สวัสดีครับ สมาชิกห้องเพลงทุกๆท่าน วันนี้วันเสาร์
MC แอ๊ด (WANG JIE หรือ ชื่อดั้งเดิม "พฤษภเสารี" สมาชิกเก่าห้อง รดน.ช่วงปี 2546-2550) เข้าประจำการครับ ^^
วันนี้ อยากพูดถึงเรื่องราวของ เพลงประเภทหนึ่ง ซึ่งมีมานาน และเป็นเพลงซึ่งบรรยายถึงเรื่องจริง ความเป็นไปในสังคม การเมือง และอื่นๆ อีกมากมายซึ่งจะพบได้ในชีวิตของคนไทย เพลงชนิดนี้จึงแยกประเภทไปต่างหาก มันไม่ใช่เพลงลูกทุ่งที่ต้องมีสาวๆแดนเซอร์เป็นคณะอย่างสายัณห์ สัญญา หรือว่ารุ่งเพชร แหลมสิงห์ ไม่ใช่เพลงลูกกรุงเนิบช้ากินใจอย่างสุเทพ วงศ์คำแหง ธานินทร์ อินทรเทพ หรือชรินทร์ นันทนาคร ไม่ใช่เพลงสตริงคอมโบ้อย่างดิอิมพอสสิเบิ้ล หรือสตริงสมัยใหม่กว่าอย่างวงชาตรี แกรนด์เอ็กซ์ ไม่ใช่เพลงร็อกอย่างไมโคร อัสนีวสันต์ ไฮร็อก หรือหินเหล็กไฟ ฯลฯ แต่เป็นอีกประเภทหนึ่งซึ่งกินใจประชาชนคนฟังเพลง มันจึงชื่อว่า
เพลงเพื่อชีวิต
เพลงเพื่อชีวิต ถือกำเนิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ซึ่งเป็นรัชกาลที่คนไทยส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้ได้เกิดร่วมสมัย
แต่แรกเริ่มหมายถึงเพลงที่มีเนื้อหากล่าวถึงชีวิตของคน โดยเฉพาะคนชนชั้นล่าง กล่าวถึงความยากลำบากในการใช้ชีวิต การถูกเอารัดเอาเปรียบ เพลงในแนวเพื่อชีวิตในยุคนี้โดยมากจะเป็นเพลงลูกทุ่ง เช่น เพลง กลิ่นโคนสาบควาย ของคำรณ สัมบุญณานนท์, จักรยานคนจน ของยอดรัก สลักใจ, น้ำมันแพง ของสรวง สันติ, น้ำตาอีสาน แต่งโดยชลธี ธารทอง และขับร้องโดยสายัณห์ สัญญา เป็นต้น
เพลงเพื่อชีวิตในประเทศไทยเริ่มเฟื่องฟูเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางโดยแพร่หลาย
ช่วงหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 โดยเนื้อหาของเพลงไม่จำกัดเฉพาะชีวิตของคนชั้นล่างอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงการเรียกร้องประชาธิปไตยและการเหน็บแนมการเมืองอีกด้วย และแนวดนตรีได้เปิดกว้างขึ้นเป็นแนวอคูสสติกหรือร็อก โดยได้รับอิทธิพลและแรงบันดาลใจจากศิลปินต่างประเทศ เช่น
บ็อบ ดิลลัน, บ็อบ มาร์เลย์, นีล ยัง, ไซมอน แอนด์ การ์ฟังเกล เป็นต้น เทียบได้กับโปรเทสต์ซองของสหรัฐอเมริกา
โดยคำว่า "เพลงเพื่อชีวิต" นั้น มาจากคำว่าศิลปะเพื่อชีวิต หรือวรรณกรรมเพื่อชีวิต ซึ่งเป็นวรรณกรรมที่ว่าถึงชีวิตและการต่อสู้ของมนุษย์ในสังคม ในยุคนี้เพลงเพื่อชีวิตเฟื่องฟูมาก จนอาจกล่าวได้ว่าเป็น "เพชรเม็ดงามของวรรณกรรมเพื่อชีวิต"
