รายงานล่าสุดของ ผู้บริหารบริษัท ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) หรือ FSMART ระบุว่า ซื้อหุ้นไปมากกว่า 16 ล้านหุ้นแล้ว เกือบเต็มโควต้าที่เคยประกาศว่าจะซื้อไม่เกิน20 ล้านหุ้น(หรือไม่เกิน 300 ล้านบาท แต่ราคาหุ้นยังเฉียดฉิวทำท่าจะหลุดไปใต้ 9.50 บาทอยู่นั่นแล้ว
ถือเป็นโชคดีของบริษัทที่ช้อนซื้อหุ้นตัวเองได้ในราคาต่ำ แต่ยังเป็นโชคร้ายของ"ชาวดอย"ทั้งหลาย
คำถามจึงพัลวันว่า ทำไมขาประจำหุ้นตัวนี้ จึงขาดความกล้าหาญและกระตือรือร้นจนหมดสิ้นอย่างนี้ ทั้งที่พี/อี ต่ำแค่ 13 เท่า แถมยังกำไรต่อเนื่องเป็นขาขึ้นอีกไม่มีหยุด
ตอบแบบ"เอาชั่วเข้าคนอื่น" (ไม่ต้องยอมรับเลยว่า ผู้บริหารขี้เหนียวมาก เพราะจากกำไรสะสม 643 ล้านบาท เจียดมาแค่ครึ่งเดียว) คือมีคนทุบ หรือไม่ก็เหยียบเท้าไม่ยอมให้ราคาหุ้นกลับทิศเป็นขาขึ้น โดยเฉพาะนักวิเคราะห์ที่เปลี่ยนมุมมองใหม่ให้นักลงทุนจาก"หุ้นน่าซื้อ"เป็น"หุ้นน่าขาย"เสียยังงั้น
สถานการณ์ทิ้งปริศนาว่า การที่ผู้บริหารและบอร์ดที่มีมติใช้เงินแค่ 300 ล้านบาทเพื่อซื้อหุ้นจำนวนไม่เกิน 20 ล้านหุ้น หรือแค่ 2.5% ของหุ้นทั้งหมด จะทำให้เกิดแรงซื้อระลอกใหม่อย่างไรกัน เพราะทำไปแล้ว ดูระยะสั้นนี้ ถือว่าไม่คุ้ม
คงต้องถามประธาน-ซีอีโอ นายพงษ์ชัย อมตานนท์ และ กรรมการผู้จัดการ นายสมชัย สูงสว่าง กันเอาเองว่า กำไรสะสมมันน้อยมากจนแบ่งมาซื้อหุ้นเพิ่มอีกไม่ได้แล้วหรืออย่างไร จะได้ทราบกันเอาไว้ และทำใจแต่เนิ่นๆ อย่างยอมรับสภาพ
โดยพื้นฐานแล้ว FSMART ที่ยามนี้ถือเป็นหุ้นมาร์เก็ตแค็ปอันดับหนึ่งของตลาด mai ถือเป็นบริษัทที่มีผลประกอบการเป็นขาขึ้นต่อเนื่องนับแต่เข้าตลาดมา จากที่เคยมีกำไร"ปีละ" 150 ล้าน มาเป็นกำไร"ไตรมาสละ" 150 ล้านบาท แถมมีกำไรนิวไฮทุกไตรมาสจากผลงานของรายได้จากตู้บุญเติมที่มีโมเดลธุรกิจยากที่คู่แข่งจะลอกเลียนแบบ
รายได้จากปี 2557 ที่เฉลี่ยไตรมาสละ 300 ล้านบาทเศษ มาถึงไตรมาสแรกปีนี้ที่เกือบถึง1,000 ล้านบาท แถมยังรักษาอัตรากำไรสุทธิไม่เคยต่ำกว่า 15% คงไม่มีใครที่ไหนที่มีจิตอุเบกขากล้าบอกว่าเป็นหุ้นที่แย่ ยกเว้นนักวิเคราะห์หุ้นที่เหมือนนัดแนะกันมาถล่มราคาในช่วง 2 เดือนนี้หนักมาก เหมือน "ปูพรมทุบ"
