเกษ อุบลราชธานี
บุรีรัมย์ เลย และสุรินทร์

ภูเขาไฟที่เก่าแก่ที่สุดในไทยอยู่ในจังหวัดเลย
โดยมีอายุราว 395-435 ล้านปีมาแล้ว
มีอายุมากกว่าปล่องภูเขาไฟที่พบใน
จังหวัดสุโขทัยและบุรีรัมย์
ที่มีอายุเพียง 20 -30 ล้านปีเท่านั้น

จากการตรวจสอบแผนที่ประเทศไทย
พบว่าภูเขาไฟระเบิดหลายจุดในอดีต
โดยนักวิทยาศาสตร์จึงได้มีการเก็บหิน
และหลักฐานบางอย่างตรวจสอบพบว่า
เคยมีภูเขาไฟระเบิดขึ้นราว 70 ล้านปีก่อน

บริเวณที่เกิดภูเขาไฟในประเทศไทยมีดังนี้

1.  ภูเขาไฟหินพนมรุ้ง
สถานที่เขาพนมรุ้ง ต.ตาเป๊ก
อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์

ปราสาทหินพนมรุ้ง
เป็นปราสาทหินทรายสีชมพูสวยงามมาก
สร้างขึ้นบนยอดภูเขาลูกเตี้ย ๆ
ที่มีลักษณะเป็นปากปล่องภูเขาไฟ
นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า
ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นเทวสถาน
สำหรับเมืองใหญ่ในที่ราบใกล้เคียงกัน
ชื่อเมือง วนัมรุงปุระ ในสมัยขอมเรืองอำนาจ

2.  ภูเขาไฟหินหลุบ และภูเขาไฟคอก จ.บุรีรัมย์
ภูเขาไฟหลุบ อยู่ในเขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ
ภูเขาไฟเขาคอก ตั้งอยู่ในอำเภอประโคนชัย
ภูเขาไฟทั้งสองแห่งนี้ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากนัก
แต่เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ด้านธรณีวิทยา
ในเรื่องเกี่ยวกับภูเขาไฟของไทยได้เป็นอย่างดี

3.  ภูเขาไฟอังคาร สถานที่ภูพระอังคาร
ต.เจริญสุข อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์
อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากภูเขาไฟพนมรุ้ง
ที่ยอดเขาอังคารแห่งนี้
เป็นที่ตั้งของ วัดเขาพระอังคาร
ที่มีโบสถ์ที่สร้างด้วยสถาปัตยกรรม
แบบประยุกต์หลายสมัยที่สวยงามแปลกตา
ภายในโบสถ์มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง
เรื่องราวพุทธชาดกเป็นภาษาอังกฤษ

4.  ภูเขาไฟกระโดง
สถานที่เขากระโดง ต.เสม็ด อ.เมือง จ.บุรีรัมย์
เป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว
มีปากปล่องทะลุเห็นได้ชัดเจน
รอบบริเวณแวดล้อมด้วยป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์
เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าขนาดเล็ก
โดยเฉพาะนกนานาชนิด โบราณสถานสมัยขอม
รอยพระพุทธบาทจำลองและพระพุทธรูปขนาดใหญ่
เป็นที่เคารพสักการะของคนในท้องถิ่น

5.  ภูเขาไฟไบรบัด จ.บุรีรัมย์
ซากภูเขาไฟในจังหวัดบุรีรัมย์ส่วนใหญ่
มีสัณฐานของช่องปล่องประทุระเบิดชัดเจน
เนินภูเขาไฟเกิดจากการทับถม
ของเศษหินภูเขาไฟ(Pyroclastic Materials)
ซึ่งเกิดจากแรงดันก๊าซ (Gas) ต่าง ๆ
ที่แทรกอยู่ในหินหลอมละลาย เช่น ไอน้ำ (70.75%)
คาร์บอนไดออกไซด์ (14.07%) ไฮโดรเจน (0.33%)
ไนโตรเจน (5.45%) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (6.40%)
ซัลเฟอร์ไฮออกไซด์ (1.93%) เป็นต้น
เศษหินภูเขาไฟเหล่านี้เป็นมวลหินหลอมละลาย
ที่ถูกดันประทุขึ้นไปและเย็นแข็งตัวในอากาศ
มีขนาดต่าง ๆ กัน และมีชื่อเฉพาะเรียกแตกต่างกัน