เพลงเพื่อชีวิตมักจะรวมเอาองค์ประกอบของดนตรีตะวันตกเหมือนกันเช่นเพลงบัลลาด และเพิ่มเป็นจังหวะของดนตรีไทยเซ่น สามช่า หมอลำ และลูกทุ่ง และมีองค์ประกอบของดนตรีคลาสสิกไทยบ้างเช่นกัน เพลงเพื่อชีวิตในยุคแรกจะเป็นดนตรีโฟล์กตะวันตกพร้อมกับการใช้เครื่องดนตรีอคูสติก ซึ่งต่อมาได้เพิ่มดนตรีร็อกพร้อมกับกีตาร์ไฟฟ้า เบส และกลองชุด บางศิลปินยังได้รับอิทธิพลของเร้กเก้ สกา และเพลงละตินบ้างและบางศิลปินยังใช้เครื่องดนตรีไทยเซ่น พิณ ขลุ่ย และซออู้
โดยวงดนตรีเพื่อชีวิตที่มีชื่อเสียง ได้แก่
คาราวาน, แฮมเมอร์, โคมฉาย เป็นต้น ความนิยมในเพลงเพื่อชีวิตไม่ได้เป็นเพียงกระแสในห้วงเวลานั้น หากแต่ยังได้รับความนิยมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีวงดนตรีและนักร้องเพลงเพื่อชีวิตที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน เช่น
คาราบาว, พงษ์สิทธิ์ คำภีร์, พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ, อินโดจีน, คนด่านเกวียน, มาลีฮวนน่า, โฮป, ซูซู, ตีฆอลาซู เป็นต้น อีกทั้งยังมีศิลปินบางคนหรือบางกลุ่มที่ไม่ได้เป็นเพื่อชีวิตอย่างเต็มตัว แต่เนื้อหาของเพลงหลายเพลงมีเนื้อหาที่คล้ายคลึงกับเพื่อชีวิตหรือจัดให้อยู่ประเภทเพื่อชีวิตได้ เช่น
จรัล มโนเพ็ชร, เสกสรร ทองวัฒนา, ธนพล อินทฤทธิ์, หนู มิเตอร์, นิค นิรนาม, พลพล พลกองเส็ง, กะท้อน, ศุ บุญเลี้ยง, สิบล้อ เป็นต้น
แต่เริ่มเดิมทีในช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น ยังไม่มีการบัญญัติคำว่า “เพลงเพื่อชีวิต”แยกออกมาจากเพลงไทยสากลอย่างชัดเจนนัก โดยในยุคนั้น
ครูนารถ ถาวรบุตร บรมครูนักแต่งเพลง ได้แบ่งเพลงไทยออกเป็น 3 ประเภท ตามเนื้อหาของเพลง ได้แก่
กลุ่มเพลงปลุกใจให้รักชาติ รักความเป็นไทย กลุ่มเพลงรัก หรือที่เรียกว่า เพลงประโลมโลกย์ กลุ่มเพลงชีวิต ที่หยิบยกเอารายละเอียดชีวิตของคนในอาชีพต่างๆ โดยเฉพาะชนชั้นล่างที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ ต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก มาบอกเล่าผ่านคำร้องที่เรียบง่ายและกินใจ ซึ่งกลุ่มเพลงชีวิตนั้นก็ได้กลายมาเป็นรากฐานให้กับ เพลงลูกทุ่ง และเพื่อชีวิตในเวลาต่อมา แนวดนตรีเพื่อชีวิตถูกแยกออกมาอย่างชัดเจนในปีพ.ศ. 2516 หลัง เหตุการณ์ 14 ตุลาคม นำโดย
แสงนภา บุญราศรี โดยเนื้อหานั้นนอกจากจะกล่าวถึงชีวิตที่ลำบากยากเข็ญของประชนหาเช้ากินค่ำแล้ว ยังมีการเพิ่มเนื้อหาเสียดสี ยั่วล้อสังคม รวมไปถึงการโกงกินของผู้แทนและนักการเมืองอีกด้วย แหล่งกำเนิดของเพลงเพื่อชีวิตสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ แหล่งกำเนิดทางรูปแบบ คือ ดนตรีโฟล์คตะวันตก ร็อค เพลงลูกทุ่ง ดนตรีพื้นเมืองไทย คันทรี แหล่งกำเนิดทางวัฒนธรรม คือ หลัง เหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 โดยเครื่องดนตรีหลักๆจะมี นักร้อง กีตาร์ กีตาร์เบส กลองชุด และอาจมีเครื่องดนตรีอื่นๆเพิ่มเติมขึ้นมาเช่น คีย์บอร์ด ฮาร์โมนิก้า เพอร์คัชชัน ไวโอลิน เปียโน และ เครื่องดนตรีไทย เป็นต้น