ปี 2560 FSMART มีกำไรสุทธิรวม 543 ล้านบาท เติบโต 29.3% จากปีก่อน ขณะที่จำนวนตู้บุญเติมรวมอยู่ที่ 1.24 แสนตู้ ทำได้ตามเป้าหมาย(ซึ่งปรับเป้าปีเดียว3-4ครั้ง) ที่วางไว้ทุกประการ ขณะที่รายได้รวมจากธุรกิจหลักทำได้ 3.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 38.3% จากปีก่อน
ดีขนาดนี้ ถ้าเป็นหุ้นอื่น เชียร์กันสนั่นทุ่งไปแล้ว แต่กลับมีคนหาเรื่องจับจุดอ่อนมาเล่นงานจนได้ การบันทึกตัวเลขงวดสิ้นปีว่าด้วยค่าเสื่อมราคาตู้บุญเติมที่เพิ่มมากกว่า 32,000 ตู้ในปีเดียว ที่มากถึง 455.4 ล้านบาท หรือเพิ่ม 43% ของปีก่อน จนทำให้งบไตรมาสสุดท้ายของปีถดถอยลงเทียบกับไตรมาสสาม แต่ก็ยังทำกำไรต่อเนื่อง เป็นแรงกดดันต่อความสามารถทำกำไร
มุมมอง"สีข้างเข้าถู"ของนักวิเคราะห์ จึงเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังเท้าในทันทีทันควัน ได้เวลาทุบจริงจัง ทั้งที่ใครๆก็รู้ว่าการบันทึกค่าเสื่อมนั้นเป็นการบันทึกที่กดดันกำไร"ทางบัญชี" สามารถบันทึกกลับมาในภายหลังได้เสมอ
การบันทึกค่าเสื่อมมากในปี 2560 เยอะมาก ซึ่งจะทำให้การบันทึกในปีถัดไปคือ2561 ปีนี้ จะมีกำไรเพิ่มขึ้นใน"ทางบัญชี" จึงถูกตีความว่าเป็นแรง"กดดันต่อความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน" อย่างไร้เดียงสาโดยปริยาย
ความไร้เดียงสานี้เมื่อถูกถ่ายทอดจากนักวิเคราะห์ไปยังนักลงทุน ต่อให้ผู้บริหารจะชี้แจงว่า บริษัทยังคงวางเป้าหมายที่จะขยายตู้เติมเงินในปี 61 เพิ่มขึ้นอีก 2 หมื่นตู้ พร้อมทั้งตั้งเป้ามูลค่าการใช้บริการผ่านตู้บุญเติม(ยอดAPU) เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 20% จากปี 60 ก็ไม่ช่วยหยุดยั้งแรงขายได้
ยิ่งผู้บริหารยังชี้แจงว่า ฐานลูกค้าผู้ใช้บริการระบบโทรศัพท์มือถือแบบเติมเงินยังคงเป็นกลุ่มผู้ใช้เงินสด แนวโน้มที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้บริการโทรศัพท์แบบรายเดือนยังอยู่ในระดับต่ำ โดยบริษัทยังคงรักษาความเป็นผู้นำตลาดตู้เติมเงินได้อย่างต่อเนื่องในปี 60 จากส่วนแบ่งการตลาดราว 22% เพิ่มขึ้น 5% จากปีก่อน ก็ยังมีนักวิเคราะห์"สู่รู้" อ้างถึง การตรวจสอบข้อมูลจากบริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ในไทย 2 ราย ได้แก่ แอดวานซ์ อินโฟว์ เซอร์วิซ (ADVANC) และโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) ปรากฏว่าผู้ใช้บริการระบบเติมเงินของทั้ง 2 บริษัท ต่างลดลง โดย ADVANC ลดลง 2.94 แสนราย ขณะที่ DTAC ลดลง 2.44 ล้านราย ..เป็นตรรกะวิบัติว่า ลูกค้าของตู้บุญเติมจะลดลงตามไปด้วย..ทั้งที่ตัวเลขดังกล่าว ไม่มีนัยสำคัญอะไรเลย และอาจจะไม่เกี่ยวข้องด้วยซ้ำ
