http://84000.org/tipitaka/dic_dhamma/
http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=19
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
[19]
ธรรม 2๑ (
สภาวะ,
สิ่ง,
ปรากฏการณ์ - things; states; phenomena)
1. รูปธรรม (สภาวะอันเป็นรูป, สิ่งที่มีรูป, ได้แก่รูปขันธ์ทั้งหมด - materiality; corporeality)
2. อรูปธรรม (สภาวะมิใช่รูป, สิ่งที่ไม่มีรูป, ได้แก่นามขันธ์ 4 และนิพพาน - immateriality; incorporeality)
ในบาลีที่มา ท่านเรียก รูปิโน ธมฺมา และ อรูปิโน ธมฺมา
Dhs. 193, 245 อภิ.สํ. 34/705/279; 910/355.
http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=20
[20]
ธรรม 2๒ (สภาวะ, สิ่ง, ปรากฏการณ์ - things; states; phenomena)
1. โลกิยธรรม (ธรรมอันเป็นวิสัยของโลก, สภาวะเนื่องในโลก ได้แก่ขันธ์ 5 ที่เป็นสาสวะทั้งหมด - mundane states)
2. โลกุตตรธรรม (ธรรมอันมิใช่วิสัยของโลก, สภาวะพ้นโลก ได้แก่มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 - supramundane states) (+ โพธิปักขิยธรรม 37: ขุ.ปฏิ. 620; Ps.II.166)
Dhs.193, 245. อภิ.สํ. 34/706/279; 911/355.
http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=21
[21]
ธรรม 2๓ (สภาวะ, สิ่ง, ปรากฏการณ์ - thing; states; phenomena)
1. สังขตธรรม (สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง คือ ขันธ์ 5 ทั้งหมด - conditioned things; compounded things)
2. อสังขตธรรม (สิ่งที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง คือ นิพพาน - the Unconditioned, i.e. Nibbana)
Dhs.193, 244. อภิ.สํ. 34/702/278; 907/354.
http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=22
[22] ธรรม 2๔ (สภาวะ, สิ่ง, ปรากฏการณ์
- thing; states; phenomena)
1. อุปาทินนธรรม (ธรรมที่ถูกยึด, ธรรมที่กรรมอันสัมปยุตด้วยตัณหาและทิฏฐิเข้ายึดครอง ได้แก่ นามขันธ์ 4 ที่เป็นวิบาก และรูปที่เกิดแต่กรรมทั้งหมด - states grasped by craving and false view; grasped states)
2. อนุปาทินนธรรม (ธรรมที่ไม่ถูกยึด, ธรรมที่กรรมอันสัมปยุตด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่เข้ายึดครอง ได้แก่ นามขันธ์ 4 ส่วนนอกนี้ รูปที่มิใช่เกิดแต่กรรม และ โลกุตตรธรรมทั้งหมด - states not grasped by craving and false view; ungrasped states)
Dhs. 211, 255 อภิ.สํ. 34/779/305; 955/369.