6.  ภูเขาไฟดอยผาดอกจำปาแดด
และภูเขาไฟดอยหินคอกผาฟู
จ.ลำปาง
ยังมีอีกบริเวณหนึ่ง อยู่ที่อำเภอเกาะคา
โดยจะเห็นชั้นหินลาวา (หินบะซอลต์)
ซ้อนทับกันเป็นชั้น ๆ
ปากปล่องภูเขาไฟมีบริเวณกว้าง
ลักษณะของพืชหรือต้นไม้คลุมดิน
มีลักษณะเหมือน ๆ กับภูมิประเทศทั่ว ๆ ไป
จึงไม่เป็นที่ทราบว่าบริเวณนั้น
เป็นส่วนหนึ่งของปล่องภูเขาไฟมาก่อน

ปล่องภูเขาไฟสบปราบ
มีลักษณะเป็นเนินยาวขนานไปกับ
แม่น้ำวังซึ่งอยู่ทางด้านตะวันตก
ตอนเหนือเป็นเนินสูงรูปร่างคล้ายกรวย
ฐานกว้าง มีแบบรูปทางน้ำเป็นรัศมีและวงแหวน
ตอนใต้เป็นเนินยาวค่อนข้างราบ
บนยอดเนินรูปกรวย มีลักษณะเป็นแอ่งรูปวงกลม
มีขอบสูงเปิดออกทางทิศตะวันตก
มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 700 เมตร
ลักษณะของเนินทั้งทางตอนเหนือและตอนใต้
เป็นธรณีสันฐานที่เกิดจากภูเขาไฟและลาวาหลาก

7.  ภูป่าเปาะ  บ้านผาหวาย
ตำบลปวนพุ อำเภอหนองหิน จังหวัดเลย
ฟูจิเมืองเลย ที่เที่ยวไทย
ฝาแฝดภูเขาไฟฟูจิ วิว 360 องศา
ภูเขาไฟฟูจิ ฟุจิซัง ฟุจิยะมะ
แลนด์มาร์คของจังหวัดเลย
ภูก้นถ้วย ภูหอ ภูนางนอน
ยอดภูป่าเปาะ ที่เที่ยววิว 360 องศา
สวนภูผา ผาหินงาม เที่ยวเลย ที่เที่ยว 365 วัน
เที่ยวธรรมชาติ เที่ยวเชิงอนุรักษ์ เที่ยวภู
.
.

สีแดง ๆ ในแผ่นที่ธรณีที่เห็นนั้น
เกือบจะทั้งหมดคือ หินภูเขาไฟ
ที่เกิดขึ้นตอนเปลี่ยนยุค
จากเพอร์เมี่ยน ไปเป็นไตรแอสสิก
หรือเรียกว่า เพอร์โมไตรแอสสิก
เป็นยุคก่อนที่ไดโนเสาร์จะลืมตาดูโลก

ลองนึกดูสิว่า ตอนนั้นสภาพเป็นยังไง
มันเหมือนโลกกำลังถล่มเลยใช่มั๊ย
เหมือนภูเขาไฟระเบิดเต็มไปหมด
ถ้าให้นับว่าตรงไหนมีภูเขาไฟบ้าง ก็มีเยอะ
ที่เลย  Vocanic Neck (ปล่องภูเขาไฟเก่า)
เต็มเลย รวม ๆ ก็พวกสีแดง ๆ ทั้งหลาย
นั่นแหละคือ หินที่เกิดจากภูเขาไฟ

© สมาชิกหมายเลข 2931621
.

เรียบเรียง/ที่มา


https://goo.gl/P7pCvW
https://goo.gl/hhVb8p
.
.