พอถึงไตรมาสแรกปีนี้ ผลประกอบการ FSMART ก็ยังเป็นไปตามพันธะสัญญาของผู้บริหาร เพราะยังมีกำไรเติบโตต่อเนื่อง มีกำไรสทธิที่ 145 ล้านบาท กลับมาเพิ่ม 18.5%จากไตรมาสสี่ปีก่อน และเพิ่ม 10.1% จากระยะเดียวกันปีก่อน ด้วยคำอธิบายสำคัญคือ มีอัตรากำไรเบื้องต้นดีขึ้นเป็น 21.8% จากไตรมาสก่อน 20.8% เนื่องจากต้นทุนบริการชะลอตัวกว่าคาด ชดเชยรายได้บริการที่โตน้อยกว่าคาด โดยมีรายได้อื่นเพิ่มและภาษีจ่ายลดลง 13.7% จากสิทธิประโยชน์ททางภาษีจากการลงทุนขยายตู้
ที่สำคัญ เป้าหมายผู้บริหารที่ตั้งเอาไว้ว่า ปีนี้จะมีกำไร 640 ล้านบาท เพิ่มจากปีก่อน 17.8% ยังไปได้ดี เพราะ 1)บริการหลักเดิม และบริการเติมมือถือ คาดว่าจะเพิ่ม ARPU 2) ตัวเลขบันทึกค่าเสื่อมตู้บุญเติมชะลอการเร่งตัว 3) รายได้บริการโอนเงิน (สัดส่วนรายได้ 6-8%) ยังเดินหนาเพิ่มต่อเนือง (ปัจจุบัน FSMART ให้บริการโอนเงินร่วมกับ 2 แบงก์ คือ KBANK และ KTB) และยังเจรจากับ 3 แบงก์ใหญ่ มาตั้งแต่ปีก่อน
แม้ทุกอย่างไม่ว่าแผนการตลาด และรายได้จะยังแกร่งต่อไป แต่นักวิเคราะห์ที่เสียฟอร์มจากการประเมินต่ำในไตรมาสแรก ยังไม่ยอมแพ้ ล่าสุดประเมินว่า บนสมมติฐานส่วนแบ่งรายได้ลงประมาณ 0.1% ขณะที่สัดส่วนมูลค่าเติมเงินมือถือยังเป็นสัดส่วนหลักกว่า 80% แม้ว่า มุมมองเรื่องผลกระทบจากการยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนเงิน เติมเงิน ผ่านช่องทาง Mobile banking และประเด็น Banking Agent ต่อสถานะในปัจจุบันค่อนข้างจำกัด เนื่องจากกลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลักของบริษัทเป็นระดับรากหญ้ารายได้ต่ำ แต่เพื่อสะท้อนปัจจัยเสี่ยงความไม่แน่นอนในอนาคตจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี เราเปลี่ยนวิธีการประเมินราคาเป้าหมายจากเดิมวิธี DCF เป็น PE 13 เท่า ทำให้ปีนี้ ต้องลดลงที่ 10.50 บาท
พอถึงบทจะทุบ ก็หาเรื่อง"โหดหิน"มาจนได้ ทั้งที่เมื่อ 2 เดือนมานี้ นักวิเคราะห์คนเดียวกันนี่แหละ เพิ่งให้ราคาเป้าหมายถึง 19.50 บาท
สู้ทำดีมาตลอด 5 ปี เพราะโตช้าไปแค่ไตรมาสเดียว ก็คิดจะเชือดอย่าวเดียว มันแฟร์ตรงไหน?!!
