อ่าวมาหยา เขตอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี จ.กระบี่ แลนด์มาร์ค แหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่แต่ละปีมีนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคน เฉลี่ยรายวันตกวันละไม่ต่ำกว่า 4 พันคน เดินทางไป แม้ส่งผลดีในแง่เม็ดเงินมหาศาลเข้าประเทศ แต่จำนวนนักท่องเที่ยวก็ย่อมมีผลกระทบทั้งล้นเกาะ และกิจกรรมท่องเที่ยวกระทบระบบนิเวศน์
การปิดอ่าวในช่วงมรสุม 4 เดือน เป็นแนวทางหนึ่งเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศน์ .. ในช่วงฤดูมรสุมของทุกปี หรือช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนตุลาคม กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช จะทำการประกาศปิดอ่าวมาหยาชั่วคราว แต่การปิดฟื้นฟูอ่าวมาหยาของกรมอุทยานฯในปีนี้ จะแตกต่างจากทุกปี เพราะมีการวางแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบในระยะยาว ที่อาจจะเกิดขึ้นหากเริ่มเปิดอ่าวให้เที่ยวตามปกติ
โดยกรมอุทยานฯ จะไม่อนุญาตให้นำเรือพานักท่องเที่ยวเข้ามาเทียบจอดริมชายหาดบริเวณด้านหน้าอ่าว หรือห้ามลงเล่นน้ำเด็ดขาด และจะนำทุ่นไข่ปลามาวางทำเป็นแนวเขตป้องกัน แต่ยังอนุญาตให้เรือเข้ามาจอดลอยลำนอกเขตที่วางทุ่นเพื่อชมวิว และถ่ายภาพได้อยู่
ในช่วงแรกของการปิดอ่าว เจ้าหน้าที่จะเริ่มฟื้นฟูแนวปะการัง ลงกิ่งพันธุ์เพื่อปลูกขยายพันธุ์ปะการัง โดยเชิญชวนประชาชน จิตอาสา ผู้ประกอบการร่วมกันนำลงไปปลูกใต้ท้องทะเล นัยว่าสร้างสำนึกว่าทุกคนเป็นเจ้าของปะการังที่ต้องช่วยกันรักษา และหลังจากเปิดให้เที่ยวปกติ จะจัดระเบียบไม่ให้เรือวิ่งเข้า-ออก รับ-ส่ง นักท่องเที่ยว บริเวณด้านหน้าชายหาดเป็นการถาวร แต่จะสร้างท่าเทียบเรือบริเวณด้านหลังอ่าวมาหยา รับ-ส่งนักท่องเที่ยว เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับหาดทรายบริเวณหน้าอ่าวปะการังน้ำตื้นได้ในระยะยาว ขณะที่การออกแบบท่าเรือ สะพาน รวมถึงทางเดิน จะเน้นให้กลมกลืนกับธรรมชาติมากที่สุด
ที่สำคัญจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวให้เหมาะสมสอดคล้องกับพื้นที่รองรับที่มีเพียง 18 ไร่ ซึ่งปัจจุบันถือว่าเกิดนขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยววันละ 4 พันคน จะถูกจำกัดให้เหลือแค่วันละ 2 พันคน
แต่แนวทางการแก้ไขและป้องกันปัญหาที่ดีที่สุด น่าจะเริ่มที่ตัวของนักท่องเที่ยว หรือประชาชนทุกคนที่ต้องช่วยกันดู ซึ่งไม่เฉพาะอ่าวมาหยา หรือ แหล่งท่องเที่ยว แต่หมายถึงทุกๆแห่งที่ผู้คนใช้ประโยชน์ร่วมกัน
ปิด 4 เดือน ฟื้นอ่าวมาหยา !!!
อ่าวมาหยา เขตอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี จ.กระบี่ แลนด์มาร์ค แหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่แต่ละปีมีนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคน เฉลี่ยรายวันตกวันละไม่ต่ำกว่า 4 พันคน เดินทางไป แม้ส่งผลดีในแง่เม็ดเงินมหาศาลเข้าประเทศ แต่จำนวนนักท่องเที่ยวก็ย่อมมีผลกระทบทั้งล้นเกาะ และกิจกรรมท่องเที่ยวกระทบระบบนิเวศน์
การปิดอ่าวในช่วงมรสุม 4 เดือน เป็นแนวทางหนึ่งเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศน์ .. ในช่วงฤดูมรสุมของทุกปี หรือช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนตุลาคม กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช จะทำการประกาศปิดอ่าวมาหยาชั่วคราว แต่การปิดฟื้นฟูอ่าวมาหยาของกรมอุทยานฯในปีนี้ จะแตกต่างจากทุกปี เพราะมีการวางแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบในระยะยาว ที่อาจจะเกิดขึ้นหากเริ่มเปิดอ่าวให้เที่ยวตามปกติ
โดยกรมอุทยานฯ จะไม่อนุญาตให้นำเรือพานักท่องเที่ยวเข้ามาเทียบจอดริมชายหาดบริเวณด้านหน้าอ่าว หรือห้ามลงเล่นน้ำเด็ดขาด และจะนำทุ่นไข่ปลามาวางทำเป็นแนวเขตป้องกัน แต่ยังอนุญาตให้เรือเข้ามาจอดลอยลำนอกเขตที่วางทุ่นเพื่อชมวิว และถ่ายภาพได้อยู่
ในช่วงแรกของการปิดอ่าว เจ้าหน้าที่จะเริ่มฟื้นฟูแนวปะการัง ลงกิ่งพันธุ์เพื่อปลูกขยายพันธุ์ปะการัง โดยเชิญชวนประชาชน จิตอาสา ผู้ประกอบการร่วมกันนำลงไปปลูกใต้ท้องทะเล นัยว่าสร้างสำนึกว่าทุกคนเป็นเจ้าของปะการังที่ต้องช่วยกันรักษา และหลังจากเปิดให้เที่ยวปกติ จะจัดระเบียบไม่ให้เรือวิ่งเข้า-ออก รับ-ส่ง นักท่องเที่ยว บริเวณด้านหน้าชายหาดเป็นการถาวร แต่จะสร้างท่าเทียบเรือบริเวณด้านหลังอ่าวมาหยา รับ-ส่งนักท่องเที่ยว เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับหาดทรายบริเวณหน้าอ่าวปะการังน้ำตื้นได้ในระยะยาว ขณะที่การออกแบบท่าเรือ สะพาน รวมถึงทางเดิน จะเน้นให้กลมกลืนกับธรรมชาติมากที่สุด
ที่สำคัญจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวให้เหมาะสมสอดคล้องกับพื้นที่รองรับที่มีเพียง 18 ไร่ ซึ่งปัจจุบันถือว่าเกิดนขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยววันละ 4 พันคน จะถูกจำกัดให้เหลือแค่วันละ 2 พันคน
แต่แนวทางการแก้ไขและป้องกันปัญหาที่ดีที่สุด น่าจะเริ่มที่ตัวของนักท่องเที่ยว หรือประชาชนทุกคนที่ต้องช่วยกันดู ซึ่งไม่เฉพาะอ่าวมาหยา หรือ แหล่งท่องเที่ยว แต่หมายถึงทุกๆแห่งที่ผู้คนใช้ประโยชน์ร่วมกัน