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=85
[85] ธรรม 3 (สภาวะ, สิ่ง, ปรากฏการณ์ — states; things; phenomena; idea)
1. กุศลธรรม (ธรรมที่เป็นกุศล, สภาวะที่ฉลาด ดีงาม เอื้อแก่สุขภาพจิต เกื้อกูลแก่ชีวิตจิตใจ ได้แก่กุศลมูล 3 ก็ดี นามขันธ์ 4 ที่สัมปยุตด้วยกุศลมูลนั้นก็ดี กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่มีกุศลมูลเป็นฐาน ก็ดี กล่าวสั้นว่า กุศลในภูมิ 4 — skillful, wholesome, or profitable states; good things)
2. อกุศลธรรม (ธรรมที่เป็นอกุศล, สภาวะที่ตรงข้ามกับกุศล ได้แก่ อกุศลมูล 3 และกิเลสอันมีฐานเดียวกับอกุศลมูลนั้น ก็ดี นามขันธ์ 4 ที่สัมปยุตด้วยอกุศลมูลนั้น ก็ดี กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่มีอกุศลมูลเป็นสมุฏฐาน ก็ดี กล่าวสั้นว่าอกุศลจิตตุบาท 12 — unskillful, unwholesome or unprofitable states; bad things)
3. อัพยากตธรรม (ธรรมที่เป็นอัพยากฤต, สภาวะที่เป็นกลางๆ ชี้ขาดลงมิได้ว่าเป็นกุศลหรืออกุศล ได้แก่ นามขันธ์ 4 ที่เป็นวิบากแห่งกุศลและอกุศล เป็นกามาวจรก็ตาม รูปาวจรก็ตาม อรูปาวจรก็ตาม โลกุตตระก็ตาม อย่างหนึ่ง ธรรมทั้งหลายที่เป็นกิริยา มิใช่กุศล มิใช่อกุศล มิใช่วิบากแห่งกรรม อย่างหนึ่ง รูปทั้งปวง อย่างหนึ่ง อสังขตธาตุ คือ นิพพาน อย่างหนึ่ง กล่าวสั้นคือ วิบากในภูมิ 4 กิริยาอัพยากฤต ในภูมิ 3 รูป และนิพพาน — the indeterminate; neither-good-nor-bad thing)
Dhs.91,180,234. อภิ.สํ. 34/1/1; 663/259; 878/340
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=206
[206]
ธรรม 4 (ธรรมทั้งปวงประดามี จัดประเภทตามลักษณะความสัมพันธ์ที่มนุษย์พึงปฏิบัติหรือเกี่ยวข้องเป็น 4 จำพวก อันสอดคล้องกับหลักอริยสัจจ์ 4 และกิจในอริยสัจจ์ 4 - all dhammas [states, things] classified into 4 categories according as they are to be rightly treated)
1. ปริญโญยธรรม - ธรรมที่เข้ากันกิจในอริยสัจจ์ที่ 1 คือ ปริญญา (ธรรมอันพึงกำหนดรู้, สิ่งที่ควรรอบรู้ หรือรู้เท่าทันตามสภาวะของมัน ได้แก่ อุปาทานขันธ์ 5 กล่าวคือ ทุกข์และสิ่งทั้งหลายที่อยู่ในจำพวกที่เป็นปัญหาหรือเป็นที่ตั้งแห่งปัญหา - things to be fully understood, i.e. the five aggregates of existence subject to clinging)
2. ปหาตัพพธรรม - ธรรมที่เข้ากับกิจในอริยสัจจ์ข้อที่ 2 คือ ปหานะ (ธรรมอันพึงละ, สิ่งที่จะต้องแก้ไขกำจัดทำให้หมดไป ว่าโดยต้นตอรากเหง้า ได้แก่ อวิชชา และภวตัณหา กล่าวคือธรรมจำพวกสมุทัยที่ก่อให้เกิดปัญหา เป็นสาเหตุของทุกข์ หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า อกุศลทั้งปวง - things to be abandoned, i.e. ignorance and craving for being)
3. สัจฉิกาตัพพธรรม - ธรรมที่เข้ากับกิจในอริยสัจจ์ข้อที่ 3 คือ สัจฉิกิริยา (ธรรมอันพึงประจักษ์แจ้ง, สิ่งที่ควรได้ควรถึงหรือควรบรรลุ ได้แก่ วิชชา และวิมุตติ เมื่อกล่าวโดยรวบยอด คือ นิโรธ หรือนิพพาน หมายถึงจำพวกที่เป็นจุดหมาย หรือเป็นที่ดับหายสิ้นไปแห่งทุกข์หรือปัญหา - things to be realized, i.e. true knowledge and freedom or liberation)
4. ภาเวตัพพธรรม - ธรรมที่เข้ากับกิจในอริยสัจจ์ข้อที่ 4 คือ ภาวนา (ธรรมอันพึงเจริญหรือพึงปฏิบัติบำเพ็ญ, สิ่งที่จะต้องปฏิบัติหรือลงมือทำ ได้แก่ ธรรมที่เป็นมรรค โดยเฉพาะสมถะ และวิปัสสนา กล่าวคือ ประดาธรรมที่เป็นข้อปฏิบัติ หรือเป็นวิธีการที่จะทำหรือดำเนินการเพื่อให้บรรลุจุดหมายแห่งการสลายทุกข์หรือดับปัญหา - things to be developed, i.e. tranquillity and insight, or, in other words the Noble Eightfold Path)
M.III.289;
S.V.52;
A.II.246. ม.อุ. 14/829/524;
สํ.ม. 19/291-295/78;
องฺ.จตุกฺก. 21/254/333.