ผลลัพธ์คือ ช่วยให้โครงการ ซื้อหุ้นคืน 300 ล้านบาท หรือ 20 ล้านหุ้น มีต้นทุนต่ำลงใกล้เคียงราคาตลาด ล่าสุด..ดีและเท่ไปอีกแบบ เพราะหากราคาหุ้นขยับเมื่อใด บริษัทจะสามารถมีกำไรจากเงินลงทุนซื้อหุ้นคืนแถมเข้าพกห่ออีก
ที่พูดแบบนี้ ก็เป็นแค่การ"ร่อนเมล็ดข้าว ออกจากกองแกลบ"ปลอบใจพลางๆเท่านั้น
งานนี้เสี่ยเต่า และเสี่ยสอง คู่หูคงต้องออกแรง"เข็นครกขึ้นภู"มากกว่าเดิม เพราะต้องเร่งหาทางฝ่าข้าม"อคตินักวิเคราะห์" และแรงเฉื่อยเนือยแบบ"ตายด้าน"ของนักลงทุนที่ไร้ความหาญกล้า ซึ่งไม่ง่าย
ส่วนจะทำได้แค่ไหน อาจต้องลุ้นผลประกอบการ FSMART อีกสักไตรมาส มาเสริมแรง และตอกย้ำว่า อนาคตตู้บุญเติมยังแจ่มแจ๋วกว่าหุ้นขยะที่มีสตอรี่เพ้อเจ้อ แต่ไม่เคยเจอกำไร
FSMART เข็นครกขึ้นภู สู้ตายด้าน : โดย อีหล่าน้อย บทความจากเว็บไซต์ Share2Trade
ถือเป็นโชคดีของบริษัทที่ช้อนซื้อหุ้นตัวเองได้ในราคาต่ำ แต่ยังเป็นโชคร้ายของ"ชาวดอย"ทั้งหลาย
คำถามจึงพัลวันว่า ทำไมขาประจำหุ้นตัวนี้ จึงขาดความกล้าหาญและกระตือรือร้นจนหมดสิ้นอย่างนี้ ทั้งที่พี/อี ต่ำแค่ 13 เท่า แถมยังกำไรต่อเนื่องเป็นขาขึ้นอีกไม่มีหยุด
ตอบแบบ"เอาชั่วเข้าคนอื่น" (ไม่ต้องยอมรับเลยว่า ผู้บริหารขี้เหนียวมาก เพราะจากกำไรสะสม 643 ล้านบาท เจียดมาแค่ครึ่งเดียว) คือมีคนทุบ หรือไม่ก็เหยียบเท้าไม่ยอมให้ราคาหุ้นกลับทิศเป็นขาขึ้น โดยเฉพาะนักวิเคราะห์ที่เปลี่ยนมุมมองใหม่ให้นักลงทุนจาก"หุ้นน่าซื้อ"เป็น"หุ้นน่าขาย"เสียยังงั้น
สถานการณ์ทิ้งปริศนาว่า การที่ผู้บริหารและบอร์ดที่มีมติใช้เงินแค่ 300 ล้านบาทเพื่อซื้อหุ้นจำนวนไม่เกิน 20 ล้านหุ้น หรือแค่ 2.5% ของหุ้นทั้งหมด จะทำให้เกิดแรงซื้อระลอกใหม่อย่างไรกัน เพราะทำไปแล้ว ดูระยะสั้นนี้ ถือว่าไม่คุ้ม
คงต้องถามประธาน-ซีอีโอ นายพงษ์ชัย อมตานนท์ และ กรรมการผู้จัดการ นายสมชัย สูงสว่าง กันเอาเองว่า กำไรสะสมมันน้อยมากจนแบ่งมาซื้อหุ้นเพิ่มอีกไม่ได้แล้วหรืออย่างไร จะได้ทราบกันเอาไว้ และทำใจแต่เนิ่นๆ อย่างยอมรับสภาพ
โดยพื้นฐานแล้ว FSMART ที่ยามนี้ถือเป็นหุ้นมาร์เก็ตแค็ปอันดับหนึ่งของตลาด mai ถือเป็นบริษัทที่มีผลประกอบการเป็นขาขึ้นต่อเนื่องนับแต่เข้าตลาดมา จากที่เคยมีกำไร"ปีละ" 150 ล้าน มาเป็นกำไร"ไตรมาสละ" 150 ล้านบาท แถมมีกำไรนิวไฮทุกไตรมาสจากผลงานของรายได้จากตู้บุญเติมที่มีโมเดลธุรกิจยากที่คู่แข่งจะลอกเลียนแบบ
รายได้จากปี 2557 ที่เฉลี่ยไตรมาสละ 300 ล้านบาทเศษ มาถึงไตรมาสแรกปีนี้ที่เกือบถึง1,000 ล้านบาท แถมยังรักษาอัตรากำไรสุทธิไม่เคยต่ำกว่า 15% คงไม่มีใครที่ไหนที่มีจิตอุเบกขากล้าบอกว่าเป็นหุ้นที่แย่ ยกเว้นนักวิเคราะห์หุ้นที่เหมือนนัดแนะกันมาถล่มราคาในช่วง 2 เดือนนี้หนักมาก เหมือน "ปูพรมทุบ"
