ก.พ.แจงไม่อนุมัติบรรจุพยาบาลใหม่ ชี้สธ.มีตำแหน่งว่าง 11,213 อัตราแนะให้บริหารจัดการเอง
เมื่อวันที่ 11 พ.ค. สำนักงานข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เผยแพร่เอกสารข่าวชี้แจงกรณีที่คณะรัฐมนตรีมีมติไม่อนุมัติอัตราข้าราชการตั้งใหม่ ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 10,992 อัตรา ให้กับสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) ว่า คำขอของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ขอให้คณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.) จัดสรรอัตรากำลัง 2 ส่วน รวม 11,442 อัตรา
อ่านข่าว พยาบาลขู่ลาออกยกกระทรวง หลังครม.ไม่อนุมัติตำแหน่ง สธ.เรียกประชุมด่วน ขออย่าเสียกำลังใจ
ส่วนแรกขออัตราข้าราชการตั้งใหม่ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ แบ่งบรรจุเป็นระยะเวลา 3 ปี ช่วงปีงบประมาณ พ.ศ.2560-2562 ปีละ 3,664 อัตรา รวม 10,992 อัตรา
ส่วนที่สองขอเพิ่มอัตราข้าราชการตั้งใหม่ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ สำหรับจัดสรรให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่ชายแดน เพื่อบรรจุผู้สำเร็จการศึกษาจากโครงการผลิตบุคลากร พยาบาลเพื่อพัฒนาสุขภาพประชาชนในจังหวัดชายแดนตามรอยสมเด็จย่า ปีละ 50 อัตรา เป็นระยะเวลา 9 ปี ช่วงปีงบประมาณ พ.ศ.2560-2568 รวม 450 อัตรา
คปร.เห็นควรเพิ่มอัตราข้าราชการตั้งใหม่ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ สำหรับจัดสรรให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่ชายแดน เพื่อบรรจุผู้สำเร็จการศึกษาจากโครงการผลิตบุคลากร พยาบาลเพื่อพัฒนาสุขภาพประชาชนในจังหวัดชายแดนตามรอยสมเด็จย่า เป็นระยะเวลา 9 ปีงบประมาณ พ.ศ.2560-2568 รวม 450 อัตรา แต่ไม่เห็นควรจัดสรรอัตราตั้งใหม่จำนวน 10,992 อัตรา เนื่องจากสป.สธ. มีตำแหน่งข้าราชการว่างอยู่เป็นจำนวนมาก ถึงวันที่ 3 มี.ค. ที่ผ่านมา จำนวน 11,213 อัตรา หรือ ร้อยละ 5.8 ของกรอบอัตรากาลังข้าราชการทั้งหมด จำนวน 192,960 อัตรา
จึงเสนอให้สป.สธ อาจใช้ตำแหน่งว่างไปกำหนดเป็นตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพได้ตามความจำเป็น และควรบริหารจัดการอัตราว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด ให้เกิดความคุ้มค่า ไม่เป็นการเพิ่มภาระงบประมาณด้านบุคคลภาครัฐ เพราะปัจจุบันสป.สธ. มีสัดส่วนงบบุคลากร เมื่อเทียบกับงบประมาณรายจ่ายทั้งหมดที่ร้อยละ 72.81
ทั้งนี้ ให้กระทรวงสาธารณสุขปรับปรุงการทำงานในโรงพยาบาลให้มีลักษณะการผสมผสานทักษะ ความชำนาญงานเฉพาะด้าน เพื่อให้บุคลากรในโรงพยาบาลทำหน้าที่สนับสนุนการทำงานร่วมกับพยาบาลวิชาชีพ รวมทั้งปรับลดหรือทบทวนให้พยาบาลวิชาชีพทำเฉพาะภารกิจที่ต้องใช้พยาบาลวิชาชีพ เพื่อให้พยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลได้ปฏิบัติงานการพยาบาลผู้ป่วยอย่างเหมาะสม
นอกจากนี้ คปร. ยังพิจารณาสัดส่วนในการให้บริการประชาชนพบว่า จำนวนพยาบาลวิชาชีพของไทยมี จำนวนสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่องค์การอนามัยโลก ซึ่งเกณฑ์ขั้นต่ำควรมีพยาบาลวิชาชีพอย่างน้อย 20 คน ต่อประชากร 10,000 คน แต่ปัจจุบันมี 21.4 คน ต่อ ประชากร 10,000 คน ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวไม่รวมถึงจำนวนพยาบาลวิชาชีพที่เป็นพนักงานราชการ พนักงาน กระทรวงสาธารณสุข และลูกจ้างชั่วคราว
ที่มา:
