การจะอัญเชิญพระปรมาภิไธยย่อ “ภปร” มาประดิษฐานบนวัตถุมงคล ไม่ว่าจะเป็น พระบูชา พระเครื่อง หรือ เหรียญ นั้น ส่วนใหญ่จะมีขึ้นในโอกาสอันสำคัญๆ อาทิ ครบรอบพระชนมพรรษา หรือสถาปนาพระอาราม เป็นต้น และการจะได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระปรมาภิไธยย่อ “ภปร” ประดิษฐานบนพระเครื่องนั้น จะต้องทำหนังสือเป็นทางการผ่านสำนักพระราชวัง มีมูลเหตุแห่งการขอพระราชทาน และรายละเอียดต่างๆ อย่างครบถ้วน
เมื่อทางสำนักพระราชวังตรวจสอบในเบื้องต้นแล้ว จึงนำขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อพระองค์ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยว่าสมควรหรือไม่ จากนั้นทางสำนักพระราชวังก็จะทำหนังสือตอบมายังผู้ขอต่อไป วัตถุมงคลที่ผ่านพระบรมราชวินิจฉัย ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานพระปรมาภิไธยย่อ “ภปร” ประดิษฐานบนพระเครื่องนั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จะเสด็จพระราชดำเนินด้วยพระองค์เอง หรือมอบให้พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จฯ แทนพระองค์ ทรงเป็นประธานในพิธีเททองหล่อทั้งสิ้น
ที่มา / ฉบับเต็ม
https://www.khaosod.co.th/amulets/news_99017
พระปรมาภิไธยย่อ “ภปร” บนพระเครื่อง (2)
เมื่อทางสำนักพระราชวังตรวจสอบในเบื้องต้นแล้ว จึงนำขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อพระองค์ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยว่าสมควรหรือไม่ จากนั้นทางสำนักพระราชวังก็จะทำหนังสือตอบมายังผู้ขอต่อไป วัตถุมงคลที่ผ่านพระบรมราชวินิจฉัย ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานพระปรมาภิไธยย่อ “ภปร” ประดิษฐานบนพระเครื่องนั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จะเสด็จพระราชดำเนินด้วยพระองค์เอง หรือมอบให้พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จฯ แทนพระองค์ ทรงเป็นประธานในพิธีเททองหล่อทั้งสิ้น
ที่มา / ฉบับเต็ม https://www.khaosod.co.th/amulets/news_99017