ปี 2560 FSMART มีกำไรสุทธิรวม 543 ล้านบาท เติบโต 29.3% จากปีก่อน ขณะที่จำนวนตู้บุญเติมรวมอยู่ที่ 1.24 แสนตู้ ทำได้ตามเป้าหมาย(ซึ่งปรับเป้าปีเดียว3-4ครั้ง) ที่วางไว้ทุกประการ ขณะที่รายได้รวมจากธุรกิจหลักทำได้ 3.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 38.3% จากปีก่อน
ดีขนาดนี้ ถ้าเป็นหุ้นอื่น เชียร์กันสนั่นทุ่งไปแล้ว แต่กลับมีคนหาเรื่องจับจุดอ่อนมาเล่นงานจนได้ การบันทึกตัวเลขงวดสิ้นปีว่าด้วยค่าเสื่อมราคาตู้บุญเติมที่เพิ่มมากกว่า 32,000 ตู้ในปีเดียว ที่มากถึง 455.4 ล้านบาท หรือเพิ่ม 43% ของปีก่อน จนทำให้งบไตรมาสสุดท้ายของปีถดถอยลงเทียบกับไตรมาสสาม แต่ก็ยังทำกำไรต่อเนื่อง เป็นแรงกดดันต่อความสามารถทำกำไร
มุมมอง"สีข้างเข้าถู"ของนักวิเคราะห์ จึงเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังเท้าในทันทีทันควัน ได้เวลาทุบจริงจัง ทั้งที่ใครๆก็รู้ว่าการบันทึกค่าเสื่อมนั้นเป็นการบันทึกที่กดดันกำไร"ทางบัญชี" สามารถบันทึกกลับมาในภายหลังได้เสมอ
การบันทึกค่าเสื่อมมากในปี 2560 เยอะมาก ซึ่งจะทำให้การบันทึกในปีถัดไปคือ2561 ปีนี้ จะมีกำไรเพิ่มขึ้นใน"ทางบัญชี" จึงถูกตีความว่าเป็นแรง"กดดันต่อความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน" อย่างไร้เดียงสาโดยปริยาย
ความไร้เดียงสานี้เมื่อถูกถ่ายทอดจากนักวิเคราะห์ไปยังนักลงทุน ต่อให้ผู้บริหารจะชี้แจงว่า บริษัทยังคงวางเป้าหมายที่จะขยายตู้เติมเงินในปี 61 เพิ่มขึ้นอีก 2 หมื่นตู้ พร้อมทั้งตั้งเป้ามูลค่าการใช้บริการผ่านตู้บุญเติม(ยอดAPU) เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 20% จากปี 60 ก็ไม่ช่วยหยุดยั้งแรงขายได้
ยิ่งผู้บริหารยังชี้แจงว่า ฐานลูกค้าผู้ใช้บริการระบบโทรศัพท์มือถือแบบเติมเงินยังคงเป็นกลุ่มผู้ใช้เงินสด แนวโน้มที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้บริการโทรศัพท์แบบรายเดือนยังอยู่ในระดับต่ำ โดยบริษัทยังคงรักษาความเป็นผู้นำตลาดตู้เติมเงินได้อย่างต่อเนื่องในปี 60 จากส่วนแบ่งการตลาดราว 22% เพิ่มขึ้น 5% จากปีก่อน ก็ยังมีนักวิเคราะห์"สู่รู้" อ้างถึง การตรวจสอบข้อมูลจากบริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ในไทย 2 ราย ได้แก่ แอดวานซ์ อินโฟว์ เซอร์วิซ (ADVANC) และโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) ปรากฏว่าผู้ใช้บริการระบบเติมเงินของทั้ง 2 บริษัท ต่างลดลง โดย ADVANC ลดลง 2.94 แสนราย ขณะที่ DTAC ลดลง 2.44 ล้านราย ..เป็นตรรกะวิบัติว่า ลูกค้าของตู้บุญเติมจะลดลงตามไปด้วย..ทั้งที่ตัวเลขดังกล่าว ไม่มีนัยสำคัญอะไรเลย และอาจจะไม่เกี่ยวข้องด้วยซ้ำ