เพลงเพื่อชีวิตคือประวัติศาสตร์ในทุกช่วงเวลาที่ต่างกัน ซึ่งความหมายของคำว่าเพลงเพื่อชีวิตเองก็แตกต่างกันไปในแต่ละยุค แต่กระนั้นก็ยังคงไว้ซึ่งแกนแห่งการสร้างสรรค์ซึ่งมีเนื้อเพลงที่โดดเด่นในรูปแบบที่เรียบง่ายฟังสบาย โดยก่อนที่จะมาเป็นคำว่าเพลงเพื่อชีวิตนั้น เพลงเหล่านี้ถูกเรียกว่า “เพลงชีวิต” มาก่อน จากนั้นจึงได้มีการบัญญัติชื่อใหม่ในปีพ.ศ. 2480
ซึ่งหมายถึง “เพื่อชีวิตที่ดีกว่าของประชาชน” จนกระทั่งเข้าสู่ทศวรรษ 2500 เพลงเพื่อชีวิตซบเซาจนถึงขีดสุด ต่อมานักเขียนนาม จิตร ภูมิศักดิ์ ก็ได้ให้กำเนิดเพลงเพื่อชีวิตอีกแนวหนึ่งภายในกำแพงคุกในฐานะของนักโทษทางการเมืองและได้กลายมาเป็นต้นแบบของเพลงเพื่อชีวิต ภายใต้แนวคิดเรื่อง “ศิลปะเพื่อชีวิต” ซึ่งกลายมาเป็นแรงบันดาลใจในยุคต่อๆมา และในช่วงปี พ.ศ. 2516 เพลงเพื่อชีวิตก็แบ่งตัวออกมาเป็นเอกเทศอย่างชัดเจน
จึงกล่าวได้ว่าเพลงเพื่อชีวิตคือเพชรเม็ดงามทางด้านวัฒนธรรมอันเกิดจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 นั่นเอง
เส้นทางของเพลงเพื่อชีวิตนั้น ได้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ก่อน เหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ซึ่งเป็นยุคแห่งการสั่งสมความกดดันของการเมืองไทยภายใต้ระบบเผด็จการของ จอมพลถนอม จอมพลสฤษดิ์ และ จอมพลประภาส สิทธิเสรีภาพของประชนถูกจำกัด เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจตามมา
และผู้ที่ก้าวเข้ามามีบทบาทในหน้าประวัติศาสตร์ของเพลงเพื่อชีวิตก็คือ แสงนภา บุญราศรี อดีตราชาละครร้องในยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง ช่วงปีพ.ศ. 2475 เขาได้บุกเบิกการแต่ง เพลงไทยสากล ที่สะท้อนชีวิตชนชั้นล่างของสังคมเป็นครั้งแรกในช่วงทศวรรษ 2480 โดยเรียกว่าเป็น "เพลงชีวิต” อาทิ เช่น คนปาดตาล คนลากขยะ และอื่นๆ ต่อมาในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2490 เรื่องราวการซื้อเสียงของ ส.ส. และการคอร์รัปชั่นโกงกินกระทั่งจอบและเสียมของเสนาบดีผู้ฉ้อฉลก็ได้ปรากฏขึ้นในเนื้อหาเพลง
“แป๊ะเจี๊ยะ” และ
“พรานกระแช่” แต่เนื้อหาของเพลงยังไม่ได้เสียดสีนักการเมืองไทยอย่างตรงไปตรงมานัก ทำให้ผู้คนยอมรับเพลง “มนต์การเมือง” ที่ ครูสุเทพ โชคสกุล ประพันธ์ให้ คำรณ สัมบุณณานนท์ ขับร้อง ในราวปีพ.ศ. 2490 เป็นเพลงเสียดสีนักการเมืองไทยอย่างตรงไปตรงมาเป็นเพลงแรกเสียมากกว่า