https://www.khaosod.co.th/politics/news_343667
ทำไมสมัยนี้บรรจุพยาบาลยากจัง
เมื่อวันที่ 11 พ.ค. สำนักงานข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เผยแพร่เอกสารข่าวชี้แจงกรณีที่คณะรัฐมนตรีมีมติไม่อนุมัติอัตราข้าราชการตั้งใหม่ ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 10,992 อัตรา ให้กับสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) ว่า คำขอของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ขอให้คณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.) จัดสรรอัตรากำลัง 2 ส่วน รวม 11,442 อัตรา
อ่านข่าว พยาบาลขู่ลาออกยกกระทรวง หลังครม.ไม่อนุมัติตำแหน่ง สธ.เรียกประชุมด่วน ขออย่าเสียกำลังใจ
ส่วนแรกขออัตราข้าราชการตั้งใหม่ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ แบ่งบรรจุเป็นระยะเวลา 3 ปี ช่วงปีงบประมาณ พ.ศ.2560-2562 ปีละ 3,664 อัตรา รวม 10,992 อัตรา
ส่วนที่สองขอเพิ่มอัตราข้าราชการตั้งใหม่ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ สำหรับจัดสรรให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่ชายแดน เพื่อบรรจุผู้สำเร็จการศึกษาจากโครงการผลิตบุคลากร พยาบาลเพื่อพัฒนาสุขภาพประชาชนในจังหวัดชายแดนตามรอยสมเด็จย่า ปีละ 50 อัตรา เป็นระยะเวลา 9 ปี ช่วงปีงบประมาณ พ.ศ.2560-2568 รวม 450 อัตรา
คปร.เห็นควรเพิ่มอัตราข้าราชการตั้งใหม่ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ สำหรับจัดสรรให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่ชายแดน เพื่อบรรจุผู้สำเร็จการศึกษาจากโครงการผลิตบุคลากร พยาบาลเพื่อพัฒนาสุขภาพประชาชนในจังหวัดชายแดนตามรอยสมเด็จย่า เป็นระยะเวลา 9 ปีงบประมาณ พ.ศ.2560-2568 รวม 450 อัตรา แต่ไม่เห็นควรจัดสรรอัตราตั้งใหม่จำนวน 10,992 อัตรา เนื่องจากสป.สธ. มีตำแหน่งข้าราชการว่างอยู่เป็นจำนวนมาก ถึงวันที่ 3 มี.ค. ที่ผ่านมา จำนวน 11,213 อัตรา หรือ ร้อยละ 5.8 ของกรอบอัตรากาลังข้าราชการทั้งหมด จำนวน 192,960 อัตรา
จึงเสนอให้สป.สธ อาจใช้ตำแหน่งว่างไปกำหนดเป็นตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพได้ตามความจำเป็น และควรบริหารจัดการอัตราว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด ให้เกิดความคุ้มค่า ไม่เป็นการเพิ่มภาระงบประมาณด้านบุคคลภาครัฐ เพราะปัจจุบันสป.สธ. มีสัดส่วนงบบุคลากร เมื่อเทียบกับงบประมาณรายจ่ายทั้งหมดที่ร้อยละ 72.81
ทั้งนี้ ให้กระทรวงสาธารณสุขปรับปรุงการทำงานในโรงพยาบาลให้มีลักษณะการผสมผสานทักษะ ความชำนาญงานเฉพาะด้าน เพื่อให้บุคลากรในโรงพยาบาลทำหน้าที่สนับสนุนการทำงานร่วมกับพยาบาลวิชาชีพ รวมทั้งปรับลดหรือทบทวนให้พยาบาลวิชาชีพทำเฉพาะภารกิจที่ต้องใช้พยาบาลวิชาชีพ เพื่อให้พยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลได้ปฏิบัติงานการพยาบาลผู้ป่วยอย่างเหมาะสม
นอกจากนี้ คปร. ยังพิจารณาสัดส่วนในการให้บริการประชาชนพบว่า จำนวนพยาบาลวิชาชีพของไทยมี จำนวนสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่องค์การอนามัยโลก ซึ่งเกณฑ์ขั้นต่ำควรมีพยาบาลวิชาชีพอย่างน้อย 20 คน ต่อประชากร 10,000 คน แต่ปัจจุบันมี 21.4 คน ต่อ ประชากร 10,000 คน ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวไม่รวมถึงจำนวนพยาบาลวิชาชีพที่เป็นพนักงานราชการ พนักงาน กระทรวงสาธารณสุข และลูกจ้างชั่วคราว
ที่มา:https://www.khaosod.co.th/politics/news_343667