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=157
[157] ปรมัตถธรรม 4 (สภาวะที่มีอยู่โดยปรมัตถ์,
สิ่งที่เป็นจริงโดยความหมายสูงสุด - ultimate realities; abstract realities; realities in the ultimate sense)
1. จิต (สภาพที่คิด, ภาวะที่รู้แจ้งอารมณ์ - consciousness; state of consciousness)
2. เจตสิก (สภาวะที่ประกอบกับจิต, คุณสมบัติและอาการของจิต - mental factors)
3. รูป (สภาวะที่เป็นร่าง พร้อมทั้งคุณและอาการ - matter; corporeality)
4. นิพพาน (สภาวะที่สิ้นกิเลสและทุกข์ทั้งปวง, สภาวะที่ปราศจากตัณหา)
ดู รายละเอียดแต่ละอย่างใน [356] จิต 89; [355] เจตสิก 52; [38] รูป 38; [27] นิพพาน 2.
Comp.81. สงฺคห. 1
--- ธรรม -- สภาวะ, สิ่ง, ปรากฏการณ์ / *** ธรรม -คำสอนแสดงหลักความจริงที่ควรรู้ และแนะนำหลักความดีที่ควรประพฤติ ***
http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=19
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
[19] ธรรม 2๑ (สภาวะ, สิ่ง, ปรากฏการณ์ - things; states; phenomena)
1. รูปธรรม (สภาวะอันเป็นรูป, สิ่งที่มีรูป, ได้แก่รูปขันธ์ทั้งหมด - materiality; corporeality)
2. อรูปธรรม (สภาวะมิใช่รูป, สิ่งที่ไม่มีรูป, ได้แก่นามขันธ์ 4 และนิพพาน - immateriality; incorporeality)
ในบาลีที่มา ท่านเรียก รูปิโน ธมฺมา และ อรูปิโน ธมฺมา
Dhs. 193, 245 อภิ.สํ. 34/705/279; 910/355.
http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=20
[20] ธรรม 2๒ (สภาวะ, สิ่ง, ปรากฏการณ์ - things; states; phenomena)
1. โลกิยธรรม (ธรรมอันเป็นวิสัยของโลก, สภาวะเนื่องในโลก ได้แก่ขันธ์ 5 ที่เป็นสาสวะทั้งหมด - mundane states)
2. โลกุตตรธรรม (ธรรมอันมิใช่วิสัยของโลก, สภาวะพ้นโลก ได้แก่มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 - supramundane states) (+ โพธิปักขิยธรรม 37: ขุ.ปฏิ. 620; Ps.II.166)
Dhs.193, 245. อภิ.สํ. 34/706/279; 911/355.
http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=21
[21] ธรรม 2๓ (สภาวะ, สิ่ง, ปรากฏการณ์ - thing; states; phenomena)
1. สังขตธรรม (สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง คือ ขันธ์ 5 ทั้งหมด - conditioned things; compounded things)
2. อสังขตธรรม (สิ่งที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง คือ นิพพาน - the Unconditioned, i.e. Nibbana)
Dhs.193, 244. อภิ.สํ. 34/702/278; 907/354.