ไม่เพียงขับร้องและประพันธ์เพลงเองเท่านั้น แสงนภา บุญราศรี ยังนำเอาประสบการณ์จากการที่เคยเป็นนักแสดงมาใช้ประกอบกับบทเพลงอีกด้วย เช่น เมื่อร้องเพลงคนปาดตาลก็จะแต่งกายชุดคนปาดตาลอย่างสมจริงสมจัง หรือเมื่อร้องเพลงคนลากขยะก็จะนำรถขยะขึ้นมาประกอบการแสดงบนเวที ซึ่งกลายมาเป็นต้นแบบให้กับศิลปินรุ่นหลังเช่น เสน่ห์ โกมารชุน และ คำรณ สัมบุณณานนท์ เป็นต้น
เหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ การเรียกร้องประชาธิปไตยของมวลชนนักศึกษาและประชาชน
เหตุการณ์ในครั้งนั้นได้ส่งผลให้เพลงเพื่อชีวิตพัฒนาขึ้นมาอย่างถึงขีดสุด โดยหลังจากที่
นายจิตร ภูมิศักดิ์ ผู้ถูกคุมขังในฐานะนักโทษทางการเมืองได้เผยแพร่ผลงานของเขาแล้ว คนก็เริ่มเขียนกลอน กวี ภายใต้อุดมการณ์ของจิตร ภูมิศักดิ์ ทำให้เพลงเพื่อชีวิตในรูปแบบของปัญญาชนถือกำเนิดขึ้น อีกทั้งกวีของเขาต่อมาได้ถูกนำไปใส่ทำนอง ได้แก่
แสงดาวแห่งศรัทธา และ
เปิบข้าว เป็นต้น
จากเหตุการณ์ทุ่งใหญ่ที่จังหวัดกาญจนบุรีที่มีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่พาดาราสาวไปเที่ยวป่าล่าสัตว์ในป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและเกิดเหตุเครื่องบินตก เป็นผลให้พบซากสัตว์ป่าที่ถูกล่ามากมายนั้น สื่อมวลชนและนักศึกษาได้นำเหตุการณ์ดังกล่าวไปเผยแพร่และได้รับความสนใจจากประชาชนอย่างมาก ส่งผลกระทบถึงภาพลักษณ์ของรัฐบาล จากเหตุการณ์ดังกล่าว ได้มีนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงกลุ่มหนึ่งออกหนังสือในนาม ชมรมคนรุ่นใหม่ ชื่อว่า มหาวิทยาลัยยังไม่มีคำตอบ ตีพิมพ์ข้อความเกี่ยวกับปัญหาการต่ออายุราชการของจอมพลประภาส จารุเสถียร ที่กล่าวว่าสถานการณ์ต่างประเทศไม่น่าไว้วางใจ หนังสือดังกล่าวมีถ้อยคำเสียดสี สภาสัตว์ป่าแห่งทุ่งใหญ่มีมติให้ต่ออายุสัตว์ป่าอีกหนึ่งปี
จากการกระทำนี้ ส่งผลให้นักศึกษาทั้ง 15 คนถูกตั้งกรรมการสอบสวน และ9 คน ถูกลบชื่อออกจากมหาวิทยาลัย นักศึกษาและประชาชานจึงรวมตัวกันประท้วงที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย นับเป็นครั้งแรกที่มีการชุมนุมประท้วงข้ามวันข้ามคืน
เรื่องราวของเพลงเพื่อชีวิต เป็นเหมือนหนังชีวิต จบเพียงตอนเดียวไม่ได้ ต้องต่อเป็นตอนที่ 2 วันพรุ่งนี้อีกหนึ่งวันครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย
https://th.wikipedia.org/wiki/เพลงเพื่อชีวิต และภาพประกอบจาก กูเกิ้ล
