สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 14
ในยุค 50's หรือราวๆก่อนปีพุทธศักราช 2500 การใช้ไฟฟ้าแพร่หลายในเมืองไทย มีการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าเพื่อบริการไฟฟ้าให้กับประชาชน ในยุคนั้นมีอุปกรณ์ไฟฟ้ายี่ห้อหนึ่งซึ่งมาจากอิตาลี ได้รับความนิยมใช้กันมาก ชื่อของมันคือ Veto
สวิทช์ไฟฟ้าในภาพนั้นเป็นสวิทช์ทีเรัยกว่า สวิทช์หลังเต่า อันเป็นสวิทช์แบบที่แพร่หลายที่สุด (ในภาพเป็นสวิทช์เลียนแบบ ไม่ใช่ของ Veto แท้) มีใช้กันนับล้านตัวในเมืองไทยเรา และสวิทช์ชนิดนี้มันมีชื่อยี่ห้อติดอยู่ที่หน้าสวิทช์ เวลาติดตั้งช่างจะติดให้ตัวหนังสือนี้อยู่ด้านบนของสวิทช์ ซึ่งตัวหนังสือจะตั้งถูกด้าน
หากติดกลับหัว คือเอาตัวหนังสือลงล่าง ตัวหนังสือก็จะกลับหัว และถูกด่าว่าติดผิด และเป็นเรื่องถากถางกันต่อไปว่าไอ้ช่างคนนี้ต้องอ่านภาษาอังกฤษไม่ออก เข้าทำนองคนอ่านหนังสือไม่ออกในสมัยก่อนที่แกล้งทำว่าอ่านหนังสือได้ โดยหยิบหนังสือพิมพ์มานั่งอ่าน แต่อ่านกลับหัว
เมื่อติดให้ถูกทาง ตัวหนังสืออยู่ด้านบน หากกดสวิทช์นี้ไปด้านบน (ตามภาพ) มันคือปิดไฟฟ้า หากกดมาด้านล่างมันคือเปิดไฟฟ้า ดังนั้นมาตรฐานของ Veto นี้ กดลงคือเปิด กดขึ้นคือปิด
สวิทช์หลังเต่านี้เรืองแสงได้ในเวลากลางคืนด้วย ปุ่มสวิทช์สีเขียวจะเรืองแสงหลังจากปิดไฟไปสักระยะ ก่อนจะจางหายไป นับเป็นนวัตกรรมที่คนไทยทึ่งเป็นยิ่งนัก มันจึงขายดีกว่าสวิทช์ไฟฟ้ายี่ห้ออื่นๆ
เนื่องจากมันใช้งานเป็นจำนวนมาก และแพร่หลาย จึงกลายเป็นมาตรฐานของช่างที่ติดนิสัยกันมาว่า สวิทช์ควรติดด้านไหนนั่นเอง
ปล. แก้ไขข้อมูลนะครับ ชื่อสวิทช์ผู้ตอบจำผิดในตอนแรก สับสนกับ BTicino เพราะสองยี่ห้อนี้ใช้ร่วมกับ ทิชิโน่เป็น Breaker ที่นิยมมาก ส่วน Veto เป็นสวิทช์และปลั๊กไฟฟ้า
Breaker BTichono รุ่นแรกๆที่นิยมกัน
สวิทช์ veto อีกแบบหนึ่ง ซึ่งยังคงมีสัญลักษณ์ชื่ออยู่บนสวิทช์ บังคับให้ต้องติดให้ถูกด้านเสมอ
สวิทช์ไฟฟ้าในภาพนั้นเป็นสวิทช์ทีเรัยกว่า สวิทช์หลังเต่า อันเป็นสวิทช์แบบที่แพร่หลายที่สุด (ในภาพเป็นสวิทช์เลียนแบบ ไม่ใช่ของ Veto แท้) มีใช้กันนับล้านตัวในเมืองไทยเรา และสวิทช์ชนิดนี้มันมีชื่อยี่ห้อติดอยู่ที่หน้าสวิทช์ เวลาติดตั้งช่างจะติดให้ตัวหนังสือนี้อยู่ด้านบนของสวิทช์ ซึ่งตัวหนังสือจะตั้งถูกด้าน
หากติดกลับหัว คือเอาตัวหนังสือลงล่าง ตัวหนังสือก็จะกลับหัว และถูกด่าว่าติดผิด และเป็นเรื่องถากถางกันต่อไปว่าไอ้ช่างคนนี้ต้องอ่านภาษาอังกฤษไม่ออก เข้าทำนองคนอ่านหนังสือไม่ออกในสมัยก่อนที่แกล้งทำว่าอ่านหนังสือได้ โดยหยิบหนังสือพิมพ์มานั่งอ่าน แต่อ่านกลับหัว
เมื่อติดให้ถูกทาง ตัวหนังสืออยู่ด้านบน หากกดสวิทช์นี้ไปด้านบน (ตามภาพ) มันคือปิดไฟฟ้า หากกดมาด้านล่างมันคือเปิดไฟฟ้า ดังนั้นมาตรฐานของ Veto นี้ กดลงคือเปิด กดขึ้นคือปิด
สวิทช์หลังเต่านี้เรืองแสงได้ในเวลากลางคืนด้วย ปุ่มสวิทช์สีเขียวจะเรืองแสงหลังจากปิดไฟไปสักระยะ ก่อนจะจางหายไป นับเป็นนวัตกรรมที่คนไทยทึ่งเป็นยิ่งนัก มันจึงขายดีกว่าสวิทช์ไฟฟ้ายี่ห้ออื่นๆ
เนื่องจากมันใช้งานเป็นจำนวนมาก และแพร่หลาย จึงกลายเป็นมาตรฐานของช่างที่ติดนิสัยกันมาว่า สวิทช์ควรติดด้านไหนนั่นเอง
ปล. แก้ไขข้อมูลนะครับ ชื่อสวิทช์ผู้ตอบจำผิดในตอนแรก สับสนกับ BTicino เพราะสองยี่ห้อนี้ใช้ร่วมกับ ทิชิโน่เป็น Breaker ที่นิยมมาก ส่วน Veto เป็นสวิทช์และปลั๊กไฟฟ้า
Breaker BTichono รุ่นแรกๆที่นิยมกัน
สวิทช์ veto อีกแบบหนึ่ง ซึ่งยังคงมีสัญลักษณ์ชื่ออยู่บนสวิทช์ บังคับให้ต้องติดให้ถูกด้านเสมอ
แสดงความคิดเห็น
ทำไมคนไทยกับคนต่างประเทศติดสวิตช์ไฟไม่เหมือนกัน
คือของเดิมเป็นสวิตช์ไฟที่ติดตั้งโดยวิศกรต่างประเทศ(รูปซ้าย) แต่ตอนหลังมีการติดสวิตช์ไฟเพิ่มโดยคนไทย(รูปขวา) แตกต่างกันตรงรูปซ้ายเวลาเปิดจะกดลงล่าง แต่รูปขวาจะกดขึ้นบน ผมก็เลยสงสัยครับว่าทำไมไม่เหมือนกัน ตอนแรกจะให้ช่างติดเหมือนรูปซ้ายแต่ช่างบอกว่ามันขัดกับบ้านเรา (ผมเห็นบ้านเราจะเปิดสวิตช์โดยกดขึ้นบนซะส่วนใหญ่) การติดตั้งแบบเมืองนอก(รูปซ้าย)มันมีเหตุผลอะไรหรือเปล่าครับ ทำไมฝรั่งถึงไม่ติดสวิตช์เหมือนบ้านเรา..?