*** คำเตือน : มีการเปิดเผยเนื้อหาสำคัญของเรื่อง แต่อ่านเถอะ ไปดูแล้วจะยิ่ง get สิ่งที่หนังสื่อ ***
- คนที่ลงเอยกับเรา คือ “คนที่ดี ” แต่มักเป็นคนที่อยู่ใน ‘ลำดับสำรอง’ ซึ่งมักไม่ใช่คนที่ใช่ที่สุด
- เราคิดว่าเราจะไปได้ไกลกว่ามั้ย ถ้าหากมีแฟนเป็นอีกคน (คนที่เราเคยเล็ง ๆ ไว้ ในอดีต) แต่ทว่าในวัยนี้ คุณก็ล้าโรยแรง เกินกำลังจะหนีไปจากกันแล้ว
- คุณ ‘ทำอะไรอยู่’ ในวัย 30s และนั่นใช่ ‘ที่คิดอยากจะทำ’ จริง ๆ รึเปล่า
- อย่าลืมขอบคุณตัวเองที่ยังไม่ลืมตัวตนของเราเมื่อวัยก่อนหน้านี้ และอย่าเผลอปล่อยให้ช่วงวัยเหล่านั้นบอกลาเราไปตลอดกาล
นี่คือประเด็นชวนคิดหลังจากได้รับชม Tully หนังที่ว่าด้วยการเปลี่ยนผ่านของวัย ที่ไม่มีใครพูดถึงนัก มันไม่ใช่หนังที่ดูแล้วสนุกสนาน มันไม่มีอะไรให้ซาบซึ้ง มันไม่มีฟีลกู้ด และก็ไม่มีน้ำตานอง มีแต่สร้างมุมมองสำหรับคนที่ชื่นชอบหนังแนว Life/drama เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว กล่าวได้ว่านี่ถือเป็นหนังน้ำดีที่จะ widen perspective คำว่าครอบครัวให้กับคุณได้อย่างที่ไม่มีหนังเรื่องไหนเคยให้ได้มาก่อน และอาจกล่าวได้อีกว่า เรื่องนี้เสมือนเป็น #LadyBird เวอร์ชั่นคนเป็นแม่แล้วก็ว่าได้
การเดินเรื่องของหนัง เล่าเรียงอยู่บนชีวิตประจำวันปกติธรรมดาของครอบครัว low class ที่ดันมีลูกสาม แล้วหนึ่งในนั้นก็เป็นเด็กพิเศษ (เรียกแบบที่คุณแม่ในเรื่องโวยวายกับครูก็คือ ‘เด็กปัญญาอ่อน’) ส่วนคนเป็นสามีก็ทำงานงก ๆ จนไม่ค่อยมีเวลาเลี้ยงลูก ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของภรรยา ทว่า ยังมีความโชคดีนิดหน่อยตรงที่คุณแม่ลูกสามคนนี้ยังมีพี่ชายที่มีตังค์ เลยเข้ามาช่วยแนะนำ..เอ่อ หรือซ้ำเติมก็ไม่รู้? เกี่ยวกับลูกคนล่าสุดที่ทำให้เธอเปลี่ยนไปราวกับคนละคน
หนังพาเราไปเห็นภาพของ “มนุษย์-ในฐานะแม่” ได้อย่างดีเยี่ยม มีแง่มุมที่คนไม่เคยเป็นแม่คนก็คงไม่รู้มาก่อน หนังได้ผูกโยงประเด็นเข้ากับเรื่องของสุขภาพจิตในความสัมพันธ์ของชีวิตคู่แบบผู้ใหญ่ ด้วยวิธีคิดแบบคนโต ๆ เค้าคิดกัน ไม่เพ้อฝัน ไม่หวานแหวว นี่จึงเป็นหนังที่ทำออกมาได้จริงซะยิ่งกว่าจริง ไดอะล็อกโคตรดี ไม่มีคำพูดไหนไม่มีความหมายในเรื่องนี้