ห้องเพลง**คนรากหญ้า**พักยกการเมือง มุมเสียงเพลง มุมนี้ไม่มีสีไม่มีกลุ่ม มีแต่เสียงเพลง 26/5/2561 - ประวัติเพลงเพื่อชีวิต
สวัสดีครับ สมาชิกห้องเพลงทุกๆท่าน วันนี้วันเสาร์ MC แอ๊ด (WANG JIE หรือ ชื่อดั้งเดิม "พฤษภเสารี" สมาชิกเก่าห้อง รดน.ช่วงปี 2546-2550) เข้าประจำการครับ ^^
วันนี้ อยากพูดถึงเรื่องราวของ เพลงประเภทหนึ่ง ซึ่งมีมานาน และเป็นเพลงซึ่งบรรยายถึงเรื่องจริง ความเป็นไปในสังคม การเมือง และอื่นๆ อีกมากมายซึ่งจะพบได้ในชีวิตของคนไทย เพลงชนิดนี้จึงแยกประเภทไปต่างหาก มันไม่ใช่เพลงลูกทุ่งที่ต้องมีสาวๆแดนเซอร์เป็นคณะอย่างสายัณห์ สัญญา หรือว่ารุ่งเพชร แหลมสิงห์ ไม่ใช่เพลงลูกกรุงเนิบช้ากินใจอย่างสุเทพ วงศ์คำแหง ธานินทร์ อินทรเทพ หรือชรินทร์ นันทนาคร ไม่ใช่เพลงสตริงคอมโบ้อย่างดิอิมพอสสิเบิ้ล หรือสตริงสมัยใหม่กว่าอย่างวงชาตรี แกรนด์เอ็กซ์ ไม่ใช่เพลงร็อกอย่างไมโคร อัสนีวสันต์ ไฮร็อก หรือหินเหล็กไฟ ฯลฯ แต่เป็นอีกประเภทหนึ่งซึ่งกินใจประชาชนคนฟังเพลง มันจึงชื่อว่า เพลงเพื่อชีวิต
เพลงเพื่อชีวิต ถือกำเนิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ซึ่งเป็นรัชกาลที่คนไทยส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้ได้เกิดร่วมสมัย แต่แรกเริ่มหมายถึงเพลงที่มีเนื้อหากล่าวถึงชีวิตของคน โดยเฉพาะคนชนชั้นล่าง กล่าวถึงความยากลำบากในการใช้ชีวิต การถูกเอารัดเอาเปรียบ เพลงในแนวเพื่อชีวิตในยุคนี้โดยมากจะเป็นเพลงลูกทุ่ง เช่น เพลง กลิ่นโคนสาบควาย ของคำรณ สัมบุญณานนท์, จักรยานคนจน ของยอดรัก สลักใจ, น้ำมันแพง ของสรวง สันติ, น้ำตาอีสาน แต่งโดยชลธี ธารทอง และขับร้องโดยสายัณห์ สัญญา เป็นต้น
เพลงเพื่อชีวิตในประเทศไทยเริ่มเฟื่องฟูเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางโดยแพร่หลาย ช่วงหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 โดยเนื้อหาของเพลงไม่จำกัดเฉพาะชีวิตของคนชั้นล่างอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงการเรียกร้องประชาธิปไตยและการเหน็บแนมการเมืองอีกด้วย และแนวดนตรีได้เปิดกว้างขึ้นเป็นแนวอคูสสติกหรือร็อก โดยได้รับอิทธิพลและแรงบันดาลใจจากศิลปินต่างประเทศ เช่น บ็อบ ดิลลัน, บ็อบ มาร์เลย์, นีล ยัง, ไซมอน แอนด์ การ์ฟังเกล เป็นต้น เทียบได้กับโปรเทสต์ซองของสหรัฐอเมริกา โดยคำว่า "เพลงเพื่อชีวิต" นั้น มาจากคำว่าศิลปะเพื่อชีวิต หรือวรรณกรรมเพื่อชีวิต ซึ่งเป็นวรรณกรรมที่ว่าถึงชีวิตและการต่อสู้ของมนุษย์ในสังคม ในยุคนี้เพลงเพื่อชีวิตเฟื่องฟูมาก จนอาจกล่าวได้ว่าเป็น "เพชรเม็ดงามของวรรณกรรมเพื่อชีวิต"