http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=22
[22] ธรรม 2๔ (สภาวะ, สิ่ง, ปรากฏการณ์
- thing; states; phenomena)
1. อุปาทินนธรรม (ธรรมที่ถูกยึด, ธรรมที่กรรมอันสัมปยุตด้วยตัณหาและทิฏฐิเข้ายึดครอง ได้แก่ นามขันธ์ 4 ที่เป็นวิบาก และรูปที่เกิดแต่กรรมทั้งหมด - states grasped by craving and false view; grasped states)
2. อนุปาทินนธรรม (ธรรมที่ไม่ถูกยึด, ธรรมที่กรรมอันสัมปยุตด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่เข้ายึดครอง ได้แก่ นามขันธ์ 4 ส่วนนอกนี้ รูปที่มิใช่เกิดแต่กรรม และ โลกุตตรธรรมทั้งหมด - states not grasped by craving and false view; ungrasped states)
Dhs. 211, 255 อภิ.สํ. 34/779/305; 955/369.
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=85
[85] ธรรม 3 (สภาวะ, สิ่ง, ปรากฏการณ์ — states; things; phenomena; idea)
1. กุศลธรรม (ธรรมที่เป็นกุศล, สภาวะที่ฉลาด ดีงาม เอื้อแก่สุขภาพจิต เกื้อกูลแก่ชีวิตจิตใจ ได้แก่กุศลมูล 3 ก็ดี นามขันธ์ 4 ที่สัมปยุตด้วยกุศลมูลนั้นก็ดี กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่มีกุศลมูลเป็นฐาน ก็ดี กล่าวสั้นว่า กุศลในภูมิ 4 — skillful, wholesome, or profitable states; good things)
2. อกุศลธรรม (ธรรมที่เป็นอกุศล, สภาวะที่ตรงข้ามกับกุศล ได้แก่ อกุศลมูล 3 และกิเลสอันมีฐานเดียวกับอกุศลมูลนั้น ก็ดี นามขันธ์ 4 ที่สัมปยุตด้วยอกุศลมูลนั้น ก็ดี กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่มีอกุศลมูลเป็นสมุฏฐาน ก็ดี กล่าวสั้นว่าอกุศลจิตตุบาท 12 — unskillful, unwholesome or unprofitable states; bad things)
3. อัพยากตธรรม (ธรรมที่เป็นอัพยากฤต, สภาวะที่เป็นกลางๆ ชี้ขาดลงมิได้ว่าเป็นกุศลหรืออกุศล ได้แก่ นามขันธ์ 4 ที่เป็นวิบากแห่งกุศลและอกุศล เป็นกามาวจรก็ตาม รูปาวจรก็ตาม อรูปาวจรก็ตาม โลกุตตระก็ตาม อย่างหนึ่ง ธรรมทั้งหลายที่เป็นกิริยา มิใช่กุศล มิใช่อกุศล มิใช่วิบากแห่งกรรม อย่างหนึ่ง รูปทั้งปวง อย่างหนึ่ง อสังขตธาตุ คือ นิพพาน อย่างหนึ่ง กล่าวสั้นคือ วิบากในภูมิ 4 กิริยาอัพยากฤต ในภูมิ 3 รูป และนิพพาน — the indeterminate; neither-good-nor-bad thing)
Dhs.91,180,234. อภิ.สํ. 34/1/1; 663/259; 878/340
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=206
[206] ธรรม 4 (ธรรมทั้งปวงประดามี จัดประเภทตามลักษณะความสัมพันธ์ที่มนุษย์พึงปฏิบัติหรือเกี่ยวข้องเป็น 4 จำพวก อันสอดคล้องกับหลักอริยสัจจ์ 4 และกิจในอริยสัจจ์ 4 - all dhammas [states, things] classified into 4 categories according as they are to be rightly treated)
