[BTS]วิเคราะห์จักรวาลบังทัน ภาค 1 จากด้านมืดสู่การค้นพบตัวเอง

กระทู้สนทนา
คำเตือน :
1.    กระทู้ยาวมากกกกกกกกกกกกกกกก เขียนอาจจะอ่านไม่ค่อยรู้เรื่องเราขอโทษล่วงหน้านะคะพอดีเขียนไม่ค่อยเก่ง 555555555555
2.    เนื้อหาในกระทู้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของจขกท.เท่านั้น อาจจะจริงหรือไม่จริงก็ได้นะคะ ไม่แนะนำให้ใช้เป็นแหล่งอ้างอิง
3.    มีเนื้อหาเกี่ยวกับทฤษฎีทางจิตวิทยา,ภาษาและวรรณกรรมรวมไปถึงปรัชญาและศาสนาเป็นจำนวนมากโปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
4.    ยินดีรับฟังคำติชมรวมถึงเปิดรับการอภิปรายทุกประเด็นในกระทู้ค่ะ
5.     คิดว่าอาจจะพิมผิดเยอะเว้นย่อหน้าไม่ดีตัวหนังสือติดกันเป็นพรืดไม่มีรูปไม่น่าอ่านขออภัยล่วงหน้าค่ะ


เนื่องจากมีเอมวีใหม่ของเพลง Fake love ออกมาเป็น extended version ในเอมวีนอกจากแนวเพลงที่เปลี่ยนแล้วยังมีการเพิ่ม extra scene เข้ามาด้วย ตอนแรกเราดูก็แอบงงๆแต่พอดูไปหลายๆรอบเราเริ่มเก็ทไอเดียอะไรบางอย่าง เราเลยตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาเพื่อวิเคราะห์เรื่องราวและทฤษฎีที่แฝงอยู่ในเอมวีของบังทัน
อนึ่งก่อนจะอ่านบทวิเคราะห์ของเรา เราอยากให้ทุกคนลองไปอ่านบทวิเคราะห์ของคุณ  indiiej ตามลิงค์นี้ https://minimore.com/b/ACQN6/12  
สำหรับไอเดียที่เราจะเขียนจะใช้กรอบแนวคิดและทฤษฎีคล้ายกับการวิเคราะห์ของท่านนี้ (วิเคราะห์ไว้ดีมากและเราคิดว่าเข้าเค้าที่สุดในบรรดาบทวิเคราะห์ที่เราอ่านมา) มีการเพิ่มเติมและขยายแนวคิดเล็กน้อย
บทวิเคราะห์นี้จะวิเคราะห์ในแง่การเผชิญด้านมืดของตัวละครรวมถึงการค้นพบตัวเองของตัวละคร (เป็นโครงเรื่องหลักในช่วงซีรีย์วัยรุ่น hyyh-wings) จะพยายามไม่ไปแตะซีรีย์ love yourself และประเด็นมหาศาลที่อยู่ในซีรีย์นั้นที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะวิเคราะห์ เดี๋ยวกระทู้จะยาวเกินไป


ปล. อธิบายคำศัพท์
    BU : bangtan universe โดยเอมวี/วีดีโอใดๆที่นับรวมเป็น BU จะต้องมีคำว่า BU content certified by Big Hit Entertainment อยู่ใต้วีดีโอซึ่งประกอบไปด้วยวีดีโอดังนี้
1.    I NEED YOU
2.    PROLOGUE
3.    RUN
4.    I NEED YOU JAP VER
5.    RUN JAP VER
6.    SHORT FILM FIRST LOVE SUGA
7.    SHORT FILM REFLECTION RM
8.    SHORT FILM MAMA JHOPE
9.    SHORT FILM AWAKE JIN
10.    BLOOD SWEAT AND TEAR
11.    BLOOD SWEAT AND TEAR JAP VER
12.    HIGHLIGHT REEL ทุกตอน
13.    Euphoria : Theme of LOVE YOURSELF 起 Wonder'
14.    FAKE LOVE' Official Teaser 1
15.    FAKE LOVE
16.    FAKE LOVE EXTENDED VERSION
และอาจจะมีมากกว่านี้ในอนาคต (หรือกรณีเราหาไม่เจอเอง 55555555555) สำหรับคนที่จะอ่านบทวิเคราะห์ของเราเราแนะนำว่าให้ดูวีดีโอเหล่านี้ให้ครบก่อน
    Magic shop เป็นการบำบัดทางจิตวิทยาอย่างหนึ่งโดยการให้ผู้ป่วยแลกเปลี่ยนเอาความกลัวหรือเรื่องราวความกังวลของตนไปเป็นพลังในด้านบวก