เพลงเพื่อชีวิตมักจะรวมเอาองค์ประกอบของดนตรีตะวันตกเหมือนกันเช่นเพลงบัลลาด และเพิ่มเป็นจังหวะของดนตรีไทยเซ่น สามช่า หมอลำ และลูกทุ่ง และมีองค์ประกอบของดนตรีคลาสสิกไทยบ้างเช่นกัน เพลงเพื่อชีวิตในยุคแรกจะเป็นดนตรีโฟล์กตะวันตกพร้อมกับการใช้เครื่องดนตรีอคูสติก ซึ่งต่อมาได้เพิ่มดนตรีร็อกพร้อมกับกีตาร์ไฟฟ้า เบส และกลองชุด บางศิลปินยังได้รับอิทธิพลของเร้กเก้ สกา และเพลงละตินบ้างและบางศิลปินยังใช้เครื่องดนตรีไทยเซ่น พิณ ขลุ่ย และซออู้
โดยวงดนตรีเพื่อชีวิตที่มีชื่อเสียง ได้แก่ คาราวาน, แฮมเมอร์, โคมฉาย เป็นต้น ความนิยมในเพลงเพื่อชีวิตไม่ได้เป็นเพียงกระแสในห้วงเวลานั้น หากแต่ยังได้รับความนิยมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีวงดนตรีและนักร้องเพลงเพื่อชีวิตที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน เช่น คาราบาว, พงษ์สิทธิ์ คำภีร์, พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ, อินโดจีน, คนด่านเกวียน, มาลีฮวนน่า, โฮป, ซูซู, ตีฆอลาซู เป็นต้น อีกทั้งยังมีศิลปินบางคนหรือบางกลุ่มที่ไม่ได้เป็นเพื่อชีวิตอย่างเต็มตัว แต่เนื้อหาของเพลงหลายเพลงมีเนื้อหาที่คล้ายคลึงกับเพื่อชีวิตหรือจัดให้อยู่ประเภทเพื่อชีวิตได้ เช่น จรัล มโนเพ็ชร, เสกสรร ทองวัฒนา, ธนพล อินทฤทธิ์, หนู มิเตอร์, นิค นิรนาม, พลพล พลกองเส็ง, กะท้อน, ศุ บุญเลี้ยง, สิบล้อ เป็นต้น
แต่เริ่มเดิมทีในช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น ยังไม่มีการบัญญัติคำว่า “เพลงเพื่อชีวิต”แยกออกมาจากเพลงไทยสากลอย่างชัดเจนนัก โดยในยุคนั้น ครูนารถ ถาวรบุตร บรมครูนักแต่งเพลง ได้แบ่งเพลงไทยออกเป็น 3 ประเภท ตามเนื้อหาของเพลง ได้แก่ กลุ่มเพลงปลุกใจให้รักชาติ รักความเป็นไทย กลุ่มเพลงรัก หรือที่เรียกว่า เพลงประโลมโลกย์ กลุ่มเพลงชีวิต ที่หยิบยกเอารายละเอียดชีวิตของคนในอาชีพต่างๆ โดยเฉพาะชนชั้นล่างที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ ต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก มาบอกเล่าผ่านคำร้องที่เรียบง่ายและกินใจ ซึ่งกลุ่มเพลงชีวิตนั้นก็ได้กลายมาเป็นรากฐานให้กับ เพลงลูกทุ่ง และเพื่อชีวิตในเวลาต่อมา แนวดนตรีเพื่อชีวิตถูกแยกออกมาอย่างชัดเจนในปีพ.ศ. 2516 หลัง เหตุการณ์ 14 ตุลาคม นำโดย แสงนภา บุญราศรี โดยเนื้อหานั้นนอกจากจะกล่าวถึงชีวิตที่ลำบากยากเข็ญของประชนหาเช้ากินค่ำแล้ว ยังมีการเพิ่มเนื้อหาเสียดสี ยั่วล้อสังคม รวมไปถึงการโกงกินของผู้แทนและนักการเมืองอีกด้วย แหล่งกำเนิดของเพลงเพื่อชีวิตสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ แหล่งกำเนิดทางรูปแบบ คือ ดนตรีโฟล์คตะวันตก ร็อค เพลงลูกทุ่ง ดนตรีพื้นเมืองไทย คันทรี แหล่งกำเนิดทางวัฒนธรรม คือ หลัง เหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 โดยเครื่องดนตรีหลักๆจะมี นักร้อง กีตาร์ กีตาร์เบส กลองชุด และอาจมีเครื่องดนตรีอื่นๆเพิ่มเติมขึ้นมาเช่น คีย์บอร์ด ฮาร์โมนิก้า เพอร์คัชชัน ไวโอลิน เปียโน และ เครื่องดนตรีไทย เป็นต้น
