บัตรชมพูสำหรับแรงงานต่างด้าว สรุปจะให้ประกันสังคมหรือซื้อประกันสุขภาพ....หรือหน่วยงานสองหน่วยงานตกลงกันไม่ได้

จากล่าสุดได้นำแรงงานไปต่ออายุบัตรชมพูปรากฎว่าตามข้อมูลหน้า website ได้แจ้งว่าให้นายจ้างรีบพาลูกจ้างไปตรวจสุขภาพและซื้อประกันสุขภาพ และเราก็ได้นำลูกจ้างไปตรวจและซื้อประกันสุขภาพ เสียเงินไป 3700 บาทตามข้อมูลของกระทรวงแรงงาน แต่ปรากฎว่าพอไปถึงศูนย์ OSS ปรากฎว่าเราต้องไปขันทะเบียนประกันสังคม ซึ่งข้อมูลบัตรเดิมก็มีและก็ซื้อประกันสุขภาพมาก่อนแล้วทำไมพอมาต่ออายุต้องเปลียนเป็นประกันสังคมและความจริงแล้วการต่ออายุบัตรชมพูของเด็กไม่น่าจะยุ่งยากหลายขั้ันตอนแบบ OSS แบบนี้คนเยอะ เจ้าหน้าที่น้อย ทำให้ต้องเสียเวลา 08.00 น. ถึง 17.00 น. ซึ่งความเป็นจริงไม่น่าจะนานแบบนี้ จำนวนคนก็ตามที่กำหนดต่อวันอยู่แล้ว ไปเสียเวลาตรงไปไหนไม่รู้นะ ส่วนข้อมูลน่าจะดึงจากข้อมูลบัตรเดิมได้ไม่ว่าจะเป็นที่ทำงาน นายจ้าง นอกจากมีการเปลี่ยนแปลงนายจ้างหรือสถานที่ทำงานแต่ก็ไม่นะ ไม่ต้องมากรอกข้อมูลใหม่เหมือนกับต้องเริ่มต้นใหม่หมดเลยแบบนี้นะจริง ๆ คือคีย์ดูในระบบได้เลยไม่น่าจะเป็นแบบระบบ Paper เป็นตั้งๆ แบบนี้ อันนี้เราแนะนำนะพูดถึงระบบน่าจะง่ายและคล่องตัวมากกว่านี้  มองไปด้านหลังตรงเวทีนี่คือเอกสารกองเต็มไปหมด ก็สมัยนี้ยังเป็นระบบ Paper อยู่อีกหรือ นอกจากใบเสร็จรับเงินที่ต้องมีหลักฐานหรือถ้าให้ดีก็น่าจะมีใบเสร็จแบบออนไลน์เหมือนต่างประเทศได้แล้วนะ ไม่ต้องระบบ Paper สิ้นเปลืองแบบนี้นะ ....

จากกระทู้ที่เอ่ยมาก็เป็นข้อแนะนำนะ  กำหนดไปอย่างใดอย่างนึงเลยว่าแรงงานต่างด้าวต้องทำประกันสุขภาพหรือว่าประกันสังคม  คนละกระทรวงเลยนะสองตัวนี้ ทำไมต้องแยกด้วย ส่วนผลประโยชน์ที่ผู้ประกันตนจะได้รับก็ต่างกันในบางอย่าง ค่าใช้จ่ายก็ต่างกัน แล้วจะแยกเพื่ออะไรกัน แล้วอีกอย่างนึงประกันสังคมแจ้ง (กระทรวงแรงงาน) ว่าจะมีหักไป 5 + 5 และ 2.5 (นายจ้าง + ผปก.ต้น + รัฐบาล) จากฐานเงินเดือน  ส่วนประกันสุขภาพปีล 1600 บาทของกระทรวงสาธารณสุข  แค่ค่าทำฟันก็แตกต่างกันแล้วนอกเหนือจากนี้ก็ยังมีรายละเอียดอีกมากมาย สว่นประกันสังคมแจ้งว่ามีบำนาญชราภาพ แรงงานต่างด้าวเฉลี่ยอายุคงไม่อยู่ประเทศไทยจนอายุครบ 55 ปี โดยมากก็ไม่เกิน 10 ปี

เราก็เลยงง และสงสัย ....
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่