สำหรับในจักรวาล BU พูดถึงเรื่องหลักๆก็คือการพยายามค้นหาตัวเองของตัวละครบังทันทั้งเจ็ดซึ่งการค้นหาตัวเองนี้ถูกนำเสนอออกมาเป็นการที่ให้ตัวละครเหล่านั้นตาย(ในความหมายของจักรวาล BU) ซึ่งในการวิเคราะห์ครั้งนี้เราจะโฟกัสไปที่สองประเด็นคือ


1.    ความหมายของการตายของตัวละคร
จริงๆแล้วตัวละครหลายตัวน่าจะตายไปตั้งแต่ช่วง HYYH (I NEED YOU, RUN) แต่พอมาถึง fake love ตัวละครเหล่านั้นเหมือนจะตายซ้ำอีกทีด้วยสาเหตุคล้ายๆเดิม ตรงจุดนี้เราตั้งข้อสังเกตว่าการตายในจักรวาล BU น่าจะหมายถึง “การหันเข้าหาโลกมืด (สภาวะ unconsciousness ตามทฤษฎีจิตวิทยาของ Carl Jung) เพราะฉะนั้นตัวละครที่ตายใน BU จึงสามารถตายซ้ำอีกได้ตราบใดที่ตัวละครยังไม่สามารถหลุดพ้นจากด้านมืดของตนเองได้


2.    ด้านมืดของแต่ละตัวละคร-การค้นพบตัวเองของแต่ละตัวละคร
อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นในเมื่อการตายหมายถึงการหันเข้าสู่โลกของจิตใต้สำนึก(ขอเรียกว่าด้านมืดละกัน)ของแต่ละคนซึ่งเป็นด้านไร้สำนึกของแต่ละคนที่ตัวละครพยายามจะซ่อนเอาไว้โดยฉาบหน้าด้วยโลกสว่าง (สภาวะจิตสำนึกมีสติรู้ตัวรู้ผิดชอบชั่วดี) ทีนี้เราลองมาดูกันว่าแต่ละคนมีด้านมืดแบบไหนกันบ้าง