เพลงเพื่อชีวิตคือประวัติศาสตร์ในทุกช่วงเวลาที่ต่างกัน ซึ่งความหมายของคำว่าเพลงเพื่อชีวิตเองก็แตกต่างกันไปในแต่ละยุค แต่กระนั้นก็ยังคงไว้ซึ่งแกนแห่งการสร้างสรรค์ซึ่งมีเนื้อเพลงที่โดดเด่นในรูปแบบที่เรียบง่ายฟังสบาย โดยก่อนที่จะมาเป็นคำว่าเพลงเพื่อชีวิตนั้น เพลงเหล่านี้ถูกเรียกว่า “เพลงชีวิต” มาก่อน จากนั้นจึงได้มีการบัญญัติชื่อใหม่ในปีพ.ศ. 2480 ซึ่งหมายถึง “เพื่อชีวิตที่ดีกว่าของประชาชน” จนกระทั่งเข้าสู่ทศวรรษ 2500 เพลงเพื่อชีวิตซบเซาจนถึงขีดสุด ต่อมานักเขียนนาม จิตร ภูมิศักดิ์ ก็ได้ให้กำเนิดเพลงเพื่อชีวิตอีกแนวหนึ่งภายในกำแพงคุกในฐานะของนักโทษทางการเมืองและได้กลายมาเป็นต้นแบบของเพลงเพื่อชีวิต ภายใต้แนวคิดเรื่อง “ศิลปะเพื่อชีวิต” ซึ่งกลายมาเป็นแรงบันดาลใจในยุคต่อๆมา และในช่วงปี พ.ศ. 2516 เพลงเพื่อชีวิตก็แบ่งตัวออกมาเป็นเอกเทศอย่างชัดเจน จึงกล่าวได้ว่าเพลงเพื่อชีวิตคือเพชรเม็ดงามทางด้านวัฒนธรรมอันเกิดจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 นั่นเอง
เส้นทางของเพลงเพื่อชีวิตนั้น ได้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ก่อน เหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ซึ่งเป็นยุคแห่งการสั่งสมความกดดันของการเมืองไทยภายใต้ระบบเผด็จการของ จอมพลถนอม จอมพลสฤษดิ์ และ จอมพลประภาส สิทธิเสรีภาพของประชนถูกจำกัด เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจตามมา และผู้ที่ก้าวเข้ามามีบทบาทในหน้าประวัติศาสตร์ของเพลงเพื่อชีวิตก็คือ แสงนภา บุญราศรี อดีตราชาละครร้องในยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง ช่วงปีพ.ศ. 2475 เขาได้บุกเบิกการแต่ง เพลงไทยสากล ที่สะท้อนชีวิตชนชั้นล่างของสังคมเป็นครั้งแรกในช่วงทศวรรษ 2480 โดยเรียกว่าเป็น "เพลงชีวิต” อาทิ เช่น คนปาดตาล คนลากขยะ และอื่นๆ ต่อมาในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2490 เรื่องราวการซื้อเสียงของ ส.ส. และการคอร์รัปชั่นโกงกินกระทั่งจอบและเสียมของเสนาบดีผู้ฉ้อฉลก็ได้ปรากฏขึ้นในเนื้อหาเพลง “แป๊ะเจี๊ยะ” และ “พรานกระแช่” แต่เนื้อหาของเพลงยังไม่ได้เสียดสีนักการเมืองไทยอย่างตรงไปตรงมานัก ทำให้ผู้คนยอมรับเพลง “มนต์การเมือง” ที่ ครูสุเทพ โชคสกุล ประพันธ์ให้ คำรณ สัมบุณณานนท์ ขับร้อง ในราวปีพ.ศ. 2490 เป็นเพลงเสียดสีนักการเมืองไทยอย่างตรงไปตรงมาเป็นเพลงแรกเสียมากกว่า