พอถึงไตรมาสแรกปีนี้ ผลประกอบการ FSMART ก็ยังเป็นไปตามพันธะสัญญาของผู้บริหาร เพราะยังมีกำไรเติบโตต่อเนื่อง มีกำไรสทธิที่ 145 ล้านบาท กลับมาเพิ่ม 18.5%จากไตรมาสสี่ปีก่อน และเพิ่ม 10.1% จากระยะเดียวกันปีก่อน ด้วยคำอธิบายสำคัญคือ มีอัตรากำไรเบื้องต้นดีขึ้นเป็น 21.8% จากไตรมาสก่อน 20.8% เนื่องจากต้นทุนบริการชะลอตัวกว่าคาด ชดเชยรายได้บริการที่โตน้อยกว่าคาด โดยมีรายได้อื่นเพิ่มและภาษีจ่ายลดลง 13.7% จากสิทธิประโยชน์ททางภาษีจากการลงทุนขยายตู้
ที่สำคัญ เป้าหมายผู้บริหารที่ตั้งเอาไว้ว่า ปีนี้จะมีกำไร 640 ล้านบาท เพิ่มจากปีก่อน 17.8% ยังไปได้ดี เพราะ 1)บริการหลักเดิม และบริการเติมมือถือ คาดว่าจะเพิ่ม ARPU 2) ตัวเลขบันทึกค่าเสื่อมตู้บุญเติมชะลอการเร่งตัว 3) รายได้บริการโอนเงิน (สัดส่วนรายได้ 6-8%) ยังเดินหนาเพิ่มต่อเนือง (ปัจจุบัน FSMART ให้บริการโอนเงินร่วมกับ 2 แบงก์ คือ KBANK และ KTB) และยังเจรจากับ 3 แบงก์ใหญ่ มาตั้งแต่ปีก่อน
แม้ทุกอย่างไม่ว่าแผนการตลาด และรายได้จะยังแกร่งต่อไป แต่นักวิเคราะห์ที่เสียฟอร์มจากการประเมินต่ำในไตรมาสแรก ยังไม่ยอมแพ้ ล่าสุดประเมินว่า บนสมมติฐานส่วนแบ่งรายได้ลงประมาณ 0.1% ขณะที่สัดส่วนมูลค่าเติมเงินมือถือยังเป็นสัดส่วนหลักกว่า 80% แม้ว่า มุมมองเรื่องผลกระทบจากการยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนเงิน เติมเงิน ผ่านช่องทาง Mobile banking และประเด็น Banking Agent ต่อสถานะในปัจจุบันค่อนข้างจำกัด เนื่องจากกลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลักของบริษัทเป็นระดับรากหญ้ารายได้ต่ำ แต่เพื่อสะท้อนปัจจัยเสี่ยงความไม่แน่นอนในอนาคตจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี เราเปลี่ยนวิธีการประเมินราคาเป้าหมายจากเดิมวิธี DCF เป็น PE 13 เท่า ทำให้ปีนี้ ต้องลดลงที่ 10.50 บาท
พอถึงบทจะทุบ ก็หาเรื่อง"โหดหิน"มาจนได้ ทั้งที่เมื่อ 2 เดือนมานี้ นักวิเคราะห์คนเดียวกันนี่แหละ เพิ่งให้ราคาเป้าหมายถึง 19.50 บาท
สู้ทำดีมาตลอด 5 ปี เพราะโตช้าไปแค่ไตรมาสเดียว ก็คิดจะเชือดอย่าวเดียว มันแฟร์ตรงไหน?!!
ผลลัพธ์คือ ช่วยให้โครงการ ซื้อหุ้นคืน 300 ล้านบาท หรือ 20 ล้านหุ้น มีต้นทุนต่ำลงใกล้เคียงราคาตลาด ล่าสุด..ดีและเท่ไปอีกแบบ เพราะหากราคาหุ้นขยับเมื่อใด บริษัทจะสามารถมีกำไรจากเงินลงทุนซื้อหุ้นคืนแถมเข้าพกห่ออีก
ที่พูดแบบนี้ ก็เป็นแค่การ"ร่อนเมล็ดข้าว ออกจากกองแกลบ"ปลอบใจพลางๆเท่านั้น
งานนี้เสี่ยเต่า และเสี่ยสอง คู่หูคงต้องออกแรง"เข็นครกขึ้นภู"มากกว่าเดิม เพราะต้องเร่งหาทางฝ่าข้าม"อคตินักวิเคราะห์" และแรงเฉื่อยเนือยแบบ"ตายด้าน"ของนักลงทุนที่ไร้ความหาญกล้า ซึ่งไม่ง่าย
ส่วนจะทำได้แค่ไหน อาจต้องลุ้นผลประกอบการ FSMART อีกสักไตรมาส มาเสริมแรง และตอกย้ำว่า อนาคตตู้บุญเติมยังแจ่มแจ๋วกว่าหุ้นขยะที่มีสตอรี่เพ้อเจ้อ แต่ไม่เคยเจอกำไร