หญิงสาวที่รับหน้าที่เป็น ‘พี่เลี้ยงเด็ก’ ที่โผล่มาช่วยเลี้ยงลูกตอนกลางคืนให้ คอยทำอาหารให้ คอยเก็บกวาดบ้านให้ พาให้เราตั้งคำถามว่า แท้จริงแล้วนี่คือการสร้างมโนภาพตัวตนในวัยรุ่นของตัวเองขึ้นมาใช่ไหม? และถ้าขบคิดไปเรื่อย ๆ ระหว่างดูก็จะเริ่มจับไต๋ได้ตั้งแต่ตอนให้พี่เลี้ยงเด็กใส่ชุดสาวเสิร์ฟไปมี sex นี่ล่ะ เกือบหลอกให้คนมีจิตอกุศลคิดไปไกลเลยว่าหนังจะสื่อประเด็น threesome แบบนี้ก็ได้เหรอ? ก็แหม… พี่ผกก.เล่นเอาความจริงมาฟาดเฉลยซะตอนจะจบเรื่องโน่น
Plot ดันมา twist อย่างพีคในช่วงราว ๆ 10 นาทีสุดท้ายของเรื่อง พูดเลยว่านี่เป็นหนังไม่กี่เรื่องที่พอมาถึงฉากสุดท้ายแล้วมานั่งคิดย้อนกลับตาลปัตรเรื่องราวหลักทั้งเรื่องที่ผ่านมากว่าชั่วโมง (เรื่องสุดท้ายที่ให้ความรู้สึกแบบนี้ คือ Life of Pi ซีนที่นั่งเก้าอี้คุยกันถึงความนึกคิดที่อยู่ในหัว)
ดูจบแล้วเหมือนผกก.ปล่อยหมัดฮุกเข้าใส่จุดสำคัญซะจุกแน่นิ่งไม่ไหวติง ต้องรีบกดคะแนนบวกแต้มไปให้รัว ๆ หลังจากที่ช่วงต้นเรื่องไปกระทั่งกลาง ๆ ค่อนไปทางท้ายเรื่องแล้วก็ยังดู plain มาก แต่พอมาถึงท้ายที่สุดก็ได้เวลาปล่อยของนั่นล่ะ ทั้งซีนขี่จักรยานกลับบ้านเอย ซีนเฉลยนามสกุลก่อนแต่งงานเอย ในหัวเกิดการตกผลึกขั้นสุดยอด และเปลี่ยนจากความประหลาดใจและสนเท่ห์กับเรื่องราวทั้งหมดที่เกิดในตอนกลางคืน ให้เต็มไปด้วยความเข้าใจในสิ่งที่แม่เรื่องนี้ได้กระทำ นักแสดงเล่นดีมาก อินบท ดูแล้วไม่สะดุดเลย
หนังมีมุกตลกสไตล์ตะวันตกมาให้ขำก๊ากในหลาย ๆ ฉาก แต่ผมไม่ค่อยเก็ทมุกเหล่านั้นไปเสียหมด ส่วนใหญ่ดูเป็นศัพท์แสลง แต่ถือว่าโชคดีที่ในโรงมีฝรั่งนั่งดูด้วยเยอะ เวลาที่เขาหัวเราะฮาลั่นในประโยคไหนก็ทำให้เข้าใจว่า เรื่องมันไม่ได้เครียดขรึมเกินไปอย่างที่คิด
นอกจาก Ending Scene จะสวยงามระดับ EPIC ในแง่บทสรุปแล้ว สิ่งที่ชอบมาก ๆ อีกอย่าง คือ ดนตรีแอมเบียนต์ตอนท้ายดีมาก ๆ นั่งดูยัน end credit จบ เพลงเพราะถูกจริตแบบที่ไม่เคยพบเคยเจอ
ผู้หญิงในวัย 20s หรือที่เรียกว่าวัยแรกแย้ม เปี่ยมไปด้วยเสน่ห์ล้นเหลือเกินคณา กลับดูช่างแตกต่างไปจากวัย 30s เสียนี่กระไร มันเนื่องมาจากความเหนื่อยล้าทางความรู้สึก ส่งผลต่อสุขภาพจิต โดยหนังใบ้ตั้งแต่เพลงประกอบว่า “เรามีสองชีวิต คือชีวิตที่เราใช้ กับชีวิตในฝัน” ท่อนนี้มันชวนให้เราคิดแล้วคิดอีกจริง ๆ
อยากไปดูซ้ำอีกรอบจริง ๆ แต่ตอนนี้ขอทิ้งห้วงอารมณ์ครึ้ม ๆ ขุ่น ๆ ไปก่อนสักพัก ตอนท้ายของหนังดึงไปซะเข้าถึงสัจธรรม แถมแฝงรายละเอียดบอกใบ้ แบบพาราเรลไว้ดีมากเลย ชิงออสการ์ไหมล่ะ!