ไม่เพียงขับร้องและประพันธ์เพลงเองเท่านั้น แสงนภา บุญราศรี ยังนำเอาประสบการณ์จากการที่เคยเป็นนักแสดงมาใช้ประกอบกับบทเพลงอีกด้วย เช่น เมื่อร้องเพลงคนปาดตาลก็จะแต่งกายชุดคนปาดตาลอย่างสมจริงสมจัง หรือเมื่อร้องเพลงคนลากขยะก็จะนำรถขยะขึ้นมาประกอบการแสดงบนเวที ซึ่งกลายมาเป็นต้นแบบให้กับศิลปินรุ่นหลังเช่น เสน่ห์ โกมารชุน และ คำรณ สัมบุณณานนท์ เป็นต้น
เหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ การเรียกร้องประชาธิปไตยของมวลชนนักศึกษาและประชาชน เหตุการณ์ในครั้งนั้นได้ส่งผลให้เพลงเพื่อชีวิตพัฒนาขึ้นมาอย่างถึงขีดสุด โดยหลังจากที่นายจิตร ภูมิศักดิ์ ผู้ถูกคุมขังในฐานะนักโทษทางการเมืองได้เผยแพร่ผลงานของเขาแล้ว คนก็เริ่มเขียนกลอน กวี ภายใต้อุดมการณ์ของจิตร ภูมิศักดิ์ ทำให้เพลงเพื่อชีวิตในรูปแบบของปัญญาชนถือกำเนิดขึ้น อีกทั้งกวีของเขาต่อมาได้ถูกนำไปใส่ทำนอง ได้แก่ แสงดาวแห่งศรัทธา และ เปิบข้าว เป็นต้น
จากเหตุการณ์ทุ่งใหญ่ที่จังหวัดกาญจนบุรีที่มีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่พาดาราสาวไปเที่ยวป่าล่าสัตว์ในป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและเกิดเหตุเครื่องบินตก เป็นผลให้พบซากสัตว์ป่าที่ถูกล่ามากมายนั้น สื่อมวลชนและนักศึกษาได้นำเหตุการณ์ดังกล่าวไปเผยแพร่และได้รับความสนใจจากประชาชนอย่างมาก ส่งผลกระทบถึงภาพลักษณ์ของรัฐบาล จากเหตุการณ์ดังกล่าว ได้มีนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงกลุ่มหนึ่งออกหนังสือในนาม ชมรมคนรุ่นใหม่ ชื่อว่า มหาวิทยาลัยยังไม่มีคำตอบ ตีพิมพ์ข้อความเกี่ยวกับปัญหาการต่ออายุราชการของจอมพลประภาส จารุเสถียร ที่กล่าวว่าสถานการณ์ต่างประเทศไม่น่าไว้วางใจ หนังสือดังกล่าวมีถ้อยคำเสียดสี สภาสัตว์ป่าแห่งทุ่งใหญ่มีมติให้ต่ออายุสัตว์ป่าอีกหนึ่งปี จากการกระทำนี้ ส่งผลให้นักศึกษาทั้ง 15 คนถูกตั้งกรรมการสอบสวน และ9 คน ถูกลบชื่อออกจากมหาวิทยาลัย นักศึกษาและประชาชานจึงรวมตัวกันประท้วงที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย นับเป็นครั้งแรกที่มีการชุมนุมประท้วงข้ามวันข้ามคืน
เรื่องราวของเพลงเพื่อชีวิต เป็นเหมือนหนังชีวิต จบเพียงตอนเดียวไม่ได้ ต้องต่อเป็นตอนที่ 2 วันพรุ่งนี้อีกหนึ่งวันครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย https://th.wikipedia.org/wiki/เพลงเพื่อชีวิต และภาพประกอบจาก กูเกิ้ล