2.1    นัมจุน
ด้านมืดของนัมจุนเราคิดว่าเป็นการที่นัมจุนเกลียดตัวเอง จาก short film เพลง reflection ของนัมจุนจะเห็นว่านัมจุนจุดไฟเผารูปนกและพยายามสักรูปนกนั้นลงบนแขนของตัวเอง
ไฟ-เป็นสิ่งที่ใช้บูชา Abraxus ในเทพเจ้าใน Damien ตัวเอกในเรื่องคือ  เอมิล ซินแคลร์ คิดว่าการบูชาไฟเป็นการเข้าถึงพระเจ้า Abraxas ซึ่งเป็นพระเจ้าที่ไม่ได้อยู่ทั้งในโลกมืดและโลกสว่าง ตรงนี้หมายถึงนัมจุนต้องการบูชาพระเจ้า Abraxus เป็นการบอกว่าเขาอยากที่จะหลุดพ้นจากทั้งโลกมืดและสว่างและสร้างโลกของตัวเองขึ้นมาใหม่
นกอินทรีย์- จากประโยค The bird fights its way out of the egg. The egg is the world. Who would be born must first destroy a world. The bird flies to God. That God's name is Abraxas ใน short film awake ของจิน พูดง่ายๆว่านกอินทรีย์ก็เปรียบเสมือนสัญลักษณ์บูชาพระเจ้า Abraxus เช่นเดียวกัน
แต่สุดท้ายนัมจุนที่เผารูปนกทิ้งลงแก้วน้ำแล้วดื่มแต่ก็สลบไปรวมถึงลายที่สักไว้ก็เปลี่ยนไปกลายเป็นสีต่างๆออกมา ตรงนี้เรามองว่าคือการที่นัมจุนไม่สามารถเข้าถึงพระเจ้า Abraxus ได้นั่นเองหมายถึงนัมจุนไม่สามารถปฏิเสธทั้งสองโลกของตัวเองได้แต่ขณะเดียวกันเค้าก็ไม่ได้อยากจะอยู่ในทั้งสองโลกตั้งแต่แรก ด้วยเหตุนี้ทำให้นัมจุนเกิดสภาวะ “เกลียดตัวตนของตัวเอง” ขึ้นมา ฉากสุดท้ายของ short film นัมจุนวิ่งไปรับโทรศัพท์ในตู้โทรศัพท์ที่มีชื่อว่า “คนโกหก” นัมจุนพยายามเข้าไปแต่เค้าไม่สามรถเข้าไปได้ตรงนี้เราคิดว่าสื่อถึงการที่เค้าพยายามโกหกว่ารักตัวเองแต่เค้าไม่สามารถทำได้เค้าไม่สามารถใช้ตู้โทรศัพท์ของคนโกหกได้เพราะเขาไม่ใช่คนโกหก เพราะเหตุนี้จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมนัมจุนถึงตายแล้วเพราะว่าเขาไม่สามารถหลอกตัวเองว่ารักตัวเองได้ดังนั้นเขาจึงต้องตกไปอยู่ในสภาวะเกลียดตัวเองที่เป็นด้านมืดของเขาเท่ากับว่าเขาตายแล้วนั่นเอง
จากเนื้อเพลง I wish I could love myself ใน reflection เราคิดว่าเข้าเค้ากับสมมุติฐานนี้มาก
สำหรับ fake love ไม่ได้ขยายความเพิ่มเติมถึงด้านมืดของนัมจุนเท่าไหร่ส่วนตัวเราคิดว่าเพราะปมนี้เฉลยไว้ค่อนข้างเคลียร์ตั้งแต่อัลบั้มก่อนหน้าแล้วเลยไม่ต้องขยายความอะไรเพิ่มอีก