Score: 10/10 A
Full review:
https://blog.folkdo.com/tully/
[CR] รีวิวภาพยนตร์ Tully (2018) หนังดราม่าเกรด A ปลุกไฟให้มนุษย์เมีย & มนุษย์แม่
- คนที่ลงเอยกับเรา คือ “คนที่ดี ” แต่มักเป็นคนที่อยู่ใน ‘ลำดับสำรอง’ ซึ่งมักไม่ใช่คนที่ใช่ที่สุด
- เราคิดว่าเราจะไปได้ไกลกว่ามั้ย ถ้าหากมีแฟนเป็นอีกคน (คนที่เราเคยเล็ง ๆ ไว้ ในอดีต) แต่ทว่าในวัยนี้ คุณก็ล้าโรยแรง เกินกำลังจะหนีไปจากกันแล้ว
- คุณ ‘ทำอะไรอยู่’ ในวัย 30s และนั่นใช่ ‘ที่คิดอยากจะทำ’ จริง ๆ รึเปล่า
- อย่าลืมขอบคุณตัวเองที่ยังไม่ลืมตัวตนของเราเมื่อวัยก่อนหน้านี้ และอย่าเผลอปล่อยให้ช่วงวัยเหล่านั้นบอกลาเราไปตลอดกาล
นี่คือประเด็นชวนคิดหลังจากได้รับชม Tully หนังที่ว่าด้วยการเปลี่ยนผ่านของวัย ที่ไม่มีใครพูดถึงนัก มันไม่ใช่หนังที่ดูแล้วสนุกสนาน มันไม่มีอะไรให้ซาบซึ้ง มันไม่มีฟีลกู้ด และก็ไม่มีน้ำตานอง มีแต่สร้างมุมมองสำหรับคนที่ชื่นชอบหนังแนว Life/drama เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว กล่าวได้ว่านี่ถือเป็นหนังน้ำดีที่จะ widen perspective คำว่าครอบครัวให้กับคุณได้อย่างที่ไม่มีหนังเรื่องไหนเคยให้ได้มาก่อน และอาจกล่าวได้อีกว่า เรื่องนี้เสมือนเป็น #LadyBird เวอร์ชั่นคนเป็นแม่แล้วก็ว่าได้
การเดินเรื่องของหนัง เล่าเรียงอยู่บนชีวิตประจำวันปกติธรรมดาของครอบครัว low class ที่ดันมีลูกสาม แล้วหนึ่งในนั้นก็เป็นเด็กพิเศษ (เรียกแบบที่คุณแม่ในเรื่องโวยวายกับครูก็คือ ‘เด็กปัญญาอ่อน’) ส่วนคนเป็นสามีก็ทำงานงก ๆ จนไม่ค่อยมีเวลาเลี้ยงลูก ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของภรรยา ทว่า ยังมีความโชคดีนิดหน่อยตรงที่คุณแม่ลูกสามคนนี้ยังมีพี่ชายที่มีตังค์ เลยเข้ามาช่วยแนะนำ..เอ่อ หรือซ้ำเติมก็ไม่รู้? เกี่ยวกับลูกคนล่าสุดที่ทำให้เธอเปลี่ยนไปราวกับคนละคน
หนังพาเราไปเห็นภาพของ “มนุษย์-ในฐานะแม่” ได้อย่างดีเยี่ยม มีแง่มุมที่คนไม่เคยเป็นแม่คนก็คงไม่รู้มาก่อน หนังได้ผูกโยงประเด็นเข้ากับเรื่องของสุขภาพจิตในความสัมพันธ์ของชีวิตคู่แบบผู้ใหญ่ ด้วยวิธีคิดแบบคนโต ๆ เค้าคิดกัน ไม่เพ้อฝัน ไม่หวานแหวว นี่จึงเป็นหนังที่ทำออกมาได้จริงซะยิ่งกว่าจริง ไดอะล็อกโคตรดี ไม่มีคำพูดไหนไม่มีความหมายในเรื่องนี้