เรื่องเล่าไร้สาระ

คาดว่าภูเขาไฟในไทยน่าจะอยู่ใน
ช่วงก่อนหรือหลัง รอยเลื่อนหิมาลัย
ทำให้มีผลต่อเนื่องถึงการยกระดับ
พื้นดินเมืองไทยให้กลายเป็นที่ราบสูง
เพราะมีการยกทะเลขึ้นสูงกว่า
ระดับน้ำทะเลเดิมมาก
จึงทำให้บริเวณที่ราบสูงอีสาน
มีเกลือสินเธาว์
ซึ่งมีผู้ขออนุญาตขุดเจาะ
เกลือ/ทำเหมืองเกลือในพื้นที่บางแห่ง
ที่มีชั้นเกลือลึกหลายร้อยเมตร
จนถึงหลายกิโลเมตรในบางจุด

ในพื้นที่อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน
ในสมัยโบราณมีการรบพุ่งกันหลายครั้ง
เพื่อแย่งชิงบ่อเกลือนี้ที่ตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือ

ในสมัยผมเรียนเคยไปอยู่ที่
บ้านเพ็ดน้อย อำเภอประทาย โคราช
เป็นเวลาเดือนเศษเพื่อทำกิจกรรม
พัฒนาชนบทร่วมกับชาวบ้าน-สร้างโรงเรียน
ในช่วงฤดูแล้งมักจะเห็นชาวบ้านลอกผิวดินบาง ๆ
ที่มีลักษณะเป็นสีขาวขุ่นเป็นฝ้าบนพื้นดิน
ซึ่งชาวบ้านบอกว่าเป็นเกลือละลายขึ้นมา  
ก่อนที่จะเอาไปต้ม/เคี่ยว
แล้ววางให้เศษดินตกตะกอนก่อน
แล้วจึงรินมาต้มใหม่ให้งวดก่อนตากแห้ง
เพื่อจะได้เกลือสินเธาว์นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

อนึ่ง ยังมีการพบเปลือกหอยทะเล
บนยอดเขาที่เมืองกาญจนบุรี  
บนเขาแถวภาคเหนือ บนเขาแถวภาคใต้
แถวบ้านก็มีที่เขาวังชิง
อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
เพราะเป็นผลมาจากรอยเลื่อนหิมาลัย
ซึ่งเคยอ่านเจอในหนังสือ คนตีหิน
หนังสือที่สร้างแรงจูงใจ
ให้ผมลงทุนซื้อค้อนธรณีวิทยา
เอามาเคาะหินเล่นตามแต่
วาระและโอกาสอำนวย

ในภาคใต้ก็มีบ่อน้ำร้อนหลายแห่ง
ซึ่งสันนิษฐานว่าเดิมเป็นเขตภูเขาไฟมาก่อน

ในบันทึกของ หลวงจีนอี้จิ้ง
ตอนท่านไปศึกษาพระไตรปิฏกที่อินเดีย
ท่านได้นั่งเรือผ่านไชยา สุราษฏร์ธานี
เห็นเปลวไฟพวยพุ่งขึ้นบนท้องฟ้าเป็นสีแดงฉาน
ในยามค่ำคืนเป็นระยะ ๆ
สามารถมองเห็นได้จากที่ไกล
ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นภูเขาไฟที่ใกล้ดับแล้ว
หลังจากนั้น ท่านได้เดินทางต่อไปไทรบุรี
ซึ่งจะเป็นฝั่งตะวันตกด้านทะเลอันดามัน
เพื่อเดินทางต่อไปยังอาณาจักรศรีวิชัยที่สุมาตรา


ส่วนแถวภาคใต้บ่อน้ำร้อนมี
ที่สวนโมกข์นานาชาติ ไชยา
ที่พัทลุง เขาชัยสน มีน้ำแร่ขายด้วย
ที่สตูล บ้านทุ่งนุ้ย  บ้านโตน
ที่กระบี่ ใกล้ ๆ กับสระมรกต หรือคลองท่อม
ที่ระนอง ในเขตอำเภอเมือง
มีบ่อน้ำร้อนหลายบ่อใกล้ ๆ กัน

แต่ที่ระนองมีผู้สู่รู้โกหกนางงาม
ที่ไปประกวดในงานต่าง ๆ ว่า
ห้ามอาบน้ำแร่ที่นี่  จะทำให้นมหย่อนยาน
คาดว่าน่าจะต้องการเร่งรัดเวลา
ทำกิจกรรมโชว์ตัวของนางงาม
ทำให้นางงามแต่ละคน
แค่เดินรอบบ่อน้ำร้อนแถวนั้นพอเป็นพิธี
.
.
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่