1. ปริญโญยธรรม - ธรรมที่เข้ากันกิจในอริยสัจจ์ที่ 1 คือ ปริญญา (ธรรมอันพึงกำหนดรู้, สิ่งที่ควรรอบรู้ หรือรู้เท่าทันตามสภาวะของมัน ได้แก่ อุปาทานขันธ์ 5 กล่าวคือ ทุกข์และสิ่งทั้งหลายที่อยู่ในจำพวกที่เป็นปัญหาหรือเป็นที่ตั้งแห่งปัญหา - things to be fully understood, i.e. the five aggregates of existence subject to clinging)
2. ปหาตัพพธรรม - ธรรมที่เข้ากับกิจในอริยสัจจ์ข้อที่ 2 คือ ปหานะ (ธรรมอันพึงละ, สิ่งที่จะต้องแก้ไขกำจัดทำให้หมดไป ว่าโดยต้นตอรากเหง้า ได้แก่ อวิชชา และภวตัณหา กล่าวคือธรรมจำพวกสมุทัยที่ก่อให้เกิดปัญหา เป็นสาเหตุของทุกข์ หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า อกุศลทั้งปวง - things to be abandoned, i.e. ignorance and craving for being)
3. สัจฉิกาตัพพธรรม - ธรรมที่เข้ากับกิจในอริยสัจจ์ข้อที่ 3 คือ สัจฉิกิริยา (ธรรมอันพึงประจักษ์แจ้ง, สิ่งที่ควรได้ควรถึงหรือควรบรรลุ ได้แก่ วิชชา และวิมุตติ เมื่อกล่าวโดยรวบยอด คือ นิโรธ หรือนิพพาน หมายถึงจำพวกที่เป็นจุดหมาย หรือเป็นที่ดับหายสิ้นไปแห่งทุกข์หรือปัญหา - things to be realized, i.e. true knowledge and freedom or liberation)
4. ภาเวตัพพธรรม - ธรรมที่เข้ากับกิจในอริยสัจจ์ข้อที่ 4 คือ ภาวนา (ธรรมอันพึงเจริญหรือพึงปฏิบัติบำเพ็ญ, สิ่งที่จะต้องปฏิบัติหรือลงมือทำ ได้แก่ ธรรมที่เป็นมรรค โดยเฉพาะสมถะ และวิปัสสนา กล่าวคือ ประดาธรรมที่เป็นข้อปฏิบัติ หรือเป็นวิธีการที่จะทำหรือดำเนินการเพื่อให้บรรลุจุดหมายแห่งการสลายทุกข์หรือดับปัญหา - things to be developed, i.e. tranquillity and insight, or, in other words the Noble Eightfold Path)
M.III.289;
S.V.52;
A.II.246. ม.อุ. 14/829/524;
สํ.ม. 19/291-295/78;
องฺ.จตุกฺก. 21/254/333.
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=157
[157] ปรมัตถธรรม 4 (สภาวะที่มีอยู่โดยปรมัตถ์, สิ่งที่เป็นจริงโดยความหมายสูงสุด - ultimate realities; abstract realities; realities in the ultimate sense)
1. จิต (สภาพที่คิด, ภาวะที่รู้แจ้งอารมณ์ - consciousness; state of consciousness)
2. เจตสิก (สภาวะที่ประกอบกับจิต, คุณสมบัติและอาการของจิต - mental factors)
3. รูป (สภาวะที่เป็นร่าง พร้อมทั้งคุณและอาการ - matter; corporeality)
4. นิพพาน (สภาวะที่สิ้นกิเลสและทุกข์ทั้งปวง, สภาวะที่ปราศจากตัณหา)
ดู รายละเอียดแต่ละอย่างใน [356] จิต 89; [355] เจตสิก 52; [38] รูป 38; [27] นิพพาน 2.
Comp.81. สงฺคห. 1