2.2    ยุนกิ
ด้านมืดของยุนกิเราคิดว่าเป็นการที่ยุนกิไล่ตามความฝันมากเกินไปจนลืมความตั้งใจที่แท้จริงของตัวเอง สารภาพว่าจริงๆแล้วเราแอบตันๆกับยุนกิคือเราพอจะเก็ทไอเดียนะว่าน่าจะเกี่ยวกับความฝันด้านดนตรีแต่เราไม่ค่อยแน่ใจว่ามันจะเป็นด้านมืดได้ยังไงอ่ะ คือสำหรับเราแล้วเราคิดว่าตัวละครใน BU นี้เชื่อมกับตัวตนจริงๆของบังทันค่อนข้างมากเลยนะโดยเฉพาะยุนกิกับจีมินด้านมืดของทั้งสองคนนี้ดูเป็นอะไรที่เฉพาะตัวและส่วนตัวมากๆ เราคิดว่าคีย์สำคัญของยุนกิอยู่ในเพลง first love เราว่าเรื่องราวในนั้นแหละคือด้านมืดของยุนกิซึ่งเราไม่แน่ใจว่าหมายถึงอะไรเหมือนกัน ส่วนสาเหตุการตายของยุนกิเรามักจะเจอว่ายุนกิอยู่กับไฟ กับการที่ยุนกิทำลายเครื่องดนตรีของตัวเองจุดนี้แหละที่เรานำมาเป็นสมมุติฐานด้านมืดของยุนกิ
ใน short film first love ของยุนกิมีฉากที่ยุนกิเดินเข้าไปในร้านที่เหมือนร้านขายเครื่องดนตรีในร้านเปิดไฟไซเรนเอาไว้ยุนกินั่งลงและเริ่มเล่นเปียโนในร้านเล่นไปได้ซักพักยุนกิก็แสดงท่าทีเหมือนจะเหนื่อยไม่อยากเล่นต่อ แต่แล้วก็เดินออกมากลางถนนที่มืดมิดเนื่องจากได้ยินเสียงฮัมเพลง begin ของจองกุก(ตรงนี้จะมีความสำคัญตอนหลังเราขอติดไว้ก่อน)แล้วเมื่อกลับมาพบว่าเปียโนถูกเผาไปแล้ว
ยุนกิที่เดินเข้าร้านเครื่องดนตรีที่ภายในเปิดไฟไซเรนไว้เรามองว่าเป็น metaphor ถึงการที่ยุนกิเริ่มมาตามความฝันของตัวเองท่ามกลางการทัดทานของคนรอบตัว(เดาว่าครอบครัว)ทำให้เขาต้องผลักดันและกดดันตัวเองอย่างมากในการจะประสบความสำเร็จความปรารถนานั้นในท้ายที่สุดแล้วมันกลายเป็นเรื่องใหญ่กว่าความรักในดนตรีดั้งเดิมของยุนกิ เขาเริ่มจะจดจ่อกับความสำเร็จจนเผลอเดินไปในเส้นทางที่ไม่ควรไป(ทางเดินมืดที่มีอุบัติเหตุทางรถยนต์เกิดขึ้น) เหตุการณ์รถชนและรอยเลือดน่าจะแสดงถึงเหตุการณ์ “เฉพาะ” บางอย่างที่เกิดขึ้นซึ่งแน่นอนว่าเหตุการณ์นั้นสร้างบาดแผลทางจิตใจให้กับยุนกิ(รอยเลือดนั้นเราเดาว่าเป็นของยุนกิหรือไม่ก็คนหรืออะไรก็แล้วแต่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เฉพาะนั้น) นอกจากนี้หลังจากเหตุการณ์ครั้งนั้นยังส่งผลให้ดนตรีของเขาถูกทำลายอีกด้วย
หลังจากนั้นต่อมาที่ fake love ยุนกิทำลายเครื่องดนตรีของเขาและมีไฟประทุขึ้นอย่างแรงแต่ยุนกิกลับยิ้มให้ไฟนั้น
สำหรับไฟนี้เราคิดว่าเป็นสัญลักษณ์อีกแล้ว ไฟนี้ปรากฏทั้งใน I need you และ fake love ซึ่งยุนกิมีปฏิกิริยาต่อไฟทั้งสองเหมือนกันคือไม่คิดจะหลบเลยแม้แต่น้อยแถมดูท่าแล้วยังเป็นคนจุดขึ้นมาเองอีกต่างหากเราว่าไฟนี้คือความปรารถนาในความสำเร็จของยุนกินั่นเองไฟนี้ทำลายทุกอย่างทั้งเส้นทางดนตรีที่เขารักไปจนถึงตัวของเขาเองการที่เขาตายด้วยไฟอาจตีความได้ว่าเขายอมจำนนให้กับความปรารถนาในความสำเร็จของเขาจนลืมถึงจุดมุ่งหมายเดิมของเขาไปนั่นเอง