หญิงสาวที่รับหน้าที่เป็น ‘พี่เลี้ยงเด็ก’ ที่โผล่มาช่วยเลี้ยงลูกตอนกลางคืนให้ คอยทำอาหารให้ คอยเก็บกวาดบ้านให้ พาให้เราตั้งคำถามว่า แท้จริงแล้วนี่คือการสร้างมโนภาพตัวตนในวัยรุ่นของตัวเองขึ้นมาใช่ไหม? และถ้าขบคิดไปเรื่อย ๆ ระหว่างดูก็จะเริ่มจับไต๋ได้ตั้งแต่ตอนให้พี่เลี้ยงเด็กใส่ชุดสาวเสิร์ฟไปมี sex นี่ล่ะ เกือบหลอกให้คนมีจิตอกุศลคิดไปไกลเลยว่าหนังจะสื่อประเด็น threesome แบบนี้ก็ได้เหรอ? ก็แหม… พี่ผกก.เล่นเอาความจริงมาฟาดเฉลยซะตอนจะจบเรื่องโน่น
Plot ดันมา twist อย่างพีคในช่วงราว ๆ 10 นาทีสุดท้ายของเรื่อง พูดเลยว่านี่เป็นหนังไม่กี่เรื่องที่พอมาถึงฉากสุดท้ายแล้วมานั่งคิดย้อนกลับตาลปัตรเรื่องราวหลักทั้งเรื่องที่ผ่านมากว่าชั่วโมง (เรื่องสุดท้ายที่ให้ความรู้สึกแบบนี้ คือ Life of Pi ซีนที่นั่งเก้าอี้คุยกันถึงความนึกคิดที่อยู่ในหัว)
ดูจบแล้วเหมือนผกก.ปล่อยหมัดฮุกเข้าใส่จุดสำคัญซะจุกแน่นิ่งไม่ไหวติง ต้องรีบกดคะแนนบวกแต้มไปให้รัว ๆ หลังจากที่ช่วงต้นเรื่องไปกระทั่งกลาง ๆ ค่อนไปทางท้ายเรื่องแล้วก็ยังดู plain มาก แต่พอมาถึงท้ายที่สุดก็ได้เวลาปล่อยของนั่นล่ะ ทั้งซีนขี่จักรยานกลับบ้านเอย ซีนเฉลยนามสกุลก่อนแต่งงานเอย ในหัวเกิดการตกผลึกขั้นสุดยอด และเปลี่ยนจากความประหลาดใจและสนเท่ห์กับเรื่องราวทั้งหมดที่เกิดในตอนกลางคืน ให้เต็มไปด้วยความเข้าใจในสิ่งที่แม่เรื่องนี้ได้กระทำ นักแสดงเล่นดีมาก อินบท ดูแล้วไม่สะดุดเลย
หนังมีมุกตลกสไตล์ตะวันตกมาให้ขำก๊ากในหลาย ๆ ฉาก แต่ผมไม่ค่อยเก็ทมุกเหล่านั้นไปเสียหมด ส่วนใหญ่ดูเป็นศัพท์แสลง แต่ถือว่าโชคดีที่ในโรงมีฝรั่งนั่งดูด้วยเยอะ เวลาที่เขาหัวเราะฮาลั่นในประโยคไหนก็ทำให้เข้าใจว่า เรื่องมันไม่ได้เครียดขรึมเกินไปอย่างที่คิด
นอกจาก Ending Scene จะสวยงามระดับ EPIC ในแง่บทสรุปแล้ว สิ่งที่ชอบมาก ๆ อีกอย่าง คือ ดนตรีแอมเบียนต์ตอนท้ายดีมาก ๆ นั่งดูยัน end credit จบ เพลงเพราะถูกจริตแบบที่ไม่เคยพบเคยเจอ
ผู้หญิงในวัย 20s หรือที่เรียกว่าวัยแรกแย้ม เปี่ยมไปด้วยเสน่ห์ล้นเหลือเกินคณา กลับดูช่างแตกต่างไปจากวัย 30s เสียนี่กระไร มันเนื่องมาจากความเหนื่อยล้าทางความรู้สึก ส่งผลต่อสุขภาพจิต โดยหนังใบ้ตั้งแต่เพลงประกอบว่า “เรามีสองชีวิต คือชีวิตที่เราใช้ กับชีวิตในฝัน” ท่อนนี้มันชวนให้เราคิดแล้วคิดอีกจริง ๆ
อยากไปดูซ้ำอีกรอบจริง ๆ แต่ตอนนี้ขอทิ้งห้วงอารมณ์ครึ้ม ๆ ขุ่น ๆ ไปก่อนสักพัก ตอนท้ายของหนังดึงไปซะเข้าถึงสัจธรรม แถมแฝงรายละเอียดบอกใบ้ แบบพาราเรลไว้ดีมากเลย ชิงออสการ์ไหมล่ะ!
Score: 10/10 A
Full review: https://blog.folkdo.com/tully/