2.3    โฮซอก
ทีแรกก่อนที่เอมวี extended นี้จะออกเราตึ๊บกับเรื่องของโฮซอกมากแบบไม่เข้าใจอะไรเลยอ่ะ ไม่รู้ว่าจะเริ่มจากตรงไหนเลยคือด้วยโซโล่มาม่าของเจโฮปดูไม่ค่อยเกี่ยวกับเนื้อเรื่องเท่าไหร่แต่ short film ของ mama ดันอยู่ในจักรวาล BU ซะงั้นแถมมียากับสนิกเกอร์มาอีกยิ่งงงเข้าไปอีกว่าเกี่ยวกับด้านมืดของโฮซอกยังไง จนกระทั่งเราเห็นฉากที่โฮปจมสนิกเกอร์ใน fake love เราถึงนึกออกว่าจริงๆแล้วทั้งยา,สนิกเกอร์รวมไปถึง mama ด้วยทุกอย่างนั้นเป็นสัญลักษณ์ทั้งหมด
เริ่มตั้งแต่ใน I need you ที่เราเห็นว่าโฮปต้องกินยาอะไรบางอย่างไปจนถึงฉากใน short film ที่โฮปต้องกินยาเมื่อนาฬิกาหมุนมาครบรอบโดยมียาออกมาจากช่องเป็นจำนวนมากและโฮปกินด้วยสีหน้าเบื่อหน่าย เราคิดว่ายาคือสัญลักษณ์ของกฎระเบียบหรือกรอบข้อปฏิบัติหรือกรอบคาแรกเตอร์อะไรทำนองนั้น (เน้นความต้องอยู่ในกฎโดยการที่ต้องกินยาตามเวลาและอยู่ได้แต่ในห้องแคบๆไม่เป็นอิสระใน short film) ซึ่งเห็นได้ชัดว่าไม่ใช่สิ่งที่โฮปต้องการจากฉากที่โฮปเทยาลงกองไฟใน I need you แสดงให้เห็นว่าเค้าไม่ได้ต้องการอยู่ในกฎ (ซึ่งตรงนี้สามารถตีความต่อไปได้อีกว่าการที่เทยาลงกองไฟอาจจะเพื่อบูชา Abraxus เพื่อให้เขาสามารถหลุดออกจากกรอบนี้ได้ จึงหมายความว่าการอยู่ในระเบียบของโฮปเป็นหนึ่งในโลกทั้งสองใบของโฮปซึ่งจากการที่เป็นกฎแน่นอนว่าต้องอยู่ในส่วนของโลกด้านสว่าง(ส่วนสติ) ) นอกจากนี้ยังมีฉากที่โฮปเดินออกมาจากห้องยาไปหยิบสนิกเกอร์มากิน ซึ่งตรงนี้จะมีรูปแม่และเด็กอยู่ด้วยซึ่งสุดท้ายโฮปก็เดินออกจากห้องไป รูปแม่นั้นเราคิดว่าแม่เป็นสัญลักษณ์แทนผู้ปกครองที่ทำหน้าที่ควบคุมกฎเป็นตัวแทนแห่งกฎระเบียบนั่นเองซึ่งการที่โฮปเดินหนีออกมาแปลว่าโฮปปฏิเสธการปฏิบัติตามกฏระเบียบและเลือกที่จะทำอะไรตามอำเภอใจ (คิดว่าสนิกเกอร์แทนสัญลักษณ์ของการแหกกฎ ซึ่งจริงๆแล้วความหมายเชิงสัญลักษณ์ของสนิกเกอร์ถูกทำให้เด่นชัดขึ้นในเอมวี fake love ที่โฮปอยู่ในห้องที่มีแต่ของเล่นซึ่งของเล่นนี้ก็เป็นสัญลักษณ์อีกเช่นเดียวกันแสดงถึงวัยเด็ก,ความเอาแต่ใจ,ความอิสระ,จินตนาการ ฯลฯ ซึ่งตรงข้ามอย่างสิ้นเชิงกับกฎระเบียบการที่มีของเล่นอยู่รอบๆกองสนิกเกอร์น่าจะสื่อถึงว่าตัวสนิกเกอร์เองก็มีความหมายเป็นไปในเชิงเดียวกันกับของเล่น) การที่โฮปเลือกกินสนิกเกอร์หมายความว่าโฮปเลือกการแหกกฎมากกว่าซึ่งนี่เองคือด้านมืดของโฮปคือการที่อยากมีอิสระทำอะไรได้ตามอำเภอใจนั่นเอง ซึ่งเราคิดว่าแนวคิดนี้ดูเป็นโฮปมากเลยทีเดียวจากเพลง daydream ใน mixtape hope world ของเขาก็เคยพูดเรื่องประมาณนี้ไว้ในเนื้อเพลงเช่นกัน (ลองอ่านเนื้อเพลงดูนะ) แต่สุดท้ายแล้วการที่สาเหตุการตายของโฮปคือจมลงไปในกองสนิกเกอร์อาจจะหมายถึงการสูญเสียการควบคุมตัวเองไปเนื่องจากมีอิสระมากเกินไปสุดท้ายก็ส่งผลร้ายต่อตัวเองอยู่ดี จุดที่น่าสนใจอยู่ที่การที่ตอนแรกโฮปกินสนิกเกอร์แต่สุดท้ายก็ถูกสนิกเกอร์กินเราว่าสื่อความหมายได้อย่างมีชั้นเชิงมากว่าหากเราปล่อยให้ตนเองมีอิสระมากไปสุดท้ายอิสระนั้นก็จะกลับมากลืนกินเราทำลายเรานั่นเอง

ต่อในคอมเม้นนะคะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่